ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > มุกดาหาร
 
มุกดาหาร 1
| หน้าต่อไป |

มุกดาหาร

            เมืองมุกดาหาร หรือจังหวัดมุกดาหาร เป็นจังหวัดที่มีชนเผ่าอาศัยอยู่ตั้งแต่ ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว เช่น พบภาพฝ่ามือแดง กลองมโหรทึก ซึ่งเป็นกลองโบราณ
            ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีราชอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง และราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ เป็นประเทศเอกราช ที่เป็นใหญ่อยู่ทั้งสองราชอาณาจักร ต่อมาเมื่อเจ้าหน่อกุมาร หรือ พระเจ้าสร้อยศรสมุทรพุทธางกูร จากราชวงศ์เวียงจันทน์ ได้แยกออกไปตั้งราชอาณาจักร จำปาศักดิ์ ขึ้นอีกเป็นผลให้ผู้คน จากราชอาณาจักรเวียงจันทน์ อพยพลงมาตามลำแม่น้ำโขง เพื่อเลือกหาดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ ตั้งเมืองขึ้นใหม่อีก เช่น กลุ่มพระตา พระวอ มาตั้งอยู่ที่หนองบัวลำภู เจ้าโสมพมิตต์ อพยพผู้คนมาตั้งเมืองกาฬสินธ์ ฯ ส่วนเจ้าจันทรสุริยวงษ์ พาผู้คนมาตั้งอยู่ที่บ้านหลวงโพนสิม บริเวณใกล้พระธาตุอิงฮัง (อยู่ฝั่งลาว)  ต่อมาอีกนานหลายสิบปี เจ้าจันทกินรี ผู้เป็นบุตรเจ้าจันทรสุริยวงษ์ ได้เป็นหัวหน้าปกครองต่อมา จึงได้อพยพข้ามโขงมา ตั้งเมืองมุกดาหาร ตรงปากห้วยบังมุก เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๓ แผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อเริ่มสร้างเมืองใหม่ ได้พบพระพุทธรูป ๒ องค์ อยู่ใต้ต้นโพธิ์ ริมฝั่งโขง ได้อัญเชิญขึ้นมาไว้ที่วัดร้าง แต่บูรณะใหม่ชื่อว่า วัดศรีมุงคุณ (ศรีมงคล)  แต่พระพุทธรูปโลหะองค์เล็ก เกิดปาฎิหารย์กลับลงไป ประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ริมฝั่งโขงตามเดิม เป็นเช่นนี้ถึง ๓ - ๔ ครั้ง จนในที่สุด ก็จมหายลงไปในดิน ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่ก่ออิฐถือปูน อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานอยู่ใน พระวิหารของวัดศรีมุงคุณ ชาวเมืองขนานนามว่า พระเจ้าองค์หลวง เป็นพระประธาน ต่อมาได้เปลี่ยนนามวัดเป็น วัดศรีมงคลใต้
            เมื่อตั้งเมืองใหม่แล้ว ในเวลากลางคืนได้พบเห็นแก้วดวงหนึ่ง เปล่งแสงแวววาว ลอยออกจากต้นตาลเจ็ดยอด ริมฝั่งโขงและใกล้รุ่ง ก็จะเห็นลอยกลับมา เจ้าจันทกินรี จึงตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่า เมืองมุกดาหาร ในปี พ.ศ.๒๓๒๑ พระเจ้าตากสินมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ฯ ยกกองทัพขึ้นมาตามลำแม่น้ำโขง ตีได้นครเวียงจันทน์ นครจำปาศักดิ์ นครหลวงพระบาง และหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งสิ้นของลาว จึงมารวมอยู่ในข้าขอบขัณฑสีมา ของกรุงธนบุรี และโปรด ฯ ให้ เจ้าจันทกินรี เป็น พระยาจันทศรีสุราชอุปราชามันธาตุราช เจ้าเมืองมุกดาหาร คนแรก
