ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > สาครบุรี
 
สาครบุรี
| ย้อนกลับ |

สาครบุรี


            ถ้าผมขึ้นต้นถึง "สาครบุรี" สงสัยท่านผู้ส่วนใหญ่คงจะคิดว่าเมืองนี้มีอยู่ในประเทศไทยด้วยหรือ เมื่อมีแล้วอยู่ภาคใหน ตรงใหนของประเทศไทย เลยต้องชี้แจง เมืองสาครบุรีในปัจจุบันนี้ไม่มีแล้ว คงมีแต่ชื่อเมืองสมุทรสาคร ซึ่งเป็นนามพระราชทาน อยู่ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยนี่เอง และยังใกล้กรุงเทพ ฯ อีกด้วย
            สมุทรสาคร  เดิมชื่อว่าเมืองสาครบุรี แต่ชาวบ้านไปเรียกว่า ท่าจีนก็มี โกรกกรากมหาชัยก็เรียก แต่ที่เรียกกันมากที่สุด และรู้จักกันมากที่สุดคือชือ "มหาชัย"  แม้ทุกวันนี้ก็ยังเรียกกันอยู่ เมืองสมุทรสาครมาเปลี่ยนชื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ โปรดให้เปลี่ยนชื่อจากสาครบุรีเป็น "สมุทรสาคร"
            ปัจจุบันมีคำขวัญประจำจังหวัดว่า "เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร"
            ไปสมุทรสาครคราวนี้ได้ความรู้เรื่องปลาทูมาจึงขอรีบเล่าเสียก่อนเดี๋ยวจะลืมเล่าในตอนหลัง ผมได้ความรู้ว่าเมืองสมุทรสาครมีปลาทูมากที่สุด ปลาทูที่อร่อยที่สุดนั้นต้องเป็นปลาทูฤดูหนาว เพราะปลาทูก็หนาวเป็นเมือนกัน เมื่อหนาวเป็นก็เลยสร้างไขมันในตัวทำให้ปลาทูหน้าหนาวนั้นอ้วนผิดกับฤดูอื่น และเมื่อมีไขมันมากก็ทำให้มันอร่อยมากกว่าปลาทูในฤดูอื่น และการจับปลาทูนั้นเขาจะจับในคืนเดือนมืดเท่านั้น เพราะหากเดือนหงายมองไม่เห็นฝูงปลาทู ดังนั้นจับปลาทูกันแต่ในเดือนมืด จับแล้วก็ต้องเอาลงแช่เย็นไว้ทันที ซึ่งการแช่เย็นที่ไม่เสียรสชาตินั้น เขาจะต้องน๊อคปลาให้ตายทันที ตายด้วยความหนาวเย็น แล้วก็แช่แข็งไปเลย จากนั้นจะส่งไปไหนก็ได้ไม่เสียรสชาติ เวลาจะทำอาหารเอาออกมาปล่อยให้คลายความแช่แข็งลงอย่าไปใช้ความร้อน เนื้อปลาก็จะอร่อยมีความสดเท่ากับตอนที่จับจากทะเล แต่อาจจะลดลงเล็กน้อยก็ได้ ทำไมมีปลาทูขายกันตลอดปี เดือนหงายก็มีปลาทูขายในท้องตลาด เขาชี้แจงว่าเพราะเป็นปลาแช่แข็งเอาไว้ในห้องเย็น แล้วทยอยออกสู่ตลาด ส่วนมีขายทั้งปีก็เพราะ ปลาทูจับกันได้ตลอดปี แต่จะอ้วนท้านอร่อยเป็นพิเศษในหน้าหนาว
