ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > วัดเวฬุวัน
 
วัดเวฬุวัน
วัดเวฬุวัน

            วัดเวฬุวันหรือวัดเขาจีนแล ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลนิคม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ได้ชื่อว่าตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง อยู่แต่ชื่อ ทั้ง ๆ ที่ห่างจากตัวเมืองลพบุรีไม่กี่ กม. แต่เหมือนอยู่ท่ามกลางป่าดงดิบ และยิ่งสมัยที่ก่อตั้งวัดขึ้นมานั้น ได้ก่อตั้งในพื้นที่ที่เป็นป่าดงดิบเลยทีเดียว ผมอยู่ลพบุบรีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๑ (บิดาย้ายไปรับราชการอยู่ที่กองบินน้อยที่ ๔ โคกกระเทียม อ.เมือง ลพบุรี) ทราบภูมิประเทศของลพบุรีดี ยิ่งออกรับราชการมาอยู่เหล่าทหารปืนใหญ่ ซึ่ง "บ้านของทหารปืนฝใหญ่" นั้นอยู่ที่โคกกะเทียม คือหน่วยศูนย์การทหารปืนใหญ่ หรือหากเป็นบ้านของทหารม้าก็อยู่ที่ อ.เมือง สระบุรี ผมรับราชการอยู่ที่บ้านของทหารปืนใหญ่ รวมกันแล้วนานกว่า ๑๐ ปี คือย้ายเข้าย้ายออกหลายครั้ง ย่อมรู้จักภูมิประเทศของลพบุรีเป็นอย่างดี แต่ผมกลับไม่รู้จักวัดเวฬุวัน หรือวัดจีนแล จนได้ไปทำบุญเลี้ยงพระเช้าที่วัดนี้ ก็เกิดความศรัทธา และเกิดความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง หากวัดในบ้านเราเป็นอย่างนี้สัก ๗๕% เท่านั้นไม่ต้องไปกังวล เลยว่าจะต้องเรียกร้องให้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย เพราะความเคร่งในพุทธบัญญัติของพระสงฆ์ จะจูงใจให้ชาวพุทธนับถือเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ไม่หลุดลอยไปยังศาสนาอื่น เมื่อเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในวัดเขาจีนแล ก็เลยต้องไปค้นคว้าหาประวัติความเป็นมาของวัดนี้มาเล่าสู่กันฟัง พร้อมกับขอชักชวนให้ชาวพุทธได้มีโอกาสไปเที่ยวชมทุ่งทานตะวัน แล้วเลยเข้าไปที่วัดเขาจีนแล ที่แสนสงบ สุขตากับธรรมชาติ และฝูงนกยูงที่มีอยู่ในป่ารอบวัด และในบริเวณวัดนับร้อยตัว สุขใจกับรสพระธรรม และยิ่งมีโอกาสขอพบท่านเจ้าอาวาสได้ยิ่งดี ท่านให้ธรรมะโดยที่เราไม่รู้ตัว เจ้าอาวาสองค์แรก และยังดำรงตำแหน่งนี้อยู่คือ พระวุฒิสารโสภณ เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี - สระบุรี ฝ่ายธรรมยุติ
