ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


www.dooasia.com > อุทยานแห่งชาติ  > อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
 
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
 

อุทยาน แห่งชาติผาแต้ม เป็นหน่วยงานสังกัดส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในอดีตชาวบ้านท้องถิ่นทำกินในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ป่าภูผา น้อยคนนักที่จะเดินทางเข้าไปในป่าแห่งนี้ เนื่องจากมีความเชื่อว่า “ผาแต้มเป็นเขตต้องห้าม ภูผาเหล่านั้นมีความศักดิ์สิทธิ์นักเป็นภูผาแห่งความตาย ใครล่วงล้ำเข้าไปมักมีอันเป็นไปอาจเจ็บไข้ หรือเป็นอันตรายถึงชีวิต ” ปัจจุบัน พื้นที่ป่าภูผาแต้ม ได้ถูกเปิดเผยจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เมื่อคณะอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มาทำการสำรวจค้นพบภาพเขียนสีโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม ท้องที่บ้านกุ่ม ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบกับสภาพป่าในบริเวณใกล้เคียงยังอุดมสมบูรณ์อยู่ จึงได้ทำหนังสือบันทึกจากภาควิชาฯ ลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 เสนอต่อกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ขอให้จัดตั้งป่าภูผาในบริเวณผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติได้บันทึกสั่งการ ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 ให้ นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชการป่าไม้ 4 ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้า อุทยานแห่งชาติดงหินกอง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ) ไปทำการสำรวจหาข้อมูลเพิ่มเติมผลการสำรวจปรากฏรายงาน ตามหนังสืออุทยานแห่งชาติดงหินกอง ที่ กส 0708 (ดก) /57 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2524 ว่า “ พื้นที่บริเวณที่ภาควิชามนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากรเสนอขอให้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าภูผาปรากฏภาพเขียนสีโบราณ ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่ผาแต้ม สภาพป่าบริเวณใกล้เคียงยังไม่ถูกทำลาย และมีจุดเด่นตามธรรมชาติที่สวยงาม การคมนาคมสะดวกเหมาะที่ตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยเห็นควรผนวกบริเวณดังกล่าวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ อุทยานแห่งชาติดงหินกอง ”

กรมป่าไม้ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 1162/2524 ลงวันที่ 13 กันยายน 2524 ให้นายเสงี่ยม จันทร์แจ่ม นักวิชาการป่าไม้ 4 หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ (อุทยานแห่งชาติดงหินกองเดิม) ไปดำเนินการควบคุมดูแลรักษาป่าภูผาโดยให้พิจารณาผนวกเข้ากับ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ทั้งนี้บริเวณภูผาดังกล่าวได้ถูกประกาศรวม กับบริเวณป่าใกล้เคียง ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติดงภูโหล่นตามกฎกระทรวงฉบับที่ 603 (พ.ศ.2516) ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2526 ต่อมากรมป่าไม้ ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่คนละส่วน และอยู่ห่างไกลกับอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตลอดจนมีอาณาเขตกว้างขวาง เกรงว่าอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จะดูแลไม่ทั่วถึง และเพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลตาม โครงการอีสานเขียว และกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้ เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และการศึกษาหาความรู้ทางวิชาการ จึงมีคำสั่งกรมป่าไม้ ที่ 991/2532 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2532 ให้ นายวรพล รัตนสุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพื่อจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงภูโหล่นท้องที่ อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เนื้อที่ 340 ตารางกิโลเมตร หรือ 212,500 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติผาแต้ม และทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ด้วย

กรมป่าไม้โดยกองอุทยานแห่งชาติได้นำเรื่องราวดังกล่าวนี้ เสนอต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มติเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 3/2432 เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 ผ่านมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2534 และได้รับประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้า 90 – 92 เล่มที่ 108 ตอนที่ 245 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2534 ให้เป็นอุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 74 ของประเทศไทย ต่อมาได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ ให้นายศักดิ์สิทธิ์ พลทรัพย์ศิริ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 หรือ เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส ที่ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานฯ คนที่ 2 ปัจจุบันมีคำสั่งให้นายอุทัย พรมนารี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติผาแต้ม

 

   

ลักษณะภูมิประเทศ

 

อุทยาน แห่งชาติผาแต้มมีสภาพพื้นที่เป็นเทือกเขาติดต่อกันลักษณะสูงๆ ต่ำๆ สลับกันไปทั่วพื้นที่ ระดับความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 100-600 เมตรจากระดับน้ำทะเล แนวเขตด้านทิศตะวันออกใช้เส้นแบ่งเขตแดนประเทศและติดกับประเทศลาว ซึ่งมีแม่น้ำโขงเป็นแนวเขตโดยตลอดความยาวประมาณ 63 กิโลเมตร สภาพพื้นที่โดยรวมเป็นลานหิน รอบแนวเขตถัดจากฝั่งแม่น้ำโขงจะเป็นหน้าผาสูงชัน มีภูผาที่สำคัญได้แก่ ภูผาขาม ภูผาเมย ภูผาเจ็ก ภูผาสร้อย ภูย่าแพะ ภูชะนะได ภูผานาทาม ภูโลง ภูปัง ภูจันทร์แดง ภูหลวง ภูสมุย และภูกระบอ เป็นต้น อุทยานแห่งชาติผาแต้มเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของห้วยช้าง ห้วยภูโลง ห้วยฮุง ห้วยลาน ห้วยเพราะ ห้วยแยะ ห้วยกวย ห้วยกะอาก ห้วยใหญ่ ห้วยสูง และห้วยหละหลอย

ลักษณะภูมิอากาศ
 

 

สภาพ อากาศของอุทยานแห่งชาติผาแต้มสามารถแบ่งออกเป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน–กันยายน ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคม–กุมภาพันธ์ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคม–พฤษภาคม อุณหภูมิในแต่ละฤดูแตกต่างกันอย่างมาก ในฤดูฝนจะมีพายุฝนฟ้าคะนองอยู่บ่อยๆ ในฤดูหนาวอากาศเย็นและแห้งแล้ง ความชื้นในบรรยากาศมีน้อย ในฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ต้นไม้ใบหญ้าแห้ง

พรรณไม้และสัตว์ป่า

 

สภาพป่าโดยทั่วไปเป็น ป่าเต็งรัง เสียส่วนใหญ่ ตามพื้นที่มีหินโผล่ ลักษณะเป็นป่าโปร่งต้นไม้แคระแกร็น แต่มีความสวยงามตามธรรมชาติ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง ประดู่ และเหมือดต่างๆ พืชพื้นล่างเป็นพวกไผ่ป่า หญ้าต่างๆ ข่อยหิน และยังมีไม้ดอกที่สวยงามขึ้นอยู่ตามซอกลานหินทั่วไป เช่น หยาดน้ำค้าง แดงอุบล เอ็นอ้า เหลืองพิสมร กระดุมเงิน ตั้งไก่(หัวไก่โอก) มณีเทวา ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากกระจายทั่วพื้นที่ สภาพป่าจะเปลี่ยนเป็น ป่าดิบแล้ง ในบริเวณที่ราบลุ่มแถบริมห้วยหรือริมแม่น้ำ เนื่องจากมีความชุ่มชื้นพอประมาณตลอดปี นอกจาก นี้ ยังพบป่าสนสองใบที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ กระจัดกระจายในส่วนที่เป็นพื้นราบบนภูต่างๆ ทั่วพื้นที่

