ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > หลวงปู่ศุข
 
หลวงปู่ศุข
หลวงปู่ศุข

            หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก เป็นพระอาจารย์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือหมอพร หลวงปู่ศุขแม้จะมรณะภาพตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๖ ผ่านมา ๘๕ ปีแล้ว วันเวลายิ่งผ่านไปหลวงปู่ยิ่งดังชื่อเสียงขจรขจายไปทั่ว ยอมรับว่าผมเป็นคนหนึ่งที่เคารพนับถือหลวงปู่ศุขมาก แม่จะเกิดไม่ทันยามที่ท่านมีชีวิตอยู่ แต่ผมมีโอกาสไปกราบรูปหล่อดั้งเดิมของท่านที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตั้งแต่วัดยังไม่เจริญเหมือนทุกวันนี้คือ เมื่อสัก ๓๐ กว่าปีมาแล้ว ไปตั้งแต่สมัยรับราชการอยู่ที่โคกกระเทียม ลพบุรี กลับมาทุกครั้งก็เขียนเล่าเรื่องของหลวงปู่ และความเจริญของวัดทุกครั้ง เขียนด้วยความเลื่อมใส ไปคราวนี้ห่างจากการไปครั้งสุดท้ายคงประมาณ ๖ - ๗ ปี วัดยิ่งเจริญมากขึ้นและมีถนนเข้าวัดได้ ๒ ทาง
           เส้นทาง หากมาจากกรุงเทพ ฯ มาเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสาย ๓๒ ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี อินทร์บุรี ทางแยกไปชัยนาท (เลี้ยวขวาไปตากฟ้า)  ผ่านสวนนกเขื่อนเจ้าพระยา ข้ามเขื่อนไปยังฝั่งตรงข้ามเลี้ยวขวา ไปตามถนนสาย ๓๑๘๓ ประมาณ ๒๖ กม.จะมีทางแยกขวาก่อนเข้าตัวอำเภอไปอีก ๕ กม.จะถึงวัดปากคลองมะขามเฒ่า ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา หรีอจะนึกสนุกวิ่งลัดเลาะมาจอดริมฝั่งแม่น้ำตรงข้ามวัด แล้วจอดรถเอาไว้ คนลงเรือข้ามมายังฝั่งวัดก็ได้ แต่ผมมาจากอุทัยธานีจึงมาตามเส้นทางนี้ ออกจากอุทัยธานีตามถนนสาย ๓๓๓ จนถึงสามแยกโคกหม้อ เลี้ยวซ้าย (มาทางเดียวกับจะไปวัดท่าซุง)  เข้าถนน ๓๒๖๕ แล้วตรงเลื่อยไป ๑๕ กม. ก่อนเข้าตัวตลาด อ.วัดสิงห์ มีป้ายบอกให้เลี้ยวซ้ายไปยังวัดปากคลองมะขามเฒ่า เมื่อเลี้ยวซ้ายเข้าวัดทางขวามือ ต้นโพธิ์ใหญ่ มีป้ายบอกไว้ว่า "เป็นที่ปักกลดของหลวงปู่ศุข" คงจะสมัยที่วัดนี้ยังเป็นวัดร้าง เลยเข้ามาแถวลานจอดรถ มีต้นกะจะ มีป้ายบอกไว้อีกว่า "ที่ประทับเสวยอ้ายเป้ ของกรมหลวงชุมพร"
            เดี๋ยวนี้ด้านหน้ามีอาคาร ศาลา หลายหลัง ไปวิหารหลวงปู่ศุขต้องเดินผ่านต้นกะจะ ที่เสวยอ้ายเป้ ของเสด็จในกรม ฯ ไปก่อน จึงจะถึงวิหาร หรือศาลาใหญ่ เมื่อขึ้นไปแล้วจะเห็นรูปภาพหลวงปู่สุขยืนถือไม้เท้า เมื่อสร้างเป็นวัตถุมงคลก็เป็นยอดนิยม โดยเฉพาะแขวนในรถ จะป้องงกันอุบัติเหตุ ถ้าเรามีจิตมั่นที่นับถือหลวงปู่ และอารธนาคาถาหลวงปู่เอาไว้ (คาถามีแจกที่ศาลานี้)  มีรูปหล่อหลวงปู่ศุข และกรมหลวงชุมพรคู่กัน แต่หลวงปู้นั้นมีหลายองค์ หลายวัดคงมีคนมาสร้างถวายไว้ในภายหลัง สมัยดั้งเดิมที่ผมมาวัดนี้นั้นมีรูปหลวงปู่องค์เดียว คู่กับรูปหล่อของสมเด็จในกรม ฯ อยู่บนศาลาที่จวนจะพังมิพังแหล่ ไม่ใช่ว่าศาลาใหญ่งดงามเช่นทุกวันนี้ ซึ่งผ่านมากว่าสามสิบปีแล้ว