            และสมุทรสาครนั้นเป็นท่าเรือประมงใหญ่โตแห่งหนึ่งของประเทศ ทางฝั่งที่รถเดินไปถึงเรียกว่า ฝั่งมหาชัย แต่หากข้ามเรือไปยังฝั่งตรงกันข้ามที่เห็นอยู่ไม่ไกลนักเรียกว่า ฝั่งท่าฉลอม เป็นเกาะอยู่ตรงกับแผ่นดินมหาชัย ฟากที่มีสถานีรถไฟ นึกไม่ออกก็ให้นึกถึงเพลงท่าฉลอมกับมหาชัยก็แล้วกัน
            เรือประมงที่ออกจับปลานั้น จะมีเรือประมงแม่ ซึ่งเป็นเรือลำใหญ่ขนาดสัก ๒๐๐ ตัน แต่เรือแม่นั้นวิ่งไปมาระหว่างสมุทรสาคร กับท้องน้ำที่จับปลา เช่น ไปตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านเอาไว้ว่า จะมีการจับปลา และมีสัดส่วนแบ่งกัน เรือแม่ก็จะออกไปยังท้องทะเลแห่งนั้น แต่ไปลอยลำ มิได้ไปลงอวนจับปลาเอง เรือที่ออกจับปลามาส่งเรือแม่เป็นเรือลูก ซึ่งจะมีระวางขับน้ำเพียง ๓๐ - ๔๐ ตัน และเรือแม่ลำหนึ่งก็จะมีลูกเรือหลายลำ เพื่อจับปลามาส่งเรือแม่ การจับสัตว์น้ำจึงเป็นหน้าที่ของเรือลูก ที่จะจับปลาแล้วรีบนำมาส่งเรือแม่ทันที และคงไม่ไกลกันนัก จากนั้นก็เข้าห้องเย็นของเรือแม่ เมื่อเรือลูกมีหลายลำย่อมใช้เวลาไม่มาก ก็จะจับปลาได้เต็มห้องเย็นเรือแม่ จากนั้นเรือแม่จำรีบกลับมายังฝั่งมหาชัย ส่วนเรือลูกคงอยู่จับปลาต่อไป และเก็บปลาไว้ในห้องเย็นของตัว รอถ่ายลงสู่เรือแม่ เมื่อเรือแม่กลับมาอีกครั้ง เมื่อเรือแม่นำปลากลับมาแล้วก็ส่งเข้าโรงบบรจุลงกล่อง ซึ่งจะเป็นกล่องที่รักษาอุณหภูมิ ปลาคงแช่แข็งตามเดิมยังไม่ทันคลาย จากนั้นก็เอาขึ้นรถห้องเย็นคันยาวมาก จัดกล่องอาหารทะเลสดเหล่านี้ใส่เข้าไปในตู้จนเต็มแล้ว จากนั้นรถห้องเย็นเหล่านี้ก็นำอาหารทะเลไปส่งลงเรือไปต่างประเทศ หรือส่งไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ดังนั้นคนเชียงรายก็กินปลาดสดพอ ๆ กับคนกรุงเทพ ฯ นั่นแหละ
            และวิธีบรรจุกุ้ง ปลาลงกล่องอีกวิธีหนึ่งคือ  เดี๋ยวนี้มีการเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลาทั่วไปหมด แม้แต่ภาคอีสานก็เลี้ยงกุ้งกันมากมาย แต่เท่าที่ตระเวณกินมาผมว่ากุ้งมีคุณภาพต่ำไปนิดหนึ่ง เนื้อกุ้งยังไม่แน่น และขนาดไม่โตมากพอ ส่วนกุ้งเลี้ยงที่มีคุณภาพดีแล้วได้แก่ กุ้งที่เลี้ยงแถวลพบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี แถว ๆ นี้แหละผมไม่ได้ตระเวณดูทั่ว เขาก็ใช้วิธีเดียวกับเรือคือ เมื่อบ่อจับกุ้งเขาก็จะจับทีเดียวทั้งบ่อ ก่อนจับผู้ซื้อต้องโอนเงินเข้าบัญชีให้ผู้ขายก่อน เพราะหากจับแล้วเกิดไม่ซื้อขึ้นมาผู้ขายก็หมดตัว