สัตว์ป่า ประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ยังไม่พบ พบแต่ขนาดเล็กลงมา สัตว์ป่าที่พบได้ทั่วไป เช่น อีเห็น สุนัขจิ้งจอก กระต่ายป่า อีเก้ง ชะมด บ่าง ในฤดูแล้งเมื่อระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงมาก จะพบเห็นสัตว์ประเภทหมูป่า เลียงผา ว่ายน้ำข้ามมาจากฝั่งประเทศลาวอยู่เสมอๆ เนื่องจากอาณาเขตบางส่วนอยู่ในลำน้ำโขงมีปลาน้ำจืดชนิดต่างๆ มากมาย ได้แก่ ปลาบึก ปลาตะเพียน ปลาคลัง ปลาเทโพ ปลากรด ปลาตูนา ปลาหมอ ปลากาย ปลาแข้เป็นต้น นกนานาชนิดที่พบเห็น เช่น นกขุนทอง นกยูง เหยี่ยว อีกา นกขุนแผน นกกระเต็น เป็นต้น


 
ที่ตั้งและการเดินทาง
 
 
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
ตู้ ปณ.5 ต.ห้วยไผ่ อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี  34220
โทรศัพท์ : 0 4531 8026, 0 4524 6332 - 3   โทรสาร : 0 4531 8026
ผู้บริหาร : อุทัย พรมนารี   ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
 
รถยนต์


จาก จังหวัดอุบลราชธานีไปยังอำเภอโขงเจียม ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร แล้วเดินทางไปตามเส้นทางยุทธศาสตร์สายโขงเจียม-เขมราฐ อีก 15 กิโลเมตร เลี้ยวขวาต่อไปอีก 5 กิโลเมตร จะถึงภูผาขาม ท้องที่บ้านหนองผือน้อย ตำบลห้วยไผ่ อำเภอโขงเจียม ซึ่งที่ทำการอุทยานแห่งชาติผาแต้มตั้งอยู่ ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสิ้นสุดบนลานภูผาขาม

 
บ้านพัก และค่ายพักแรม
 
 

ท่านสามารถจองที่พักได้ด้วยตนเองผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.dnp.go.th ของกรมเท่านั้น (กรมไม่มีตัวแทนการจองที่พักกับภาคเอกชนรายใดทั้งสิ้น) จองล่วงหน้าได้ 60 วัน จองต่อเนื่องได้ครั้งละ 3 วัน กำหนดชำระเงินภายใน 2 วันทำการ ณ เคาน์เตอร์ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศเท่านั้น หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ทำการจองให้โดยโทรมาที่ 0 2562 0760 หรือติดต่อจุดจองที่พักในส่วนภูมิภาค

กรณีที่ชำระเงินกับทางธนาคาร กรมจะทราบข้อมูลการชำระเงินได้โดยออนไลน์กับทางธนาคาร ก็จะทราบว่ารายการจองใดได้ชำระเงินแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องโทรสารเอกสารแสดงการชำระเงินมาที่กรมอีก โปรดนำหลักฐานการจองและเอกสารการชำระเงิน เฉพาะบมจ.ธนาคารกรุงไทย เท่านั้น ไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก และในกรณีที่ชำระเงินกับหน่วยงานในสังกัดกรม ให้นำใบเสร็จรับเงินไปยื่นแสดงในวันเข้าพัก ดูคำแนะนำเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 
โซน ชื่อที่พัก-บริหาร ห้องนอน ห้องน้ำ คน/หลัง ราคา/คืน สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ผาแต้ม 011 - ห้องประชุมตะวันฉาย (18.00 - 21.00 น.) 0 0 40 400  ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 2. ผาแต้ม 011 - ห้องประชุมตะวันฉาย (13.00 - 16.00 น.) 0 0 40 400  ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 3. ผาแต้ม 011 - ห้องประชุมตะวันฉาย (09.00 - 12.00 น.) 0 0 40 400  ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 4. ผาแต้ม 101/1 (มณีเทวา) 2 1 6 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โต๊ะอาหาร, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว, แก้วน้ำ, น้ำดื่ม
โซนที่ 1 5. ผาแต้ม 101/2 (มณีเทวา) 2 1 6 1,200  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), พัดลม, โต๊ะอาหาร, ตู้เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว, แก้วน้ำ, น้ำดื่ม, ตะเกียง
โซนที่ 2 6. ผาแต้ม 103 (สร้อยสุวรรณา) 2 1 5 2,000  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องปรับอากาศ, พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว, แก้วน้ำ, น้ำดื่ม
โซนที่ 2 7. ผาแต้ม 104 (ทิพเกสร) 2 1 5 2,000  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องปรับอากาศ, พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว
โซนที่ 2 8. ผาแต้ม 105 (สรัสจันทร) 2 1 5 2,000  เครื่องนอน (เตียง 3.5 ฟุต), เครื่องปรับอากาศ, พัดลม, เครื่องทำน้ำอุ่น, ผ้าเช็ดตัว, แก้วน้ำ, น้ำดื่ม
โซน โซนที่พัก-บริการ คำอธิบาย
โซนที่ 1 ผาแต้ม 101/1-2 บ้านพักแฝด โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ
โซนที่ 2 ผาแต้ม 102-105 บ้านพักเดี่ยว ตรงข้ามกับด่านเก็บค่าธรรมเนียม

 
ดูปฎิทินบ้านพัก/ค่ายพักว่างหรือไม่ คลิกที่นี่   จองบ้านพัก/ค่ายพักผ่านระบบออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ต  คลิกที่นี่
 
ห้องประชุม
 
 
 
โซน ชื่อห้องประชุม รองรับ
ได้ (คน)
ราคา (บาท) สิ่งอำนวยความสะดวก
โซนที่ 1 1. ผาแต้ม 011 - ห้องประชุมตะวันฉาย (09.00 - 12.00 น.) 40 400  ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 2. ผาแต้ม 011 - ห้องประชุมตะวันฉาย (18.00 - 21.00 น.) 40 400  ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้
โซนที่ 1 3. ผาแต้ม 011 - ห้องประชุมตะวันฉาย (13.00 - 16.00 น.) 40 400  ห้องพัดลม ไม่เกิน 40 คน, เครื่องขยายเสียง, ไมโครโฟน, โต๊ะ, เก้าอี้

 
โซน โซนห้องประชุม คำอธิบาย
โซนที่ 1 ผาแต้ม 011 - ห้องประชุมตะวันฉาย ห้องประชุม โซนที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

 

 

 
แหล่งท่องเที่ยว
 
 