            ทางงด้านซ้ายของศาลา มีตู้จำหน่ายวัตถุมงคลที่นิยมกันมาก และราคาถูกด้วยคือ ประเภทห้อยหน้ารถ หรือตั้งหน้ารถ รูปห้อยหน้ารถนั้น หลวงปู่ยืนถือไม้เท้าก็มี นั่งก็มี ส่วนชนิดตั้งหน้ารถ หลวงปู่นั่ง ราคาองค์ละ ๑๐๐ บาท และยังมีพระบูชาและพระผง
           ประวัติของหลวงปู่ศุข  วัดปากคลองมะขามเฒ่า นามเดิมท่านชื่อศุข นามสกุลเกษเวช (ต่อมาลูกหลานได้ใช้เกษเวชสุริยา ก็มี)  เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๐ ที่บ้านมะขามเฒ่า (ปัจจุบันเรียกบ้านปากคลอง)  ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอสิงห์ จังหวัดชัยนาท เป็นบุตรชายคนโต ของโยมบิดานายน่วม และโยมมารดานางทองดี มีน้องชายน้องสาวถึง ๘ คน หลวงปู่ศุขมีลุงคนหนึ่งชื่อ แฟง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบางเขน จังหวัดพระนคร (นามเดิมของกรุงเทพ ฯ)  มีอาชีพทำสวน ไม่มีบุตร ธิดา ลุงแฟงจึงมาขอหลานจากโยมของหลวงปู่ศุข โยมน่วมจึงอนุญาตให้เลือกเอา ลุงแฟงเลือกเอาหลานคนโตคือ หลวงปู่ศุข ตอนนั้นอายุประมาณ ๑๐ ขวบ หลวงปู่อยู่กับลุงแฟงจนอายุ ๑๘ ปี ก็แต่งงานกับนางสมบุญ ประกอบอาชีพทำสวนและมีบุตรชายคนหนึ่ง หลวงปู่บวชเมื่ออายุได้ ๒๕ ปี ที่วัดบางเขน (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโพธิ์ทองล่าง)  ตอนบวชนั้นลุงแฟงอุปการะทั้งหมด โยมบิดามารดาไม่ได้ลงมา เพราะสมัยนั้นจากบ้านปากคลองชัยนาทมากรุงเทพ ฯ ต้องมาทางเรือ คงจะ ๑ - ๒ วัน เมื่ออุปสมบทแล้วก็อยู่กับพระอุปัชฌาย์ ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยพอสมควรแล้ว หลวงปู่ก็ออกธุดงค์หาที่สงบฝึกวิปัสสนากัมมัฎฐาน และวิชาอาคมต่าง ๆ จากหลายสำนักที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น จนชำนาญดีแล้วจึงกราบลาอาจารย์กลับบ้านเกิดที่จากมาหลายปี มาปักกลดอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่งข้างหมู่บ้านของท่านชื่อ "วัดอู่ทอง" ปัจจุบันเรียกว่า "วัดปากคลอง" ชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธา เพราะหลวงปู่ได้ช่วยรักษาชาวบ้าน ใครเจ็บป่วยก็มาหาหลวงปู่ (ตำรับยาโบราณของหลวงปู่ศุข มีผู้พิมพ์จำหน่าย) หลวงปู่มีวิชาอาคมสูงมาก สามารถเสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อ ตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย เสกก้านกล้วยให้เป็นงู คงกระพันชาตรี จนข่าวเลื่องลือไปถึงกรมหลวงชุมพร ซึ่งพระองค์ด็เก่งเรื่องตำรับยาโบราณ และคาถาอาคมเช่นกัน จึงเสด็จมาทดลองดูเห็นจริง จึงขอมอบตัวเป็นลูกศิษย์ และเสด็จในกรมได้วาดภาพพุทธประวัติด้วยฝีพระหัตถ์ไว้ในอุโบสถ
