ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > เจ้าตากเดินทัพ
 
เจ้าตากเดินทัพ
เจ้าตากเดินทัพ

           สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้น เดิมท่านเป็นเจ้าเมืองตาก เป็นเจ้าเมืองที่เข้มแข็งมีชื่อเสียงผู้คนเรียกท่านว่าพระยาตากไม่เรียกว่าพระยาสิน ทั้ง ๆ ที่ท่านชื่อ "สิน" ต่อมามาช่วยราชการในกรุงศรีอยุธยาตอนที่มีศึกพม่าเข้ามาตีจนกรุงศรีอยุธยาพังในครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐ ก่อนกรุงแตกท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร หรือพระยากำแพงเพชรแต่ยังไม่ได้ออกไปรับตำแหน่งเพราะติดราชการทัพอยู่ในกรุงศรีอยุธยาซึ่งในที่สุดก่อนกรุงศรีอยุธยาจะแตก ก็นำไพร่พลที่สมัครใจไปตายดาบหน้าด้วยกันเพียง๕๐๐ คน ตีฝ่าทัพพม่าที่ล้อมกรุงออกไป คน ๕๐๐ สามารถตีแหกทัพพม่านับหมื่นออกไปได้แต่ทหารรักษากรุงนับหมื่นรักษากรุงไม่ได้ เพราะความไม่เอาไหนของแม่ทัพหรือผู้บัญชาการทัพ
           ที่ผมไปเรียกท่านว่าเจ้าตาก เพราะท่านได้รับการยกย่องจากไพร่พลของท่านเองว่าสมควรยกฐานะของท่านขึ้นเป็น"เจ้า" เรียกว่า "เจ้าตาก"จะได้มีอำนาจในการแต่งตั้งไพร่พลที่มีฝีมือ มีความดีความชอบให้มีตำแหน่งสำคัญๆ ปกครองบังคับบัญชาไพร่พลได้ตามวิธีการบังคับบัญชาของทหาร ท่านจึงยอมรับการยกฐานะขึ้นเป็น"เจ้าตาก" โดยเป็นเจ้าตากเมื่อตีได้เมืองระนอง ก่อนที่จะไปตีเมืองจันทบุรีซึ่งยังเป็นศึกระหว่างคนไทยด้วยกันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมลุยภาคตะวันออกครั้งนี้เพื่อหาวัตถุดิบในการเขียนหนังสือให้ปตท.ที่เขาจ้างเขียน ไม่ได้จ้างขายหรือจ้างให้ประชาสัมพันธ์ เขียนลูกเดียวปตท.เอาลิขสิทธิ์ไปเลย ทำให้ได้ทราบเส้นทางของพระยาตาก เมื่อออกจากกรุงศรีอยุธยามาบ้างใช้คำว่าบ้างเพราะไม่มีเล่มไหน บอกให้ละเอียดว่าเส้นทางไหนที่ท่านยกทัพผ่านไปเมื่อออกจากกรุงศรีอยุธยา จะมีก็แต่ตำบลหรือจุดที่ท่านพักทัพนานวันจึงจะมีบอกไว้และเกิดเป็นประวัติเป็นตำนานของจุดนั้นขึ้นมาเท่านั้น
           พระราชประวัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้น หากอ่านหลาย ๆ เล่ม ก็ไม่ค่อยจะตรงกันนักยิ่งตอนสุดท้ายว่าถูกประหารชีวิตหรือไม่ ยิ่งแตกต่างกันออกไป เพราะผมเคยตามไปที่นครศรีธรรมราชที่วัดเขาขุนพนม ที่บอกว่าประทับอยู่ที่วัดนี้ส่วนคนที่ถูกประหารชีวิตนั้น เพียงแต่เป็นคนที่ยอมสละชีพเพื่อท่าน ส่วนท่านถูกพาหนีไปนครศรีธรรมราชผมชักจะเชื่อในข้อนี้และมีเหตุผลที่น่าเชื่อเช่นกัน