            พ.ศ.๒๔๓๖  ไทยเสียดินแดนทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ให้แก่ฝรั่งเศส เมืองที่เป็นเขตแดนของมุกดาหาร ได้แก่ เมืองวัง เมืองพิน เมืองนอง ฯ ก็ตกเป็นของฝรั่งเศสไปด้วย แต่มุกดาหาร อยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง จึงยังเป็นเมืองในราชอาณาจักรไทยอยู่
            พ.ศ.๒๔๕๐  เมืองมุกดาหาร ถูกยุบเป็นอำเภอ ขึ้นการปกครองกับ จ.นครพนม
            พ.ศ.๒๕๒๕  ยกฐานะเมืองมุกดาหาร เป็นจังหวัดที่ ๗๓ ของประเทศไทย
            มุกดาหาร อยู่ห่างจากกรุงเทพ ฯ ประมาณ ๖๔๒ กม. มีเส้นทางไปได้ ๓ เส้นทาง คือ
            เส้นทางที่ ๑ กรุงเทพ ฯ สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น กาฬสินธ์ มุกดาหาร
            เส้นทางที่ ๒  กรุงเทพ ฯ สระบุรี นครราชสีมา บ้านไผ่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด โพนทอง หนองพอก เลิงนกทา มุกดาหาร เส้นนี้ระยะทางจะสั้นที่สุด แต่ถนนจากร้อยเอ็ด เป็นต้นไปส่วนมากจะเป็นถนน ๒ เลน
            เส้นทางที่ ๓  กรุงเทพ ฯ สระบุรี นครราชสีมา อ.ประทาย อ.พยัคภูมิพิสัย จ.ยโสธร อ.เลิงนกทา มุกดาหาร เส้นนี้นิยมเดินทางกันมากที่สุด
            แต่ผมไม่ไปกับเขาสักเส้น ประเภทอุตริ เดินทางจึงไปเลี้ยวขวา เมื่อเลยบ้านไผ่ไปแล้ว ที่ กม.๔๐๕  เพื่อไปยังวนอุทยานโกสัมพี อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ก่อนแล้ว จึงไปมหาสารคาม ต่อไปก็ซ้ำกับเส้นทางที่ ๒ ไปยังมุกดาหาร
            ผมไม่ได้ไปมุกดาหาร มาประมาณ ๔ - ๕ ปี มุกดาหารเจริญเติบโต ขึ้นอย่างรวดเร็ว และคงเนื่องมาจากการเปิด สะพานมิตรภาพ ๒ ข้ามไปยังฝั่งลาว ในจังหวัดสะหวันเขต ซึ่งเท่ากับสะพานนี้ เปิดประตูสู่อินโดจีน เพราะข้ามไปลาวได้ ก็ต่อไปยังเวียดนามได้ ในระยะทางอีกเพียงสองร้อยกว่า กม.เท่านั้นเอง
            ออกจาก พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ที่อยู่ในเขตอำเภอหนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ก็เลี้ยวซ้ายไปตามถนน ๒๑๓๖ ไปผ่าน วัดผาน้ำย้อม วัดถ้ำผาน้ำทิพย์ ภูจ้อก้อ ไปถึงทางแยกเข้า อ.เลิงนกทา แล้วแยกไปตามถนนสาย ๒๑๒ ไปยัง อ.เมืองมุกดาหาร เมื่อถึงทางแยกเข้าตัวเมืองแล้ว หากตรงต่อไป อีกประมาณ ๘ กม. ก็จะถึงทางแยกเข้าสะพานมิตรภาพ ๒ แต่ผมเลี้ยวเข้าเมือง ไปยังโรงแรมที่เคยพักประจำ มุกดาหารเวลานี้ โรงแรมเกิดใหม่มาก รีสอร์ทก็มาก ราคาคืนละ ๘๐๐ บาท (ราคาเต็ม ๙๐๐ บาท ลดให้ข้าราชการ) แถมอาหารเช้า และหากกินอาหารมื้ออื่นที่ห้องอาหารภูไท ให้บัตรลดราคาได้อีก ๒๐ % โรงแรมอยู่ใกล้ ๆ กับศาลากลาง ถนนด้านหน้าของศาลากลางจังหวัด ยกป้ายไว้ว่า ถนนราตรี ในตอนกลางคืน จะปิดถนนสายนี้ให้รถเข็นอาหาร แผงอาหารทั้งไทย และอาหารญวน แผงขายสินค้าตั้งขายกันเต็มทั้งสองฟากถนน หากพัก ๒ คืน ละก็ควรไปเยี่ยมกินอาหาร ในย่านถนนสายนี้สักคืนหนึ่ง มีสารพัดอาหารให้ชิม บอกไม่ถูกว่าร้านไหนอร่อย เพราะไม่รู้ว่าเขาตั้งจุดเดิมทุกวัน หรือย้ายได้ ตลาดกลางคืนยังมีอีกแห่งหนึ่ง ที่ถนนสำราญชายโขง เดี๋ยวผมจะพาไป มีเฉพาะวันศุกร์ - เสาร์ - อาทิตย์
