ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > พระธาตุนคร
 
พระธาตุนคร
| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

ไหว้พระธาตุประจำวันเกิด (พระธาตุนคร)

            พระธาตุนคร  เป็นพระธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์ คาถาบูชาดวงประจำวันเกิดวันเสาร์คือ  "โส มา ระ กะ ริ กา โธ "สวดบูชาวันละ ๑๐ จบ ชื่อคาถาพระนารายณ์ถอดจักร ใช้ทางถอดคุณไสยศาสตร์ ประจำอยู่ทิศหรดี คือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้
            ประดิษบานอยู่ที่วัดมหาธาตุ ถนนสุนทรวิจิตร อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม พระธาตุนครมีลักษณะสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้างด้านละ ๕.๘๕ เมตร สูง ๒๔ เมตร ก่อสร้างเสร็จในเดือนเพ็ญของปี ๒๔๖๕ มีรูปแบบคล้ายพระธาตุพนมองค์เดิม องค์ก่อนที่จะสร้างขึ้นใหม่ที่เห็นในปัจจุบัน ภายในบรรจุพระอรหันต์สารีริกธาตุ พร้อมกับองค์พระพุทธรูปทองคำ และของมีค่าต่าง ๆ ที่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธานำมาถวาย เพื่อบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ
            พระธาตุนคร เป็นประธาตุประจำวันเกิดของคนเกิดวันเสาร์ เชื่อกันว่าไม่ว่าผู้ใดจะเกิดวันไหนก็ตาม หากได้มีโอกาสไปนมัสการพระธาตุองค์นี้แล้ว จะได้รับอานิสงค์ส่งเสริมบุญบารมี และมีอำนาจวาสนา เป็นเจ้าคนนายคน
            สิ่งของบูชาพระธาตุ ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ธูป ๑๐ ดอก เทียน ๒ เล่ม
            ประวัติวัดมหาธาตุ และพระธาตุนคร
            วัดมหาธาตุ  สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.๑๑๕๐ โดยพระมหาอำมาตย์ (ป้อม) แม่ทัพใหญ่มาจากเวียงจันทน์ ผู้สร้างเมืองนครพนม และสร้างวัดมหาธาตุ เป็นวัดประจำเมือง เพราะเดินกลางใจเมืองนครพนม อยู่ที่วัดมหาธาตุ จึงเป็นวัดที่ข้าราชการใหญ่น้อย ให้ความอุปถัมภ์ และเป็นวัดที่ใช้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ของข้าราชการเมืองนครพนมมาโดยตลอด
