พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้

0

หลังจากที่ดูเอเซียเคยพาเพื่อน ๆไปดูบ่อพระแสง พระขรรค์ บ่อแร่เหล็กน้ำพี้ศักดิ์สิทธิ์ และเก็บแร่เหล็กกลับบ้านไปบูชากันแล้ว ใกล้ๆ กันจะมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้ บ่อแร่เหล็กโบราณ เป็นสถานที่จัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจำลอง ภูมิปัญญาพื้นบ้านแบบโบราณ ของชาวบ้านน้ำพี้ อีกด้วยครับ

จำลองช่างตีเหล็กhead

เหล็กน้ำพี้ที่ขุดได้bo_leknamphi (9)

เมื่อเดินเข้าไปทางด้านในก็จะพบกับความร่มรื่นภายในพิพิธภัณฑ์ที่ถูกจัดเป็นสวน มีหญ้าเขียวชอุ่ม และต้นไม้น้อยใหญ่ที่ให้ความร่มรื่น เย็นสบายเชียวครับ ด้านซ้ายมือก็จะพบกับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้ที่ดูเอเซียจะพาเพื่อนๆ ไปชมกันในวันนี้ครับ

 

ประวัติ

แร่เหล็กจาก บ่อเหล็กน้ำพี้ มีลักษณะพิเศษที่โดดเด่นมาเป็นระยะเวลานาน นับแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจวบจนปัจจุบัน โดยมีหลักฐานอ้างอิงจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ จดหมายเหตุ และวรรณคดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่า บรรพบุรุษของไทยในอดีตได้รู้จักวิธีการนำแร่เหล็กน้ำพี้ มาถลุงให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำแร่เหล็กน้ำพี้มาถลุงเป็นศาสตราวุธ เพื่อใช้ประโยชน์ในการสงคราม ดังปรากฏหลักฐานการนำเหล็กน้ำพี้มาใช้เป็นศาสตราวุธสำหรับการทหารและชนชั้นปกครอง เช่น  พระแสงของ้าว ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงใช้กระทำยุทธหัตถี กับพระมหาอุปราชา ดาบนันทกาวุธ ของพระยาพิชัยดาบหัก ดาบล้างอาถรรพ์ ของพระนารายณ์มหาราช ดาบฟ้าฟื้น ของขุนแผน มีส่วนผสมของเหล็กน้ำพี้ ในสมัยรัตนโกสินทร์มีหลักฐานว่า ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ หลวงจรุงราษฎร์เจริญ (สุข) นายอำเภอตรอน ในสมัยนั้น ได้นำเหล็กน้ำพี้มอบให้พระยาวิเศษฤๅไชย ข้าหลวงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ (พ.ศ. 2469-2471) นำพระแสงดาบขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระแสงศาสตราวุธ มาจนทุกวันนี้

 

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้  จังหวัดอุตรดิตถ์

สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2541 นายชัยพร รัตนนาครับ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ในขณะนั้น ได้เห็นว่า บ่อเหล็กน้ำพี้เป็นแหล่งแร่เหล็กทางธรรมชาติที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ และเป็นสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ ควรส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาประวัติศาสตร์สำหรับผู้สนใจ จึงได้อนุมัติงบประมาณเพื่อจัดสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้ โดยทำการเปิดพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้  เมื่อ วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และบูรณะปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบบริเวณบ่อเหล็กน้ำพี้ และได้จัดสร้าง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้ นักท่องเที่ยวและผู้สนใจจะได้เข้าศึกษาถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านแบบโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้มีการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้โบราณและจัดแสดงหุ่นการถลุงเหล็กแบบโบราณ

พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้

ทางเดินในพิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้bo_leknamphi (11) bo_leknamphi (10.1)

ภายในบริเวณ  พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้ จะมีพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นเพื่อการจำลองเรื่องราว รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับประวัติเหล็กน้ำพี้ โดยจัดแสดงและจำลองให้เห็นถึงกระบวนการ ขั้นตอนการตีเหล็กน้ำพี้ ตั้งแต่การขุดแร่เหล็กน้ำพี้จนตีเป็น ดาบที่มีความแกร่งและความคมเป็นเลิศ ดาบน้ำพี้จึงเป็นอาวุธคู่กายของขุนศึกและนักรบไทยในสมัยโบราณตลอดมา บริเวณโดยรอบตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับ มีร้านขายของที่ระลึกและเครื่องรางที่ทำจากเหล็กน้ำพี้ รวมถึงร้านขายของว่างและ น้ำดื่มไว้บริการ