            พลตรีอัมพร สมบูรณ์ยิ่ง อดีตผู้บัญชาการทหารปืนใหญ่ และเป็นอดีตผู้บังคับบัญชาของผมด้วย ได้รวบรวมประวัติของวัดจีนแลเอาไว้ และท่านผู้นี้เป็นคนหนึ่งที่มีส่วนในการช่วยพัฒนาวัดจีนแล เมื่อรวบรวมประวัติไว้แล้ว ก็เขียนถ้อยคำที่ผมคิดว่าเป็น "อมตะ" คือกล่าวไว้ว่าท่านที่มายังวัดเขาจีนแล "ท่านอาจจะผิดหวังที่มาวัดนี้แล้ว ไม่มีพระแจก ไม่มีการทำนายทายทัก ไม่มีน้ำมนต์ แต่ท่านก็จะมาที่วัดนี้อีกเป็นคำรบสองและต่อ ๆไป" ผมขอรับรองคำกล่าวของนายเก่าของผมว่าเป็นความจริง แม้ว่าเวลานี้ท่านจะล่วงลับไปนานหลายปีแล้วก็ตาม
            เส้นทางไปยังวัดเขาจีนแล จ.ลพบุรี หากเดินทางจากกรุงเทพ ฯ ก็จะไปผ่าน จ.สระบุรี (แยกเข้าบายพาส ไม่ต้องผ่านตัวเมือง) ไปผ่านสวนพฤกศาสตร์ พุแค พระพุทธบาท (เลี้ยวซ้ายแวะเข้าไปนมัสการได้) จากนั้นตรงมาอีกประมาณ ๑๐ กม.จะถึงสามแยกมีไฟสัญญาณ หากเลี้ยวซ้ายก็จะเข้าถนนบายพาสไปยังสิงห์บุรี และอ่างทอง โดยไม่ต้องผ่านตัวเมืองลพบุรี ไม่ต้องเลี้ยวให้ตรงต่อไปจะผ่านโรงงานใหญ่ "มินิแบร์" อยู่ทางขวามือ พอสุดเขตโรงงานก็จะถึงสี่แยกนิคม มีไฟสัญญาณมองเห็นสถานีตำรวจแบบโบราณ เป็นสถานีตำรวจนิคมดั้งเดิม อายุอานามคงชราพอ ๆ กับผม อยู่ทางขวามือ ภาวนาขออย่าได้คิดรื้อสถานีตำรวจโบราณแห่งนี้เลย ไม่ต้องสร้างใหม่ หาสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอก็แล้วกัน เก็บสภาพของอาคารสถานีตำรวจเอาไว้ชมกันต่อไป หรือกรมศิลปากร จะไปสำรวจขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเอาไว้ยังได้ เพราะผมก็ผ่านมาครบ ๗๖ จังหวัด หลายร้อยแล้วยังไม่เคยเห็นสถานีตำรวจที่ไหนเก่าแก่เหมือนที่แห่งนี้เลย ให้เลี้ยวขวาตรงสี่แยกนิคมนี้ (ตรงไปเข้าเมืองลพบุรี ผ่านราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) วิ่งไปประมาณ ๑.๖ กม.ทางขวาคือร้านอาหารที่จะพามาชิมมื้อเที่ยงวันนี้ จำเส้นทางไว้ด้วยจะไม่บอกซ้ำอีก ไปวัดกับผมก่อนแล้วกลับมาชิมอาหารอร่อย ราคาย่อมเยา ผ่านร้านอาหารไปแล้ว วิ่งตรงต่อไปประมาณหลัก กม.๘ ทางซ้ายจะเห็น "ดอกเห็ด" จำลองปักอยู่ปากทาง มีป้ายบอกว่าไปวัดเวฬุวัน (เขาจีนแล) ระยะทาง ๓ กม. ให้เลี้ยวซ้ายจะผ่านฟาร์มเห็นขจรวิทย์ (ทำอาหาร ไม่ว่าประเภทใด หากใช้เห็ด ๓ ชนิดอะไรก็ได้ทำอาหาร จะได้คุณค่าทางอาหารมากอย่างยิ่ง) วิ่งตรงสู่เชิงเขาจะผ่านไร่ทั้งด้านซ้าย และขวาของถนน มีพื้นที่นับพันไร่ หากเป็นปลายเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนธันวาคม พืชไร่คือทานตะวัน ที่กำลังบานเป็นทุ่งทานตะวันงดงามอย่างยิ่ง เสาร์ อาทิตย์ นักท่องเที่ยวจะพากันมาแน่นขนัด และถนนสายที่มายังวัดสานนี้ จะมีทุ่งทานตะวันหลายทุ่ง