           เขียนมาถึงแค่นี้ นึกขึ้นมาได้ว่ามีท่านผมอ่านท่านหนึ่ง ท่านไม่ยอมบอกชื่อเสียงแต่นาน ๆ ท่านก็จะส่งเอกสารโดยมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์มาให้ ซึ่งมีประโยชน์มากก็ลองไปค้นหาดูว่าจะมีเกี่ยวข้องกับพระยาตากสินบ้างหรือไม่ ก็พบจริง ๆ เขียนไว้เหนือกระดาษที่ท่านถ่ายเอกสารมาว่าพระเจ้าตากสินแต่ที่หัวกระดาษไม่ได้บอกว่าเป็นหนังสือชื่ออะไร เป็นบทความของ "คุณพัชนีถาวร" ในเรื่อง "จิตสัมผัส" ซึ่งเขียนเรื่องการเดินทางไปนครศรีธรรมราช และได้ยกเอาแนวความคิดของท่านพลตรีหลวงวิจิตรวาทการอดีตอธิบดีกรมศิลปากร เกี่ยวกับการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งยังมีปมปริศนาค้างคาอยู่ในใจของผู้คนส่วนใหญ่ว่าพระองค์สวรรคตจริง ๆ หรือที่ไหน เมื่อไร หลวงวิจิตรวาทการ แต่งเป็นนิยายระทึกใจเรื่อง"ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธนบุรี" ซึ่งในหนังสือเล่นนี้ (ผมมีหนังสือของคุณหลวงวิจิตรที่พิมพ์ออกจำหน่ายแทบจะทุกเล่ม) ในหนังสือกล่าวว่า โดยนิมิตว่ามีชายไทยโบราณร่างมหึมามาจับมือข้าพเจ้าเขียนเรื่องราวขึ้นเป็นเรื่องราวของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชล้วน ๆ ยาวเหยียดหลายสิบหน้า เป็นลายมือของข้าพเจ้าเองแต่ความรู้สึกที่เขียนลงไปในนิยายไม่ใช่ของข้าพเจ้าเลย โดยเล่าว่า (หลวงวิจิตรท่านเล่าไว้ผมขอคัดลอกเอามาสู่ท่านผู้อ่าน)
           สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มิได้สิ้นพระชนม์ตามคำสั่งของรัฐบาลชุดใหม่ เมื่อต้นเดือนเมษายนพ.ศ.๒๓๒๕ ณ ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ตามที่เราเคยเชื่อกันในประวัติศาสตร์ แต่ได้มีคนกลุ่มหนึ่งมาช่วยท่านไว้แล้วนำไปซ่อนไว้ที่อื่นช่วยไว้เกือบ ๓ ปี จึงได้สิ้นพระชนม์ลง ณ เพชรบุรี ส่วนคนที่ถูกประหารที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์นั้นเป็นคนอื่นไม่ใช่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