 

บ่อเหล็กน้ำพี้เป็นโบราณสถาน ซึ่งมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งเหล็กกล้า ที่นำมาทำพระแสงดาบตั้งแต่สมัยโบราณ   เดิมมีอยู่ด้วยกันหลายบ่อ มีบ่อหนึ่งเรียกว่า “บ่อพระแสง” ห้ามมิให้ผู้ใดขุดเหล็กจากบ่อนี้ โดยสงวนไว้ใช้ทำพระแสงดาบ สำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น และ “บ่อพระขรรค์” เป็นบ่อที่ในสมัยโบราณมีช่างทำพระขรรค์ถวายพระมหากษัตริย์ ได้นำ แร่เหล็กน้ำพี้จากบ่อพระขรรค์ไปถลุงทำพระขรรค์

พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้
เป็นการจำลองการขุดหาแร่เหล็กน้ำพี้ของคนโบราณ ผู้ที่จะไปขุดหาแร่เหล็กน้ำพี้ ต้องมีความชำนาญในการสังเกตสีผิวของแร่ โดยจะมีลักษณะเม็นสีดำเข้ม มันวาว น้ำหนักมากกว่าหินทั่วไป
พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้
พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้
จำลองการถลุงแร่ให้ได้เนื้อเหล็กโดยกานใช้ถ่านไม้สักเป็นเชื้อเพลิงและใช้สูบลมเร่งความร้อนจนแร่เหล็กละลายรวมกัน ส่วนเศษหิน ดิน ทราย จะรวมตัวกันเรียกว่า “ตะกัน” ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้
จำลองการตีเหล็กน้ำพี้ เพื่อเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ
พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้
ในการตีเหล็ก คือ เตาเผา ทั่ง ค้อน คีมจับเหล็กสูบลม ถ่าน ตะไบ
พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้
เหล็กน้ำพี้ที่ขุดได้bo_leknamphi (10) bo_leknamphi (8)

เมื่อเพื่อนๆ เดินเข้าไปทางด้านในก็จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้ข้อมูลอยู่ด้านในด้วยครับ และบริเวณทิศเหนือของบ่อพระแสงและบ่อพระขรรค์ มี ศาลเจ้าพ่อบ่อเหล็กน้ำพี้ตั้งอยู่ ซึ่งมีเรื่องเล่าเป็นตำนานของชาวน้ำพี้สืบมาว่าบ่อเหล็กน้ำพี้ มีปู่ธรรมราชที่เป็นเจ้าพ่อบ่อพระแสงสถิตย์อยู่ในศาลนี้เพื่อคอยปกปักษ์รักษาบ่อเหล็กสำคัญ คือ บ่อพระแสงและบ่อพระขรรค์ ศาลนี้เป็นสร้างที่สร้างขึ้นใหม่มีลักษณะทรงไทยสีขาว พื้นปูด้วยหินอ่อน ภายในตั้งรูปเจ้าพ่อ 3 ตน หล่อด้วยเหล็กน้ำพี้ทั้งองค์ สร้างด้วยงบประมาณจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2534 เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวน้ำพี้และเป็นศูนย์รวมสักการะสำหรับผู้ศรัทธา

พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้ หล่งบ่อแร่เหล็กโบราณ ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน เวลา 08.00–17.00 น.

 

การเดินทาง

พิพิธภัณฑ์บ่อเหล็กน้ำพี้ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้ หล่งบ่อแร่เหล็กโบราณ ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัดอุตรดิตถ์  ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 40 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 11  และ เข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1245 มายังอำเภอทองแสนขัน จากนั้นแยกขวาเข้าวัดน้ำพี้ แล้วตรงไปอีก  3 กิโลเมตร สองข้างทางชาวบ้านจะนำเครื่องราง มีด และดาบที่ทำจากเหล็กน้ำพี้ และไม้กวาด ตองกง วางจำหน่ายริมถนน

เชิญแสดงความคิดเห็น