            ประวัติที่ผมเล่าให้ทราบนี้ เป็นประวัติที่ทางวัดมหาธาตุ ได้พิมพ์ไว้แจกแก่ผู้ที่มานมัสการพระธาตุนคร ซึ่งหากท่านได้อ่านประวัติของพระธาตุในจังหวัดนครพนม จากเอกสารหลาย ๆ เล่ม จะเห็นว่าขัดแย้งกัน ผมไม่มีความรู้แยกแยะได้ว่า เอกสารของใครถูก ของใครผิด ผมได้แต่นำเอามาจากเอกสารที่คิดว่า น่าจะเป็นเอกสารของทางราชการมากที่สุด นำมาเล่าให้ท่านฟัง ผิด ถูก ผมก็พอมีเอกสารอ้างอิงได้ ยกตัวอย่าง เช่น ผมเขียนไปเที่ยวหนองหาน ที่สกลนคร ผมสะกดคำว่า "หาน " ด้วย "น" แต่ถูกชาวสกลนครเพียงคนเดียวเขียนมาบอกทางหนังสือที่ผมเขียนว่า ผมเขียนผิด ต้องเขียนว่า "หนองหาร" จึงจะถูกต้อง เลยเดือดร้อน ต้องค้นคว้าหาเป็นการใหญ่ ถึงขั้นวิ่งกลับมาสกลนครเลยถือโอกาสมาตระเวณ ไหว้พระธาตุประจำวันเกิดด้วย ปรากฎว่า ป้ายกลางเมืองตรงหน้าประตูเมืองของเขาเลยทีเดียว ผมเลยถ่ายรูปมาเป็นหลักฐานว่า เขียนว่า "หนองหาน" และอีกป้ายหนึ่งทาางเลย ตำบลท่าแร่ จะมาทางนครพนมมีป้ายบอกว่า จุดชมวิวที่สวนที่สุดของหนองหาน ผมเลยคิดว่าเพียงพอแล้ว สำหรับการยืนยันว่า หนองหานสะกดอย่างไรแน่ เพราะเป็นป้ายของทางราชการทั้งสองป้าย หากจะผิดก็ทางราชการผิดเอง และอีกหลายป้ายในเมืองสกลนครจะสะกดคำว่า "หาร" และ "หาน"  ดังนั้นชาวสกลนครที่เขาอ้างมาต้องให้ใช้ตัว "ร" สะกด จะต้องไปตกลงกับกรมทางหลวงชนบท ทางหลวงแผ่นดินมหาดไทย ฯ ว่าจะเอาอย่างไรแน่ เมื่อตกลงกันได้แล้วก็ปักป้าย และพิมพ์เอกสารต่าง ๆ สะกดให้เหมือนกัน ยังมีอีกมากมายที่เป็นแบบนี้ แม้แต่พระธาตุศรีคุณ หรือศรีคูณ ก็มีเอกสารที่สะกดไม่เหมือนกัน การท่องเที่ยวจะสะกดว่า "ศรีคุณ"  ส่วนในหนังสือ "วัฒนธรรม พัฒนาทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา" ของจังหวัดนครพนม ซึ่งหนังสือเล่มนี้มี ๗๕ เล่ม คือ ๗๕ จังหวัด  เป็นหนังสือของทางราชการที่สำคัญยิ่ง หาซื่อยากมาก ผมเพียรหาซื้อก็ยังมีไม่ครบ ต้องถือว่าเป็นเอกสารอ้างอิงได้เป็นอย่างดี เพราะผู้สั่งจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดทำหนังสือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมงคล เฉลิมพระชนม์พรรษา ๖ รอบ  ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒  ผู้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี คือ "นายกรัฐมนตรี" นายชวน หลีกภัย ผมจึงถือเอาเอกสารเล่มนี้เป็นเอกสารอ้างอิง ที่สำคัญที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการสะกด เช่น ศรีคุณ หรือศรีคูณ , หนองหาน หรือหนองหาร  ผมจะถือว่าหนังสือเล่มนี้ถูกต้องกว่าเพื่อน ส่วนเรื่องราวก็เช่นกัน ค้นหามาจากหนังสือหลายฉบับ บ้านผมมีหนังสือมาก ต้องจัดแบ่งเป็นห้องหนังสือมากถึงสี่ห้อง ชดเชยกับยามเด็กไม่มีหนังสือจะอ่าน หนังสืออ่านเล่มแรกที่ได้อ่านและเก็บไว้เป็นสมบัติ เมื่อสักปี พ.