            หลวงปู่ศุข ได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูวิมลคุณากร เจ้าคณะแขวง (ปัจจุบันเรียกเจ้าคณะอำเภอ)  มรณภาพเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ อายุได้ ๗๖ ปี

            ออกจากวัดปากคลองมะขามเฒ่า เลี้ยวขวามาสัก ๕ กม. ก็กลับมาขึ้นถนนที่มาคือ ๓๑๘๓ วิ่งเลียบแม่น้ำมาจนผ่านทางแยกไปสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าตัวจังหวัดและเลี้ยวขวาไปสุพรรณบุรี (ผ่านอำเภอสรรคบุรี)  จากสะพานไปอีก ๑ กม. ก็ถึงถนนเลี้ยวซ้ายเข้า วัดพระบรมธาตุวรวิหาร วัดนี้เป็นวัดสำคัญ มีพระบรมธาตุเจดีย์ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ วิ่งเลยวัดมาทางเขื่อนประมาณ ๑ กม. มีถนนแยกขวาเลียบชายคลองชลประทาน มีป้ายบอกว่าไป สรรคบุรี เป็นป้ายของกรมทาง หรือชลประทานก็ไม่ทราบ ผมวิ่งเลยไปก่อน ไปยังเขื่อนเจ้าพระยาที่ห่างจากสะพานข้ามแม่น้ำประมาณ ๖ กม. ถนนเข้าตัวเขื่อน มีตลาดข้างทาง มีทอดมันขาย มีแผงขายอาหารประเภทไก่ย่าง ส้มตำ ชมเขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนแห่งแรกของไทย ข้ามเขื่อนไปฝั่งตรงข้าม (ไปสวนนก ตรงต่อไปอีก ๙ กม.)  แล้วเลี้ยวขวาไปนมัสการพระพุทธรูปเก่าแก่คือ หลวงพ่อหิน วิหารหลวงพ่อหิน อยู่ติดสนามกอล์ฟของชลประทาน ไม่มีวัด มีเจ้าหน้าที่หมุนเวียนกันมาเฝ้า ๑ คน ตกแต่งสถานที่เรียบร้อย ด้วยความศักดิ์สิทธิ์วิหารของหลวงพ่อจึงสวย
            จากวิหารหลวงพ่อหิน ช้ามกล้บมายังถนนที่มาคือ สาย ๓๑๘๓ แล้วเลี้ยวขวากลับไปทางสะพานข้ามแม่น้ำ ด้วยความเชื่อป้าย ผมจะไปอำเภอสรรคบุรี ก็เลี้ยวซ้ายตามป้ายไปเหมือนตอนไปหุบป่าตาด คือเชื่อป้าย  ถนนเลียบคลองชลประทานไปเรื่อย ถนนลาดยาวก็จริง แต่ไม่เรียบและไม่มีป้าย ไม่มีหลัก กม. อะไรทั้งสิ้น วิ่งไปสัก ๑๐ กม. ตัดกับถนนลาดยาง ไม่ป้ายบอกว่า หากเลี้ยวแล้วจะไปไหน ตัดสินใจวิ่งตรงต่อไปอีกหลาย กม. เลยจอดถามแม่ค้ากล้วยปิ้ง แม่ค้าบอกว่าคุณเลยมาไกลแล้ว ให้กลับไปยังถนนที่ตัดกัน แล้วเลี้ยวซ้ายไปหน่อยเดียว ก็จะถึงอำเภอสรรคบุรี  ไปถึงอำเภอแล้ว จึงเข้าใจว่าตูโง่เชื่อป้าย หากมาตามถนนสาย ๓๔๐ เลี้ยวตรงสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนสี่เลนวิ่งไม่กี่ กม. ก็ถึง หากยังจะให้ใช้ถนนเลียบริมคลองชลประทาน ไปสรรคบุรี อีกทางมีป้ายตรงทางแยก ตัดถนนตัดกันว่าให้เลี้ยวขวา ไปไม่กี่ กม. ก็จะถึงตัวอำเภอ
            ที่หน้าอำเภอมี อนุสาวรีย์ขุนสรรค์ ขุนสรรค์คือ วีรบุรุษแห่งลุ่มแม่น้ำน้อย เป็น ๑ ใน ๑๑ ของวีรชนบางระจัน ซึ่งนำชาวบ้านต่อสู้กับพม่า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๐๘ และทำการรบชนะพม่าถึง ๗ ครั้ง มาแพ้ครั้งที่ ๘ เพราะพม่ามีปืนใหญ่ระดมยิงค่าย แต่ฝ่ายไทยไม่มี เพราะทางกรุงศรีอยุธยาไม่ยอมให้ปืนใหญ่ ส่งแต่ช่างมาช่วยหล่อปืนใหญ่ หล่อไม่สำเร็จ ปืนแตกหมด ในการรบครั้งที่ ๘ วีรบุรุษ ๑๑ ท่าน ที่ยังรอดตายมาได้ก็มาตายพร้อมกันทั้งหมด ในการรบครั้งที่ ๘ นี้ ๑๑ ท่าน มาจากอำเภอวิเศษชัยชาญ ๒ ท่าน  จากอำเภอแสวงหา ๔ ท่าน จากอำเภอสรรคบุรี คือ ขุนสรรค์ และอีก ๔ ท่าน ชาวสิงห์บุรี
