ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > สวนแม่ฟ้าหลวง
 
สวนแม่ฟ้าหลวง
สวนแม่ฟ้าหลวง

            ผมเดินทางจากกรุงเทพ ฯ ไปแวะนอนที่จังหวัดลำปาง ๑ คืน เพราะมีพรรคพวกเชิญไปเที่ยวที่ไร่ชวนฝัน ซึ่งไร่นี้เจ้าของท่านหนึ่งเป็นวิศวกร ฯ จุฬาลงกรณ์ อีกท่านหนึ่งเป็นพี่น้องกัน จบจากแม่โจ้ จึงเป็นสวนที่นำสมัยมีไม้แปลก ๆ เช่น เมื่อ ๕ ปีที่แล้วนำหน้าในเรื่องการขยายพันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ผมเคยซื้อพันธุ์ของเขาไปปลูกไว้ในสวนที่อำเภอป่าเป้าให้ผลดี ไร่ชวนฝัน ไปตามถนนพหลโยธิน ที่จะไปยังจังหวัดพะเยา พอถึงกิโลเมตร ๖๑๔ - ๖๑๕ พอลอดใต้สะพานลอยข้ามถนนไปแล้ว ก็กลับมาเลี้ยวซ้ายเข้าตรงถนนข้าง ๆ โรงเรียนปาวัง เลี้ยวเข้าซอย ๖ ไปอีก ๑.๗ กิโลเมตร จะถึงไร่ชวนฝัน บอกเผื่อเอาไว้ เผื่อผ่านมากตามเส้นทางนี้ แล้วอยากแวะเข้าไปดูต้นไม้ของเขา เจ้าของสวนต้อนรับด้วยความดีใจทีเดียว เขาไม่มีที่พัก แต่มีบ้านรับรองที่ให้ผมพักเลยชักรูปมาให้ชม
            จากลำปางไปยังอำเภองาวเลี้ยว เข้าไปจะไปซื้อใส้อั่วที่อร่อยนัก ร้านไม่มีชื่อ ต้องเลี้ยวเข้าทางไปกว๊านที่จะถึงก่อนทางแยกเข้าเมือง ผ่านร้านอาหารอร่อยชื่อร้านตะวันไป ตรงเรื่อยไปผ่านสวนสมเด็จย่าไปประมาณ ๘๐๐ เมตร โรงจำนำอยู่ทางขวา ร้านอยู่ทางซ้าย แต่วันนี้อด เพราะร้านยังไม่เปิด เดี๋ยวนี้มีอาหารเมืองขายด้วย ๐๕๔ ๔๓๑๖๑๓
            จากพะเยาเรื่อยไปจนเข้าเมืองเชียงราย แต่ไม่ได้แวะในตัวเมือง วิ่งผ่านไปยังอำเภอแม่จันเลยทีเดียว ทางแยกซ้ายเพื่อขึ้นดอยแม่สลอง แยกซ้ายที่กิโลเมตร ๗๕๙.๕ ตรงข้ามปั๊ม ปตท. เลี้ยวซ้ายแล้ววิ่งขึ้นยังดอยแม่สลองไปตามถนนสาย ๑๑๓๐ อีก ๓๖ กิโลเมตร ผมยังไม่แวะ แต่จะกลับมานอนที่ดอยแม่ฟ้าหลวง จึงวิ่งเลยไปก่อน พอถึงกิโลเมตรประมาณ ๘๗๐.๕ ก็เลี้ยวซ้ายเพื่อขึ้นไปยังดอยตุง ไปสวนแม่ฟ้าหลวง สาย ๑๑๔๙ จากปากทาง ระยะทางโดยประมาณ คือ (เชียงราย - ทางแยกขึ้นดอยตุง ๔๘ กิโลเมตร)
            ปากทาง ไปยังแยกซ้ายไปกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง ๑๐ กิโลเมตร เส้นทางนี้หากรถดี เชื่อมือตัวเองจะไปยังดอยแม่สลอง หมู่บ้านสันติคีรีได้ ๑๕ กิโลเมตร แต่วันนี้ผมไม่ได้ไป เพราะมืดกลางทาง จึงต้องย้อนกลับลงมาก่อน
            ปากทาง - ทางเข้าพระตำหนักดอยตุง ๑๗ กิโลเมตร เลยขึ้นไปอีกจะถึงพระธาตุดอยตุง และจากทางแยกเข้าพระตำหนักไปจันถึง สวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง ดอยช้างมูบต้องไปอีก ๙ กิโลเมตร
