ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > ปางตอง-ปางอุ๋ง
 
ปางตอง - ปางอุ๋ง่
ปางตอง - ปางอุ๋ง

               ปางตอง คือ ศูนย์พัฒนาที่สูงปางตองตามพระราชดำริ และเป็นสถานที่ตั้งพระตำหนักปางตองด้วย ตั้งอยู่ที่ ต.หมอกจำแป๋ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน ติดต่อศูนย์ ๐๕๓ ๖๑๑ ๒๔๔ เส้นทางท่องเที่ยวตามรอยพระบาทในแม่ฮ่องสอน มี ๖ แห่งคือ
                    ๑. ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถนนขุนลุมประพาส อ.เมือง ฝึกอาชีพให้ราษฎร เช่น การทอผ้า งานหัตถกรรมจักสาน ช่างเงิน ช่างทอง
                    ๒. ศูนย์พัฒนาทำโป่งแดง ต.ผาบ่อง อ.เมือง ฯ ติดต่อศูนย์ ๐๕๓ ๖๑๑ ๒๔๔
                    ๓. ศูนย์ไผ่ศึกษาแม่ฮ่องสอน ต.หมอกจำแป๋ อ.เมือง ฯ มีทิวทัศน์ที่งดงามมาก
                    ๔. ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง หมู่ ๔ บ้านป่าแปก ต.หมอกจำแป๋ อ.เมือง ฯ
                    ๕. ศูนย์โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทยตามพระราชดำริ (ปางอุ๋ง)
                    ๖. ศูนย์พัฒนาที่สูงปางตองตามพระราชดำริ
                ขอเล่ารายละเอียด และพาไปเที่ยวชมเฉพาะแห่งที่ ๕ และ ๖ แต่จะพาเลยไปยังบ้านรักไทย ซึ่งบ้านรักไทยนั้นตั้งขึ้นก่อนบ้านรวมไทย และทั้ง ๒ หมู่บ้านนี้อยู่ติดกับชายแดนพม่า ประชากรคือ อดีตทหารจีน และครอบครัวจากกองพล ๙๓ ซึ่งพวกนี้ไม่ใช่จีนฮ่อ ที่ทุกวันนี้ฮ่อเข้าเมืองกลายเป็นคหบดี มีเงินไปหมดแล้ว แต่เรามักจะเรียกทหารจีนชาติที่ทลักเข้ามาอยู่ในเขต จ.เชียงใหม่ (เช่นที่อ่างขาง) ที่ จ.เชียงราย (เช่นที่แม่สลอง) และแม่ฮ่องสอนว่าจีนฮ่อ
                เส้นทางไปพระตำหนักปางตอง หรือศูนย์พัฒนาที่สูง ฯ เดินทางจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนไปตามถนนเลี่ยงเมืองที่ป้ายบอกไปปาย หรือวิ่งผ่านเมืองขึ้นทางเหนือตามป้ายไปปาย เข้าถนน ๑๐๙๕ ประมาณ กม.๑๙๘ - ๑๙๙ จะมีป้ายทางซ้ายบอกว่าไปบ้านรักไทย (บ้านนี้ห่างจากตัวเมือง ๔๔ กม.) เมื่อเลี้ยวไปตามเส้นทางนี้ จะผ่านทางแยกซ้ายไปยังบ้านในสอย บ้านของชาวปาตอง หรือกะเหรี่ยงคอยาว ผ่านทางแยกขวาให้ไปเที่ยววนอุทยานถ้ำปลา ได้โดยไม่ต้องย้อนออกมายังถนน ๑๐๙๕ (ถ้าอยากไปเที่ยวถ้ำปลาต่อ) ผ่านน้ำตกผาเสื่อทางขวา ซึ่งเมื่อจอดรถแล้วต้องเดินไปอีกนิดก็จะถึงน้ำตก ซึ่งไปสะดวกที่สุด เลยทางเข้าน้ำตกผาเสื่อไป  ก็จะถึงทางแยกซ้ายเข้าไปยังพระตำหนักปางตอง หรือศูนย์พัฒนาที่สูงปางตองตามพระราชดำริ เลี้ยวซ้ายไป ๒ กม.
                การเข้าไปยังศูนย์ ฯ ปางตอง ไม่ต้องขออนุญาติ แต่มีทหารเฝ้าเพราะศูนย์แห่งนี้สมเด็จพระนางเจ้า ฯ จะเสด็จมาทรงงานเป็นประจำ จึงให้ทหารจากหน่วยกรมทหารราบที่ ๒๑ รักษาพระองค์ ที่ตั้งปกติ จ.ชลบุรี เรียกหน่วยนี้ว่าทหารเสือพระราชินี หมุนเวียนกันมาปฏิบัติการ ณ ศูนย์แห่งนี้ ทหารจะขอบัตรประชาชนเอาไว้แล้วก็เข้าไปได้เลย