           วัดพระมหาธาตุ  จากตัวอำเภอ เลี้ยวซ้ายไปประมาณ ๕๐๐ เมตร วัดอยู่ทางขวามือ รัชกาลที่ ๕ เคยเสด็จเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ เป็นวัดเก่าแก่โบราณ คู่กับวัดพระยาแพรก ที่อยู่ติดกัน ภายในวัดมีปรางค์กลีบมะเฟือง สร้างด้วยอิฐถือปูน ๓ องค์ เป็นศิลปะสมัยลพบุรี และมีพระพุทธรูปยืนศิลปะลพบุรี และอยุธยาตอนต้น มีอุโบสถเก่าแก่ มีพระพุทธรูปหน้าโบสถ์ วัดนี้ได้รับการบูรณะแล้ว และกำลังบูรณะเพิ่มเติม ส่วนวัดพระยาแพรก อยู่ทางซ้ายของวัดพระมหาธาตุ ยังมีเจดีย์โบราณเหลืออยู่
           วัดพระแก้ว  ไปยังตำบลแพรกศรีราชา มีหลวงพ่อพระฉายในวิหาร
           สวนลิง  อยู่ภายในวัดธรรมิกาวาส ต้องย้อนมาทางชัยนาท ถนน ๓๔๐ มีป่ายางสูง สลับซับซ้อน หน้าวัดมีแม่น้ำน้อยไหลผ่าน มีรูปหล่อหลวงพ่อเฒ่า เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่ชาวบ้านเคารพนับถือกันมาก ฝูงลิงอาศัยอยู่ในวัดนี้จำนวนมาก
            มีเวลาควรไปอำเภอหันคา อยู่ห่างสรรคบุรีประมาณ ๘ กม. มีวัดโบราณคือ วัดพิชัยนาวาส และวัดไกลกังวล ไปวัดนี้พบป้ายบอกว่า ระวังทับงู ระวังทับนกยูง
            ร้านอาหาร ที่เคยชิมอยู่เลยหน้าอำเภอชื่อ ร้านอานนท์ หาไม่เจอ ไม่ทราบว่าย้ายร้าน หรือเลิกกิจการ เพราะบริเวณนี้เป็นห้องแถวใกล้ตลาด หน้าอำเภอด้วยย่านความเจริญ เลยไปควานหาร้านใหม่ วิ่งรถเลยหน้าวัดพระธาตุไปสัก ๕๐ เมตร ฝั่งตรงข้ามมีร้านอาหารประเภทเพิง แต่กว้างขวาง นั่งสบาย คนนั่งกันเต็ม อย่าไปสนหาชื่อร้าน เยื้องวัดมีร้านเดียว มีข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก สูตรก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต มองดูแล้ว สั่งข้าวหมูแดง กับเกาเหลาน้ำตก ข้าวหมูแดง ใส่หมูกรอบ ๆ จริง ๆ หมูแดงกุนเชียง ราดน้ำหมูแดงสีสด อร่อยมาก จานเดียวไม่พอ ต้องซ้ำหนักพุงไปเลย
            ตอนตระเวนหาร้าน พบป้ายหน้าร้านบอกว่า กาแฟสด ไอสคริม อยู่ฝั่งเดียวกับวัดมหาธาตุ เลยร้านข้าวหมูแดงไปสัก ๑๐๐ เมตร เลี้ยวเข้าไปจอดรถในร้าน ร้านขายกรวด หิน ดินทราย และศาลพระภูมิด้วย แต่ด้านซ้ายของทางเข้าจัดร้านสวยเก๋ สาวที่ขายท่าทางมีความรู้ จะเป็นนักเรียนนอก หรือเปล่าไม่ทราบ มีของที่ระลึกจัดขายไว้สวยเก๋ ล้วนแต่ของดี คนจัด คนหามาขายบอกลักษณะเป็นคนมีรสนิยม

...................................................


หลวงปู่ศุข: ข้อมูลหลวงปู่ศุข ท่องเที่ยวหลวงปู่ศุข ข้อมูลเที่ยวหลวงปู่ศุข


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์