และไปยังอ่างเก็บน้ำซับเหล็กที่สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ต่อท่อนำน้ำเข้าไปยังพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์เรียกว่า ไทยมีระบบน้ำประปามาตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนานกว่า ๓๐๐ ปีมาแล้ว และได้มีการขุดพบท่อดินส่งน้ำด้วย และถนนสายนี้จะยาวไปได้จนนถึงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งจะผ่านทุ่งทานตะวันหลายแห่ง
            เมื่อผ่านทุ่งทานตะวันไปแล้ว ก็จะตรงเข้าสู่เขตวัดเขาจีนแล โดยจะผ่านเข้าปากหนุมาน ที่อ้าปากทำเป็นซุ้มประตูรอรับศรัทธาที่จะมายังวัด สมกับที่ได้ชื่อว่าลพบุรีเป็นเมืองหนุมาน ผ่านเข้าปากหนุมานไปแล้ว ถนนก็ยังคงดิ่งสู่เชิงเขาเรื่อยไป วัดจะตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่เชิงเขาหรือบนเขา เมื่อเข้าไปแล้วทางขวาคือบ้านสวย ๆ หลายหลังได้ความว่าเป็นบ้านของคนมีสตางค์ที่มาขอปลูกเอาไว้แล้วมาปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะระหว่างเทศกาลเข้ารรษา เจ้าของบ้านจะมาอยู่กันมาก เพราะมาปฏิบัติธรรมที่วัดนี้ได้ธรรมะติดใจกลับไปทุกคน ตรงต่อมาคือห้องสมุด (มีหนังสือน้อย ใครมีหนังสือแยะขนเอามาบริจาคได้ หลวงพ่อเจ้าอาวาสจะไม่เอ่ยปากขอบิณฑบาตรเรื่องใด ๆ ทั้งสิ้น) เลยหอสมุดเข้ามาอีกจะเป็นที่หมู่โต๊ะหินเป็นที่นั่ง ใต้สะแลนที่กางเอาไว้คงใช้เวลาศรัทธามาทำบุญพร้อมกันมาก ๆ เลยมาอีกนิดหากเลี้ยวขวาผ่านอุโบสถไปจนถึงเชิงเขาคือทางขึ้นเขาไปยังวิหาร ซึ่งเดิมหลวงพ่อตั้งใจจะสร้างเป็นอุโบสถ แต่ท่านเกรงว่าผู้เฒ่าจะขึ้นไปบำเพ็ญศาสนกิจลำบาก เลยเปลี่ยนเป็นวิหาร สร้างไว้สวย ผมตะกายขึ้นไปแล้วแถมนับขั้นบันไดไปด้วยเผื่อจะมีโชคจะเอาเลขมาซื้อลอตเตอร์รี่ นับได้ ๙๔ ขั้น

            อุโบสถ อยู่ริมทางที่รถขึ้นมา สร้างสวย ภายในมีพระประธานปางสดุ้งมารและมีพระพุทธรูปหยกอยู่องค์หนึ่ง มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเขียนแบบใส่กรอบแขวนไว้ และมีภาพที่นอกอุโบสถอยู่ที่ประตูและบานหน้าต่าง เมื่อปิดประตูแล้วภาพจะต่อกัน เขียนได้สวย ทางซ้ายของถนนกำลังสร้างที่พักผู้มาบำเพ็ญธรรม กำลังจะแล้วเสร็จ หากวันที่ท่านไปคงจะเสร็จแล้ว มีโรงรถ มีรถยนต์ที่หลวงพ่อออกแบบต่อเอง วิ่งภายในหมู่บ้านเพื่อนำพระไปบิณฑบาตรยังหมู่บ้าน เยื้องกับอุโบสถคือ หอฉันสัจจธรรม สร้างใหญ่โตกว้างขวางเลี้ยงพระได้หลายสิบองค์ ทุกเช้าพระจะมาฉันเช้าที่นี่ พระวัดนี้ "ฉันเช้ามื้อเดียว ฉันเวลา ๐๖.๓๐" ตรงข้ามหอฉันสัจจธรรมคือ วิหารหลวงพ่อสมใจนึก ลึกเข้าไปอีกในราวป่าคือกุฏิหลังเล็ก ๆ แม้จะอยู่ในราวป่า แต่ก็มีเครื่องอำนวยความสะดวกพร้อม และเลยหมู่กุฏิไปจะเป็นทางขึ้นเขาไปสู่หลวงพ่อใหญ่บนเขา ซึ่งบจะต้องออกแรงขึ้นบันไดไปอีกประมาณ ๔๐๐ ขั้น หลวงพ่อใหญ่คือพระพุทธธรรมรังสี มุนีนาถศาสดา