         ข้อความทั้งหมดนี้ผมคัดลอกมาจากข้อเขียนของ คุณพัชรี ถาวร ในเรื่องจิตสัมผัสแต่ไม่ทราบว่าลงไว้ในหนังสืออะไร และท่านที่ชอบค้นคว้าและกรุณาต่อผมบ่อย ๆส่งมาให้ ส่งมาหลายเรื่องในคราวเดียวกันนี้และผมก็จำไม่ได้ว่า ส่งมามีเรื่องอะไรบ้างอยู่ ๆ ก็ลุกขึ้นไปค้นที่กองเอกสารของท่านที่ส่งมาเหมือนมีอะไรมาดลใจ และพอลงมือค้นหาก็ได้เอกสารฉบับนี้มาที่หัวกระดาษเขียนด้วยลายมือของท่านผู้ส่งมาว่า "พระเจ้าตาก" ดูจากลายมือท่านผู้นี้ต้องรุ่นผู้ใหญ่อย่างน้อยก็คราวๆ ผม เพราะลายมือแบบนี้คนรุ่นใหม่หายาก ยิ่งลายมือของผมยิ่งหายากใหญ่ คืออ่านไม่ออกอาจารย์ภาษาไทยที่สอนผมเมื่อเป็นนักเรียนเตรียมนายร้อย ซึ่งผมสอบเข้าได้ที่๒ จึงเป็นหัวหน้าตอน ๒ อาจารย์ท่านบังคับให้ผมซึ่งเป็นหัวหน้าตอน คัดลายมือส่งท่านทุกวันวันละหน้า คัดอยู่ ๖ เดือน อาจารย์ท่านบอกว่า "โอภาส เลิกคัดลายมือส่งครูได้แล้วเพราะเลวกว่าเดิม" อีกอาจารย์ ท่านสอนภาษาอังฤกษ อาจารย์รุ่นเก่าแก่เช่นกันท่านเยาะเย้ยผมเมื่อตอนปลายปี ผมได้รับรางวัลเรียนดี เขาให้เป็นเงินสมัยนั้นเมื่อ๕๓ ปีที่แล้ว ได้ถึง ๘๐ บาท อาจารย์ซึ่งเป็นท่านขุนเยาะว่า "โอภาส ได้รางวัลกับเขาเหมือนกันหรือ"ผมเลยย้อนอาจารย์เข้าบ้างว่า " ผมสอบใกล้ตกอยู่วิชาเดียวคือ วิชาภาษาอังฤกษวิชาอื่นผมได้เกือบเต็ม" อาจารย์ท่านขุน.... เลยเลิกพูดกับผม
           ส่วนเรื่องของพระเจ้ากรุงธนบุรีนั้น เมื่อท่านลงเรือน้อยไปแล้วก็ไปถ่ายเรือขึ้นเรือใหญ่ที่พระประแดง(ผมพึ่งไปมาเมื่อวานนี้เอง ไปซื้อกุ้งเหยียด ที่บ้านสาขลา อ.พระสมุทรเจดีย์อร่อยร้าย) เจ้าอุปราชพัฒน์ ทูลเชิญเสด็จลงเรือใหญ่ ไปยังนครศรีธรรมราช พระเจ้ากรุงธนบุรีไปผนวชอยู่ที่วัดเขาขุนพนมอ.พรหมคีรี ได้ ๒ ปี พอปีที่ ๓ พ.ศ.๒๓๒๗ ก็ขอไปจำพรรษาที่ จ.เพชรบุรี สักพรรษาหนึ่งเพื่อทดแทนพระคุณแม่ของท่านจึงพาท่านไปประทับ ณ วัดถ้ำแห่งหนึ่งและประชวรสิ้นพระชนม์อยู่ในถ้ำแห่งนี้บางเล่มว่าถูกลอบสังหารเพราะมาประทับที่เพชรบุรีไม่เป็นความลับ สรุปได้ว่าไม่ได้ถูกปลงพระชนม์เมื่อ๖ เมษายน ๒๓๒๕
            พระยาตากเดินทัพด้วยการตีฝ่าออกจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๓๐๙มีทหารกล้าอยู่ด้วย ๕ นาย คือ หลวงพิชัยอาสา(ทหารคู่ใจ) หลวงเชียงเงิน ขุนพรหมเสนา ขุนอภัยภักดี(หลวงพ่อคับ อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองนกไข่ ที่อำเภอสามพราน ซึ่งท่านเคารพพระเจ้าตากสินมากได้สร้างวิหารทหารเสือพระเจ้าตากและปั้นรูปเหมือนของทหารเสือเอาไว้ทุกท่านจากนิมิต)
           พระเจ้าตากยกทัพของท่านออกจากค่ายวัดพิชัยตีฝ่าวงล้อมออกไปที่บ้านโพธิ์สังหาร(โพธิ์สาวหาญ)
           เช้าวันที่ ๔ มกราคม พม่าตามมาทัน พระยาตากก็นำกำลังเข้าต่อสู้จนพม่าแตกพ่ายไป(ทหารม้าของกองทัพบกไทย ถือวันที่ ๔ มกราคม เป็นวันทหารม้า)
