พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านผีตาโขน

0

จังหวัดเลยเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆมากมายทั้งสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างภูเรือ ภูกระดึง ที่ทุกคนรู้จักกันดีและยังมี สถานที่อื่นๆอีกมากมาย ร่วมทั้งสถานที่ยอดฮิตติดอัดับในปัจจจุบันอย่าง เชียงคาน บรรยากาศบ้านไม้ชายโขง นอกจากนี้เลยยังมีศิลปะ และประเพณีที่ดดเด่นและแตกต่างจากที่อื่นอย่างการละเล่นผีตาโขน ดังนั้นวันนี้เราจะพาเพื่อนๆมาที่พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน เพื่อศึกษาถึงประวัติความเป็นมาและที่นี่ยังมีวิธีการทำผีตาโขนให้เรียนรู้กันอีกด้วย

peetakhon peetakhon (1)

(ชาวบ้านนิยมเรียกว่าวัดโพน) ตั้งอยู่บนเนินสูงทางทิศใต้ของอำเภอด่านซ้าย ห่างจากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร ห่างจากลำน้ำหมันประมาณ 300 เมตร สำหรับน้ำหมันตรงนั้น เรียกว่าวังเวิน บริเวณที่ตั้งวัดเป็นรูปเนิน มีเรื่องเล่าว่าดินเนินเป็นมูลขุยของพญานาค มีรูจากศูนย์กลางลงไปที่ท่าวังเวิน รูนี้เรียกว่ารูพญานาค ที่รูนี้สมัยเก่าแก่ได้สร้างพระวิหารครอบเอาไว้ และสร้างพระพุทธรูปประธานองค์ใหญ่ตรงรูพญานาคนั้นไว้ พญานาคได้บุรูขึ้นมาอีกหลังพระพุทธรูปใหญ่ในพระวิหาร ปรากฏมีรอยโคลนตมของพญานาคที่ฟาดหางเปื้อนฝาผนังและที่หลังพระพุทธรูป ขณะนี้ได้กลบรูพญานาคที่ขึ้นมาฟาดหางหลังพระพุทธรูปนั้นได้หลายปีแล้ว (บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้เล่า) วัดโพนชัย เป็นวัดคู่เมืองของอำเภอด่านซ้ายสร้างขึ้นพร้อมกับพระธาตุศรีสองรัก ประมาณ พ.ศ. 2103 เข้าใจว่าพระเถระของกรุงศรีอโยธยา 5 ตน และจากกรุงศรีสัตนาคณหุต 5 ตน ที่ทำสัตยาบัน (หล่อน้ำสัจจาตามศิลาจารึก) สร้างพระธาตุศรีสองรักได้มาพำนักอยู่ที่วัดนี้ 

peetakhon (3)

จึงมีพระธาตุศรีสองรักจำลอง อยู่ทางทิศใต้ของพระวิหาร 1 องค์ ขนาดกว้าง 3.75 เมตร สูง 15 เมตร ที่วัดนี้มีการทำบุญมหาชาติในเดือน 7 หลังจากเสร็จงานพระธาตุศรีสองรักเป็นประจำทุกปีไม่ขาด มีเจ้าพ่อกวน เจ้าพ่อแสน เจ้าแม่นางเทียมและแม่นางแต่งทุกคนเป็นเจ้าภาพจัดงานบุญเทศน์มหาชาติ แต่ละปีตามประเพณีสืบต่อกันมา ชาวบ้านเรียกว่าบุญหลวง ในงานนี้จะมีผีตาโขนเล็ก ผีตาโขนน้อยมาเล่นในงานนับร้อย ปัจจุบันวัดโพนชัยเป็นสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ผีตาโขนด้วย

peetakhon (11)

ตัวพิพิธภัณฑ์เป็นบ้านเรือนไม้ จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมืองด่านซ้าย นิทรรศการผีตาโขน การสาธิตทำหน้ากากผีตาโขนและสินค้าของที่ระลึกผีตาโขนในรูปแบบต่างๆ สามารถเข้าชมและเลือกซื้อสินค้าได้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น.นอกจากนี้ยังมีอุโบสถ ซึ่งเป็นฝีมือของช่างท้องถิ่น และพระธาตุศรีสองรักจำลอง ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานบุญพระเวสและงานบุญต่าง ๆ รวมทั้งการจัดงานประเพณีบุญหลวง และการละเล่นผีตาโขนอีกด้วย สอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอด่านซ้าย โทร. 0 4289 1094

 peetakhon (19) peetakhon (12) peetakhon (7) peetakhon (6) peetakhon (5) peetakhon (4)