เพราะการเลี้ยงกุ้งนั้นเลี้ยงยาก จะรวยจะจน ๑๐ วันพอรู้เรื่องคือ หากปล่อยลูกกุ้งลงไปแล้วภายใน ๑๐ วัน ลูกกุ้งไม่ลอยฟ่องขึ้นมาก็ถือว่ารอดเลี้ยงต่อไปอีก ๓เดือน ก็จะจับขายได้ราคามากกว่ากิโลกรัมละ ๒๖๐ บาท เมื่อจับแล้วก็น๊อคด้วยน้ำแข็งที่เย็นจัดทันที  จากนั้นรถบรรทุกก็นำกุ้งเหล่านี้ กลับมายังโรงบรรจุกล่องเช่นที่มหาชัย เพื่อส่งต่อไปโรงงานเพื่อแยกส่วนส่งต่างประเทศ หรือเพื่อส่งขายยังจังหวัดอื่นต่อไป กุ้งเลี้ยงลพบุรีอาจจะส่งไปลงกล่องที่มหาชัย แล้วรถห้องเย็นพากลับมาขายส่งให้ลพบุรีก็ได้ ผมเขียนเรื่องกุ้ง ปลา เสียยาวไปนิด เพราะกำลังเห่อกับความรู้ที่ได้มา และการเลี้ยงกุ้งนั้นผมเห็นจากบ่อที่ลพบุรีบ่อยไป เช่นแถวบ้านหมี่
            การไปเที่ยวสมุทรสาครวันนี้ ไม่ได้ไปไหนมากนัก เพราะสมุทรสาครเจริญเร็วเกินไปจนชักจะจำทางไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มาสัก ๒ ปีคงจะได้ จากบ้านผมลาดพร้าวขึ้นทางด่วน ๒ ด่วน ไปลงยังถนนพระราม ๒ หรือถนนล้านปีตามที่ผมตั้งชื่อให้คือ สร้างกันไม่เสร็จสักที่ ไปคราวนี้เห็นเสร็จดีไปจนถึงทางแยกที่จะไปยังบางแค จากนั้นก็ยังมีการก่อสร้างให้เห็นทั่วไป คงจะล้านปีอย่างผมว่านั่นแหละ
            วิ่งไปตามถนนพระราม ๒ จนไปถึงกิโลเมตร ๒๑.๕ จะเห็นทางแยกซ้ายคือ ทางแยกเข้ามหาชัยเมืองใหม่ ที่ตลาดติดกลายเป็นแหล่งการค้าใหญ่ไปแล้ว สำรวจหาร้านอาหารพบร้านอยู่หลังตลาดสดมี ๓ ร้าน แปลกดียังกับลูกแผด ๓ เพราะทั้ง ๓ ร้านขายอาหารเหมือนกัน วิธีแต่งร้านคล้ายกัน เขียนคำโฆษณาประชาสัมพันธ์เหมือนกัน มีป้ายบอกว่าขายเป็ดพะโล้ ก๋วยเตี๋ยวเป็ด ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ ข้าวผัดกระเพาหมูกรอบ ๓ ร้านนี้อยู่ใกล้ ๆ กัน ไม่ทราบว่ารสอาหารเป็นอย่างไรยังไม่ได้ไปชิม
            เลยมหาชัยเมืองใหม่ไปหน่อยก็จะถึงทางแยกเข้าเมืองสมุทรสาคร ชื่อถนนเอกชัย จะเข้าทางเส้นนี้ก็ได้ หากจะไปเที่ยวศาลสมเด็จกรมหลวงชุมพร ไปวัดโกรกกราก ไปศาลพันท้ายนรสิงห์ ก่อนจะเข้าเมืองก็เลี้ยวเข้าถนนเอกชัยนี้ได้เลย หากไปตามถนนสายนี้ ๕ กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายเข้าหมู่บ้านเบญจทรัพย์มั่นคง หมู่บ้านมีป้ายใหญ่บอกที่ปากทาง หากเลี้ยวเข้าหมู่บ้านขับรถตรงไปสัก ๑๐๐ เมตร จะชนกับสามแยก ตรงสามแยกนี้เป็นที่พักผ่อนของหมู่บ้านมีร้าน "ก๋ยวเตี๋ยวในสวน" อยู่ตรงนี้เป็นร้านของสาววิศวะขอนแก่น กับน้องสาววิศวะสงขลา สำเร็จวิศวะแล้วมาขายก๋วยเตี๋ยว ชื่อร้านก๋วยเตี๋ยวในสวน ก๋ยวเตี๋ยวปลาอร่อยนัก แถมก๋ยวเตี๋ยวหมูขายถูกชามละ ๑๐ บาทเท่านั้น ก๋ยวเตี่ยวปลาขายสัก ๒๐ บาท ผมเคยเขียนชวนชิมไปเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว ผ่านเข้าไปดูแต่ไม่ได้แวะไปชิมเห็นร้านของเขาเจริญดี ก็ดีใจด้วย
            ออกมาถนนเอกชัยใหม่ ขับมุ่งเข้าเมืองต่อไปจะพบทางสี่แยก ตรงต่อไปพบสามแยก หากตรงต่อไปเข้าเมืองสมุทรสาคร หากเลี้ยวซ้ายแล้วขับตรงเรื่อยไป ๖ กิโลเมตร จะชนเข้ากับสามแยก
            ตรงสามแยกนี้ถ้าเลี้ยวขวาจะไปยังวัดกำพร้า  ศาลสมเด็จกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ อยู่ที่น้าวัด ไปกราบขอพรท่านเสียก่อน จากวัดกำพร้าหากตรงต่อไปก็เข้าเมืองได้
            ตรงสามแยกอีที (เลี้ยวขวาไปวัดกำพร้า) หากเลี้ยวซ้ายไป ๔ กิโลเมตร จะพบวัด และหากเลี้ยวซ้ายชิดกำแพงวัดเลยทีเดียว วิ่งเรื่อยไปไม่มีทางเลี้ยวไหนอีกแล้ว ถนนอยู่ท่ามกลางน้ำทั้งสองฟาก วิ่งไป ๘ กิโลเมตร จะถึงศาลพันท้ายนรสิงห์ วัดศาลาพันท้ายนรสิงห์ และคลองโคกขาม
            ท่านพันท้ายนรสิงห์นั้นคงทราบนามของท่าน และชื่อเสียงของท่านดีอยู่แล้ว ท่านอยู่ที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ทุกวันนี้ก็มีอนุสาวรีย์ของท่านริมคลองชลประทานที่ป่าโมก แต่อนุสาวรีย์ของท่านที่ผมเห็นเมื่อปีเศษ ๆ มาแล้ว รู้สึกว่าหญ้ากำลังจะขึ้นคลุมร่างของท่านหมดแล้ว ไม่คิดตกแต่ง ถากถางกันบ้างหรือ ท่านพันท้ายเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือ กษัตริย์กรุงศรีอยุทยา ซึ่งโปรดการตกปลา ชอบเสวยปลามากโดยเฉพาะปลาตะเพียน วันนั้นได้เสด็จทางเรือจะไปปากน้ำสมุทรสาคร ไปจากอยุธยาไม่ได้บอกไว้ว่าแจวเรือมากี่วัน เพราะไม่ใช่ใกล้ ๆ ไม่น่าจะมาถึงได้ในวันเดียว เมื่อมาตามแม่น้ำแล้วก็เข้าคลองโคกขาม ซึ่งคลองนี้จะคดเคี้ยวมาก และน้ำจะไหลเชี่ยวแรง แต่ปัจจุบันคลองไม่คดเคี้ยวแล้วเพราะหลังจากพันท้ายนรสิงห์ นายท้ายเรือพระที่นั่งบังคับเรือไม่ไหว ทำให้หัวเรือหรือโขนเรือพระที่นั่งชนกับกิ่งไม้จนหัวเรือหัก พันท้ายจึงขอถวายชีวิต พระเจ้าเสืออภัยก็ไม่ยอม ให้ปั้นดินเป็นรูปพันท้ายแล้วตัดศีรษะดินแทนก็ไม่ยอมอีก สุดท้ายจึงต้องตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ กันริมฝั่งคลองโคกขามนั่นเอง หลังจากนั้นมาผมไม่แน่ใจว่าแผ่นดินพระเจ้าทรงธรรม หรือพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ก็ให้ขุดแต่คลองโคกขามเสียใหม่ไม่ให้คดเคี้ยว เพื่อสะดวกต่อการสัญจรทางน้ำ เพราะเป็นเส้นทางสำคัญที่เชื่มต่อไปถึงทะเลได้