            ผมขึ้นไปยังสวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวงก่อน ซึ่งเส้นทางนี้หากรถดี คนขับดี จะไปได้จนถึงอำเภอแม่สายก็ได้ ถนนราดยางดีแต่สูงชันและแคบ ระยะทางจากสวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง ถึงแม่สายประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
            สวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวงคนละสวนกับสวนแม่ฟ้าหลวง เดี๋ยวผมจะพาไป  เมื่อขึ้นไปถึงดอยช้างมูบ ซึ่งเมื่อก่อนนี้เป็นเขาหัวโล้น ต้นไม้ใหญ่ถูกตัดจนแทบหมดป่า ด้วยมือนักตัดไม้ทำลายป่า
            เมื่อเกือบยี่สิบปีมาแล้ว สมเด็จย่าของปวงชนชาวไทย ได้มีพระราชกระแสรับสั่งกับหม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิสกุล ราชเลขานุการในพระองค์ว่า จะไม่เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีก หลังจากที่มีพระชนมายุ ๙๐ พรรษาแล้ว และเมื่อกราบบังคมทูลว่า "อยากจะทรงปลูกป่าไหม" จึงมีรับสั่งว่า "เรื่องปลูกป่านี้ฉันชอบ และอยากทำมานานแล้ว" คือ การเริ่มต้นของกสนปลูกป่าบนดอยตุง ต่อจากนั้นสำนักเลขานุการในพระองค์ของสมเด็จย่า ก็ได้เลือกเฟ้นหาพื้นที่ที่มีความสูงระหว่าง ๙๐๐ - ๑๓๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเล ที่ต้องเลือกความสูงในระดับนี้ เพื่อให้เหมาะกับพระสุขภาพของสมเด็จย่า และได้ค้นพบที่บนเทือกเขานางนอน ใกล้หน่วยอนุรักษ์ต้นน้ำ ๓๑ ของกรมป่าไม้ ตำบลแม่ไร่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งจะมองเห็นเทือกเขาสลับซับซ้อน และมีที่ราบคล้ายทิวเขาและทะเลสาปในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงได้กราบบังคมทูลฝ่าละอองพระบาท พอเอ่ยถึงดอยตุงก็รับสั่งทันทีว่า "ฉันจำได้แถวนี้ป่าโล้นมาตั้ง ๒๐ กว่าปีแล้ว" สมเด็จย่าจึงได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระพี่นาง ฯ ไปทอดพระเนตรพื้นที่ดังกล่าว เมื่อ ๑๕ มกราคม ๒๕๓๐ ทรงพอพระหฤทัย และมีพระราชดำริที่จะทรงสร้าง "บ้านดอยตุง" และการเสด็จมาประทับแรมจะต้องมีงานให้ทรงด้วย จึงไม่น่าประหลาดใจ เมื่อมีพระราชกระแสว่า "ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง" และนี้คือต้นกำเหนิดของโครงการพัฒนาดอยตุง ซึ่งได้พัฒนาก้าวไกลมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
            บ้านที่ดอยตุง ซึ่งสมเด็จอย่าทรงให้ปลูก คือ พระตำหนักที่สร้างขึ้นบนลาดเชิงเขา เป็นที่ประทับทรงงานของสมเด็จย่า ครั้งหนึ่งเคยรับสั่งว่า "ฉันจะไม่สร้างบ้านอยู่ที่นี่ ถ้าไม่มีโครงการพัฒนาดอยตุง" พระตำหนักดอยตุง จึงเปรียบเหมือนสัญญาลักษณ์แห่งพระราชปณิธานอันแรงกล้าของสมเด็จย่าที่จะปลูกป่า