ผา แต้ม เมื่อมองดูจากแม่น้ำโขงด้านล่างจะเห็นเป้นหน้าผาสุงที่สวยงามตามธรรมชาติ บริเวณด้านล่างของหน้าผามีภาพเขียนของสีก่อนประวัติศาสตร์ ปรากฎเรียงรายอยู่ตามผนังหน้าผาเป็นจำนวนมาก อายุราว 3,000-4,000ปี (ภาพเขียนสีศิลปะถ้ำโบราณผาแต้ม) มีภาพเขียนเรียงต่อกันเป็นแนวยาวทั้งที่เป็นภาพขนาดเล็กและภาพขนาดใหญ่ ประมาณ 180 เมตร คิดเป็นพื้นที่เกือบ 900 ตารางเมตร โดยมีภาพเขียนสีโบราณมากที่สุดเท่าที่เคยพบทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ภาพที่พบแบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ ภาพคน ภาพสัตว์ ภาพเครื่องมือดักสัตว์ ภาพฝ่ามือ และภาพลวดลายเรขาคณิต นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบกลุ่มภาพเขียนสีโบราณ บริเวณผาเจ็ก ผาเมย โหง่นแต้ม บริเวณผาชนะได ซึ่งเป็นกลุ่มภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ยุคเดียวกันอีกด้วย ลักษณะของกลุ่มภาพ แต่ละกลุ่มนั้นแตกต่างกัน

 
ด้านประวัติศาสตร์

คอกหิน  กอง หินที่อยู่ด้านหน้านี้ มิได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นเกิดจากการนำก้อนหินมากองรวมกันไว้ในลักษณะเป็นวงกลม ซึ่งพบมานานหลายร้อยปี ส่วนสาเหตุที่มีการนำก้อนหินเหล่านี้มากองรวมกันเป็นวงกลมเช่นนี้ ยังไม่มีผู้ทราบเห๖ยลที่แท้จริง แต่มีผู้สันนิฐานว่า อาจเป็นฝีมือคนในยุคก่อนที่มีความเชื่อเกี่ยวกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ หรือเป็นการประกอบพิธีกรรมบางอย่าง อาจเป็นการประกอบพิธีกรรมก่อนการออกล่าสัตว์หรือหลังจากประสบผลสำเร็จจากการ ล่าในแต่ละครั้ง หรืออาจเป็นการแสดงความเคารพดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ เป็นต้น คอกหิน เป็นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ อีกแหล่งหนึ่ง โดยนักโบราณคดี เชื่อว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของฝีมือมนุษย์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มภาพเขียนสีที่ผาแต้ม และอาจจะเป็นสถานที่บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คอกหินนี้มีลักษณะ คล้ายวัฒนธรรมหินตั้ง อันเป็รระบบความเชื่อดั่งเดิมที่พบแร่หลายในเอเชียอาคเนย์เกี่ยวกับความอุดม สมบูรณ์ และการนับถือบรรพบุรุษ การปักหินตั้งเป็นสัญลักษณ์ ของการเชื่อโยงระหว่างคนที่ยังมีชีวิตอยู่กับผู้ที่ตายไปแล้ว โดยเชื่อว่าผู้ที่ตายแล้วมีพลังที่สามารถบันดาลให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ และมีคติในเรื่องความเชื่อทางศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธศาสนามาเป็นความ เชื่อที่เกี่ยวกับการปักเสมาหินเนื่องจากได้มีการพบกลุ่มเสมาหินมากในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมพรรณไม้   ดูนก  

ผาเจ็ก-ผาเมย  จาก น้ำตกสร้อยสวรรค์เดินไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะพบทุ่งดอกไม้งามหลายแห่ง ผาเจ็ก-ผาเมย เป็นหน้าผาหินที่มีลักษณะเหมือนบริเวณ ผาแต้ม และปรากฏภาพเขียนสีโบราณเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าภาพเขียนจะมีจำนวนน้อยกว่าก็ตาม แต่ลักษณะภาพเขียนสีที่พบแตกต่างกัน ผู้สนใจเดินป่าจากน้ำตกสร้อยสวรรค์มาผาเจ็ก ควรติดต่อเจ้าหน้าที่นำทาง เนื่องจากเส้นทางไม่ชัดเจน

กิจกรรม : ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

ผาแต้ม ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 - 4,000 ปี  เมื่อ ดูจากแม่น้ำโขง จะเห็นเป็นหน้าผาสูงที่สวยงามตามธรรมชาติ ในบริเวณที่เป็นหน้าผา จะปรากฏภาพเขียนสีโบราณโดยฝีมือมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,000 - 4,000 ปี เรียงรายตามความยาวของหน้าผาติดต่อกันยาวประมาณ 180 เมตร มีไม่ต่ำกว่า 300 ภาพ ซึ่งเป็นจำนวนภาพเขียนสีโบราณ ที่มากที่สุดเท่าที่เคยค้นพบในประเทศไทยและในต่างประเทศ ลักษณะของภาพแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ภาพคนทำนา ภาพสัตว์ ภาพมือ ภาพลายเรขาคณิต และภาพตุ้ม (เครื่องมือจับปลาของชาวประมงริมโขง) ผาแต้มอยู่บริเวณเดียวกันกับที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ใกล้ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง   เดินป่าระยะไกล   ดูดาว  

ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ กลุ่มที่ 2 (ผาแต้ม)  ภาพ เขียนสีกลุ่มที่ 2 ผาแต้ม เป็นภาพเขียนสีกลุ่มที่ใหญ่อยู่ห่างจากเขียนกลุ่มผาขาม 300 เมตร ภาพเขียนสีในจุดนี้ เป็นกลุ่มภาพเขียนสีที่มีขนาดใหญ่ และ ยาวถึง 180 เมตรมีหลากหลายแบบทั้งภาพคน สัตว์ และอื่นๆ กว่า 300 ภาพ ปะปนกัน บางภาพก็ซ้อนทับกันอยู่ ภาพที่พบในจุดนี้จะมีลักษณะ สามารถแยกประเภทได้ชัดเจนใช้สีแดงเป็นส่วนใหญ่ มีการใช้เทคนิคทั้งการลงสี และการทำรูปรอยลงในเนื้อหินลักษณะเด่นของกลุ่มภาพเขียนสีที่ผาแต้มนี้จะเป็น ภาพของฝ่ามือมนุษย์ แบบทึบ และแบบโปร่ง ภาพสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เห็นได้ชัดเจนว่า เป็นทั้งสัตว์บก และสัตว์น้ำ ภาพเขียนที่เป็นสัตว์บก เช่น ช้าง วัว หมา และภาพเขียนสีที่เป็นสัตว์น้ำ เช่น เต่าหรือตะพาบ ปลาบึก(ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่พบในลำน้ำโขง) ลักษณะของการวาดภาพมีทั้งการวาดโครงร่าง และการระบายสีทึบ ภาพสัตว์ต่างๆ ที่ปรากฏอยู่นี้ควรเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ในยุคนั้น การสร้างภาพเขียนสีสร้างโดย 2 เทคนิคใหญ่ๆ คือ 1. การลงสี (Pictograph) หรือการสร้างภาพด้วยสี ในวิธีต่างๆ เช่นวาดด้วยสีแห้ง(Drawing Withdraw Pigment) เขียนหรือ ระบายเป็นรูป (Painting) พ่นสี (Stenciling) สะบัดสี (Paint Splattering) การทาบหรือทับ (Imprinting) 2. การทำรูปรอยลงในหิน มีวิธีต่างๆ เช่นฝน จารขูดขีด แกะหรือ ตอก ฯลฯ การใช้สีที่พบจะเป็นสีแดงจะสัมพันธ์กับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตาย เพราะตามแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในประเทศไทย มักจะพบสีแดงหรือสิ่งของ สีแดงในหลุมฝังศพงานศิลปะที่ผาแต้ม จึงอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตายของผู้ตายในสมัย นั้นภาพเขียนสีในอุทยานแห่งชาติ ผาแต้มที่พบและมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทยมีทั้งหมด 4 กลุ่มตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติชื่อว่าศิลปะถ้ำ สีที่คนในยุคโบราณมักใช้ในการวาดคือ หินเทศ ที่จริงแล้วก็คือ หินทราย ชนิดหนึ่ง มีชื่อหลักว่าหินทรายแดง จะพบได้ทั่วไปในพื้นที่ประเทศไทย และจะพบมากในพื้นที่ภาคอีสานซึ่งเต็มไปด้วยภูเขาหินทราย หินทรายแดงจะประกอบด้วยอนุภาคดินทรายแป้งที่ความละเอียดมาก สีเทาปนแดง แร่ที่เป็นองค์ประกอบหลักคือแร่ควอตร์และแร่เหล็กที่เรียกว่า hematite คนในยุดก่อนรู้จักนำเอาหินทรายแดงมาใช้ ประโยชน์โดยเฉพาะตามแหล่งภาพเขียนสีโบราณจะพบว่ามีการนำเอาหินทรายแดงหรือ หินเทศมาใช้เป็นวัตถุดิบในการวาดภาพตามผนังถ้ำ ตามหน้าผา หรือวาดลงบนเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมพรรณไม้  

ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ กลุ่มที่ 1 (ผาขาม)  ภาพ เขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ กลุ่มที่ 1(ผาขาม)หรือ ศิลปะถ้ำ คือ ศิลปะหรือภาพที่เกิดจากการวาด/เขียนเป็นสี และทำรูปรอยลงบนพื้นหิน มักพบตามถ้ำเพิงผา ผนังหิน ก้อนหิน ที่มักเรียกรวมๆ กันไปว่าถ้ำ จึงมักเรียกงาน ภาพเขียนถ้ำนี้ว่าศิลปะถ้ำ ศิลปะถ้ำที่สร้างขึ้นด้วย 2 เทคนิคใหญ่ๆ คือ 1. การลงสี หรือการสร้างภาพด้วยสีในวิธีต่างๆ เช่น วาดด้วยสีแห้ง เขียน หรือระบายเป็นรูป พ่นสี สะบัดสี การทาบหรือทับ 2. การทำรูปรอยลงในหิน มีวิธีต่างๆ เช่น ฝน จาร ขูดขีด แกะหรือ ตอก ฯลฯ การใช้สีที่พบในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป้นสีแดง จะสัมพันธ์กับพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตาย เพราะตามแหล่งโบราณคดีหลายแห่งในประเทศไทยมักจะเป็นสีแดง หรือสิ่งของสีแดง ในหลุมฝังศพงานศิลปะที่ผาแต้มจึงอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เกี่ยว กับความตายของผู้ตายในสมัยนั้น ภาพเขียนสีในอุทยานแห่งชาติผาแต้มที่พบ และเป็นที่รู้จัก มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีกลุ่มภาพเขียน ทั้งหมด 4 กลุ่ม ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ชื่อว่า "ศิลปะถ้ำ" สีที่คนในยุคนั้นใช้ จะเป็นสีจากแร่ชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อเรียกว่า เฮมาไทด์ หรือ หินเทศ ภาษาพื้นบ้านเรียกชหินชนิดนี้ว่า ดินลูกรัง ที่จริงแล้วก็คือหินทรายชนิดหนึ่ง มีชื่อหลักว่า หินทรายแดง จะพบได้ทั่วไปในพื้นที่ประเทศไทย และจะพบมากในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งเต็มไปด้วยภูเขาหินทราย หินทรายแดง ประกอบด้วยอนุภาคดินทรายแป้งที่มีความละเอียดมา มีสีเทาปนแดง แร่ที่เป็น องค์ประกอบหลักคือแร่ควอตร์ และแร่เหล็กที่เรียกว่า เฮมาไทด์ (HEMATITE) ภาพเขียนกลุ่มที่ 1 นี้เป้นกลุ่มภาพเขียนสีจุดแรกที่อยู่ตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติศิลปะถ้ำ อยู่ด้านใต้หน้าผาของผาขามมีความสูงจากยอดเขาถึงทางราบแนวหน้าผา 260 เมตร ภาพเขียนสีกลุ่มที่ 1 นี้ อาจจะมองเห็นไม่ชัดเจนมากนักต้องสังเกตตามผนังหิน จะปรากฏภาพที่ระบายด้วยสีแดงออกคล้ำคล้ายสีน้ำหมาก ภาพที่ปรากฏคือ ภาพปลา ภาพสัตว์ 4 เท้า ที่ค่อนข้างเลือน จำนวน 1 ตัว คือ ภาพช้าง โดยมีเส้นตั้ง เส้นเฉียง และเส้นนอน วาดทับบนรูปภาพเหล่านั้น ลักษณะของภาพปลา จะเป็นการแสดงภาพแบบโครงสร้างภายใน หรือเรียกว่าภาพเอกซเรย์ ขนาดของภาพ จะแตกต่างกันไป

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์  

ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ กลุ่มที่ 3 (ผาหมอน)  เมื่อนักท่อเที่ยวเดินตามเส้นทางเรียบหน้าผาถัดจากกลุ่มภาพเขียนสีกลุ่มที่ 2 ผาแต้ม ประมาณ 860 เมตร ตามเส้นทางจะมีป้ายสื่อความหมายธรรมชาติ ตามเส้นทางศิลปะถ้ำและท่านจะพบภาพเขียนสีกลุ่มที่ 3 ผาหมอนน้อย ภาพที่ปรากฎตามผนังหน้าผา จะมีภาพที่เขียนไว้ สูง ประมาณ 6 เมตร ภาพที่ปรากฏ เป็นลักษณะลายเส้น ที่ขีด เป็นเส้นตรงและจัดเป็นกลุ่ม แบบรัศมีครึ่งวงกลม แสดงถึงการดำรงชีวิตโดยเพาะปลูกธัญชืพชนิดหนึงที่เหมือนข้าว แบบนาเมือง เมือเดินตรงไปอีก 20 เมตร ท่านก็จะพบภาพเขียนสีที่เขียนเป็นรูปเลขาคณิตสีแดงเป็นเส้นคู่ต่อกันเป็น ตาข่ายหรือตารางบนแท่นหินติดกับผนังที่ยื่นออกมาจากผนัง สูง 3 เมตร เมื่อท่านสังเกตจะเห็นคลาบสีเขียว แมละไคท์(MALACHLTE) ฉาบอยู่ที่รอยแยกของหินทราย ระหว่างแนวคราบสีเขียวมีภาพมือ

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   ชมพรรณไม้  

ภูผาขาม ภูเขาหินทราย  ข้าง บนเป็นลานหินเรียบ ด้านล่างเป็นบริเวณที่ปรากฏภาพเขียนสีโบราณ เมื่อยืนดูอยู่ด้านบนจะเห็นทิวทัศน์ตามริมแม่น้ำโขงสุดสายตา เป็นทิวทัศน์ของป่าเขาและลำน้ำสวยงามมาก