ศ.๒๔๘๓ คือ  "เรื่องสายใจ" ของ ป.อินทปาลิต  ไม่ได้ไปซื้อไปหา นายทหารข้างบ้านบิดา ที่กองบิน ๔ โคกกระเทียมเขาย้ายบ้าน ด้วยความอยากรู้ตามประสาเด็ก ไปเปิดดูในรังที่เขาเลี้ยงนกพิราบไว้ ก็พบหนังสือเล่มนี้เอามาอ่าน เรียกว่าอ่านไปสงสารนางเอกไป ซึ่งตอนนั้น ป.อินทปาลิต ยังไม่ได้เขียนหนังสือแนวตลกขบขัน คือ พลนิกรกิมหงวน  ซึ่งตอนหลังท่านเริ่มเขียนแนวตลก ก็ต้องแอบอ่านเพราะไม่งั้น โดนบิดาแขกศีรษะหาว่าสติไม่ดี อ่านหนังสือไป หัวเราะไป พอโตขึ้นมีงานทำ มีสตางค์เป็นซื้อหนังสืออ่านสะสมเรื่อยมา จึงทำให้มีเอกสารในการค้นคว้ามาก
            ตำนานของวัดมหาธาตุได้เล่าเอาไว้ว่า ในวัดมหาธาตุแต่เดิมจะมีธาตุ ใส่กระดูกมากมาย สะสมกันเอาไว้เรื่อยมาเป็นเวลานับพันปี และทราบว่ามีพระอรหันต์ธาตุอยู่องค์หนึ่ง แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ธาตุองค์ใด ทราบกันแต่ว่ามีแน่นอน เพราะเห็นแสงสว่างลอยเข้า ลอยออกจากกลุ่มพระธาตุ
            พ.ศ.๒๔๖๒  เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ และเจ้าคณะจังหวัดนครพนม จึงเชิญญาติโยมและข้าราชการมาประชุม มีท่านเจ้าเมืองมาประชุมด้วย เพื่อจะค้นหาว่าแสงสว่างที่เกิดขึ้นนั้นมาจากที่ใด เพราะองค์พระธาตุในวัด ก็เก่าแก่ทรุดโทรมมาก ด้วยไม่ได้มีการบูรณะมานับพันปีแล้ว จึงเห็นควรรื้อถอน เพื่อพื้นที่วัดจะได้กว้างขึ้น จึงตกลงรื้อถอนเพื่อค้นหาพระธาตุ พอรื้อไปได้สัก ๔ - ๕ ธาตุ ก็พบเข้าจริง ๆ เป็นพระธาตุองค์เล็ก เก่าแก่มากมีรากต้นโพธิ์ร้อยรัดอยู่ ไม่น่าเชื่อว่าจะมีอรหันต์ธาตุอยู่ พอเปิดดูข้างในพระธาตุก็พบผอบไม้จันทร์แดงอยู่หนึ่งใบ และใต้พระธาตุยังมีงูดำตัวใหญ่ ขนาดลำแข้งของคนตัวใหญ่ ๆ อยู่ตัวหนึ่ง นอนนิ่งอยู่ น่าจะเป็นงูผู้รักษาพระธาตุ จากนั้นนำผอบไปเปิดดูที่อุโบสถก็พบว่ามี พระพุทธรูปทองคำขนาดหน้าตัก ๒ นิ้ว ๔ องค์  พระพุทธรูปเงิน ๒ องค์ แผ่นทอง บาง ๆ ยาว ๆ ประมาณ ๑ คืบ ๑ แผ่น และมีผอบไม้จันทร์แดงขนาดเท่าไข่เป็ดอีก ๑ ผอบ เปิดดูมีพระสารีริกธาตุอยู่ ๒๐ องค์ ขนาดเท่าเม็ดพุทรา มีนานฝ้ายห่อหุ้มอยู่
            จากนั้นจึงมีการประชุมเพื่อหาฤกษ์งามยามดี สร้างพระธาตุขึ้นเพื่อบรรจุพระอรหันต์สารีริกธาตุ และพระธาตุนคร ก็ได้เริ่มสร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓  แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๔๖๕  นับเป็นพระธาตุคู่เมืองนครพนม