            พระตำหนักดอยตุง  คือบ้านหลังแรก และหลังเดียวของสมเด็จย่า ลงเสาเอก เมื่อ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๓๐ ทรงสร้างเมื่อพระชนมายุ ๘๘ พรรษา ลงเสาเอกตามพิธีของล้านนาคือ "พิธีปักเสาเฮือน" พระตำหนักนี้เป็นการออกแบบที่ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมล้านนา กับบ้านพื้นเมืองของสวิตเซอร์แลนด์ และบ้านไม้ซุง ตัวอาคารมี ๒ ชั้น และชั้นลอย ที่ประทับชั้นบนแยกเป็น ๔ ส่วน ทุกส่วนเชื่อมต่อเป็นอาคารหลังเดียว เสมอกับลานกว้างของยอดเนินเขา ส่วนชั้นล่างจะเกาะอยู่กับไหล่เนินเขา ลักษณะเด่นจะอยู่ที่กาแล และเชิงชายที่แกะสลักลายเมฆไหลรอบพระตำหนัก ภายในท้องพระโรงจะเห็นเพดาน "ดาว" ทำด้วยไม้สนแกะสลัก ไม้ที่ใช้ตกแต่งภายในพระตำหนัก ส่วนใหญ่เป็นไม้ "ลัง" ที่ใช้ใส่สินค้ามาจากต่างประเทศ ส่วนภายนอกพระตำหนักจะสดสวยด้วยไม้ดอก ไม้ประดับเมืองหนาวนานาพันธุ์สดสวยทั้งปี
            สวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวงดอยช้างมูบ เลยขึ้นไปจากทางแยกเข้าพระตำหนัก สวนที่ทรงให้ชะลอเอามา ใหญ่ ต้นโต ๆ มาปลูกเอาไว้นั้น จะปลูกทางด้านซ้ายของทางเข้าสวนรุกขชาติ เมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ขณะที่ผมยังดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการคณะกรรมพัฒนาระบบการต่อสู้เบ็ดเสร็จ ซึ่งมีพลเอก พิจิตร  กุลละวณิชย์ เป็นผู้อำนวยการ นายตลอดการของผมท่านนี้ จะต้องมาประชุมในเรื่องการสร้างพระตำหนักด้วย ซึ่งให้ผมได้ติดตามมาด้วย ตอนนั้นได้เห็นเขาหัวโล้นคือ ดอยช้างมูบนี้ เห็นการเริ่มชะลอต้นไม้ใหญ่มาปลูก ซึ่งขนาดป่าไม้เองก็ไม่แน่ใจว่าจะปลูกรอดหรือไม่ เพราะไม้ต้นโตจริง ๆ แต่บัดนี้สิบกว่าปีผ่านไป ไม้เหล่านั้นรอดหมดแล้ว ไม่มีดอยหัวโล้นอีกแล้ว ดูอย่างไรก็ดูไม่ออกว่าพื้นป่าแห่งนี้ เมื่อสิบกว่าปีมานี้เองคือเขาหัวโล้น
            ทางขวาคือทางเข้าไปยังสวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง เสียค่าผ่านประตูคนละ ๕๐ บาท เข้าไปแล้วไม่อยากกลับออกมา อยากนั่ง อยากเดินชมทั้งวัน เพราะสวยเหลือเกิน  เป็นความงดงามที่แตกต่างจากสวนแม่ฟ้าหลวง ที่อยู่ข้างพระตำหนัก ต้องมาชมสวนรุกขชาติก่อน จึงจะได้บรรยากาศที่แตกต่างกัน สวยคนและแบบ ดูกันสักครึ่งวันแล้วกลับไปกินอาหารกลางวันแถว ๆ ตรงข้ามทางเข้าสวนแม่ฟ้าหลวง อาหารดี พอใช้ได้