            บริวณหน้าศาล  กำลังจะสร้างเป็นอุทยานต่อไป มีพื้นที่กว้างขวาง แต่คงล่าช้าสักหน่อยเพราะปลูกต้นไม้กันตั้งแต่เล็ก ๆ ที่ศาลทางซ้ายมือมีรูปปั้นของท่านพันท้ายยืนอยู่ และในศาลามีพระพุทธรูปประทับนั่ง ควรกราบนมัสการพระพุทธรูปเสียก่อน แล้วจึงเดินไปกราบท่านพันท้าย ดอกไม้ธูปเทียนข้างศาลมีจำหน่าย เมื่อกราบไหว้ท่านแล้ว ก็เดินทางออกไปทางด้านหลังไปที่ริมน้ำคือ คลองโคกขาม จะมีลานดินทางขวามือ ซึ่งที่ลานดินแห่งนี้จะมีศาลของท่านพันท้าย และเจ้าแม่ศรีนวล คือเมียท่านพันท้าย ซึ่งไม่ได้ตายหรือเกี่ยวข้งอะไรกับตรงนี้ แต่เขาก็สร้างไว้ มีหลักประหารท่านพันท้ายยังอยู่ เขามีป้ายบอกเอาไว้ ไปแล้วจะลงเรือเที่ยวก็ได้ เพราะคลองโคกขามนี้ ลงเรือมาจากทางบางขุนเทียนที่เรียกว่า ทะเลกรุงเทพ ฯ ทางถนนที่แยกจากพระราม ๒ ไปวัดหัวกระบือ สุดถนนมีท่าเรือมีเรือพาเที่ยวมาตามคลองโคกขาม มายังศาลท่านพันท้ายได้
            จากศาลาท่านพันท้ายใกล้ ๆ กับ มีวัดที่สร้างใหม่ จากคณะศิษย์ของท่านพ่อฤาษีลิงดำ ซึ่งพ่อฤาษีลิงดำนั้น ท่านคือศิษย์เอกของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยู่ที่จังหวัดอุทัยธานี มรณภาพไปหลายปีแล้ว ได้ร่วมกันมาสร้างวัดนี้ขึ้นไว้ เป็นวัดใหม่แต่สะอาด และมีพระพุทธรูปที่หน้าบันที่ดูแปลก และผมเห็นคณะศิษย์คณะนี้เชื่อว่าคงมีกันหลายสาย ไปสร้างพระเจดีย์จำลองสี่มุมถวายให้แก่พระธาตุจอมกิติ ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ซึ่งผมเคยเล่าให้ฟังว่าผมไผทอดผ้าป่า และได้บูรณะวัดนี้อยู่ ๒ ปี เรียบร้อยหมดแล้ว จนถึงขั้นตั้งมูลนิธิพระธาตุจอมกิติไว้ให้วัด และยังมิให้ถอนเงินดอดเบี้ยจนกว่าจะอีก ๓ ปี ให้ถอนได้ปีละ ๘๐% ของเงินดอกเบี้ย เพื่อเอามาบำรุงองค์พระธาตุ เพื่อการเรียรพระปริยัติธรรมและบำรุงวัด เช่น ช่วยค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น แต่เชื่อว่าค่าใช้จ่ายนั้นต่อไปไม่ลำบากแล้ว เพราะตั้งแต่ผมทอดผ้าป่าแล้วเขียนเล่าถึงประวัติของพระธาตุจอมกิติ พระธาตุที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยคือ จาก พ.