            หากมาจากธาตุพนมตามถนนสาย ๒๑๒ หรือมาจากสกลนครตามถนนสาย ๒๒ เมื่อมาถึงริมโขงมีสามแยกก็ตรงมา หรือเลี้ยวซ้ายเข้าเมือง ผ่านโรงแรมที่ผมพัก ซึ่งโรงแรมนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งโขงในจุดที่มีวิวสวยมาก โดยเฉพาะยามเช้า ชมดวงอาทิตย์ขึ้นไปต้องไปชมที่ไหน ตื่นให้ทัน ชมจากหน้าต่างห้องพักนั่นแหละ และหากคืนเดือนหงายแสงจันทร์จะทอดมายังชายหาดสีทอง มีเกาะทรายหน้าโรงแรม มีน้ำไหล และกระทบแสงจันทร์แล้วจะสวยมาก

            เลยโรงแรม จะเป็นสวนเทิดพระเกียรติ์ หน้าสวนอีกด้านหนึ่งคือ แม่น้ำโขงหาดเดียวกับหาดทรายทองของโรงแรม หาดย่านนี้เรียกว่า หาดทรายทองศรีโคตรบูร และก่อนถึงตัวโรงแรมยาวกว่า ๑๐๐ เมตร จะมีร้านอาหารริมแม่น้ำโขง พึ่งเห็นมีมากเมื่อไปคราวนี้ คงเกินกว่า ๑๐ ร้าน ขายคล้าย ๆ กัน ตั้งชื่อเหมือน ๆ กันเสียอีก เช่น ขาวปลาเผา อ๋อยปลาเผา ปิ่นปลาเผา ลำพูนปลาเผา ไม่เผาอยู่ร้านเดียวชื่อ แอ๊ดหมูกะทะ จะอร่อยแต่ไหนท่านคงต้องตามไปชิมดู เวลาไปเที่ยวนครพนม
            เลยสวนเทิดพระเกียรติ์ไปแล้ว จะมีอีกโรงแรมหนึ่ง และริมแม่น้ำโขง ถนนที่ผ่านเลยโรงแรมไปสู่ถนนสุนทรวิตร ที่เลียบริมแม่น้ำโขงนั้น ในช่วงนี้ยาวสัก ๕๐ เมตร เป็นถนนรถเดินทางเดียว จะวิ่งรถไปวิ่งเลียบแม่น้ำโขงเลยยังไม่ได้ ต้องหักเลี้ยวซ้ายไป แล้วเลี้ยวขวาไปอีกที ไปตามเส้นตรงที่จะเข้าเมือง แต่ไม่ต้องไปไกลพอพบทางเลี้ยวขวาได้ ก็เลี้ยวขวาจะไปบรรจบกับถนนที่เลียบแม่น้ำโขง คือ ถนนสุนทรวิตร
            แหล่งท่องเที่ยวริมแม่น้ำโขง  ตามถนนสายนี้คือ
                จวนผู้ว่าราชการจังหวัดหลังเก่า  ปัจจุบันเป็นโบราณสถานแล้ว อยู่บนถนนสุนทรวิจิตร เป็นที่พักของผู้ว่าราชการจังหวัดหลายสมัย เป็นอาคารสองชั้น สถาปัตยกรรมทรงฝรั่งเศส ศิลปะช่างเวียดนาม ล้อมตัวจวน ร่มรื่นรายล้อมไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยนานาชนิด จวนแห่งนี้เคยใช้เป็นที่ประทับพักแรมของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมราษฎรจังหวัดนครพนม ในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๘  ปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของสมาคมนักปกครองจังหวัดนครพนม และชมรมลูกเสือชาวบ้านนครพนม
                สวนหลวง ร.๙ จังหวัดนครพนม  เป็นสวนสาธารณะที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่พักผ่อนของประชาชน