            เข้าไปแล้วเดินลงไปตามขั้นบันได ลงสู่พื้นล่างที่เป็นสนามหญ้า มีน้ำผุด มีชื่อว่า "น้ำพระทัย" หมายถึงน้ำพระทัยของสมเด็จย่า มีสวน, แปลงไม้ดอก สองข้างทางเดินสดสวยด้วยไม้ดอก ตอนที่ผมไป กุหลาบพันปีกำลังออกดอกเต็มต้น สีแดงสดคือ กุหลาบพันปีจากพม่าสีสดสวยมาก กุหลาบพันปีจะหาซื้อได้ที่เขาปลูกไว้ในกระถาง เช่น ที่สวนสมเด็จพระนางเจ้า ฯ ที่อำเภอแม่ริม หรือตลาดคำเที่ยง ในตัวเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น หรือจะมาซื้อที่เขาค้อ เพชรบูรณ์ก็ได้ราคาถูกดี
            ชมสวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวงจนอิ่มตา แต่ไม่อิ่มใจเพราะผมมีเวลาน้อยไป ต้องไปชมสวนแม่ฟ้าหลวง และยังจะกลับไปนอนที่ดอยแม่สลองอีก
            กลับลงมาแวะไปนมัสการพระะธาตุดอยตุง แล้วลงมาที่พระตำหนักดอยตุง วันนี้ไม่ได้เข้าไปในพระตำหนัก ซึ่งเมื่อก่อนนี้ได้เปิดให้เข้าชม แต่เมื่อตอนที่ผมเป็นประธานที่ปรึกษาของรัฐมนตรีกลาโหม กลุ่มที่ ๖ ผมมาราชการ (ประมาณปี ๒๕๔๔) ได้เข้าชมพระตำหนัก และกลับมาได้เขียนเสนอแนะไว้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ว่าน่าจะเปิดให้ประชาชนได้เข้าชม เก็บค่าเข้าชมสัก ๓๐ บาท เพื่อเอาไปเป็นเบี้ยเลี้ยงของทหาร หรือตำรวจ ที่จะต้องมาเฝ้ารักษา และให้ความปลอดภัย จากนั้นไม่กี่เดือนไม่ทราบว่าผลจากที่ผมขียน หรือเป็นแนวคิดของสำนักราชเลขา ฯ เองไม่ทราบ ทางสำนักราชเลขา ฯ ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชม ได้เก็บสตางค์คนละ ๕๐ บาท แต่วันนี้ผมไม่มีเวลาเข้าไป และได้เข้าไปชมหลายครั้งแล้ว เรียกว่าชมกันมาตั้งแต่เริ่มสร้างเลยทีเดียว
            ที่ต้องเข้าชมให้ได้คือ สวนแม่ฟ้าหลวง ซึ่งหากเป็นวันธรรมดา จะเข้าจอดได้ใกล้ที่ลานจอดของพระตำหนัก ทางลงสู่สวนแม่ฟ้าหลวงอยู่ทางขวามือ ตรงข้ามร้านอาหาร และต้องผ่านพิพิธภัณฑ์มาก่อน และติดกับพิพิธภัณฑ์และสุขาอันเป็นสากล และสะอาดก็มีต้นไม้ขายราคาไม่แพง แต่กุหลาบพันปีไม่มีจำหน่าย ราคาค่าเข้าชมสวนคนละ ๕๐ บาท

            สวนแม่ฟ้าหลวง เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕ บนพื้นที่ประมาณ ๑๒ ไร่ อยู่ใกล้กับพระตำหนักดอยตุง ห่างกันไม่ถึง ๕๐ เมตร สวนแม่ฟ้าหลวง (ที่ดอยช้างมูบ ชื่อสวนรุกขชาติแม่ฟ้าหลวง) ได้รับการออกแบบให้สวยงามตลอด ๓๖๕ วัน แปลงไม้ดอกหลากหลายพันธุ์นับหมื่นดอก ถูกจัดแต่งหมุนเวียนให้สวยงาม ไม่ซ้ำกันตลอด ๓ ฤดู เมื่อเริ่มเข้าไปในสวน โดยเดินลงไปและเดินเรื่อยไปให้สุดทาง ตอนกลับไม่ต้องเดินย้อนกลับมา จึงไม่ต้องกลัวเดินไกล เดินแล้วแสนจะเพลิดเพลินกับมวลดอกไม้ในสวนแห่งนี้ สวยสุดพรรนาเลยทีเดียว และก่อนเดินไปจนถึงจุดสุดท้ายที่ต้องถือว่าเป็นจุดสุดยอดแห่งความงาม เพราะเป็นลานดอกไม้ลานใหญ่ และก่อนที่จะมาถึงลานนี้ ก็ได้เดินผ่านพื้นที่ขยายสวนในภายหลังอีก ๑๓ ไร่ เป็น ๒๕ ไร่ ซึ่งพื้นที่ขยายคือ พื้นที่ที่มีสวนหิน สวยน้ำ สวนปาล์มและสวนไม้ประดับ แถมในสวนน้ำยังมีเป็ด มีนกเป็ดน้ำสีขาวลอยอยู่อีก เป็นจริง ๆ มีชีวิต เมื่อถึงลานที่เป็นสุดยอดแห่งความงาม จะมีประติมากรรมของคุณ มิเรียม ยิบอินซอย เป็นประติมากรรมเด็กยืนต่อตัว โดดเด่นอยู่บนแท่นกลางสวน ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จย่าว่า "ความต่อเนื่อง" อันตรงกับพระราชดำริของสมเด็จย่าที่ว่า "ทำงานอะไรก็ตามจะสำเร็จได้ต้องมีความต่อเนื่อง"
            สวนแม่ฟ้าหลวง ได้รับรางวัลจาก พาต้า โกลด์อะวอร์ด (PATA GOLD AW AW RDS) ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๖ ของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคแปซิฟิค ในนามของประเทศไทย ประเภทรางวัลการพัฒนาการท่องเที่ยว
            ในบริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาดอยตุง มีหมู่บ้านชาวเขา ๒๖ หมู่บ้าน ประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยหลายเผาพันธุ์ ได้แก่ ไทยใหญ่ จีนฮ่อ ชาวเขาเผ่าอีก้อ และเผ่ามูเซอ ซึ่งในปัจจุบันชาวเขาเหล่านี้ตั้งรกรากเป็นหลักแหล่ง มีถนนหนทางติดต่อกันได้สะดวก เป็นชาวเขาที่ขับรถมอเตอร์ไซต์ หรือขับรถกระบะ และเป็นชาวเขาที่บางคนพัฒนาตังเอง ไปถึงขั้นเรียนจบปริญญาแล้ว เช่น ชาวเขาเผ่าม้งที่เขาค้อ เพชรบูรณ์ เป็นต้น หาดูยากแล้วที่ชาวเขาจะแบกเป้ไว้ข้างหลัง หรือแบกกระบุง กระชุเดินขึ้นเขา แต่ละหมู่บ้านของชาวเขา มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง และมีการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่พวกเขาส่วนใหญ่ก็ยังคงรักษาขนบธรรเนียมประเพณีของเผ่าเอาไว้ และยังมีประเพณีที่จะฉลองประจำเผ่าให้ชมกันได้ตลอดปี
            สมเด็จย่าได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดตั้งศูนย์บำบัด และฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ติดยาเสพติดขึ้นที่บริเวณดอยผาหมี เพื่อให้การรักษา และบำบัดทั้งร่างกายและจิตใจ พร้อมทั้งฝึกฝนอาชีพควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้ที่ได้รับการบำบัดและหายดีแล้วจะได้มีอาชีพ ดำรงชีวิตอยู่ได้ ปัจจุบันนี้ศูนย์บำบัดพวกติดยากลายเป็น "ศูนย์ฝึกอาชีพดอยผาหมี" อย่างเต็มตัว การฝึกฝนอาชีพที่มีต้นกำเหนิดจากโครงการพัฒนาดอยตุง เช่น เครื่องจักสาน การปลูกผัดสดต่าง ๆ ล้วนสืบเนื่องมาจากการฝึกฝนอาชีพขออดีตผู้ติดยาทั้งสิ้น ดังนั้นพวกติดยาที่มารับการบำบัด จะต้องให้มีงานทำทั้งวัน คือ การฝึกฝนอาชีพตามแนวทางที่ตนถนัด ให้พึ่งตนเองได้เมื่อหายจากการบำบัดแล้ว เมื่อกลายเป็นศูนย์ฝึกอาชีพไปแล้ว จึงไม่ใช่มีแต่พวกติดยาเท่านั้น ชาวเขาก็เข้ารับฝึกฝนอาชีพด้วย