                จะผ่านคอกเลี้ยงสัตว์ ขยายพันธุ์สัตว์ สัตว์ตัวเล็ก ๆ จะน่ารักมากเช่น เนื้อทราย (เกือบจะสูญพันธุ์แล้ว) กวางป่า ละอง ละมั่ง ล้วนแต่เป็นสัตว์หายาก แต่ที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่านำมาขยายพันธุ์ ถือเป็นเขตพระราชฐาน จะมีแปลงพันธุ์ไม้ดอกต่าง ๆ สถานีเพาะชำกล้าไม้ ฯ ทั่วบริเวณร่มรื่น ยิ่งฤดูหนาวปลายฝนยิ่งสวยมาก และที่น่ารักมากคือ เกือบสุดทางจะมีโรงเรียนร่มเกล้าปางตอง เป็นโรงเรียนประจำ มีบ้านพักนักเรียนหลังละ ๘ - ๑๐ คน นักเรียนต้องหาเลี้ยงชีพระหว่างเรียนด้วยการปลูกสร้าง ปลูกผัก สวนครัว เลี้ยงสัตว์ ช่วยครูเลี้ยงเป็ด ไก่ ปลา มีแปลงสาธิตปลูกผักบนที่สูง ฯ ที่ผมว่าน่ารักมาก คือผ่านไปตอนที่กำลังพัก นักเรียนตัวน้อย ๆ ตามแปลงผัก ออกมายืนยกมือไหว้กล่าวคำสวัสดี โดยไม่มีใครสั่ง แสดงว่าได้รับการอบรมไว้เป็นอย่างดี
                พระตำหนักปางตอง อยู่บนเชิงเขาไม่อนุญาตให้ขึ้นไปชม ผมเคยขึ้นไปปสมัยที่ยังรับราชการและมาเป็นทางการคือ งานพัฒนาแนวชายแดน นานกว่า ๑๕ ปีมาแล้ว
                ปากทางเข้าออก เมื่อเข้ามาหรือก่อนกลับ คนไทยทุกคน ต้องเข้าไปสักการบูชาที่ศาลมหาราช ซึ่งศาลนี้สร้างถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งเมื่อ ๔๐๐ ปีเศษที่ผ่านมา พระองค์กรีฑาทัพไปตีได้หงษาวดี และตามตีพระเจ้านันทบุเรงไปยังตองอู แต่ไม่ได้เตรียมความพร้อมสำหรับยกไปตีตองอู ทำให้ขัดสนเรื่องเสบียงอาหาร ตีตองอูไม่ได้ต้องถอยทัพกลับ เดินทัพกลับมาทาง "ปางตอง" แม่ฮ่องสอน ปาย แม่มาลัย เชียงใหม่ กลับอยุธยา ปัจจุบันรถวิ่งจากปางตอง อยุธยา ใช้เวลาร่วม ๒ วัน แต่เมื่อ ๔๐๐ ปีที่แล้ว กองทัพไทยเดินกลับมาไม่ทราบว่ากี่เดือน เป็นพระคุณอันล้นเหลือต่อแผ่นดินไทย ให้เราเชิดหน้าได้ในความเป็นเอกราชของชาติไทย
                กลับออกมายังถนนใหญ่ เลี้ยวซ้ายมุ่งไปทางบ้านรักไทย จะผ่านพื้นที่ของการพัฒนา ฯ ที่ใช้ว่า ปางตอง ๒, ๓ และแต่ละแห่งจะบอกจำนวนพื้นที่ และพัฒนาปลูกต้นอะไรไว้ ไปจนกระทั่งถึงป้ายทางซ้ายปักไว้ปากทางบอกว่าอีก ๘ กม.จะถึงบ้านรักไทย
                ให้เลี้ยวซ้ายเส้นนี้จะไปยังบ้านรวมไทย ซึ่งหมู่บ้านนี้สร้างขึ้นทีหลังบ้านรักไทยหลายปี เป็นโครงการตามพระราชดำริ ระยะทางจากปากทางถึงหมู่บ้านประมาณ ๗ กม.ถนนแคบและไต่ขึ้นเขาตลอดผ่านโครงการพระราชดำริปางตอง ๒ ปลูกสน ๓ ใบ สวยจริง ๆ ผ่านโครงการธนาคารอาหารชุมชน (แห่งเดียวในโลก) ตามพระราชดำริ ปลูกพืชสมุนไพร ผ่านบ้านห้วยทะเขือส้ม หมู่บ้าน อพป.คือ "อาสาพัฒนาป้องกันตนเอง" มีแปลงปลูกหวาย จนกระทั่งถึงบ้านรวมไทย ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวจีนที่กลายเป็นไทยไปหมดแล้ว มีร้านอาหารอยู่ร้านเดียว ไม่ได้ชิมไม่ทราบว่าอาหารพื้นบ้านหรือยูนนาน มีบ้านหลายหลังที่จัดเป็นโฮมสเตย์ มีอาหารพื้นเมือง