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมทิวทัศน์   ดูดาว  

ภูโลง  ได้ มีการค้นพบโลงศพของมนุษย์อยู่ภายในซอกหิน ซึ่งไม่ถูกแดดไม่ถูกฝนอยู่บนภูโลง เข้าใจว่าเป็นโลงศพของมนุษย์สมัยก่อน ส่วนของกระดูกและสิ่งของภายในโลงหายไปก่อนที่จะค้นพบ ลักษณะของโลงใหญ่มาก ไม้ที่ใช้ทำโลงบางส่วนผุพังไปตามธรรมชาติ แต่ยังคงสภาพส่วนใหญ่อยู่

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   แค้มป์ปิ้ง  

ด้านธรรมชาติที่สวยงาม

แก่งมโนราห์  

ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศตะวันออกบ้านซะซอม หมู่ที่ ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากบ้านซะซอมประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบดูแลพื้นที่ของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติผาแต้ม หน่วยที่ 4 (ห้วยทราย) และอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติผาแต้มประมาณ 37 กิโลเมตร
สภาพภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ เป็นที่ราบสลับเนินเขา ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณแก่งมโนราห์ อยู่ในลำห้วยแสงจันทร์ ขนาดของลำห้วยมีความกว้างเฉลี่ย 8 – 10 เมตร มีแก่งหิน โผล่เป็นระยะความลึกของลำห้วยสูงสุดประมาณ 10 เมตร และในบริเวณแก่งมโนราห์มีความลึกประมาณ 2 - 4 เมตร สภาพป่าบริเวณ ข้างเคียงเป็นป่าเต็ง รัง สลับพื้นที่ลานหินทราย พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ ได้แก่ เต็ง, รัง, ตะแบก, กระบก, พะยอม, ประดู่, มะค่าแต้, ฯลฯ สังคมพืชพื้นล่าง ที่พบส่วนใหญ่เป็นจำพวก ดอกไม้ป่า ตามซอกหิน เช่น เอ็นอ้า บริเวณริมห้วยจะมีทุ่งดอกไม้ป่าเกิดขึ้น อยู่กระจายทั่วพื้นที่ ได้แก่ ดุสิตา สร้อยสุวรรณา กระดุมเงิน แต่มีจำนวนไมามากนัก
สภาพภูมิอากาศ
อุณหภูมิในแต่ละฤดูแตกต่างกันอย่าง มาก ในฤดูฝนจะมีพายุฟ้าคะนอง ในฤดูหนาวอากาศเย็นจัด ความชื้นในบรรยายกาศมีน้อย ในฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ช่วงฤดูที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวเป็นช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือน มิถุนายน - พฤศจิกายน
แหล่งท่องเที่ยว ที่อยู่ใกล้เคียง
- อยู่ห่างจากน้ำตกแสงจันทร์ ประมาณ 16 กิโลเมตร
- อยู่บริเวณทางขึ้นผาชะนะได ห่างจาก ผาชะนะได ประมาณ 12 กิโลเมตร
จุดเด่นของพื้นที่
เป็นลำห้วยที่มีแก่งหิน โผล่เป็นระยะๆ เมื่อน้ำไหลจะกระทบหินก่อให้เกิดเป็นน้ำตกขนาดเล็กๆ และสวยงาม ลำห้วยมีความกว้าง และความลึกพอดีที่จะทำการล่องแก่ง และพายเรือยางพจญภัย รวมทั้งสามารถใช้ห่วงยางเล่นน้ำได้ อย่างสนุกสนาน ประกอบกับสถานที่ดังกล่าวอยู่ติดกับแหล่งท่องที่ยวที่มีชื่อเสียงและกำลัง ได้รับความนิยมของแหล่งท่องเที่ยว เช่น น้ำตกแสงจันทร์ ป่าดงนาทาม ผาชะนะได สามารถเดินทางถึงแหล่งท่องเที่ยว ได้โดยสะดวก
กิจกรรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสม
1. ล่องแก่ง
2. จักรยานเสือภูเขา
3. พายเรือยาง (เรือแคน)  

กิจกรรม : ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง   ชมวัฒนธรรมและประเพณี   ดูดาว  

ชมตะวันขึ้นก่อนใครที่ ผาชนะได  เป็น ป่าสนสองใบตามธรรมชาติที่ขึ้นอยู่บริเวณหน้าผา เมื่อมองทะลุป่าสนสองใบจะเห็นภูเขาทะมึนสลับซับซ้อนของประเทศลาว เป็นฉากอยู่ข้างหลังตัดกับท้องฟ้าที่อยู่ด้านบน และลำน้ำโขงที่อยู่ด้านข้าง เป็นจุดพยากรณ์ดวงอาทิตย์ขึ้น ของกรมอุตุนิยมวิทยา

อุทยานแห่งชาติผาแต้มจัดเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติไว้ 3 เส้นทางด้วยกัน สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี คือ
- เส้นทางผาแต้ม – สร้อยสวรรค์
- เส้นทางทุ่งนาเมือง – ผาชะนะได
- เส้นทางถ้ำปาฏิหารย์ – ผาชะนะได
 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง   เดินป่าระยะไกล   ดูดาว  

ตะวันลับขอบฟ้าก่อนใครในสยาม  อุทยาน แห่งชาติผาแต้มเป็นพื้นที่พยากรณ์พระอาทิตย์ขึ้น และเป็นจุดที่พระอาทิตย์ตกก่อนใคร จึงเป็นจุดท่องเที่ยวของดินแดนสุดเขตประเทศไทย เห็นตะวันก่อนใครในสยาม นักท่องเที่ยวจึงเข้ามาชมความสวยงามทางธรรมชาติเป็นจำนวนมาก

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง   ดูดาว  

ทุ่งดอกไม้ป่า บริเวณน้ำตกสร้อยสวรรค์  ทุ่ง ดอกไม้ป่าเป็นจุดท่องเที่ยวที่สร้างความประทับใจในธรรมชาติของพันธ์ดอกไม้ ป่าพันธุ์ต่าง และเป็นดอกไม้ป่าที่สมเด็จฯพระนาเจ้าพระบรมราชินีนาถพระราชทานนาม ดอกไม้ป่าไว้ 5 ชนิด ได้แก่ ดุสิตา สร้อยสุสวรรณา ทิพเกสร มณีเทวา สรัสจันทร พันธุ์ดอกไม้ป่านี้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ดอกไม้ป่าจะบานเต็มที่ ช่วงปลายเดือน พฤศจิกายน ถึงปลายเดือน ธันวาคม ของทุกปี

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกทุ่งนาเมือง  น้ำตก ทุ่งนาเมือง ตั้งอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ 4 (คันท่าเกวียน) สามารถไปท่องเที่ยวได้โดยเดินทางไปตามเส้นทางบ้านทุ่งนาเมือง ต.นาโพธิ์กลาง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ประมาณ 40 กิโลเมตร เส้นทางรถยนต์สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   เดินป่าระยะไกล  