            ประวัติวัดเขาเวฬุวันที่นามเดิม หรือนามที่ชาวบ้านเรียกขานกันในปัจจุบันคือ วัดเขาจีนแล วัดนี้ตั้งอยู่ในหุบเขา เริ่มต้นการก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ "แม่อินทร์" อายุประมาณ ๔๕ ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในตัวเมืองลพบุรี มีอาชีพค้าทอง เจ็บป่วยเป็นประจำ ได้ไปพบ "พ่อท่านลี ธมมธโร" เจ้าอาวาสและองค์ผู้สร้างวัดอโศการาม ที่สมุทรปราการ พ่อท่านลี รักษาโรคให้ด้วยธรรมมะ และแนะนำให้ปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิขจัดโรคร้าย แม่อินทร์ก็ทำตามและหายจากโรคร้ายทั้งหลาย จึงเกิดความศรัทธาในพ่อท่านลีได้ติดตามพ่อท่านลีไปตลอด คืนหนึ่งได้นิมิตเห็นป่าที่ล้อมรอบไปด้วยภูเขา และมีกรดของพระธุดงค์ปักอยู่เต็มไปหมด ต่อมาพ่อท่านลีไปทอดผ้าป่าที่วัดบ่อหก ลพบุรี ท่านได้ถามเจ้าอาวาสวัดบ่อหก ว่ามีสถานที่ใดเหมาะแก่การปฏิบัติธรรมบ้าง เจ้าอาวาสวัดบ่อหกจึงพาพ่อท่านลี และผู้ติดตามรวมทั้งแม่อินทร์ด้วยไปยังบริเวณที่เป็นวัดเขาจีนแลทุกวันนี้ เมื่อแม่อินทร์เห็นก็บอกทันทีว่าตรงบริเวณนี้ตรงกับนิมิต และเมื่อพ่อท่านลีปฏิบัติธรรมอยู่ ๓ วันก็กลับไปยังวัดอโศการาม แต่แม่อินทร์ที่เป็นชาวลพบุรีอยู่แล้วขออยู่ต่อไม่ติดตามกลับไป และอยู่คนเดียว อาหารการกินเข้าใจว่าสามีที่ยังค้าทองอยู่ในตัวเมืองลพบุรีจะเอามาส่งไว้ ถนนสายที่เข้ามายังวัดไม่ดี เข้ามาลำบากมาก และเชื่อว่าชาวบ้านคงมีศรัทธาส่งอาหารให้ด้วย แม่อินทร์นอนบนเขา เช้าลงมาถากถางป่าและสร้างวัดด้วยตัวคนเดียว ต่อมาหลานสาวทราบเข้าตามมาอยู่ด้วย ต่อมาอีกสามีที่ค้าทองอยู่ในเมืองก็เลิกค้าขายบวชเป็นพระ แม่อินทร์และหลานก็บวชเป็นชีจนได้สมาธิ แล้วช่วยกันถากถางป่าจะสร้างวัด ต่อมาอีกมีนายทหารราบ (เวลานั้นศูนย์การทหารราบตั้งอยู่ที่ลพบุรี) พาทหารมาฝึก เห็น ๓ คนถางป่าจะสร้างวัดก็เกิดศรัทธาร่วม นำทหารมาช่วยหาอาหารแห้ง น้ำดื่ม ข้าวสารมาให้หลายครั้ง และเริ่มมีศรัทธามาช่วยเหลือ แม่อินทร์เริ่มสร้างวิหาร สร้างแล้วไม่มีพระประธาน ชาวบ้านมีแต่เศียรพระโบราณจึงเอามาถวายแม่ชี แม่ชีได้เศียรพระจึงสร้างองค์พระเป็นพระพุทธไสยาสน์แล้วถวายนามว่า "หลวงพ่อสมใจนึก"