           ตกบ่ายพระยาตากปล่อยให้ทหารส่วนใหญ่ออกหาเสบียง ไปพบพม่าที่มาจากบางคางเมืองปราจีนบุรี พม่าก็ไล่ฆ่าฟันทหารจนแตกหนีมายังบ้านพรานนก พระยาตากเหลือทหารอยู่ด้วยไม่เท่าไรให้ทหารที่เหลือตั้งแถวขยายแนวรบเป็นปีกกา เตรียมตีโอบล้อม แล้วพระยาตากพร้อมทหารเสือทั้ง๕ ขึ้นม้าควบตะลุยเข้ารบพม่า พม่าเห็นคนไทยมาไม่กี่คนชะล่าตีตามติดเข้ามาเลยเข้าปีกกาของแถวทหารไทยและทหารที่ออกลาดหาเสบียงก็ตั้งตัวได้แล้ว กลับเข้าโอบล้อมตีพม่าแตกพ่ายไปเหล่าทหารซึ้งน้ำใจของพระยาตากที่ไม่ทิ้งลูกน้อง เป็นผลให้พระยาตากได้รี้พลจากชาวบ้านที่ทราบข่าวการสู้รบมาสมัครเข้าเป็นพวกมากขึ้น
           พระยาตากยกกำลังผ่านนาเริงผ่านเมืองนครนายกข้ามลำน้ำเมืองปราจีนไปตั้งทัพอยู่ที่ชายดง"ศรีมหาโพธิ์" มีป้ายโบราณสถานบอกไว้ที่ วัดศรีมหาโพธิ์
           พม่าตั้งทัพอยู่ที่ปากน้ำเจ้าโล้ ทราบข่าวทัพพระยาตากก็ยกทัพมาทั้งทางบกและทางเรือพระยาตากทราบข่าวศึกจึงซุ่มพลไว้ แล้วตีพม่าแตกไปทั้งทางบกและทางเรือ
           พระยาตากยกกำลังผ่านเขตเมืองฉะเชิงเทรา บ้านพานทองบ้านบางปลาสร้อย ไปจนถึงบ้านนาเกลือแขวงเมืองบางละมุงทำให้เกิดคำว่า พัทยาสันนิษฐานว่า มาจากคำว่า ทัพพระยามาพักทัพ (บางคนก็ว่ามาจากชื่อลม)
           จากชลบุรี ยกกำลังไประยองพระยาระยองพาผู้คนมาอ่อนน้อมถึงกลางทาง ทัพพระยาตากเข้าตั้งทัพที่วัดลุ่ม(ปัจจุบันมีศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่วัดลุ่มมหาชัยชุมพล)  แต่กลับคบคิดกับกรมการเมืองหวังเข้าปล้นค่ายในเวลากลางคืนพระยาตากรู้ตัวก่อนจึงกลับเข้าตีพวกเมืองระยอง ที่ออกมาปล้นค่ายแล้วตะลุยตามตีไปจนได้เมืองระยองในคืนนั้นชัยชนะในครั้งนี้ไพร่พลและคนทั่วไปจึงยกย่องเป็น "เจ้าตาก"

           ในขณะนั้นเมืองชลบุรีมีนายทองอยู่นกเล็กตั้งตัวเป็นใหญ่ เจ้าตากยกกำลังไปเมืองชลบุรีและส่งคนไปเกลี้ยกล่อม จนนายทองอยู่นกเล็กอ่อนน้อมจึงแต่งตั้งให้เป็นพระยาอนุราฐบุรีและได้กำลังรบเพิ่มมากขึ้นกลับไปรวบรวมผู้คนเพิ่มขึ้นที่ระยองอีก และยกกำลังไปปราบขุนหมื่นซ่องที่แตกหนีไปจากระยองไปซ่องสุมผู้คนอยู่ที่เมืองแกลงจนแตกหนีไปอยู่กับเจ้าเมืองจันทบุรีซึ่งไม่ยอมอ่อนน้อม และคิดกลอุบายที่จะตีทัพเจ้าตาก โดยล่อหลอกให้เจ้าตากเคลื่อนทัพเข้าไปตั้งมั่นในจันทบุรี และกะจะเข้าตีตอนที่ข้ามแม่น้ำจันทบุรี