น้ำตกสร้อยสวรรค์ บริเวณห้วยสร้อย  จาก ที่ทำการอุทยานแห่งชาติผาแต้มไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2112 อีกประมาณ 15 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกสร้อยสวรรค์ เป็นน้ำตกที่สวยงามมาก เกิดจากลำธาร 2 สาย คือ แซสร้อย และแซไผ่ ไหลตกลงมาบรรจบกันดูลักษณะคล้ายสายสร้อย บริเวณริมลำธารมีพลาญหินซึ่งในช่วงปลายฝนต้นหนาว จะมีดอกไม้หลากสีสันออกดอกงดงามเต็มลานหิน

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกสร้อยสวรรค์ บริเวณห้วยสะหนม  จาก แยกทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2112 อีกประมาณ 15 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกสร้อยสวรรค์ เป็นน้ำตกที่สวยงามมาก เกิดจากลำธาร 2 สาย คือ แซสร้อย และแซไผ่ ไหลตกลงมาบรรจบกันดูลักษณะคล้ายสายสร้อย บริเวณริมลำธารมีพลาญหินซึ่งในช่วงปลายฝนต้นหนาว จะมีดอกไม้หลากสีสันออกดอกงดงามเต็มลานหิน

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

น้ำตกแสงจันทร์  อยู่ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติตามหมายเลขทางหลวงที่ 2112 ประมาณ 30 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปน้ำตกทุ่งนาเมือง น้ำตกแห่งนี้มีลักษณะพิเศษคือ เมื่อสายน้ำตกจากผาลงมาแล้ว จะไหลลับหายไปในซอกหิน ชาวบ้านเรียก น้ำตกลอดรู ส่วนน้ำตกแสงจันทร์มีทางเดินเท้าไปอีกไม่ไกลนัก สายน้ำตกลงมาจากช่องโพรงของเพิงผา บางคนเรียกว่า น้ำตกลงรู

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก  

ภูกระบอ  เป็นภูผาหินทราย ที่มีเสาเฉลียงเป็นจำนวนมาก ตั้งเรียงรายกระจายทั่วพื้นที่ดูลักษณะคล้ายสวนหิน

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

เภาวัลยักษ์ บริเวณน้ำตกทุ่งนาเมือง  เถา วัลยักษ์ เป็นความเก่าแก่ของธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นนาน 400 ปี อยู่ติดกับทางลงชมน้ำตกทุ่งนาเมือง เป็นความมหัสจรรย์ทางธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวควรได้สัมพัส

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง  

เสาเฉลียงคู่  เป็น ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำ สายลมและแสงแดดมีลักษณะเป็นแท่งหินตั้งขึ้น มีส่วนบนเป็นแผ่นหินวางอยู่โดยไม่ติดกัน มองดูคล้ายดอกเห็ด อุทยานแห่งชาติมีเสาเฉลียงให้ชม 2 จุด จุดที่ชมได้ง่ายอยู่ก่อนถึงผาแต้ม 1 กิโลเมตร กับเสาเฉลียงที่ต้องเดินทางขึ้นเหนือไปทางบ้านผาชันอีกราว 70 กิโลเมตร

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์  

เสาเฉลียงใหญ่  เสา เฉลียงใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านผาชัน อำเภอโพธ์ไทร เส้นทางถนนหมายเลข 2112 สายโขงเจียม โขงเจียม - เขมราฐ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติผาแต้ม 50 กิโลเมตร ลักษณะเป็นหินทรายขนาดใหญ่ มีความสูง 15 เมตร ตั้งวางทับกันที่เกิดจากการกัดกร่อนของ ลม น้ำ อากาศ เป็นอีกสถานที่หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา  

หาดวิจิตรา  หาด วิจิตตรา เป็นชายหาดที่ทอดยาวยื่นออกไปสู่กลางลำน้ำโขงเป็นหาดทรายสีดำ มีพื้นที่ที่สวยงามในยามเช้า และช่วงเวลาตะวันตกจะมองเห็นวิวเกาะ บวกกับแสงตะวันกระทบพื้นน้ำกลางลำน้ำโขง ในช่วงฤดูหนาว ถึงฤดูร้อนจะมีความสวยงามน่าชม พร้อมสัมผัสวิถีชีวิตของชาวบ้าน รอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ได้แก่บ้านหนองผือน้อย บ้านกุ่ม และบ้านตามุย สถานที่ตั้งห่างจากอุทยานแห่งชาติผ่แต้ม 4 กิโลเมตร รถยนต์สามารถเข้าถึงได้ เป็นเส้นทางริมโขง มองจากเส้นทางด้านล่างจะเห็นแนวหน้าผาจุดชมวิวผาแต้ม นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเที่ยวชมหาดได้ในช่วงฤดูหนาว และฤดูร้อนเท่านั้น

กิจกรรม : ล่องแพ/ล่องเรือ   กิจกรรมชายหาด   ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   ชมทิวทัศน์   แค้มป์ปิ้ง  

หินโยกมหัศจรรย์  หิน โยกมหัศจรรย์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มี ชื่อในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นหินขนาดใหญ่หนักขนาด 50 ตัน และนักท่องเที่ยวสามารถโยกได้ด้วยมือเดียว สถานที่ตั้งห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ประมาณ 48 กิโลเมตร และห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติผาแต้ม(หน่วย คันท่าเกวียน ) ในทางเดินเท้าประมาณ 6 กิโลเมตร อยู่ในเขตหมู่บ้านคันท่าเกวียน อำเภอนาโพธิ์กลาง ตำบลห้วยไผ่ จังหวัดอุบลราชธานี

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมทิวทัศน์   เดินป่าระยะไกล  

แหล่งกำเนิดแม่น้ำโขง  

แม่ น้ำโขง มีต้นกำเนิดจากบริเวณที่ราบสูงธิเบต แถบเทือกเขาตังกุลา (Tanggula) มณฑลชิงไห่ (Qinghai) ประเทศจีน ไหลผ่านมณฑลยูนานและออกจากประเทศจีนที่เมืองเชียงรุ้ง (Cheingrong) เป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศจีนกับประเทศพม่า เป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศพม่ากับประเทศลาว รวมทั้งเป็นเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงตอน คือ ช่วงตอนบนกั้นพรมแดนระหว่างพื้นที่จังหวัดเชียงรายของประเทศไทยกับพื้นที่ แขวงบ่อแก้วของประเทศลาว แล้วไหลเข้าประเทศลาวที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว กลับมาไหลออกจากประเทศลาวอีกที่เมืองสานะคาม กำแพงนครเวียงจันทน์ และเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาวในช่วงตอนล่าง ซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างพื้นที่ 6 จังหวัดของประเทศไทยได้แก่ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี กับพื้นที่ของประเทศลาวได้แก่ กำแพงนครเวียงจันทน์ แขวงบอลิคำไซ แขวงคำม่วน แขวงสะหวันนะเขต แขวงสาละวัน และแขวงจำปาสัก จากนั้นไหลเข้าไปในประเทศลาวอีกตอนหนึ่งที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก
แล้วไหลออกจากประเทศลาวที่เมืองโขง แขวงจำปาสัก เข้าสู่ประเทศกัมพูชา ที่จังหวัด สตึงเตรง (Stung treng) ไหลออกจากประเทศกัมพูชาที่จังหวัดพนมเปญ (Phanom Phen) เข้าสู่ประเทศเวียดนามและแยกออกเป็นหลายสาย บริเวณที่เรียกว่า ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ก่อนที่จะไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ มีความยาวตลอดสายรวมทั้งสิ้นประมาณ 4,880 กิโลเมตร (จเร ศิลา 2537: รายงานการประชุม, สาธารณรัฐประชาชนจีน) โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. อยู่ในประเทศจีน ประมาณ 2,130 กิโลเมตร
2. เป็นเส้นเขตแดนกั้นระหว่างจีน - พม่า ประมาณ 31 กิโลเมตร
3. เป็นเส้นเขตแดนกั้นระหว่างพม่า - ลาว ประมาณ 234 กิโลเมตร
4. เป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างไทย - ลาว ประมาณ 955 กิโลเมตร
5. อยู่ในประเทศลาว ประมาณ 789 กิโลเมตร
6. อยู่ในประเทศกัมพูชา ประมาณ 490 กิโลเมตร
7. อยู่ในประเทศเวียดนาม ประมาณ 230 กิโลเมตร ปัจจุบันแม่น้ำโขงเป็นเส้นเขตแดนกั้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ตอนแรกอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ระยะทางประมาณ 85 กิโลเมตร และตอนที่ 2 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่จังหวัดเลยถึงจังหวัดอุบลราชธานี ระยะทางประมาณ 832 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 917 กิโลเมตร
 