            พ.ศ.๒๕๐๑ แม่ชีปิ่น บวชอยู่ที่วัดอโศการาม ตั้งใจจะบวชแค่พรรษาเดียว มาพบแม่ชีอินทร์ กำลังสร้างวัดเกิดความศรัทธาเลยไม่สึก ขออยู่ด้วย และในปีนี้แม่ชีอินทร์ก็มรณภาพ ในปีเดียวกันนี้มีพระธุดงค์รูปหนึ่งชื่อพระอาจารย์สมุทร อธิปญโญ มาจากศรีราชา ยังไม่เคยมีครอบครัวมาก่อน ได้มาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาจีนแล ได้พบกับแม่ชีอินทร์ ซึ่งขณะนั้นที่วัดมีเพียงวิหารหลวงพ่อสมใจนึกเพียงองค์เดียว ปฏิบัติธรรมแล้วก็กลับไปยังไม่มาอยู่ประจำ จน พ.ศ.๒๕๐๗ ได้กลับมาขออยู่กับแม่ชีปิ่น เพื่อปฏิบัติธรรมมะ พอท่านมาอยู่ก็ปฏิบัติธรรม และเริ่มงานก่อสร้าง ท่านเริ่มบูรณะสิ่งก่อสร้างเท่าที่มีอยู่ และเริ่มการก่อสร้างสะพานคอนกรีต ข้ามห้วยที่วัดหนองถ้ำ สร้างกุฏิสงฆ์ สร้างถังเก็บน้ำฝน บูรณศาลา สร้างหอฉันสัจจธรรม และหอฉันเล็ก สร้างวิหารบนเขา สร้างหลวงพ่อใหญ่ ฯ พระสงฆ์ที่วัดนี้จะมีมาก หรือมีน้อยก็แทบจะไม่เห็นองค์พระ เพราะอยู่อย่างเงียบสงบ ไม่ออกมาเดินเพ่นพ่าน ไม่จับกลุ่มคุยกัน ตกค่ำก็มักจะพากันขึ้นเขาไปสี่ร้อยขั้น ไปนั่งสมาธิและเลยนอนกันอยู่แถว ๆ หลวงพ่อใหญ่ พระสมุทรเองเมื่อมาอยู่ใหม่ ๆ ก็นอนบนเขา นอนอยู่ประมาณสามสิบปีจึงลงมาอยู่กุฏิข้างล่าง
            ที่ผมประทับใจมากคือการไปเลี้ยงอาหารพระในตอนเช้า เพราะฉันมื้อเดียว หากไปเลี้ยงมื้อเพลหรือนิมนต์ไปที่บ้านก็จะฉันให้เพื่อไม่ให้ขัดศรัทธา แต่จะฉันได้น้อยเพราะปกติฉันเช้าแล้วไม่ฉันอีก ผมเคยเห็นที่วัดญานสังวรารามฉันมื้อเดียวเช่นกัน แต่ฉันสายหน่อย ที่วัดเขาจีนแลพระจะตื่นกันตั้งแต่ตี ๓ แล้วทำวัตรเช้า เสร็จแล้วก็ขึ้นรถที่วัดต่อใช้เอง ไม่ใช่รถอีแต๋น ไปยังหมู่บ้านซึ่งอยู่เชิงเขาไกลออกไปหลายกม. มีปิ่นโตไป หากมีอาหารน้ำชาวบ้านก็จะถ่ายใส่ปิ่นโตให้ บิณฑบาตรแล้วกลับถึงวัดประมาณ ๐๖.๓๐ ก็จะขึ้นมารวมกันยังหอฉันใหญ่ "สัจจธรรม" นั่งเข้าแถวเป็นระเบียบเงียบ ไม่มีการพูดจาใด ๆ ทั้งสิ้น ในหอฉันนี้มีพระประธานองค์ใหญ่ด้วย อาหารจะมีแม่ชีและอุบาสก อุบาสิกา ช่วยกันจัดลงถาดที่มีล้อเลื่อน พระทุกองค์จะมีบาตร ตั้งอยู่ตรงหน้าถาดอาหาร ถาดแรกจะตั้งหน้าหลวงพ่อเจ้าอาวาส (อายุท่าน ๗๕ ปี ยังแข็งแรงมาก) หลวงพ่อตักอาหารไว้แล้วก็เลื่อนถาดอาหารไปยังองค์ที่นั่งถัดไป ถาดอาหารถาดที่ ๒ - ๓  ฯ ก็จะเลื่อนมาหน้าหลวงพ่อ หากท่านยังต้องการอาหารก็จะตักเอาไว้ แล้วเลื่อนถาดอาหารให้องค์ต่อไป