ทัพเจ้าตากตั้งอยู่ที่วัดพลับ(ใกล้ค่ายเนินวง)แต่พอจะเข้าแผนกลับมีผู้มาแจ้งให้เจ้าตากทราบล่วงหน้า เจ้าตากจึงหยุด และเร่งสั่งให้กองทัพกลับขบวนไปทางฟากข้างเหนือและกะจะเข้าตีจันทบุรีในตอนดึกของคืนนี้ และเพื่อความเด็ดขาด ในการรบจึงสั่งให้ทหารกินข้าวเย็นให้เต็มที่แล้วให้ทิ้งอาหารที่เหลือ ทุบหม้อข้าวทิ้งเสีย หมายไปกินข้าวเช้าในเมืองจันทบุรีในวันพรุ่งนี้พอได้เวลา ๐๓.๐๐ เจ้าตากขึ้นช้างพังคีรีบัญชรวิ่งเข้าชนพังประตูเมืองฝ่ายในเมืองก็ยิงปืนใหญ่น้อยลงมาท้ายช้าง เกรงกระสุนจะถูกเจ้าตากจึงไสช้างให้เบนออกเจ้าตากจึงชักพระแสงหมายจะฟันท้ายช้าง ท้ายช้างตกใจทูลขอชีวิต แล้วไสช้างเข้าชนบานประตูจนพังครืนทหารของเจ้าตากก็เข้าเมืองจันทบุรีได้ในคืนนั้น วันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๑๐(กรุงศรีอยุธยาแตกตั้งแต่ เมษายน)
           เมื่อเจ้าตากจัดการในเมืองจันทบุรีเรียบร้อยแล้ว ก็ยกทัพไปตีเมืองตราดแต่กรมการเมืองตราดได้ยอมอ่อนน้อมโดยดี เว้นพวกสำเภาจีนที่มาทอดสมออยู่ปากน้ำตราดกระด้างกระเดื่อง เจ้าตากจึงคุมพลไปล้อมเรือสำเภาและเกิดการต่อสู้ สู้กันครึ่งวันก็ยึดเรือสำเภาได้หมดและใช้เรือไว้เป็นพาหนะในการเดินทัพมายังกรุงศรีอยุธยาต่อไป
           เจ้าตากจึงรวบรวมไพร่พลรอเวลาสิ้นฤดูฝน ระหว่างรอเวลาก็ต่อเรือรบได้๑๐๐ ลำ พอถึงเดือน ๑๑ สิ้นมรสุมก็ยกพล๕,๐๐๐ คน เรือรบ ๑๐๐ ลำ มาชลบุรี จับนายทองอยู่นกเล็กประหารชีวิตเสียเพราะราษฎรร้องว่าประพฤติตัวเป็นโจรยกทัพเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าตีป้อมวิชัยประสิทธิ์ที่กรุงธนบุรีซึ่งมีนายทองอินคนไทยแต่ใจพม่ารักษาป้อมอยู่แตกจับนายทองอินประหารชีวิตเสีย จากนั้นก็เร่งยกทัพไปยังค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้นและสั่งเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้นในตอนเช้า พอ ๙ นาฬิกา ก็ตีได้ค่ายเพนียดที่มองย่าแม่ทัพหน้ารักษาค่ายอยู่ และพอตกค่ำก็เข้าประชิดค่ายสุกี้ทางด้านวัดกลางพอเช้าก็เข้าตีพอตกเที่ยงก็ยึดค่ายได้ สุกี้แม่ทัพพม่าตายในที่รบ ให้สังเกตว่าการเข้าตีของเจ้าตากนั้นจะใช้วิธีจู่โจมเป็นหลักไม่ว่าการเข้าตีจันทบุรี ระยอง ค่ายโพธิ์สามต้น หรือ รบพม่าที่บางกุ้ง จะดำเนินกลยุทธอย่างรวดเร็ว