ลักษณะที่สำคัญของแม่น้ำโขงนั้น ตลิ่งทั้งสองฝั่งจะมีความสูงชันมาก กระแสน้ำจะไหลออกเหนือลงใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูแล้งกับฤดูฝนจะมีความแตกต่างกันมากถึง 14 เมตร ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับฤดูกาล ซึ่งโดยปกติจะมีความเร็วของกระแสน้ำ ตั้งแต่ 2 - 12 นอต สภาพในลำแม่น้ำโขงจะมีลักษณะเป็นเกาะ หรือดอน หรือสันทราย และแก่งหินโขดหินปรากฎอยู่ทั่วไป โดยทวีขนาดและเพิ่มจำนวนมากขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งดอนเหล่านี้ในช่วงระดับน้ำลดลงจะเหลือเพียงทางน้ำเล็ก ๆ เป็นเส้นกั้นเขตแดน หรือบางแห่งระดับน้ำตื้นเขินมากจนกลายเป็นผืนดินติดต่อกันกับฝั่งไทย โดยไม่มีทางน้ำให้เห็นแต่อย่างใด  

กิจกรรม : ล่องแพ/ล่องเรือ   ชมทิวทัศน์   ชมวัฒนธรรมและประเพณี  

ด้านท่องเที่ยวผจญภัย

เส้นทางเดินป่าระยะไกล  อุทยาน แห่งชาติผาแต้ม เป็นพื้นที่มีความหลากหลายของนานาชีววิทยา มีธรรมชาติที่สวยงาม เหมาะแก่การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ โดยมีเส้นทาง ต่อไปนี้

เส้นทางที่ 1 จากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติผาแต้ม หน่วยที่ 4 (ห้วยทราย) ถึงชุดปฎิบัติการพิเศษดงนาทาม หน่วยที่ 5 (ดงนาทาม) มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ ถ้ำปาฎิหาริย์ หินเต่าชมจันทร์ น้ำตกกิ้ต น้ำตกซะปัน ตาน้ำ ผลาญหินถ้ำไฮ เสาเฉลียงคู่ โหง่นแต้ม เนินสนสองใบ ผาชะนะได น้ำตกห้วยพอก ผากะปั่น ผาหินแตก ถ้ำฝ่ามือแดง น้ำตกกวางโตน น้ำตกซ้อย สวนหินภูกระบอ(มีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์) ภูโลง(สถานที่ทำพิธีศพของมนุษย์ถ้ำ และโลงศพโบราณ)

เส้นทางที่ 2 จากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติผาแต้ม หน่วยที่ 3 (คันท่าเกวียน) ถึงชุดปฏิบัติการพิเศษดงนาทาม หน่วยที่ 5 (ดงนาทาม) มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ คือ น้ำตกแสงจันทร์หรือน้ำตกลงรู น้ำตกทุ่งนาเมือง น้ำตกห้วยนาเมืองใหญ่ ภูน้ำถ้ำ ผาหินฝน ถ้ำโบกโลง เสาเฉลียงภูจ้อมก้อม หินโยกมหัศจรรย์ ผาแดง(มีภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์)

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ   ชมประวัติศาสตร์   ขี่จักรยานศึกษาธรรมชาติ   เที่ยวน้ำตก   ชมพรรณไม้   ชมทิวทัศน์   เดินป่าระยะไกล   ดูนก  

ด้านศึกษาธรรมชาติ

เส้นทางศึกษาธรรมชาติ  อุทยาน แห่งชาติผาแต้ม จัดทำเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะสั้นเหมาะแก่การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ที่ ต้องการความสวยงานตามธรรมชาติ 3 เส้นทาง ดังนี้