ของหวานและผลไม้ก็จะหยิบใส่ฝาบาตรเอาไว้ หากเป็นขนมน้ำต้องตักให้มากเท่าจำนวนองค์พระ และองค์ใดเช่นพระบวชใหม่ หากกลัวหิวตอนเพลก็อนุญาตให้หยิบอาหารใส่ฝาบาตรกลับไปไว้ฉันเพลที่กุฏิได้ สังเกตุดูหยิบขนมกันไม่มีหยิบอาหารกลับไป ตักอาหารเรียบร้อยแล้ว เอาผ้าขาวปิดบาตร สวดให้พร แล้วปิดผ้าฉันในบาตร พระกี่องค์ก็ตามจะเงียบสนิท ไม่มีเสียงพูดกัน แม้แต่เสียงช้อนส้อมกระทบข้างบาตรก็ไม่มี ศรัทธาหากนั่งรอก็ไม่มีใครกล้าพูดจา ไม่ต้องรอก็ได้เพราะท่านสวดให้พรแล้ว ฉันอิ่มแล้ว ก็นำบาตรไปล้างทำความสะอาดเอง แล้วกลับกุฏิไม่มาจับกลุ่มคุยกัน ผมดูภาพนี้ด้วยความประทับใจและศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง หากท่านอยากเห็นภาพนี้คงจะต้องตื่นกันตั้งแต่เช้า ไปให้ถึงวัดประมาณ ๐๖.๐๐ ผมไม่ได้จดเบอร์โทรศัพท์ของวัดมาลืมจริง ๆ จะได้โทรนิมนต์พระทั้งวัด เตรียมอาหารไปให้เพียงพอ แต่ใครไม่ไปถวายท่านก็ไม่เดือดร้อน เพราะอาหารจากบิณฑบาตรนั้น ได้มามากพอฉันได้อย่างเต็มที่
            หลวงพ่อเตรียมการเรื่องน้ำใช้ไว้อย่างดี ต่อท่อน้ำภูเขาที่ไหลออกจากใต้ฐานหลวงพ่อใหญ่ ลงมาใช้ มีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมา และสร้างถังเก็บน้ำฝนไว้มาก แต่ที่ลำบากก็คงจะเป็นค่าไฟฟ้าที่แต่ละเดือนเกือบสองหมื่นบาท ทั้งวัดมีตู้รับบริจาคตู้เดียว
            ร้านอาหาร กินอาหารร้านนี้นั่งฟังเพลงสากล เพลงคาวบอยกันเพลินเลยทีเดียว บอกเส้นทางอีกที เลี้ยวเข้ามาจากสี่แยกประมาณ ๑.๖ กม. ร้านจะอยู่ทางขวามือ อาหารจานเด่นที่ผมไปทีไรสั่งทุกที มี ๓ จาน
            ไก่บ้านทอด จานนี้อย่าโดดข้ามไป ต้องสั่งทั้งตัว ไม่แบ่งขายเหลือห่อกลับบ้าน ไก้ตัวโตสับมาเป็นชิ้น คงจะหมักจนเข้าเนื้อแล้วเอาไปทอด ทอดจนหนังกรอบ เนื้อในนุ่ม ไก่บ้านเนื้อจะเหนียวแน่น ไม่ต้องเกรงใจใครหยิบมาแทะจะอร่อยที่สุด น้ำจิ้มรสหวาน อย่าลืมสั่งข้าวนึ่งมาด้วยจึงจะกินเข้ากัน ราคาตัวละ ๑๕๐ บาท
            น้ำพริกขี้กา ใส่มาในถ้วยน้อย จัดผักตจ้มมาอีกจานเผ็ดนิด ๆ สั่งไข่ต้มด้วย
            แกงเลียงกุ้งสด เสริฟมาในกระทะทองเหลือง ร้อนโฉ่ ซดชื่นใจ น้ำแกงรสเข้มข้น
            ๓ รายการนี้เป็นจานเด็ด อย่าข้ามไป สั่งมาอีก ตับหวาน ผัดเผ็ดกุ้ง อร่อยทุกอย่าง ราคาไม่แพง

......................................................


| บน |

วัดเวฬุวัน: ข้อมูลวัดเวฬุวัน ท่องเที่ยววัดเวฬุวัน ข้อมูลเที่ยววัดเวฬุวัน


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์