วัดแจ้ง ไหว้แล้วมีแต่ความรุ่งเรือง

0

ไหว้พระวัดในรัชกาลที่  2  มีแต่ความรุ่งเรืองทุกคืนวันวิถีชีวิตของคนไทยเมื่อครั้งอดีตกาลนั้นค่อนข้างที่จะมีความผูกพันอย่างลึกซึ้งกับแม่น้ำลำคลอง  อย่างแม่น้ำเจ้าพระยาก็เช่นเดียวกับลำน้ำสายอื่น ๆ  ซึ่งมักพบเห็นพระอารามอยู่สองข้างลำน้ำตั้งแต่  จังหวัดนครสวรรค์เรื่อยมาจนถึงปากน้ำที่สมุทรปราการ  พระอารามเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากศรัทธาของพุทธศาสนิกชน

watarun (2)watarun (1)

ทริปนี้เรา พาทำบุญไหว้พระ  ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่ง ที่ช่วยสร้างสีสันให้กับคุ้งน้ำเจ้าพระยากลางเมืองกรุงแห่งนี้ ก็คือ  วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร               ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์สำคัญอย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานครมาตั้งแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์  และยังเป็นที่รวบรวมศิลปกรรมหลายแขนงจากความศรัทธาที่มนุษย์มีต่อศาสนา  ทั้งของประชาชนและช่างฝีมือหลายยุคหลายสมัยที่บรรจงสร้างสรรค์งานด้วยความประณีตในความงามวิจิตรนั้นแฝงความหมายของธรรมะและความเชื่อเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม และอีกมากมายและที่เป็นที่รู้จักก็คือ ยักษ์วัดแจ้ง ที่โด่งดังเรื่องความสวยงามและยิ่งใหญ่  และยังมีความเชื่อว่าถ้าได้เข้าไหว้พระที่วัดแจ้งแล้ว ชีวิตจะมีแต่ความรุ่งโรจน์ทุกคืนวัน เราเข้าไปตามชมกราบไหว้และคันหาประวัติกันเลยครับ

watarun (22)ซุ้มประตูเข้าไปในอุโบสถ,วิหาร มียักษ์เฝ้าสองคน สวยงาม

watarun (26) watarun (24) watarun (23)watarun (21)มลฑปพระพุทธบาทจำลอง

วัดอรุณราชวรารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน  แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรี ในพ.ศ 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง  และอาจสันนิษฐานได้ว่า วัดแจ้งมีมาก่อนที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจะทรงย้ายราชธานีมายังกรุงธนบุรี  การปฏิสังขรณ์วัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงกระทำมาตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร และยังทรงประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมนั้น ได้สำเร็จลงไปต้นปีมะโรง พ.ศ. 2363  สมัยรัชกาลที่ 2  จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีการฉลองแล้วพระราชทานชื่อวัดใหม่ ว่า วัดอรุณราชธาราม  ถึงรัชกาลที่ 4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าให้บูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก แล้วทรงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น  วัดอรุณราชวราราม  ดังที่เรียกกันจนถึงปัจจุบัน

watarun (15)วิหารสีขาวสวยและมีรูปปั้นแบบจีนรอบเลยครับ

watarun (20)กราบไหว้พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร

watarun (19)watarun (17) watarun (16)

พระประธานในพระวิหาร คือ พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตรเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 6 ศอก หล่อด้วยทองแดงปิดทองพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้หล่อขึ้นพร้อมกับพระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศเทพวราราม เมื่อ พ.ศ. 2496  ทางวัดได้พบพระบรมธาตุ 4 องค์ บรรจุอยู่ในโกศ 3 ชั้น อยู่ในพระเศียร ที่ฐานชุกชีด้านหน้าพระชุมภูนุท มีพระอรุณหรือพระแจ้งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์พระและผ้าทรงครองหล่อด้วยทองต่างสีกัน หน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร

มีประวัติว่าได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์เมื่อ พ.ศ. 2401  ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวัง และมีพระราชดำริว่านามพระพุทธรูปพ้องกันกับวัดอรุณ จึงโปรดให้อัญเชิญมา ณ วิหารนี้ และที่แท่นหน้าพระอรุณในพระวิหาร มีพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 70  เซนติเมตร มีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง ประดิษฐานอยู่ เดิมพระพุทธรูปองค์นี้อยู่ที่ศาลาการเปรียญที่รื้อไปแล้ว มีปูนพอกทั้งองค์โดยไม่มีใครทราบ ภายหลังปูนกระเทาะตัวออกจึงเห็นองค์พระเป็นสำริดสมัยสุโขทัย ทางวัดจึงอัญเชิญมาประดิษฐานในวัดแห่ง หลังจากที่เราไหว้พระศักดิ์ในวิหารแล้ว เราก็ออกมาชมความงามและยิ่งใหญ่ของพระปรางค์ที่ตั้งอยู่ทางด้านหน้าวัด

watarun (12)ครุฑแบกฐานไว้ครับ

watarun (3)หมู่พระปรางค์ วัดอรุณครับ

watarun (13) watarun (14) watarun (17) watarun (4) watarun (5) watarun (6) watarun (7)

พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม  เป็นพระเจดีย์ทรงปรางค์  ซึ่งดัดแปลงมาจากพระปรางค์  แต่เดิมเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อสักการบูชาในศาสนาพราหมณ์และฮินดู  แต่สำหรับพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างสืบเนื่องมาจากความศรัทธาในพุทธศาสนาผสมผสานไปกับศิลปกรรมแบบฮินดู  วัตถุประสงค์หลักนั้นสร้างด้วยความศรัทธาในคตินิยมของพุทธศาสนาจึงอาจเรียกอีกชื่อหนึ่งของพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามว่าเป็น พุทธปรางค์

พระปรางค์ ตั้งอยู่หน้าวัด ทางทิศใต้ หลังโบสถ์น้อยและวิหารน้อย เดิมสูง 8 วา เป็นปูชนียสถานที่สร้างขึ้นพร้อมกับโบสถ์และวิหารน้อย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาพลัยทรงมีพระราชศรัทธาจะเสริมสร้างให้สูงใหญ่เป็นพระมหาธาตุสำหรับพระนคร แต่ทรงกระทำได้เพียงโปรดให้กะที่ขุดรากเตรียมไว้เท่านั้น การยังค้างอยู่เพราะสวรรคตเสียก่อน ถึงรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้เป็นการใหญ่อีกครั้ง เริ่มแต่ทรงปฏิสังขรณ์และสร้างกุฏิสงฆ์เป็นตึกใหม่ทั้งหมด เป็นต้น และทรงมีพระราชดำริเพื่อสนองพระราชประสงค์ของสมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงโปรดให้เสริมสร้างพระปรางค์ใหญ่สูงถึง 1 เส้น  13 วา 1 ศอก 1 นิ้ว