ศ. ๑๔๘๓ มาจนถึง พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นเวลาถึง ๑,๐๖๐ ปี นานกว่าพระธาตุดอยสุเทพ และแห่งอื่น ๆ และเป็นพระบรมสารีริกธาตุ ไม่ใช่พระธาตุของพระอรหันต์ เดี๋ยวนี้จึงมีผู้คนไปนมัสการกันมาก วัดคงมีรายได้พอบำรุงวัดได้ ผมก็ย้ายไปวัดอื่นต่อไปในปี ๒๕๔๔ จะไปทอกผ้าป่าทางวัดที่อำเถอพิบูลรักษ์ จังหวัดอุดรธานี ศิษย์เอกของหลวงปูบุญตาวิสุทธสีโล อดีตเจ้าอาวาสวัดคลองเกตุ ที่อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี (หลวงปูมรณภาพไป ๔ ปีแล้ว) เจ้าอาวาสอยู่คือท่านมหาสมพร
            ทีนี้ไปชิมอาหารร้านอร่อยของมหาชัย เป็นอาหารแบบพื้นเมืองมหาชัยจริง ๆ ไม่ใช่ปิ้ง ๆ ย่าง ๆ แบบชาวกรุงชอบกินอาหารทะเล แต่นี่ชาวมหาชัยแท้เขาทำอาหารแบบชาวทะเลชอบกิน ยกตัวอย่างเช่น ร้านริมทะเล ที่โรงแรมศรีราชาล๊อด ที่อำเภอศรีราชา อาหารอร่อยของเขาคือ ขาหมูหม่านโถว สลัดกุ้ง ไก่อบ เป็นต้น เขาบอกว่าคนทะเลขึ้นฝั่งแล้วไม่ได้อยากกินปลาอีก อยากกินหมู กินเนื้อกับเขาบ้าง เขาจึงขายอาหารพวกนี้ หรือเอาอาหารทะเลมาทำอาหาร ไม่ใช่ต้ม ทอด อย่างที่จำเป็นต้องทำเมื่ออยุ่ในเรือ
            ร้าน สมอ ๑๔ การไปร้านนี้ หากชำนาญทางก็มาจากทางวัดกำหร้าได้เลย แต่หากชาวเมืองอื่นผมว่าไปทางนี้ดีกว่า ตามถนนพระราม ๒ ไปจนถึงสี่แยก (เดิม) ที่เลี้ยวขวาไปทางดำเนินสะดวก หากตรงไปก็ไปสมุทรสงคราม หากเลี้ยซ้ายก็เข้าเมืองสมุทรสาคร "ให้เลี้ยวซ้าย" แล้ววิ่งตรงไป จะผ่านทางแยกอะไรก็อย่าไปเลี้ยวเข้า คงตรงต่อไปจนพบสี่แยกที่มองเห็นกลางถนนมี "ครุฑ" ตัวโต กางปีกอยู่บนเกาะกลางถนน ครุฑนี้อยู่เหนือป้ายใหญ่ "เทศบาลสมุทรสาคร "ครุฑ อุ่ม กินนารี"  เมื่อถึงสี่แยกนี้แล้วให้เลี้ยวขวา (หากตรงไปจะไปท่าเรือ ไปตลาด ไปสถานีรถไฟ) เมื่อเลี้ยวขวาจะเข้าถนน "๓๒๔๒" มีป้ายบอกไปสมุทรสงคราม วิ่งไปตามถนนสายนี้สัก ๕๐๐ เมตร ทางขวาจะมีป้ายขายรถเบนซ์ ทางซ้ายมีป้ายบอกว่าวัดป้อม ให้เลี้ยวซ้าย ผ่านโทรศัพท์ ถึงศาลากลาง พบสามแยกมีป้ายวัดป้อม ผ่านวัดป้อม ผ่านซอยทางซ้ายไปนิดเดียว จะมองเห็นทางขวามือชี้ทางเข้า  สมอ ๑๔ มองทางซ้ายปากซอยมีป้ายชี้เข้าร้านเช่นกัน ให้เลี้ยวซ้าย วิ่งไปจนสุกซอยเป็นทางแยก ให้เลี้ยวขาวผ่านบ้านทรงไทยหลังโต