            วันที่กลับลงมาจากดอยแม่สลอง เพื่อมายังอำเภอเวียงป่าเป้า มาเวียงกาหลง และกลับเข้ามายังเชียงใหม่ ผมได้แวะค้างที่อำเภอแม่สรวยหนึ่งคืน นัดพรรคพวกจากเชียงใหม่ ให้มาพบกันที่เวียงป่าเป้า ที่ตำบลป่างิ้ว ที่ผมเคยเล่าแล้วว่า ผมสร้างพระธาตุม่วงคำเอาไว้ในที่ดินของผมเอง สร้างแล้วก็ยกทั้งพระธาตุ และที่ดินตรงนั้น ให้เป็นที่ของตำบลป่างิ้ว สร้างองค์พระธาตุบนฐานเก่าแก่ ไม่ทราบว่ากี่ร้อยปี ที่ผมพบในที่ดินของผมที่ตั้งใจสร้าง เป็นหมู่บ้านตามแนวความคิดยุทธศาสตร์พัฒนา หรือยุทธศาสตร์พระราชทาน แต่ทำได้แค่ซื้อที่ดินมากมายหลายร้อยไร่ แล้วไม่มีปัญหาที่จะสร้างจนสำเร็จ เพราะธนาคารไม่ยอมให้กู้เงินต่อ ให้กู้แค่ซื้อที่ดินก็เลยเป็นหนี้ธนาคารส่งดอกเบี้ยกันหัวโต พรรคพวกอยากมานมัสการพระธาตุม่วงคำ ที่ตำบลป่างิ้ว แล้วนัดกันไปนอนที่เชียงรายคันทรีฮิลล์หนึ่งคืน เลยขอเอามาบอกกล่าวไว้ด้วย ว่าที่เชียงรายคันทรีฮิลล์ ซึ่งหากไปจากเชียงใหม่ ผ่านอำเภอเวียงป่าเป้าไปแล้ว พอถึงอำเภอแม่สรวย ก็เลี้ยวซ้ายไปถนนสายไปอำเภอแม่ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ ๓ กิโลเมตร เชียงรายคันทรีฮิลล์อยู่ทางขวามือ ห้องอาหารได้รับรองความอร่อยจากบางกอกแก้ว ห้องพักที่นี่ดีมาก ราคาถูก ห่างจากตัวเมืองเชียงราย ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร รถวิ่งไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ผมมาเชียงรายผมเลยพักที่นี่เป็นส่วนใหญ่ เพราะอาหารดีราคาถูก และที่พักดีมาก เพราะเป็นที่พักส่วนบุคคลที่เจ้าของเขาไม่ได้มาพัก เขาก็เปิดให้เช่า อยู่ท่ามกลางสวนลิ้นจี่ ผมนอนตอนหน้าหนาว หนาวจับใจดีนัก ที่เอามาบอกเพราะเขามีอาหารมาใหม่คือ "น้ำพริก น้ำผัก" อาหารจานโปรดของล้านนาตั้งเดิมทีเดียว
            เขาใช้น้ำผักกาดดองเกลือไว้ ๒ - ๓ วัน คั้นเอาแต่น้ำไปเคี่ยวจนงวดใส กินกับผักต้มที่เข้ากันดีคือ ใบบัวบก มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว บวบต้ม กล่ำปลี ผักกาดขาว จานใหม่อีกจานของเขาคือ ซึ่โครงหมูอ่อนทอดหมักงาขาว - ผักชียี่หร่า กินเข้ากันดีนัด ส่วนอาหารพื้นเมืองอร่อย ๆ รายการประจำของเขาคงอร่อยคงที่ โดยเฉพาะแกงฮังเล รสนี้หากินยาก แล้วยังมีแกงแค แกงจอผักกาด หรือแกงส้มของล้านนา ลาบเหนือ