            ไปถึงมุกดาหารเย็นมากแล้ว เลยไม่คิดออกไปไหน และมีบัตรลดราคาค่าอาหารด้วย เลยกินอาหารค่ำที่ห้องอาหารภูไท ปรากฎว่า วันศุกร์ ชมรมลีลาศ เขามาเต้นรำ กินอาหาร ร้องเพลงกัน มีมาโต๊ะเดียว ร้องเพลงชนิดทีใครฟังแล้ว บอกว่าไพเราะก็คงสติไม่ค่อยจะดี โต๊ะแขกธรรมดาต้องรีบกินอาหารแล้วเปิดหนีไปหมด ผมไปกินอาหารฝรั่ง สั่งสเต็กหมูสันนอก มีสลัด เฟรนฟราย ราดด้วยน้ำซ๊อส เนื้อนุ่มรสดี อร่อยทีเดียว
            เช้าวันรุ่งขึ้น หลังอาหารเช้าไปสำรวจห้องอาหาร ที่ตั้งใจจะมากินมื้อเที่ยง  ชิมกันมานานหลายปี ร้านเป็นเรือนแถวไม้เก่าแก่ ปรากฎว่าย้ายกิจการไปอยู่ริมโขง และเปลี่ยนชื่อร้านไปแล้ว หน้าร้านสวนรักเดิม กลายเป็นที่ตั้งร้านอาหารย่อย ๆ มี ๖ ร้าน ซื้อไปชิมอร่อยจริง ๆ เช่น ร้านเลือดแปลง ข้าวต้มไส้หมู ยำไส้ตัน ร้านที่ ๒ ขนมถ้วยญวน ร้าน ๓ ชื่ออิ่มอร่อย ก๊วยจั๊บ เส้นเล็ก เส้นใหญ่ ร้าน ๔ ขนมถ้วยญวน บันแปว ซื้อติดรถไป ร้าน ๕ ขายกาแฟ ร้าน ๖ เกาเหลาเลือดหมู หากไม่ได้กินอาหารเช้าที่โรงแรม คงมาอร่อยได้ที่นี่
            ถนนสำราญชายโขงใต้ เลียบแม่น้ำโขงเป็นถนนที่ต้องไปเป็น ตลาดอินโดจีน ให้จับจ่ายใช้สอย มีขายตลอดวัน สินค้ามาจากจีน ลาย ญวน จากยุโรป ก็มีแท้หรือเปล่าผมไม่รับรอง ราคาบอกผ่านพอสมควร มีแรงต่อเข้าไป ผมไม่ค่อยซื้ออะไร เพราะต่อไม่เป็นซื้อแต่พวกของเด็กเล่น ฝากหลาน กับขนม หรือของกินพื้นเมือง เช่น หมูยอ
            เริ่มต้น ไปวัดศรีมงคลใต้ ไปไหว้พระคู่บ้านคู่เมืองเสียก่อน จอดรถไว้ที่วัดนี้ก็ได้ ถนนสายนี้ยาวเลียบชายโขง และไปได้ถึงสะพานมิตรภาพ ๒
            ออกมาหน้าวัด ตรงข้ามประตูวัดริมฝั่งโขง คือ ศาลสองพี่น้อง ทางซ้ายของศาล คือ ด่านตรวจคนเข้าเมือง และท่าเรือข้ามไปฝั่งลาว แต่เดี๋ยวนี้ข้ามสะพานมิตรภาพ ๒ ไปได้แล้ว ทางขวาของศาลสองพี่น้องคือ ทางลงตลาดใต้ดินเลียบชายโขง ซึ่งมีทางลงได้หลายทาง จะมีป้ายบอกไว้ว่า ประตูลงตลาดใต้ดิน เรียกว่าเก่งมาก ที่ขุดใต้ดินริมฝั่งโขง สร้างร้านเล็ก ๆ มากมาย หลายสิบร้านไว้ใต้ดิน ลองคุยกับร้านเหล่านี้ดู บอกว่าส่วนใหญ่คือ ร้านริมถนนสำราญชายโขงนั่นแหละ แยกร้านออกมาขายใต้ดินด้วย บางร้านก็ตั้งแผงขายริมถนนด้วย เดินต่อไปจะมี " ศาลเรารักมุกดาหาร"  ขึ้นไปชมวิวได้ แม่น้ำโขงช่วงที่ผ่านมุกดาหาร จะกว้างที่สุดที่ไหลผ่านประเทศไทยคือ กว้างประมาณ ๑.๗ - ๑.๘ กม. จากศาลาเดินต่อไป หากกลางคืนวันเปิดตลาดกลางคืน ก็จะมีแผงตั้งขายสินค้าอีก และบริเวณนี้ไม่ว่าเวลาไหน จะมีกล้วยไม้วางขายกับพื้น ข้ามมาจากฝั่งลาว ราคาย่อมเยา แต่ซื้อมาแล้ว ปลูกในกรุง ฯ ไม่ค่อยยอมออกดอก เพราะอากาศผิดกัน