เส้นทางแมกไม้สายธาร
เส้นทางศิลปะถ้ำ
เส้นทางทุ่งดอกไม้ป่าตามรอยเสด็จ 

กิจกรรม : เดินป่าศึกษาธรรมชาติ  

เสาเฉลียงผาแต้ม  เมื่อ ประมาณ 4,600 ล้านปี ที่ผ่านมา ซึ่งนักดาราศาสตร์ สันนิษฐานว่าเกิดจากการรวมตัวของ กลุ่มก๊าซในอวกาศ ด้วยความกดดันที่สูงมาก และเกิดพลังงานความร้อนมหาศาลจนมวลสารที่รวมตัวกันหลอมละลาย ซึ่งใช้เวลานับล้านปี จึงเย็นตัวลงเป็นเปลือกโลก แต่ว่าสภาพบรรยากาศที่ปกคลุมโลกอยู่ เต็มไปด้วยก๊าซชนิดต่าง สภาพลมฟ้าอากาศแปรปรวน ก๊าซที่ปกคลุมผิวโลกอยู่รวมตัวกัน ความหนาแน่นมากขึ้น จนกลั่นตัวลงมาเป็นฝนนานนับหมื่นปี เมื่อสิ้นสุดฝนในครั้งนั้น โลกก็เย็นตัวลง มากขึ้น เกิดผืนน้ำ แม่น้ำลำธารมากมาย เกิดการกัดเซาะพังทลายของเปลือกโลก (กษัยการ) เกิดวัฏจักรของหิน ต่อมาเมื่อประมาณ 3,500 ล้านปี ที่ผ่านมา จึงกำเนิดชีวิตแรกในท้องน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิต เซลล์เดียว ประเภท โปรคารีโอต ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของพืช และสัตว์ทุกชนิด ตามสายวิวัฒนาการ เสาเฉลียง.…เป็นประติมากรรมหินทรายที่ธรรมชาติสร้างขึ้นเป็นหน่วยหิน “ภูพาน” ที่เกิดขึ้นในยุค ครีเตเชียส (Cretaceous Period) เมื่อประมาณ 130 ล้านปี เสาเฉลียงประกอบด้วย หินสองส่วน หินทรายต้นถึงกลางยุค หินส่วนบนเกิดจากการสะสมตะกอนของหินทราย ช่วงปลายยุคครีเตเชียส โดยผ่านกระบวนการการกัดกร่อนทางธรรมชาติที่ยาวนานหลายล้านปี อันมีสาเหตุมาจากกระแสน้ำ แรงลม และ ความแปรปรวนของลมหลายล้านปีอันมีสาเหตุมาจากกระแสน้ำ แรงลมและความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศ กระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของเปลือกโลกครั้งสำคัญ(การเคลื่อนตัว การโก่งตัว และการทรุดตัว ) เป็นผลให้เกิดการกัดกร่อนของชั้นหินส่วนล่างที่เหลือจากการกัดกร่อนซ้อนอยู่ ในแนวดิ่ง และหินส่วนบนที่เหลือจากการกัดกร่อนซ้อนอยู่ในแนวนอน เมื่อมองดูหินทั้งสองส่วนประกอบด้วยความแตกต่างของช่วงเวลาการสะสมของหิน ทรายที่ได้สร้างประติมากรรมหินทรายอันทรงคุณค่า และน่าทึ่งไว้ให้เราได้ชื่นชม * หมายเหตุ เสาเฉลียง เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำสายลม และแสงแดดต่อเนื่องเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี มีลักษณะเป็นแท่งหินตั้งขึ้น มีส่วนบนเป็น แผ่นหินวางอยู่โดยไม่ติดกันมองดูคล้ายดอกเห็ดนับเป็นประติมากรรมชิ้นเอกของ ธรรมชาติ ชาวท้องถิ่นเรียกเสาหินลักษณะนี้ว่า“เสาเฉลียง”ซึ่งแผลงมาจากคำว่า“สะเลียง ”เป็นภาษาส่วยหมายถึง “เสาหินที่มีลักษณะแปลก” นั่นเอง*

กิจกรรม : เที่ยวถ้ำ/ธรณีวิทยา   ชมทิวทัศน์  

สิ่งอำนวยความสะดวก
 

ห้องน้ำ-ห้องสุขาชาย    มีห้องสุขาชายไว้บริการ บริเวณด้านทิศตะวันออกของลานจอดรถ ใต้อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ด้านหลังร้านอาหาร และลานกางเต็นท์


ห้องน้ำ-ห้องสุขาหญิง    มีห้องสุขาหญิงไว้บริการ บริเวณด้านทิศตะวันออกของลานจอดรถ ใต้อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ด้านหลังร้านอาหาร และลานกางเต็นท์


ที่พักแรม/บ้านพัก    อุทยานแห่งชาติได้จัดเตรียมบ้านพักไว้ให้บริการในบริเวณตรงข้ามด่านเก็บค่าธรรมเนียม และบริเวณหลังที่ทำการอุทยาน


ที่จอดรถ    อุทยานแห่งชาติได้จัดลานจอดรถไว้ในบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ สามารถรองรับได้ประมาณ 500 คัน


บริการอาหาร    มีร้านอาหาร จำนวน 6 ร้าน ไว้ให้บริการในบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว


ร้านขายของที่ระลึก    อุทยาน แห่งชาติผาแต้มมีพื้นทีบริการสินค้าที่ระลึก สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP ) และของแซบจากชุมชนรอบแนวเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม


ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว    มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเพื่อศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของอุทยานแห่งชาติผาแต้ม ก่อนที่จะไปพักผ่อนศึกษาธรรมชาติในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ


อื่นๆ    ที่ ทำการอุทยานแห่งชาติ ตั้งอยู้พื้นที่ส่วนกลาง ท้องที่บ้านหนองผือน้อย ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เป็นจุดรับบริการ ติดต่อราชการ และติดต่องานด้านการท่องเที่ยว พร้อมทั้งรับบริการด้านการจองที่พักบริการนักท่องเที่ยว สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ 045 - 318026 , 045 - 246332 โทรสาร 045 - 246333 ,045-318026 หรือ E- Mail : phataem_3@hotmail.com


เต็นท์    สามารถ เข้าพักได้ 2 - 3 คน ปัจจุบันมีเต็นท์ให้บริการ 42 หลัง อัตราค่าบริการ/เต็นท์ 150 บาท ไม่เข้าระบบการจองออนไลน์ (สำรวจข้อมูล 17 กรกฎาคม 2552 )


เต็นท์    สารมารถเข้าพักได้ 4- 5 คน มีเต็นท์ไว้บริการ จำนวน 7 หลัง อัตราค่าบริการ 500 บาท ( ข้อมูล 1 พฤศจิกายน 2551 )


เต็นท์    สามารถ เข้าพักได้ 4 - 6 คน ปัจจุบันมีเต็นท์ไว้บริการ จำนวน 13 เต็นท์ อัตราต่าบริการ/เต็นท์ 300 บาท สามารถเข้าจองในบระบบออนไลน์ได้ (สำรวจข้อมูล 17 กรกฎาคม2552 )


เต็นท์    สามารถ เข้าพักได้ 3 - 6 คน ปัจจุบันมีเต็นท์ให้บริการ จำนวน 3 หลัง อัตราค่าบริการ/เต็นท์ 225 บาท ไม่เข้าระบบจองออนไลน์ ( สำรวจข้อมูล 17 กรกฎาคม 2552 )


เวทีกลางแจ้ง    อุทยานแห่งชาติผาแต้ม ได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับการจัดนิทรรศการ การแสดงความสามารถ ในวันหยุด พิเศษ ช่วงเทศกาลต่างๆ


ทางจักรยานศึกษาธรรมชาติ    นัก ท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการผจญภัยตามและต้องการศึกษาธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีไว้บริการเส้นทางจักรยานเสือภูเขา แก่งมโนราห์ - ผาชะนะได รวมระยะทาง 15 กิโลเมตร


ทางจักรยานศึกษาธรรมชาติ    นักท่องเที่ยวที่สนใจในผจญภัยตามเส้นทางจักรยานเสือภูเขา อุทยานแห่งชาติ มีพร้อมให้บริการ


ห้องประชุม    อุทยาน แห่งชาติผาแต้มมีบริการห้องประชุมสัมนา โดยนักท่องเที่ยว/หน่วยงานราชการ/หน่วยงานเอกชน สามารถเข้าจองห้องประชุมได้ที่ www.dnp.go.th ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยคิดอัตราค่าบริการ


จักรยานเสือภูเขา    อัตรา ค่าบริการ 50 บาท/ ชัวโมง ถ้าเกิน 1 ชั่วโมง คิดเป็นราคา 100 บาท ปัจจุบันมีให้บริการ จำนวน 23 คัน (สำรวจข้อมูล 17 กรกฎาคม 2552)


 
 
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
ตู้ ปณ.5 ต.ห้วยไผ่  อ. โขงเจียม  จ. อุบลราชธานี   34220
โทรศัพท์ 0 4531 8026, 0 4524 6332 - 3   โทรสาร 0 4531 8026   อีเมล PHATAEM_3@hotmail.com

  
 

 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์