               ปางอุ๋ง  อยู่เลยบ้านรวมไทยลึกเข้าไปริมอ่างเก็บน้ำแห่งนี้มีศาลาเป็นสำนักสงฆ์รวมไทย มีพระ ๑ องค์ เมื่อมาถึงตรงสำนักสงฆ์เอารถวิ่งลงไปริมอ่างเก็บน้ำได้ ทีนี้ท่านจะมองเห็นสวรรค์บนดิน พื้นน้ำใสสะอาด ต้นสน ต้นไม้ใหญ่ปลูกในป่าขอบอ่าง ทอดเงาลงมาในอ่าง สวยสุดพรรณา ในทะเลสาบปางอุ๋งยังมีหงส์ขาว หงส์ดำ เท่าที่เห็น ๒ - ๓ ตัว ว่ายน้ำเพิ่มความงดงามให้ทะเลสาบแห่งนี้อีก สวยจริง ๆ มาบ้านรวมไทยอย่าลืมเลยเข้าไปยังอ่างเก็บน้ำหรือทะเลสาบปางอุ๋ง "ปางอุ๋งดินแดนในฝัน"
                ริมอ่างเก็บน้ำมีบ้านพักแบบเกสท์เฮ้าส์ ไม่มีร้านอาหาร เสียดายยังไม่มีโอกาสได้พัก เห็นเสื้อชูชีพตากอยู่หลายตัว แสดงว่ามีคนพัก และคงลงเล่นน้ำกัน มีบ้านพัก พักเต้นท์ สงบเงียบ แสนสุขจริง ๆ ขออาตมาเอาไว้ก่อนจะกลับมานอนปางอุ๋งให้ได้สักครั้ง
                สอบถามได้ความว่าค่าที่พัก ห้องใหญ่เพียงคืนละ ๕๐๐ บาท ๐๕๓ ๖๑๑ ๒๔๔
                กลับออกมาจากปางอุ๋งด้วยความเสียดายอย่างยิ่ง แต่เวลามีจำกัดเพราะใกล้เที่ยงแล้ว ผ่านบ้านรวมไทย ออกมายังปากทางแล้วเลี้ยวซ้ายไปอีก ๘ กม. ก็จะถึงอ่างเก็บน้ำของบ้านรักไทย ริมอ่างมีร้านอาหาร มีร้านค้า เป็นสิ่งแปลกใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้นมาครั้งก่อน ๆ นี้ยังไม่มี ไปครั้งนี้เห็นความเจริญของบ้านรักไทยเกิดขึ้นมากมาย มีไร่ชา ชนิดดีขึ้นเขียวชอุ่ม มีป้ายบอกว่าให้ระวังม้า มีโรงงานไวน์เกิดขึ้นแสดงว่ามีไร่องุ่น มีร้านอาหารขนาดใหญ่ โก้ หรู วิ่งผ่านไปก่อนตามผมไปชิมร้านเก่าแก่ ชิมกันมานานกว่าสิบปี การเข้าไปยังบ้านรักไทยนั้นจะได้เห็น ได้ชิม บอกกล่าวกันไว้ว่าไปบ้านรักไทย "ไปชมกระท่อมดิน ชิมใบชา ขี่ม้าชมชายแดน บริการที่พักบ้านดิน" บริเวณร้านซึ่งต้องวิ่งเลยอ่างเก็บน้ำเข้าไปยังกลางหมู่บ้าน เดี๋ยวนี้มีร้านค้า ร้านใบชาหลายร้าน ในบริเวณร้านก็ให้เช่าที่ให้ร้านค้าสร้าง เพื่อขายของพวกถ้วย จาน ชาม ชา จากจีนสวย ๆ ราคาย่อมเยา ดูราคาแล้วพอ ๆ กับไปซื้อที่ตลาดชายแดนแม่สาย มาแล้วอย่าลืมอุดหนุน และที่แม่สายไม่มี แต่ที่นี่มีคือ โสมซอง อยู่ในกล่องใหญ่ ราคาเพียงกล่องละ ๑๘๐ บาท เอามาชงดื่มพร้อมกาแฟ แข็งแรงดี กาชงชาชุดละร้อยกว่าบาท และที่น่าซื้ออีกอย่างคือผลไม้แช่อิ่ม ลูกไหนแช่อิ่ม เป็นต้น