            วัดยอดแก้วศรีวิชัย  ห่างจากวัดศรีมงคลใต้ ประมาณ ๓๐๐ เมตร มีพระพุทธรูป
            วัดศรีสุมังค์  อยู่ห่างออกไปอีกสัก ๓๐๐ เมตร มีสิม หรือโบสถ์เก่าแก่ มีพระธาตุ ๒ องค์ องค์เล็กมีรูปลักษณะแบบพระธาตุศรีสองรัก ที่ จ.เลย เป็นเจดีย์แบบล้านช้าง
            วัดศรีมงคลเหนือ  ถนนสำราญชายโขงเหนือ มีโบสถ์รูปทรงสวยงาม
            ถนนต่อจากด่านตรวจคนเข้าเมือง จะเลียบชายโขงเรื่อยไปประมาณ ๘ กม. ก็จะชมความสวยงามของสะพานข้ามแม่น้ำโขง หรือมิตรภาพ ๒ ได้ และตลอดถนนสายนี้กำลังเป็นย่านร้านอาหารริมโขง มีหลายสิบร้าน ยังไม่ได้ลองชิมด้านนี้เลย เพราะมุ่งไปชมสะพานมิตรภาพ ๒ ซึ่งสวยงาม เป็นสง่า ข้ามไปยังสะหวันเขต ของลาว ไปชมสะพานควรไปตามถนนสายนี้ เพราะหากไปตามสาย ๒๑๒  ไปแล้วจะเข้าไม่ได้ติดด่านตรวจคนเข้าเมือง ไปสายเลียบฝั่งโขงจะวิ่งไปจนลอดใต้สะพาน และไปต่ออีกได้เลย
            ถนนสำราญเลียบชายโขงใต้ เมื่อผ่านวัดพระธาตุศรีสุมังค์ไปแล้ว ถนนจะแคบ แต่รถพอสวนกันได้ และถนนคงเลียบชายโขงต่อไปอีกไกล มีร้านอาหารที่ตั้งมาก่อนถนนด้านเหนือ (จวนผู้ว่าหลังใหม่ อยู่ด้านเหนือ ที่ไปสะพาน ฯ) ขอพาไปชิมย่านนี้
            ร้านหรือบ้าน อยู่ริมโขงทางซ้ายมือ กินอาหารเหมือนนั่งอยู่ริมระเบียงบ้าน แต่เป็นระเบียงริมน้ำโขง ระเบียงอยู่ใต้ต้นมะขามใหญ่  ทำให้ร่มเย็นด้วยลมจากแม่น้ำ  ระเบียงกว้างขวางพอจะจุโต๊ะได้หลายโต๊ะ มองแม่น้ำโขงเย็นตา เห็นเรือหาปลา ร้านอาหารปลาแม่น้ำโขง อาหารไทยอีสาน
            โต่งหมู หมูอบราดด้วยน้ำจิ้มพริกกะปิ มีผักกาดขาว ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี หั่นหมูเป็นชิ้น ลักษณะเป็นหมูย่าง คงไม่ได้อบ แต่อร่อย นุ่ม
            ปลาสองหน้า ในจานเดียวกัน ด้านหนึ่ง เป็นปลาทับทิมทอด ราดด้วยซ๊อสพริก บั้งตัวปลา ทอดกรอบนอก นุ่มใน มีรสหวาน วางแตงกวากั้นกลาง อีกด้านหนึ่ง เป็นปลานึ่งมะนาว พริกสับ และกระเทียมโรย อาหารจานนี้แพงที่สุด จานละ ๑๒๐ บาท
            จานเด็ด ยกให้ ยำผักบุ้งกรอบทรงเครื่อง จานนี้ ๑๐๐ บาท เสริฟมาในจานเปล ใบโต ผักบุ้งชุบแป้งบาง ๆ ทอดกรอบ แล้วราดด้วยน้ำยำไว้ใต้ผักบุ้งทอด น้ำยำ มีหมึกกรอบ กุ้ง หมูสับ หอมแดง คื่นไช่ ต้นหอม ยังมีผักเคียง คือ ผักสลัด กะหล่ำหั่นฝอย มะเขือเทศ ยกให้จานนี้เป็นจานเด็ด รู้สึกว่ามุกดาหาร จะยำผักบุ้งกรอบเก่ง เคยกินที่ร้านที่แก่งกระเบา กินแล้วติดใจ ไปทีไรสั่งทุกที
            ยังมีอาหารน่าชิมอีก แต่ไม่มีพุงจะรับคือ ปลาส้มโอ ทอดปลาใส่มาในผลส้มโอ แกงอ่อม ลาบหมูทอด ผัดเผ็ดหมูป่า น้ำพริก
            ของหวานไม่มี ชมทิวทัศน์ เกาะแก่งกลางแม่น้ำ ดูเรือชาวประมงหาปลา แล้วกินลมพัดจากแม่น้ำโขงแทน

| หน้าต่อไป | บน |

มุกดาหาร: ข้อมูลมุกดาหาร ท่องเที่ยวมุกดาหาร ข้อมูลเที่ยวมุกดาหาร


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์