ลักษณะของพระปรางค์  พระปรางค์ใหญ่ อยู่ภายในวงล้อมของวิหารคดและเก๋งจีน 3 ด้าน เว้นด้านหน้า มีประตูเข้า 9 ประตู บริเวณลานจากวิหารคดและเก๋งจีนถึงฐานพระปรางค์ชั้นล่างปูด้วยกระเบื้องหิน มีบันไดขึ้นสู่ทักษิณชั้นที่ 1ระหว่างปรางค์ทิศและมณฑปทิศ ด้านละ 2 บันได รวม 4 ด้าน เป็น 8 บันได เหนือพื้นทักษิณชั้นนี้เป็นฐานทักษิณชั้น 2  รอบฐานมีรูปต้นไม้ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ เหนือขึ้นไปเป็นเชิงบาตร ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีลายดอกไม้ใบไม้ มีบันไดขึ้นสู่ทักษิณชั้นที่ 2 ตรงหน้ามณฑปทิศ มณฑปละ 2 บันได คือทางซ้ายและทางขวาของแต่ละมณฑปรวม 8 บันได เหนือพื้นทักษิณชั้นที่ 2 เป็นฐานของทักษิณชั้นที่ 3 มีช่องรูปกินรและกินรีสลับกันโดยรอบ เชิงบาตรมีรูปมารแบก และมีบันไดตรงจากหน้ามณฑปทิศแต่ละมณฑปขึ้นสู่ทักษิณชั้นที่ 3 อีกด้านละบันได รวม 4 บันได ที่เชิงบันไดมีเสาหงส์หินบันไดละ 2 ต้น เหนือพื้นทักษิณชั้นที่ 3 เป็นฐานทักษิณชั้นที่ 4 มีช่องรูปกินนรและกินรีสลับกันโดยรอบ เว้นแต่ตรงย่อมุม 4 ด้าน เป็นรูปแจกันปักดอกไม้ เพราะเป็นช่องแคบ ๆ ที่เชิงบาตรมีรูปกระบี่แบก มีบันไดขึ้นไปยังทักษิณชั้นที่ 4 อีก 4 บันไดตรงกับบันไดชั้นที่ 3 ดังกล่าวแล้ว และมีเสาหงส์หินอยู่เชิงบันไดอีกด้านละ 2 ต้น เช่นเดียวกัน เหนือพื้นทักษิณชั้นที่ 4 เป็นช่องรูปกินนรและกินรีสลับกันโดยรอบ และตรงย่อมุมเป็นรูปแจกันปักดอกไม้ เชิงบาตรมีรูปพรหมแบบ เหนือชั้นไปเป็นซุ้มคูหา 4 ด้าน มีรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่ในคูหาทั้ง 4 คูหา เหนือซุ้มคูหารูปพรอินทร์เป็นยอดปรางค์ขนาดย่อม และมีรูปพระนารายณ์ทรงครุฑแบบกพระปรางค์ใหญ่อยู่โดยรอบตอนสุดพระปรางค์ใหญ่ขึ้นไปเป็นนภศูลและมงกุฎปิดทอง

watarun (9)

องค์พระปรางค์ก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยชิ้นกระเบื้องเคลือบสีต่าง ๆ อย่างงดงามประณีตบรรจง เป็นลายดอกไม้ ใบไม้ และลายอื่น ๆ กระเบื้องเคลือบสีที่ใช้ประดับเหล่านี้ บางแผ่นเป็นรูปลายที่ทำสำเร็จมาแล้ว บางชิ้นเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยนำมาประกอบกันเข้าเป็นลาย และบางลายใช้กระเบื้องเคลือบธรรมดา บางลายเป็นกระเบื้องเคลือบสลับเปลือกหอยและบางลายใช้จานชามของโบราณที่มีลวดลายงาม ๆ เป็นของเก่าหายาก เช่น ชามเบญจรงค์ เล็กบ้างใหญ่บ้างมาประดับสอดสลับไว้อย่างเรียบร้อยน่าดูน่าชมยิ่ง

ปรางค์ทิศ  เป็นพระปรางค์องค์เล็ก ๆ อยู่บนมุมทักษิณชั้นล่างของพระปรางค์องค์ใหญ่  ตรงทิศ  ตะวันออกเฉียงเหนือ  ตะวันออกเฉียงใต้  ตะวันตกเฉียงเหนือ  ตะวันตกเฉียงใต้  ทิศละองค์  ปรางค์ทิศทั้ง 4  องค์  รูปทรงเหมือนกันคือ  มีช่องรูปกินนรกินรี  เชิงบาตรเหนือช่องมีรูปมารกับกระบี่แบกสลับกัน  เหนือขึ้นไปเป็นซุ้มคูหารูปพระพายทรงม้า  เหนือขึ้นไปเนยอดพระปรางค์  มีรูปครุฑจับนาคและเทพพนมอยู่เหนือซุ้มคูหา  องค์ปรางค์ทิศก่อด้วยอิฐถือปูนกับถ้วยกระเบื้องเคลือบสีแบบเดียวกับพระปรางค์องค์ใหญ่  และเหนือยอดพระปรางค์เป็นนภศูลปิดทองแต่ไม่มีมงกุฎปิดทองครอบ  (จะมีเฉพาะพระปรางค์องค์ใหญ่เท่านั้น)