                ร้านปรังปรุงใหม่ดีกว่าที่ผมมากินเมื่อ ๔ - ๕ ปีที่แล้ว นั่งในศาลารับลมหนาว อากาศบริสุทธิ์ ไม่ต้องมีพัดลม มีแอร์อะไรทั้งสิ้น หากไปกันหลายคนให้สั่งอาหารชุดใหญ่เขาเลย ชุดใหญ่จะกินได้ ๘ คน หรือมากกว่านี้ หากสาวมากกว่าชาย ผมไปกัน ๑๐ คน สั่งโต๊ะใหญ่ราคา ๑,๐๐๐ บาท ถูกหรือเรียกว่ามหาถูก ไม่ต้องเสียเวลาเลือกอาหาร แต่กลัวไม่พอกินเพราะชุดเรามี ๑๐ คน สั่งมาเพิ่มอีก ปรากฎว่าเกือบจะต้องห่อกลับมา และสั่งชาจีนร้อน ๆ มาดื่มแก้หนาว ร้อน หอม ชื่นใจ อาหารเป็นอาหารยูนนาน ขนานแท้ดั้งเดิมคือ
                ขาหมู หมั่นโถว ต้องสั่งหมั่นโถวเพิ่ม เพราะเขาให้ ๘ ลูกโต ๆ รสน้ำพะโล้นั้นเข้มข้น เอาหมั่นโถวจิ้มจนชุ่มแล้วจึงเข้าปาก ตามด้วยขาหมูที่มันน้อย มีแต่เนื้อ
                หมูพันปี ผัดใส่จานมาอธิบายไม่ถูก จานไม่โตนัก พรึบเดียวหมดจาน
                ไก่ตุ๋นยาจีน ร้อน น่าซด ซดแล้วชื่นใจ หายเหนื่อย
                ในอาหารชุดนี้ "ข้าว น้ำฟรี เสริฟไม่อั้น" แต่เจอเอาหมั่นโถวลูกโตเข้าก็แทบอิ่ม
                ไข่ยัดไส้ ยัดไส้แล้วท่อนยาวเหมือนไส้กรอก หั่นมาเฉียง ๆ พอคำ อร่อยที่สุด
                ปลาทรงเครื่อง ปลาตัวโต น่าจะเรียกว่าปลาราดพริก ปลาสด เนื้อหวาน
                ยำใบชาสด ใส่หอมแดง มะเขือเทศ เคี้ยวมันดีพิลึก
                ผิงยาง เป็นออเดริฟ มีหลายอย่าง
                ผัดผักตามฤดูกาล มื้อนี้ผัดยอดชาโยเต้สดมาให้
                ความที่กลัวไม่พอกิน สั่งมาเพิ่มทั้งหมั่นโถวและ"ไก่ผัดมะวาว" มะวาวเป็นผลไม้จีนแห้ง ออกรสเปรี้ยว เอามาผัดกับไก่ได้รสอมเปรี้ยวนิด ๆ อร่อยแปลกดี
                อิ่มแล้ว ซดชาจีนร้อน ๆ เพิ่มรสชาติหลังอาหาร ออกเดินให้อาหารย่อยและเงินในกระเป๋าสตางค์พร่อง ด้วยการเดินรอบ ๆ ร้าน และร้านในหมู่บ้าน ซื้อใบชา กาชา โสมกล่อง กาแฟ ถ้วยชา และที่ขาดไม่ได้คือผลไม้แช่อิ่ม ที่ใส่โหลเอาไว้ สวย สะอาด สีสดใสน่ากิน แต่ยังไม่ถึงขั้นเช่าม้าขี่เลียบชายแดน

......................................................


| บน |

ปางตอง-ปางอุ๋ง: ข้อมูลปางตอง-ปางอุ๋ง ท่องเที่ยวปางตอง-ปางอุ๋ง ข้อมูลเที่ยวปางตอง-ปางอุ๋ง


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์