                สวนสาธารณะและหาดทรายทองศรีโคตรบูร  เป็นหาดทรายน้ำจืดที่งดงามมากแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ในฤดูแล้ง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม หาดทรายจะยื่นออกไปในกลางลำน้ำโขง ซึ่งจะอยู่ตรงกับที่ทำการของแขวงคำม่วนของลาว ยามเย็นหรือตอนเช้าจะสวยมาก เช้าจะสวยด้วยแสงตะวันขึ้น ส่วนตอนหัวค่ำหากเป็นคืนเดือนหงาย แสงจันทร์จะส่องลงมาในท้องน้ำ สวยไปอีกแบบหนึ่ง
                ตลาดอินโดจีน  อยู่ถนนสายริมแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร นี่แหละ ตลาดอินโดจีนของนครพนม รวมกันอยู่บนพลาซ่าดูเหมือนจะสูงแค่ ๒ - ๓ ชั้น ชั้นล่างจะมีร้านค้าสินค้าอินโดจีน มากมาย ผมชอบตลาดอินโดจีนของนครพนมมากกว่า ตลาดที่เป็นแหล่งค้าส่งของเขาคือ ตลาดอินโดจีนที่มุกดาหาร ที่ชอบเพราะเขาบอกสินค้าไม่ต้องต่อกันมาก หรือแทบจะไม่ต้องต่อเลย ตลาดอินโดจีนที่มุกดาหาร และหนองคายบอกราคาสินค้าผ่านมากเกินไป ทำให้คนที่ต่อไม่เป็นเช่นผมเป็นตัวอย่าง แต่พอจะรู้ราคา ดังนั้นหากบอกสูงไป แต่ต่อไม่เป็นก็เลยพาลไม่ซื้อ แต่หากบอกราคาให้ถูกเข้าไว้แม้จะต่อได้เล็กน้อยหรือต่อไม่ได้เลย ลูกค้าย่อมพอใจมากกว่าการที่บอกราคาให้สูงจนไม่รู้ว่าจะต่อได้อย่างไร ของตลาดอินโดจีนนครพนมมีมากมาย ของเล่น นาฬิกา เสื้อผ้า จิปาถะ จารไนไม่ถูก ชั้น ๒ มีอาหารขายแต่ต้องเป็นเวลากลางวัน ตกค่ำไม่มีอาหารขาย ส่วนตัวตลาดอินโดจีนตกค่ำก็ไม่มีเช่นกัน ไปนครพนมต้องไปอุดหนุนตลาดอินโดจีน ถนนเลียบแม่น้ำโขง
            "วัด"  ที่อยู่บนถนนสุนทรวิจิตร ล้วนเป็นวัดที่สำคัญมีหลายวัดคือ
                วัดมหาธาตุ  เลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม ถนนสุนทรวิจิตร ซึ่งได้กล่าวถึงองค์พระธาตุไปแล้ว

                วัดโอกาสศรีบัวบาน  เป็นวัดคู่บ้านวคู่เมืองมาแต่โบราณกาล บริเวณกลางวัดจะมีหอประดิษฐานพระติ้วกับพระเทียมอยู่คู่กัน พระติ้วจะประทับอยู่ด้านขวาของพระเทียม พระติ้วเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทำด้วยไม้ติ้วบุทองคำ สร้างโดยเจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูร เมื่อ พ.ศ.๑๓๒๘ ส่วนพระเทียมนั้นไม่ได้บุทองคำ แต่ลงรักปิดทองเปลว จะสร้างเมื่อใด ใครสร้างไม่ปรากฎหลักฐาน
            ด้านหลังของวัดโอกาสศรีบัวบาน มีถนนเลียบกำแพงวัด หากหันหน้าเข้าหาวัดแล้วทางขวาของกำแพงวัด พอสุดกำแพง
