ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > วังสวนกุหลาบ
 
วังสวนกุหลาบ
วังสวนกุหลาบ

            ผมมีวาสนาได้เข้าไปใน วังสวนกุหลาบ เพียงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อสำเร็จออกเป็นนายทหาร ทาง รร.นายร้อย จปร. พาไปลา ผบ.ทบ. เพื่อออกไปประจำหน่วยรับราชการตามเหล่าต่าง ๆ เช่น ผมก็จะไปอยู่เหล่าทหารปืนใหญ่ ที่โคกกระเทียม ลพบุรี ผบ.ทบ. ในขณะนั้นคือ ท่าน จอมพล ผิน ชุณหวัน ซึ่งเวลานั้น วังสวนกุหลายเป็นที่ตั้งของหน่วย กอ.รมน. และกรมสวัสดิการทหารบก ผบ.ทบ. ได้ให้ไปคำนับลากันที่บริเวณหน้าทางเข้าท้องพระโรง แต่ไม่มีโอกาสเข้าไปภายในวัง
            ครั้งที่สอง ได้เข้าไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีโอกาสเข้าไปเที่ยวในงาน "วันสถาปนามูลนิธิอาสาพึ่งพา (ภา ฯ ) ยามยาก สภากาชาดไทย" ณ วังสวนกุหลาบ นี้ ในพระดำริของ พระองค์เจ้าโสมสวลี ฯ และพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ซึ่งงานได้มีไป เมื่อ ๒๒ - ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ โดยผู้เข้าชมงานจะต้องซื้อบัตรผ่านประตูคนละ ๒๐ บาท
            รูปแบบของงานจะมีการออกร้านขายของ เช่น ร้านค้าส่วนพระองค์ ร้านภูฟ้า ร้านศิลปาชีพ ร้านจิตรลดา ร้านโอท๊อป ร้านอาหารของโรงแรมระดับห้าดาว และร้านอาหารเชลล์ชวนชิม กับร้านของกองทัพ และตำรวจ มาร่วมออกร้าน และในวันที่ ๒๓ มิถุนายน พระองค์เจ้าโสมสวลี ฯ เสด็จมาปรุงอาหารด้วยพระองค์เอง และมีการประมูลของประทานจากพระองค์ภา การแสดงต่าง ๆ ที่เวทีกลางแจ้ง
            สถานที่ตั้งของวังสวนกุหลาบ อยู่ติดกับถนนศรีอยุธยา (ตรงข้ามประตูเข้ากองพลที่ ๑ รักษาพระองค์)  และอีกด้านติดถนนสายที่มาจากสะพานเฉลิมวันชาติ ตรงข้ามกับประตูทางเข้าหอประชุมกองทัพบก ส่วนประตูทางทิศตะวันออก ติดริมคลอง ประตูทางทิศเหนือติดถนนนครราชสีมา แต่อนุญาตให้เข้าออกได้ในเวลามีงาน คงเปิดให้เข้าได้ด้านเดียวคือ ประตูทางทิศใต้ ที่ตรงข้ามกับประตูเข้ากองพลที่ ๑ รอ. ถนนศรีอยุธยา และเชื่อว่ายามที่เจ้าของวังทรงประทับอยู่ ก็คงจะเสด็จเข้าออกวังทางด้านนี้
            โดยปกติ วังสวนกุหลาบจะไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปได้มีโอกาสเข้าชม เหมือนวังวรดิศ หรือพระที่นั่งวิมานเมฆ เพราะเป็นที่ทรงงานของ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี ฯ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา นอกจากเวลาโปรดให้มีงานจึงจะมีโอกาสเข้าไปชม แต่ก็ไม่ทั่วทุกห้อง แต่ก็ได้เห็นเป็นบุญตา ซึ่งก่อนที่จะเปิดให้เข้าชมในครั้งนี้ เคยเปิดให้ชมวังสวนกุหลาบครั้งหนึ่ง ที่ให้ประชาชมทั่วไปเข้าไปชมนิทรรศการภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
            เดิมพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริที่จะสร้างวัง สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ปากคลองตลาด คูเมืองเดิม แต่เมื่อเจ้าฟ้า ฯ ได้เสด็จกลับจากการศึกษาในประเทศอังกฤษแล้ว มีพระราชประสงค์จะให้ทรงศึกษาราชการอยู่ใกล้พระองค์ จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างตำหนักชั่วคราวที่สวนดุสิต ตรงริมถนนใบพร พระราชทานนามว่า วังสวนกุหลาบ สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา จึงเสด็จ ฯ ประทับอยู่ตลอดรัชกาลที่ ๕
            สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๖๒ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๗ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ

            ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้า ฯ ให้ขยายพระตำหนักเพิ่มแด่พระอนุชา โดยการให้กลุ่มสถาปนิกร่วมกันออกแบบ ก่อสร้างตัวอาคารให้ออกมาเป็นรูปแบบกระท่อมของอังกฤษ และเพิ่มหอคอยสูง แบบทรงฝรั่งเศสเข้าไป ส่วนลวดลายรอบอาคาร ด้านหน้านั้น ใช้ศิลปะแบบอิตาเลี่ยน
            นอกจากพระตำหนักที่อยู่ด้านทิศใต้ และทางทิศเหนือ ยังมีอาคารที่มีลักษณะเหมือนสองชั้น แต่จริง ๆ แล้วมีชั้นเดียวเรียกว่า ท้องพระโรง มีถนนโค้งเป็นรูปวงกลม เป็นทางเชื่อมระหว่างพระตำหนัก กับท้องพระโรง ตรงกลางเป็นสนามหญ้า ส่วนห้องท้องพระโรง จะมีลักษณะเป็นแบบท้องพระโรงโถง รูปจัตุรมุข โดยมีมุขทางด้านทิศตะวันออก - ตะวันตก ยาวกว่ามุขด้านทิศเหนือ - ใต้ มีประตูแบบบานเฟี้ยมเป็นบานลูกฟัก ทาสีฉูดฉาด แสดงว่าได้มีการซ่อมแซมมาแล้วหลายครั้ง แต่คงพยายามรักษาแนวทางการใช้สีของเดิมเอาไว้
            ส่วนท้องพระโรงตอนบนมีระเบียงโดยรอบ และตอนกลางเป็นระเบียงกว้าง ซึ่งอาจจะใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตร ลงมายังชั้นล่างได้ ฝาผนังท้องพระโรงเหนือประตูมีลายเขียนแบบปูนเปียกประดับอยู่ เสารับโครงสร้างภายในระเบียงตอนบนเป็นเสา ไม้มีโครงสร้างตอนหัวเสาทาสีฉูดฉาด เช่นเดียวกับประตู ส่วนบริเวณอาคารชั้นเดียวที่อยู่บริเวรรอบ คาดว่าจะเป็นที่อยู่ของข้าราชบริพารที่คอยถวายงาน
            ในส่วนบริเวณทางเข้าวังนั้น สันนิษฐานได้อยู่ทางด้านถนนศรีอยุธยา (ตรงข้ามประตูทางเข้า กองพล ๑ รอ.)  โดยมีถนนเดิมเป็นรูปโค้ง ไปสู่ตัวตำหนักและที่ประตูทางเข้าออก ยังปรากฎรูปปูนปั้นเป็นรูป กุหลาบ นอกจากนี้ประตูทางด้านทิศตะวันออก ถนนริมคลองเม่งเส็ง จะมีพระนามของสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้า พระองค์นี้อยู่ ส่วนประตูทางเข้าด้านถนนนครราชสีมา ปัจจุบันเป็นประตูทางเข้าใหญ่ ยังมีทิมดาบของกองรักษาการณ์ อยู่ริมรั้วและห้ามเข้าออก
            สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ประทับอยู่ที่พระตำหนักแห่งนี้ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.๒๔๖๗  และเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว ภายหลังได้ปรับให้เป็นที่ทำการของรัฐบาลสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นที่ตั้งของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน
            วันที่ผมเข้าไปชมงาน ไม่มีโอกาสได้เข้าชมภายในพระตำหนักมากนัก โดยเฉพาะชั้นบน แต่ก็ได้เห็นความงดงามอย่างยิ่งของพระตำหนัก โดยเฉพาะในห้องท้องพระโรงและอีกหลาย ๆ ห้อง ซึ่งได้รับการบูรณะไว้ตามแบบเดิมทุกประการ และยังจัดแสดงภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ด้วย น่าจะทรงพระกรุณา ฯ ให้จัดงาน ให้ประชาชนได้เข้าชมมากกว่าปีละครั้ง เป็นการหารายได้ด้วย
            ผมคงพาไปรู้จักวังสวนกุหลาบได้เพียงเท่านี้ เข้าไปครั้งแรกกับครั้งนี้ห่างกันห้าสิบปีพอดี ยังมีวาสนาได้มีโอกาสเข้าไปชม
            ผมไปงาน "โอท๊อป" ที่อิมแพคเมืองทองธานี จัดงานที่อาคารชาเลนเจอร์ ๑ - ๓ เป็นการจัดงานโอท๊อปครั้งที่เท่าไรแล้ว ผมก็จำไม่ได้แต่ผมไปเป็นครั้งแรก เพราะเข็ดเรื่องหาที่จอดรถยาก คราวนี้ลองไปวันราชการ ไปตั้งแต่เก้าโมงเช้าเลย ได้ที่จอดรถสะดวกมาก เสียค่าจอด ๓ ชั่วโมง ๒๐ บาท จัดบริเวณงานได้ดีมาก สินค้าขายเต็มมาจากทุกภาค จัดแบ่งไว้เป็นภาค ๆ และที่น่าดีใจคือ ร้านอาหาร หลายร้านที่เคยเขียนเอาไว้ เป็นร้านมีสินค้าโอท๊อปไปแล้ว เช่น  แดง แหนมเนือง จากหนองคาย เป็นต้น ตอนกลางวัน ผมนั่งโต๊ะยาว ๆ ที่เขาจัดไว้ให้นั่งกินอาหารได้เป็นส่วนรวมแล้ว ตระเวณหาอาหารร้านต่าง ๆ มานั่งชิม ได้ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา เห็ด ๓ ชนิดชุบแป้งทอด อร่อยมาก กรอบดี หมูย่างจากเมืองตรัง ขนมครกหอยแมลงภู่ และอีกหลายอย่าง ที่ประทับใจมากกว่าเพื่อนคือ แหนมเนือง อยู่ จ.อุดรธานี หากตั้งต้นจากสถานีรถไฟอุดร วิ่งตรงมายังวงเวียนหอนาฬิกา แล้วเลี้ยวขวาไปทางหนองคาย ผ่าน ธ.ทหารไทย ผ่านร้านข้าวต้ม ถึงสามแยกเยื้องเทศบาล เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอธิบดี เลี้ยวเข้าไปสัก ๕๐ เมตร ร้านแหนมเนืองอยู่ทางซ้ายมือ ขายแหนมเนือง แหนมซี่โครงหมูอ่อน กุ้งพันอ้อย หมูยอหนัง ไส้กรอกสมุนไพร กุนเชียง หม่ำ แผ่นแป้ง เส้นก๋วยจั๊บญวน
            วันนี้ พาไปชิมอาหารในกรุงเทพ ฯ ไม่ไกลจากบ้านผมนัก แต่ท่านต้องติดตามลายแทงของผมให้ดี ๆ ไม่เช่นนั้น จะไปไม่ถูก ร้านตั้งค่อนข้างจะลึกลับ ตั้งมา ๓ ปี แล้วคนแน่นพอสมควร เรียกว่า ไม่แน่จริง เข้ามาอยู่ลึก ๆ อย่างนี้ไม่ได้ ร้านไก่ย่าง ร้านนี้หยุดวันจันทร์  เปิดตั้งแต่ ๑๑.๐๐ บรรยากาศดี ขายในบ้าน จัดห้องสวย