           เมื่อตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้นได้ เมื่อ ๖ พฤศจิกายน ๒๓๑๐ ก็เท่ากับได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาต่อจากนั้นก็ทำการรบปราบก๊กต่าง ๆ อีก ๕ ก๊ก จนสำเร็จเรียบร้อยจึงทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๐ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่๔ หรือสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ ที่ ๘ แต่ขุนนางไพร่ฟ้าประชาราษฎร์นิยมเรียกว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือ สมเด็จพระเจ้าตากสิน
           ทัพเจ้าตาก จึงยกตามเส้นทางจากกรุงศรีอยุธยามาตามลำดับ ดังได้เล่ามาโดยย่อ
           ทีนี้ขึ้นไปหาของกินทางเหนือก่อน คือเชียงใหม่ก่อนกลับมากินอาหารที่ ระยองที่ตั้งทัพเตรียมพลของเจ้าตาก
           ลูกมะเกี๊ยง  พืชในโครงการอนุรักษ์สนองพระราชดำริ มีผู้นำไปผลิตไวน์แดงออกจำหน่ายกันแล้ว มะเกี๊ยงเป็นไม้ป่ายังไม่มีใครทำสวนมะเกี๊ยง ไม้ชอบอากาศเย็นปลูกในที่สูงแต่ได้ทดลองเอามาทำไวน์สำเร็จ คราวนี้ร้านอาหารที่ผมเคยพาไปชิมไว้นานแล้วคือร้านเรือนคำอินที่เชียงใหม่ ผลิตน้ำผลไม้จากลูกมะเกี๊ยงได้สำเร็จและขอ"อย." ได้แล้ว ก็เลยผลิตต่อไปอีกคือจาก มะขามป้อมสด น้ำมะม่วงมหาชนก ซึ่งมะเกี๊ยงนั้นจะมีกลิ่นหอมที่เป็นตัวของตัวเองมีรสเปรี้ยวอมหวาน ละลายไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้ไม่เกิดโรคหลอดลมอุดตันส่วนมะขามป้อมนั้นจะช่วยให้ผิวของสาว ๆ สวย ครีมของฝรั่งแพง ๆ นั้นทำจากมะขามป้อมแห้งแต่เจ้านี้เอามะขามป้อมสดมาทำน้ำผลไม้ เขาบอกว่า เก้ง กวาง เนื้อแน่น เต่งตึงกินอร่อยเพราะมันชอบกินมะขามป้อม พอได้ชิมแล้วก็เลยต้องเอามาช่วยส่งเสริมให้คราวก่อนคงจะสัก ๑ - ๒ ปีมาแล้ว ผมส่งเสริมเรื่องไวน์มะเกี๊ยง ของสหกรณ์เชียงใหม่พอประชุมเอเปค ได้รับเลือกเป็นไวน์ ๑ ใน ๘ ที่เอามาเลี้ยงเอเปค และไวน์ของสหกรณ์ที่ผมชวนชิม(ของดีราคาถูกมาก) ได้รางวัล ๕ ดาว โอทอป ทุกตัว ที่ดีกว่าเพื่อนคือ ไวน์มะเกี๊ยงนี่แหละ
           ตอนนี้เขาทำน้ำผลไม้ทั้งมะเกี๊ยง มะขามป้อม และมะม่วงมหาชนก ออกจำหน่ายที่ร้าน(ร้านอยู่ตรงข้ามวัดเจ็ดยอด เข้าซอยไปสัก ๔๐ เมตร อยู่ขวามือ) มีตามร้านก๋วยเตี๋ยวร้านอาหารหลายแห่งในตัวเมืองเชียงใหม่ เป็นน้ำผลไม้ที่ยังไม่มียี่ห้อ พร้อมดื่มได้เมื่อใส่น้ำแข็งขวดละ๒๕ บาท ถือว่าถูก ไปเชียงใหม่มีขายร้าน ถือโอกาสไปชิมอาหารพื้นเมืองเชียงใหม่เสียด้วยเลยใครไปเชียงใหม่ไม่ได้ชิมน้ำผลไม้ จากมะเกี๊ยง เชยไม่รับรู้ด้วย แต่ต้องน้ำเจ้าที่ไม่มียี่ห้อนี่แหละของแท้มีขายแน่ ๆ ที่ร้าน ไปตามถนนสาย หางดง - สะเมิง อยู่ทางซ้ายมือ ซึ่งที่นี่ขายผลไม้พืชผักปลอดสารพิษ และน้ำผลไม้มะเกี๊ยง มะขามป้อม และมะม่วงมหาชนก