วัด เยื้อง ๆ กันนิดหน่อยจะมีร้านก๋วยเตี๋ยว คนแน่นตรึม ขนาดผมไปถึงบ่ายสองโมงแล้วคนยังแน่นอยู่เลย แสดงว่าอร่อยแน่เลยต้องยืนรอจองโต๊ะ ร้านก๋วยเตี๋ยวร้านนี้ขนาดสองห้อง อร่อยที่สุดต้องเป็นคนที่กินเนื้อวัวได้ เส้นใหญ่เนื้อเปื่อยอร่อยสุด ๆ หรือชอบเส้นหมี่ก็สั่งเส้นหมี่เนื้อเปื่อย เนื้อสด อร่อยทั้งนั้น เพราะน้ำซุปของเขาวิเศษสุด เห็นโต๊ะอื่นเขาสั่งกันลักษณะคนสั่งเป็นชาวเมืองเลยสั่งบ้าง เนื้อเปื่อย เนื้อสด ผ้าขี้ริ้วลวกมาอีกจานจิ้มน้ำส้มเด็ดนัก
            น้ำซุปรสจะเข้ม ร้อนน่าซดและยังมีจานใส่ผักสด ถั่วงอก ผักกาด โหระพา ปิดท้ายด้วยกาแฟเย็นโบราณรสเข้มข้น หวานมัน ก๋วยเตี๋ยวหมูของเขาก็มีรสชาติดีทีเดียว แต่แพ้ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ข้าวต้มทรงเครื่องของเขาก็มีขึ้นเมนูเอาไว้ข้างฝา ไม่มีพุงจะใส่เลยยังไม่ได้ลอง ชูนิ้วให้ "เนื้อเปื่อยและกาแฟโบราณ"
            ไปเที่ยวต่อ
                วัดโพธิ์  อยู่ถนนสุนทรวิจิตร ซึ่งเป็นวัดที่ประดิษฐานพระทอง พระพุทธรูปทองสำริด ปางมารวิชัยประทับเหนืออาสน์บัลลังก์ชั้นเดียว ฐานล่างประกอบด้วยฐานแปดเหลี่ยม จำนวน ๓ ชั้น ด้านหน้ามีอักษร ๒ บรรทัด ลงศักราช ๘๘๕ ตรงกับ พ.ศ.๒๐๖๖ แสดงว่าเป็นพระพุทธรูปโบราณสกุลช่างล้านช้าง ตรงกับสมัยอยุธยาตอนต้น

                วัดนักบุญอันนา  อยู่ถนนสุนทรวิจิตร ที่เลียบริมแม่น้ำโขง วัดนี้มีประวัติที่ยาวนาน และเคยเป็นศุนย์กลางของชาวคริสต์ริมฝั่งโขงหรือมิชซังลาว มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๒ เคยมีโบสถ์เก่าและสำนักสังฆราช ซึ่งสร้างขึ้นใน พ.ศ.๒๔๕๖ เป็นอาคารใหญ่ทรงตะวันตก มีหอคอยคู่ที่มีลักษณะเป็นยอดแหลมสูงเด่นเป็นสง่า มองเห็นได้ตั้งแต่ระยะไกล วัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่ขนมาจากเมืองไซ่ง่อนในเวียดนามสมัยนั้น แต่ได้ถูกละเบิดทำลายหมด ในช่วงเกิดกรณีพิพาทอินโดจีนไทยกับฝรั่งเศส ส่วนโบสถ์หลังปัจจุบันนี้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๕ โดยยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับโบสถ์เดิมที่ถูกทำลายไป หากยืนริมแม่น้ำโขง ถ่ายภาพกลับมาภาพขาดความงดงามไป ตรงที่มีสายไฟระโยงระยางมากเกินไป แต่รูปตัวโบสถ์สวยเป็นสง่า