แม้ผีตาโขนจะเป็นการละเล่นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวอีสาน แต่ทุกวันนี้ก็หาชมได้ยาก ที่ยังเหลืออยู่และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศคือ ผีตาโขนที่ อ. ด่านซ้าย อันเป็นเอกลักษณ์ของ จ. เลยไปแล้วในปัจจุบัน ที่มาของการแห่ผีตาโขนนั้น ชาวบ้านเชื่อกันว่า เมื่อครั้งที่พระเจ้ากรุงสัญชัยกับพระนางผุสดีไปเชิญเสด็จพระเวสสันดรกับพระ นางมัทรีกลับเมืองนั้น คนป่าหรือผีป่าที่เคยปรนนิบัติและเคารพรักพระเวสสันดรได้ร่วมขบวนแห่แหนไป ด้วย ผีตาโขนก็คือภาพจำลองของคนป่าหรือผีป่าเหล่านั้น ปัจจุบันงานแห่ผีตาโขนจึงจัดให้มีขึ้นในงานประเพณีบุญพระเวสและงานบุญบั้งไฟ ในช่วงเดือน ๗ หรือราวเดือนมิถุนายน

 peetakhon (13) peetakhon (14) peetakhon (15) peetakhon (16) peetakhon (8) peetakhon (9)

ด้วยความสำคัญดังกล่าวจึงมีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเมืองด่านซ้าย (พิพิธภัณฑ์ผีตาโขน) ขึ้นที่วัดโพนชัยในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ นอกจากจะจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับผีตาโขนเป็นหลักแล้ว ยังรวบรวมข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ ของ อ. ด่านซ้ายจัดแสดงไว้ด้วย ที่สำคัญก็เช่นตำนานพระธาตุศรีสองรัก สัญลักษณ์แห่งมิตรภาพระหว่างลาวกับไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา

 

สิ่งน่าสนใจอีกสิ่งหนึ่งคือการสาธิตการทำหน้ากากผีตาโขนให้นักท่องเที่ยวได้ชม

ผีตาโขนมีสองแบบ แบบแรกคือผีตาโขนเล็ก เป็นแบบที่เราเห็นชาวด่านซ้ายจำนวนมากแต่งร่วมไปในขบวนแห่ อีกแบบคือผีตาโขนใหญ่ เป็นหุ่นโครงไม้ไผ่สานขนาดใหญ่กว่าตัวคนประมาณ ๒ เท่า เวลาแห่ต้องมีคนเข้าไปอยู่ในตัวหุ่น แต่ละปีจะมีการทำผีตาโขนใหญ่เพียง ๒ ตัว เป็นเพศชาย ๑ ตัว และหญิง ๑ ตัว

 peetakhon (20) peetakhon (22) peetakhon (23) peetakhon (24) peetakhon (25) peetakhon (26)

ส่วนหน้ากากผีตาโขนทำจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น คือหวดนึ่งข้าวเหนียวที่นำมาหักพับให้มีลักษณะคล้ายโครงหมวกเพื่อสวมครอบ ศีรษะได้ แล้วนำหน้ากากที่ทำจากส่วนโคนกาบมะพร้าวมาเย็บติดกับโครงหวด จากนั้นก็เจาะช่องตา ติดจมูก ติดเขา ตกแต่งให้สวยงามด้วยสีน้ำมันและเศษผ้าสีสันฉูดฉาด เอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของผีตาโขน คือดาบไม้และหมากกะแล่งลักษณะคล้ายกระดิ่งซึ่งจะแขวนไว้บริเวณบั้นเอว เมื่อผีตาโขนโยกตัวส่ายสะโพกจะเกิดเสียงดังเข้ากันเป็นจังหวะ ผีตาโขนอยู่เคียงคู่กับเมืองด่านซ้าย เพื่อนๆ มาเที่ยวเมืองด่านซ้าย ก็อย่าลืมแวะชมพิพิธภัณฑ์ผีตาโขนนะ…จะบอกให้

เชิญแสดงความคิดเห็น