            เส้นทางที่ ๑ ถนนลาดพร้าว เลยแยกเข้าโชคชัย ๔ ไปแล้ว ถึงแยกขวาไปวัดสามัคคีธรรม เลยไปอีกแยกมีไฟสัญญาณ เช่นกันเลี้ยวขวาเข้าลาดพร้าวซอย ๘๐ เข้ามาประมาณ  ๕๐๐ เมตร เลี้ยวขวาเข้า ลาดพร้าว ๘๐ แยก ๒๒ ทางไปรัชดาภิเษก ไป รร.จันทรหุ่นบำเพ็ญ วิ่งผ่านปั๊มบางจาก ข้ามสะพานข้ามคลอง ถึงสามแยกเลี้ยวซ้ายเข้าถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ ผ่านโรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ ไปเลี้ยวซ้ายตรงหัวมุม ผ่านอนามัยซักแห้ง ถึงสามแยกเลี้ยวซ้ายอีก แล้วเลี้ยวขวาเข้าซอย รัชดานิเวศน์แยก ๒ มีป้ายชื่อร้านปากซอย เข้าซอยแยก ๒ แล้ว ร้านจะอยู่ทางซ้ายมือ จอดรถได้ริมถนนในซอย
            เส้นทางที่ ๒ หากมาตามถนนเลียบทางด่วนรามอินทรา มาจากพระรามเก้า เลี้ยวซ้ายตรงไฟสัญญาณ ตรงไปจนถึงสี่แยก เม่งจ๋าย เลี้ยวขวาเข้าถนนรัชดานิเวศน์ เลี้ยวซ้ายเข้าซอย ๗ แล้วไปเลี้ยวขวา เลี้ยวขวาอีกเข้าซอยรัชดานิเวศน์ แยก ๒ ป้าย ร้านปากซอย
            ผมไปกันคณะใหญ่ พาลูก พาหลานไปเลี้ยง ไปกินไก่ ที่อร่อยมาก ย่าง ทอดไม่เหมือนใคร เลยสั่งอาหารมาแยะ ไม่มีเนื้อที่บรรยายสรรพคุณ บอกได้คำเดียวว่า อร่อยทุกอย่าง ราคาพอสมควร แต่ไม่ใช่ราคาในซอย
            ต้องสั่งคือ ปีกไก่ทอด ใช้ปลายปีกที่มีเนื้อติด ทอด กรอบนอก นุ่มใน มีรสในตัว
            ต้องสั่ง ไก่ย่าง เสริฟมาในจานกรอบไม้สี่เหลี่ยม คงจะหมักมาก่อนย่าง สับมา เป็นชิ้น รสเข้าเนื้อไก่ นุ่ม หนังก็นุ่ม แทบจะไม่ต้องจิ้มอะไรทั้งสิ้น ก็สุดอร่อยแล้ว
            ต้องสั่ง ข้าวมัน ส้มตำไทยปูม้า รสไทยแท้ เคียงด้วยหมูเส้น ข้าวนุ่ม น่ากิน
            กุ้งผัดไข่เค็ม กุ้งสด เนื้อกรอบ มันด้วยไข่แดงของไข่เค็ม "ทอดมันปลากราย" ก็ดี ปิดท้ายด้วย ต้มแซ่บซี่โครงหมูอ่อน ทำแปลก หั่นโครงอ่อนมาเป็นชิ้นเล็ก ๆ เคี้ยวสนุก
            ปิดท้ายด้วย ไอศกริม โฮมเมด ผลไม้แท้ ยอดเยี่ยมยกให้ไอศกริมน้อยหน่า, มะตูม

............................................................


| บน |

วังสวนกุหลาบ: ข้อมูลวังสวนกุหลาบ ท่องเที่ยววังสวนกุหลาบ ข้อมูลเที่ยววังสวนกุหลาบ


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์