                ร้านอาหารที่ชิมคราวนี้ในตัวเมืองนครพนม เป็นร้านข้าวต้ม ผมบอกเส้นทางอาจจะอ้อมโลก เพราะผมไม่ทราบว่าจะบอกทางลัดไปได้อย่างไร หากเราไปตามถนนสุนทรวิจิตรที่เลียบลำน้ำโขงจนถึงที่ทำการไปรษณีน์ให้เลี้ยวซ้ายวิ่งตรงไปจะพบสามแยก ให้เลี้ยวซ้าย พอเลี้ยวซ้ายสักหน่อยจะพบดงข้าวต้มเลยทีเดียว มี ๔ - ๕ ร้าน เป็นกลุ่มทั้งสองฝั่ง หากเลยดงข้าวต้มไปจะเป็นสี่แยกมีสัญญาณ หากเลี้ยวซ้ายจะไปยังตลาดสด และเลยไปคือตลาดกลางคืน ปิดถนนขายกันเลยทีเดียว อิ่มข้าวต้มแล้วไปหาขนมกินที่ตลาดกลางคืน สงสัยทางเพื่อความแน่ใจถามที่ร้านข้าวต้ม ว่าตลาดกลางคืนไปทางไหน ไปถึงแล้วหากยังไม่อิ่มซื้ออาหารเวียดนามมากินต่อได้ ส่วนขนมใส่น้ำแข็งใส โรยน้ำแดง ลูกชิต ลูกบัว ให้นั่ซดเสียให้ชื่นใจ
                ผมเลือกร้านนี้เพราะคนนั่งกันแยะ ท่าทางชาวเมือง ป้ายร้านเก่าแก่แสดงว่าขายมานาน แผงหน้าร้านมีอาหารสำเร็จรูปแยะ ตรงคุณลักษณะเฉพาะของร้านข้าวต้มพุ้ยหรือข้าวต้มกุ๊ย สั่งมาชิมคือ ไส้หมูพะโล้ เป็ดย่าง แต่ราดด้วยน้ำเต้าเจี้ยวแปลกตรงนี้ เต้าหู้ทอดผัดกุยช่ายขาว เผือกผัดหมูกรอบ แปลกดี หอมกลิ่นเผือก กุ้งผัดถั่วลันเตา หากยังน้อยไปให้สั่งปลาแม่น้ำโขงทอดกระเทียมพริกไทย
                ขอย้อนกลับมาชิมร้านอาหารที่กรุงเทพ ฯ ขอเอามาเขียนไว้ในวันไปกินข้าวต้มนครพนมนี่แหละ เพราะร้านฝีมือชาววังแท้ ใครเถียงไม่ได้ แม่ครัวเอกที่ควบคุมร้านนี้ และคุมการครัว รวมทั้งลงมือปรุงเองในอาหารบางอย่างเพื่อให้รสมือคงที่เช่นของหวานที่อร่อยคือ บัวลอยเผือก ไปชิมเมื่อไรฝีมือเดิม เพราะทำโดยฝีมือเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงคนปรุง และเป็นอาหารชาววังแท้แน่นอนใครเถียงไม่ได้ ทั้งนี้เพราะแม่ครัวเอกครัวคือ หม่อม ซึ่งเป็นชายาของหม่อมเจ้าพระองค์หนึ่งที่มีชื่อเสียงอยู่ในวงการบันเทิง ซึ่งชำนาญในการแปลบทภาพยนต์เป็นภาษาไทย เส้นทางไปร้านอาหาร หากมาจากปากทางลาดพร้าว มาผ่านเซ็ลทรัลตรงเรื่อยมาถึงสี่แยกรัชโยธิน หากเลี้ยวซ้ายไปธนาคารไทยพาณิชย์ ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนรัชดา วิ่งมาจนผ่านปั้มน้ำมัน Q8 จะจอดรถที่ปั๊มนี่ก็ได้ หากไม่จอดที่ปั๊ม Q8  เลยไปอีกสัก ๕๐ เมตร ฝั่งตรงข้ามคือตึกอัยการสูงสุด สุดตึกอัยการฝั่ง Q8 คือร้าน จอดรถบนฟุตบาธหน้าร้านก็ได้ ยิ่งตอนเย็นหรือวันหยุดจอดรถสะดวกมาก ผมชอบไปวันหยุดมื้อกลางวัน เพราะไม่ได้คิดจะไปร้องเพลงกับเขา ซึ่งจะมีดนตรีวงน้อยในตอนค่ำ หรือหากที่จอดรถเต็มอีกให้เลยไปนิดหนึ่งเข้าไปจอดในมหาวิทยาลัยจันทเกษมได้ เขาเอื้อเฟื้อกัน