            ทีนี้ผมพากลับมากินอาหารที่กรุงเทพ ฯ ชื่อร้าน "ข้าวและแกง" ไม่ใช้ร้านข้าวแกง เขาชื่อข้าวและแกง อยู่ย่านฝรั่งธนบุรี ตั้งแต่เขายังเป็นสามแยกท่าพระ จนกลายเป็นสี่แยกท่าพระไปแล้ว เส้นทางไปหากไปจากวงเวียนใหญ่ ธนบุรี เลี้ยวขวาไปตามถนนเพชรเกษม ตรงเรื่อยไปข้ามสะพานข้ามคลองบางหลวง ตรงไปอีกพบสี่แยก มีสะพานข้ามสี่แยกคือ สี่แยกท่าพระ อย่าข้ามสะพาน (เลี้ยวขวาเข้าถนนจรัลสนิทวงศ์) วิ่งเลาะข้างสะพานข้ามสี่แยกไป พอถึงปลายสะพานข้ามสี่แยก ร้านข้าวและแกงจะอยู่ทางซ้ายมือ เป็นร้านห้องเดียว ติดแอร์ เย็นสบาย มีโต๊ะไม่มากนัก แต่หากเป็นมื้อเย็นทะลุหลังร้านออกไป นั่งข้างหลังได้อีกหลายโต๊ะ คอสุราชอบนัก และหากมาจองร้านเขาจัดเลี้ยง ก็จัดเป็นคาราโอเกะให้ได้ รวมทั้งอัดเสียงให้ได้ด้วย สำคัญพอเห็นภาพได้ยินเสียงตัวเองในวันหลังจะทนฟัง ทนดูไม่ได้เท่านั้น
            ร้านข้าวแกงเป็นชาวสมุทรสาครหรือ มหาชัยทั้งสองคน แม่ครัวเอก ไปจ่ายตลาดเองที่มหาชัย รู้แหล่งซื้ออาหารสด จะได้ของถูก ของสดกลับมา อาหารจึงสดอร่อย และราคาไม่แพง ยิ่งปลายฝน ต้นหนาว เข้าหนาว "ปลาทู" อร่อยนัก เพราะปลาทูหน้าหนาวต้องสะสมมันเอาไว้ในตัว "อ้วน มัน"
            ร้านข้าวและแกง โทร. ๐ ๒๘๖๘๑๘๖๖, ๐ ๑๓๓๘๑๖๗๒ เลขที่ ๓๖๓/๑๓ เพชรเกษม ระหว่างซอยเพชรเกษม ๑๕ - ๑๗ สี่แยกท่าพระ บางกอกใหญ่ กรุงเทพ ฯ หากจะเหมาเรือไปตกปลาก็โทรได้ที่ ๐ ๖๓๘๑๙๙๖๒
            ต้มส้มปลากระบอก รสไทยแท้ เข้มข้น ๓ รส ปลากระบอกสด เนื้อนุ่ม
            แกงส้มปูทะเลไข่ อร่อยแบบนี้เคยเจอที่ตลาดปาดังเบซาร์โน่น ได้มาซดที่นี่อีกที
            ปลาทูโป๊ะ ต้มมะดันยิ่งหน้าหนาวปลาทูยิ่งอร่อย หรือสั่งปลาทูชุบแป้งทอดของเขาก็อร่อย
            ปลาดุกทะเลผัดฉ่า จานแนะนำของร้าน มีน้ำขลุกขลิก เอามาราดคลุกข้าวได้
            หลนเนื้อปู อย่าโดดข้ามไป ผักสดมีขมิ้นขาว ถั่วพู แตงกวา มะเขือเปราะ กล่ำปลี ใส่พวกสมุนไพร ได้แก่ ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง พริกขี้หนูสวนเผ็ดอร่อยนัก กลิ่นหอม สีน่ากิน
            ยำมะเขือยาว เปรี้ยวอมหวาน สาว ๆ ชอบ มีเนื้อกุ้งโรยหน้า
            หากโชคดีจะมีหอยพิมพ์แดดเดียว ที่ใช้คำว่าโชคดีเพราะหอยพิมพ์หายาก ตลาดไม่ค่อยมีขาย อาหารร้านนี้โทรศัพท์สั่งอาหารไว้ล่วงหน้า แล้วเฉี่ยวรถมาจอดหน้าร้าน ซื้อกลับบ้านได้ จอดรถได้ที่หน้าร้าน จอดได้หลายคัน ไม่ได้มีป้ายห้ามจอด

....................................................................................



| บน |

สวนแม่ฟ้าหลวง: ข้อมูลสวนแม่ฟ้าหลวง ท่องเที่ยวสวนแม่ฟ้าหลวง ข้อมูลเที่ยวสวนแม่ฟ้าหลวง


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์