จอกรถตรงนี้ ร้าน สมอ ๑๔ อยู่ทางขวามือ ตรงข้ามบ้านทรงไทย ลักษณะร้านเหมือนบ้านที่พักอาศัยมีถึง ๔ ชั้น ขอเขาขึ้นไปดูชั้น ๔ เห็นฝั่งท่าฉลอม เห็นไปทั่วทั้งเมืองสมุทรสาคร ร้านเขาจึงรับจัดเลี้ยงได้โดยเฉพาะที่ชั้น ๒ จัดไว้ดีทีเดียว ส่วนข้างล่างเป็นปกตินั้นก็มีโต๊ะหลายตัว คือมองเผิน ๆ เหมือนบ้านพัก ไม่ดูเป็นอาหาร และทำแบบครอบครัว คือ แม่ครัวเอก ก็คือเจ้าของบ้าน สามีเป็นผู้ช่วยประมงจังหวัด แต่ไม่ใช่ที่จังหวัดสมุทรสาคร จึงเลือกอาหารทะเลเก่งนัก ทีนี้มาดูอาหาร
            ซี่โครงหมูอ่อน  บอกแล้วว่าชาวทะเล พอขึ้นบกแล้วก็อยากกินอย่างอื่นที่ไม่ใช่ ปลา ซี่โครงหมูอ่อนของเขาอร่อย โครงอ่อน เคี้ยวกรุ๊บ ๆ
            หลนเนื้อปู  รายการนี้ต้องสั่ง ๑๕๐ บาท ผักก็จัดสวย วางล้อมถ้วยปูหลน แนมด้วยไข่ต้ม และผักสด เวลากินจัดวางให้ครบเครื่อง บนข้าวสวยร้อน ๆ แล้วจึงเข้าปาก
            แกงส้มไข่ปลาริวกิว  ไข่ปลาริวกิวนั้นโตเท่าลูกพุทราไทย เวลาเคี้ยวจะหนุบหนับ แกงร้อนไฉ่จะราดข้าวก็ได้น้ำแกงเข้มข้น หรือจะซดก็ไม่มีใครว่า มีหัวปลาตัน เขาแนะว่าส่วนที่อร่อยที่สุดของหัวปลาคือเนื้อตรง "คางปลา" ผมจึงใช้ความอาวุโสจัดการกับเนื้อคางปลาเสีย
            ปลาบู่นึ่งซีอิ้ว  เจอร้านไหนมีปลาบู่ต้องสั่งมาชิม เพราะปลาบู่นั้นเขาเลี้ยงในกระชังจึงเลี้ยงไม่ได้มาก เหมือนเลี้ยงในบ่อ ส่วนมากเป็นปลาบู่ที่เลี้ยงปลาอื่นแล้วปลาบู่ติดอยู่ในบ่อด้วย ปลาบู่จะหากินยากเข้าทุกที เพราะตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ ต้องการมากมีเท่าไรส่งไปเขาซื้อหมด คนไทยจะอดปลาบู่
            จบรายการอาหารแล้ว ไปเที่ยวตลาดสด ตลาดที่วางของขายริมถนน ไปเดินได้สักหน่อยพอดีเทศกิจมา แม่ค้าร้านบอกต่อ ๆ กันไป พรึบเดียวหาบเร่แผงลอยริมถนนผลุบเข้าไปอยู่ในร้านริมถนนหมด เขาคงช่วยเหลือให้อาศัยกัน อาหารมากทั้งสดและสำเร็จรูป ราคาถูก ไปเจอของดี อีกอย่างหากินยาก อีกอย่างรถเข็นจอดปางทางเข้าสถานีรถไฟสายมหาชัย วงเวียนใหญ่คือ "กะลอจี้" ถ้าพบต้องซื้อชิม หากกินและของเจ้านี้อร่อยขั้นชวนชมเลยทีเดียว แถมราคาถูกกล่องละ ๑๒ บาทขาดตัว
.........................

| ย้อนกลับ | บน |

สาครบุรี: ข้อมูลสาครบุรี ท่องเที่ยวสาครบุรี ข้อมูลเที่ยวสาครบุรี


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์