ทางร้านก็เอื้อเฟื้อนักศึกษาให้มีอาหารชุด ราคาชุดละ ๓๙ บาท สำหรับนักศึกษาอาหารจานเดียวแต่จานโต จานเดียวอิ่ม มีขนมให้อีก ๑ ถ้วย และน้ำฟรี หรือใครจะสั่งอาหารไปจัดเลี้ยงที่บ้าน หรือเลี้ยงพระทำบุญเขาก็จัดไปให้ได้ จัดทั้งอาหารพระพุทธ อาหารไหว้เจ้าที่ อาหารพระ อาหารแขก ตกลงกับเขาก็แล้วกัน เราเตรียมไว้อย่างเดียวอย่าเผลอลืมนิมนต์พระกับเชิญแขก
            อาหารชวนชิม  มีหลายอย่างจารไนไม่หมด เพราะผมไปชิมหลายครั้งจะไม่พรรณาโดยละเอียด
            ต้มญี่ปุ่นเสียเมือง ต้องเล่าประวัติอาหารชามนี้เป็นรสฝีมือคุณยายของหม่อมเจ้าของร้าน ซึ่งในตอนสงครามนั้นหากใครอยู่ชนบทมีกองทหารญี่ปุ่นตั้งอยู่ พวกนี้มักจะไปผูกไมตรีหาทางขอข้าวคนไทยกินและช่วยเหลือค่าอาหาร ปรากฎว่าคุณยายมีฝีมือทำอาหารสูงมาก ตอนปลายสงครามมีญี่ปุ่นพวกหนึ่งมาขอข้าวกิน และจะต้องต้มซุปชามนี้ให้ซดกันทุกทีไป วันนั้นเป็นวันที่กองทัพญี่ปุ่นซึ่งรบกับพวกสัมพันธมิตรได้ประกาศยอมแพ้แล้ว แต่ทหารญี่ปุ่นที่กำลังซดซุปบ้านคุณยายยังไม่เลิกซด และไม่รู้เรื่อง อิ่มแล้วกลับกรมกองไป แล้วจึงรู้ว่ากองทัพของจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ (ตามความคิดของพวกเขา) ได้ยอมแพ้แล้ว
            คุณยายเลยตั้งชื่ออาหารหรือซุปชามนี้ว่าต้มญี่ปุ่นเสียเมือง นอกจากนี้ยังมีอาหารอร่อยชวนชิมอีกหลายอย่าง ง่าย ๆ อย่าหัวเราะล่วงหน้า ลองสั่งไข่ตุ๋นมาชิมดูแล้วจะติดใจ พล่าคอหมูย่างมะเขืออ่อน หมูนุ่มรสติดหวานนิด ๆ ไม่เผ็ด มะเขืออ่อนนั้นกรอบ ทุกคำที่ชิมเนื้อหมูย่าง ให้ติดมะเขือตามไปด้วยอร่อยนัก ยังมีอีกผักกาดขาวสอดไส้หมูราดน้ำมันหอย แบบเดียวกับที่ปลายถนนนิพัทธอุทิศ ๑ ที่หาดใหญ่ กุ้งเจี๋ยนน้ำมันหอย เห็นสีกุ้งก็รู้แล้วว่าอร่อย ปลาสลิดต้มกะทิใบมะขามอ่อน ซดชื่นใน และวิเศษสุดอีกจานคือปูนาหลน ไม่ทราบหลนวิธีไหน กินปูได้ทั้งตัว กรอบ ชุ่มฉ่ำไปหมด ถ้วยนี้หมดแล้วหมดเลยไม่เหลืออะไรในชาม
            ของหวานที่แม่ครัวเอกทำเองทุกวันคือ บัวลอยเผือกและสละลอยแก้ว ผมไปทีไรซดชามเดียวไม่สะใจ ต้องควบทั้งสละลอยแก้วซดเสียก่อน แล้วตามด้วยบัวลอยเผือกที่แสนจะหวานมัน

.......................................................................


| ย้อนกลับ | บน | หน้าต่อไป |

พระธาตุนคร: ข้อมูลพระธาตุนคร ท่องเที่ยวพระธาตุนคร ข้อมูลเที่ยวพระธาตุนคร


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์