watarun (29)ซุ้มประตู มีรูปปั้นแบบชาวจีนอยู่ทั่วบริเวณ

มณฑปทิศ มีอยู่ 4 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ตั้งอยู่บนฐานทักษิณชั้นที่ 2 ในระยะระหว่างปรางค์ทิศ ภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ แต่จะเป็นปางใดบ้างนั้น ไม่พลหลักฐาน เมื่อปฏิสังขรณ์ในรัชกาลที่ 5 ตามรายงานของพระยาราชสงครามชี้แจงว่า มีแต่ฐานพระพุทธรูป องค์พระพุทธรูปไม่มี ตอนฐานของมณฑป แต่ละมณฑปมีช่องรูปกินรีและกินนร และเหนือช่องมีรูปกุมภัณฑ์แบก 2 มณฑป คือ ทิศเหนือกับทิศใต้ รูปคนธรรพ์แบก 2 มณฑป คือทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มณฑปก่อด้วยอิฐถือปูนประดับกระเบื้องเคลือบสีเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่นเดียวกับองค์พระปรางค์ใหญ่ และปรางค์ทิศ

เมื่อเราเดินขึ้นบันไดไปชั้นบนสุดของพระปรางค์องค์ใหญ่ก็สามารถมองเห็นวิวแม้น้ำเจ้าพระยาของเมืองหลวงได้สวยอีกมุมหนึ่งและมองเห็นวัดพระแก้วได้อีกด้วย ตัวปรางค์ใหญ่มาก ๆ และสวยงามจริง ๆ

watarun (43)watarun (40)มีศาลาริมน้ำแบบก๋งจีนครับ

watarun (27) watarun (41)รูปปั้นแบบชาวจีนในแบบต่าง ๆครับ

ภายในวัดอรุณแห่งมีสถาปัตยกรรมและสิ่งที่น่าสนใจมากมายที่ควรได้รู้ได้เห็น  และเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่   พระมหากษัตริย์ไทยมีใจรักและทำนุบำรุงพุทธศาสนาเป็นอย่างดีตลอดมา   ทำให้เราคนรุ่นหลังมีโอกาสได้เห็นและรับรู้ถึงฝีมืออันล้ำค่าว่าคนไทยเราก็มีดีเหมือนกัน และสมควรที่เราชาวไทยต้องเข้าเยี่ยมชมและสักการบูชาอย่างยิ่งครับ

หลังจากที่เราไหว้พระและชมความงามของวัดอรุณแล้วเรียบร้อยแล้วก็นี่เลยครับ ลูกชิ้นปลากายทอดกรอบ ของคุณป้า ปราณี อร่อยมาก ๆ ลูกชิ้นทอดออกมาแล้วกรอบไม่เหมือนที่อื่น น้ำจิ้มรสเด็ดมาก ถ้าหิวก็แวะเลย ป้าแกขายอยู่บริเวณหน้าวัดทางขึ้นมาจากท่าเรือ รับรองไม่ผิดหวังแน่นอนครับ

watarun (42)

 

การเดินทาง

วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๓๔ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

เดินทางมาได้โดยรถประจำทางสาย19,57  ท่าเรือข้ามฟากขึ้นจากท่าเตียน ขึ้นที่ท่าวัดอรุณฯ ได้เลย

 

เชิญแสดงความคิดเห็น