           กลับมากินอาหารที่ระยอง เพราะพระยาตาก ตั้งต้นเป็นเจ้าตากที่นี่ เตรียมพลเพื่อเข้ารบก็ที่นี่จนเข้าตีได้จันทบุรี
           หากมาตามถนนสุขุมวิท จากสัตหีบ หรือจะมาตามถนนสาย พัทยา - ระยอง แล้วเลี้ยวขวาเข้ามาในเมืองก็จะมาพบพนนสุขุมวิทผ่านกลางเมืองหากไปตามถนนสายนี้ไปจนถึงธนาคารกรุงเทพ ฯ ตรงมุมซ้ายให้เลี้ยวขวาเข้ามาจะมาเข้าถนนตากสินมหาราชจะผ่านทางแยกซ้ายเข้าวัดลุ่ม ฯทันที วิ่งไปจนสุดทางพบสามแยก เลี้ยวขวามาหน่อยพบสะพาน ให้เลี้ยวซ้ายข้ามสะพานข้ามแม่น้ำระยองไปยังฝั่งชายทะเลเลี้ยวซ้ายไปจนสุดทางคือ แหลมเจริญ ก่อนจะสุดทางสัก๑๐๐ เมตร มีร้านอาหารอยู่ซ้ายมือ ริมแม่น้ำระยอง ร้านกว้างขวางมีศาลาเล็กสาลาน้อย อาหารทะเลสดขังไว้ในอ่างใหญ่รอเวลาให้เราไปชี้ให้ตาย
           แกงส้มไข่ปลาเรียวเซียว หม้อแพงหน่อย ๓๐๐ บาท แต่อร่อยคุ้มค่า
           ปลากะพงราดน้ำปลา จานนี้อย่าพลาด หาที่อื่นยังไม่พบว่าที่ไหนอร่อยกว่า น้ำปลาราดมาหอมรสเข้าเนื้อ
           ไข่เจียวหอยนางรม ผมคนชอบไข่เจียว ใส่หอยนางรมสด ๆ อร่อยนัก
           ผักโต้วเหมียว ผักผัดเพื่อสุขภาพ ป้องกันมะเร็ง ลำไส้แข็งแรง ขับถ่ายสะดวกอร่อยด้วย
           ห่อหมกปลาอินทรีย์ ใส่กระทงเล็ก ๆ มาเสริฟ กระทงละ ๑๒ บาท สั่งมาให้พอดีคนชิม
           ถ้าไปหลายคนก็สั่งอีก ของอร่อยมีแยะเช่น ปูนิ่มทรงเครื่อง ออส่วนกุ้ง กุ้งสลัดเผือก
           ลืมบอกไป ไปคราวนี้ผมพักที่โรงแรม ไม่ได้อยู่ชายหาดแต่เงียบสงบเป็นโรงแรมใหญ่บริการดี นักท่องเที่ยวก็พักได้ เช้าออกเที่ยว เย็นกลับมากินมานอนใหม่
           ห้องอาหารของโรงแรม  มีเพลงเบา ๆ นั่งสบาย แอร์เย็นฉ่ำ อาหารราคาเดียวกันกับกินตามร้านอาหารมื้อเย็นผมชอบนั่งที่นี่ อิ่มแล้วขึ้นนอนได้เลย ไม่ต้องกลัวขับรถหลงไปทางไหน(ตามแบบฉบับคนขับสูงอายุ) ลองชิม กระเพาะปลา พล่าชาวเล น้ำพริกลงเรือ ของเขาดูบ้างที่อร่อยเด็ดอีกจานคือ "เป็ดย่าง" หนังไม่กรอบ

........................................................


| บน |

เจ้าตากเดินทัพ: ข้อมูลเจ้าตากเดินทัพ ท่องเที่ยวเจ้าตากเดินทัพ ข้อมูลเที่ยวเจ้าตากเดินทัพ


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์