ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > มรดกท่องเที่ยว > วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
 
วัดเฉลิมพระเกียรติฯ
| ย้อนกลับ | ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |

วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร

            ผมเคยเดินทางไปยังวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารโดยไปทางเรือ เป็นการไปครั้งแรกของผม ไปโดยไม่รู้ว่าทิศทางที่จะไปทางถนนนั้นไปทางไหน ต้องใช้วิชาสอบถามจึงได้ความว่าไปทางถนนก็ได้ ไปอย่างสะดวกสบายเลยทีเดียว แถมไปเจออาหารอร่อยคือ "ก๋วยเตี๋ยว" ที่บรรเลงโดยฝีมือนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่คือ ชั้นผู้กำกับ ซึ่งผมขอเชียร์ที่นายตำรวจระดับนี้ใช้เวลาว่างในวันหยุดมาทำก๋วยเตี๋ยวด้วยตนเอง ส่วนวันอื่นก็ขายแต่มีแม่ครัวเอกบรรเลงแทน เดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟัง วันนี้ไปกัน ๒ ร้านเลย เพราะพอหาเส้นทางบกไปวัดได้ ผมก็ไปอีกหลายครั้ง เพราะไม่ใช่แค่จะมีแต่วัดเฉลิมพระเกียรติเท่านั้นที่จูงใจให้ไป ยังมี "อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก" ซึ่งอยู่ติดกับวัด และใช้ทั้งพื้นที่ของวัด และที่ที่จัดซื้อเพิ่มเติมซึ่งอำนวยการสร้างโดย "กรมธนารักษ์" ได้ชื่อว่าเป็น "อู่สถาปัตยกรรมไทย"
            การไปวัดเฉลิมพระเกียรตินั้นไปได้หลายเส้นทาง และผมจะบอกเพิ่มไว้อีกเส้นทางหนึ่ง เพราะไปค้นพบร้านอาหารที่ควรแก่การชวนชิมอีกร้านหนึ่งด้วยคือร้านช่อขนุน
            เส้นทางแรก ผมไปจากบ้านผมคือลาดพร้าว ๗๑ เดี๋ยวนี้ไปบางแคสบายมาก เพราะออกถนนคู่ขนาน เข้าทางด่วนเอกมัย - รามอินทรา ได้หน่อยเดียวก็เลี้ยวซ้ายเข้าถนนที่ตัดใหม่ เชื่อออกไปโผล่ที่สี่แยกเกษตรศาสตร์ แล้ววิ่งเข้าถนนงามวงศ์วาน ตรงไปข้ามถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านสี่แยกพงษ์เพชร ผ่านสี่แยกแคลายไปข้ามสะพานพระนั่งเกล้า ตรงต่อไปจนผ่านปั้มคาลเท็กซ์ จะถึงสี่แยกมีไฟสัญญาณ ตรงจุดนี้หากเลี้ยวซ้ายจะมีป้ายบอกไว้ว่า ไปวัดสวนแก้ว ๒ กิโลเมตร และไปวัดเฉลิมพระเกียรติ ๑๐ กิโลเมตร ตรงสี่แยกนี้จึงให้เลี้ยวซ้ายไป ๒ กิโลเมตร พบป้ายวัดสวนแก้ว ทางซ้ายมือให้เลี้ยวช้ายเข้าไปหน่อยหนึ่งจะชนกับสามแยก หากเลี้ยวช้ายอีกทีก็เข้าวัดสวนแก้ว ให้เลี้ยวขวาตรงไปเรื่อยและจะพบป้ายบอกทาง จนพบหลักกิโลเมตร ๑๕ จึงเลี้ยวซ้ายอีกที ที่นี้ตามป้ายไปไม่ไกลก็เข้าถึงยังเขตวัดหากเข้าอุทยานเข้าซอย ๑๓ หากเข้าหลังวัดเข้าซอย ๑๕ ซึ่งเมื่อเลี้ยวซ้ายเข้าซอย ๑๕ ไปได้นิดเดียว ร้านก๋วยเตี๋ยวผู้กำกับอยู่ทางขวามือ เปิดร้านโดยดัดแปลงจากโรงรถเดิม ทำเสียสวยทีเดียว กว้างขวาง ห้องสุขาสะอาดเป็นสากล ก๋วยเตี๋ยวชามละ ๑๐ บาท พิเศษ ๑๕ บาท แตกต่างกันที่ลูกชิ้นปลา เพราะเป็นก๋ยวเตี๋ยวลูกชิ้นปลา หากลูกชิ้นมากพิเศษ ๑๕ บาท และยังมีไก่ทอดสูตรร้านในซอยสุทธิสาร มีเมี่ยงคำ มีส้มตำขนมน้ำแข็งใส ขนมพวกจันอับ น้ำผลไม้หรือน้ำสมุนไพรต่าง ๆ ราคาถูกทั้งนั้น โอเลี้ยง ๕ บาท น้ำต่าง ๆ ก็เช่นกัน ใส่ถุง ๗ บาท และผมเลยแนะนำให้เปิดขายไปถึงเย็นเลย คนมาวัด มาสวนกาญจนาภิกเษก จะได้อยู่ริมชิมแทนมื้อเย็นไปเลย ได้ร้านอาหารไปแล้วหนึ่งร้าน ของดีราคาถูก และอร่อยมาก หรือมาก ๆ
            เลี้ยวเข้าซอย ๑๕  แล้วผ่านร้านก๋ยวเตี๋ยวผู้กำกับไปแล้ว ก็วิ่งตรงต่อไปนิดเดียว ก็เข้าทางด้านหลังของวัด หากจะไปหน้าวัดต้องมาทางเรือ หรือเมื่อเข้าประตูหลังวัดไปแล้ว ให้อ้อมทางขวาจะไปยังหน้าวัด ซึ่งเป็นสวนไม้ร่มรื่น และมีอุทยานมัจฉาอยู่หน้าวัด รวมทั้งมีอาหารปลาของวัดไว้จำหน่ายด้วย
            เส้นทางที่ ๒  ไปตามถนน บางกรวย - ไทรน้อย  แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนท่าน้ำ - นนทบุรี ตามป้ายต่อไปก็ไปยังวัดได้ ซึ่งการมาบางกรวยจะเริ่มต้นตั้งแต่ข้ามมาจากสะพานพระราม ๗ ก็ได้
            เส้นทางที่ ๓  เส้นทางนี้ผมทดลองอ้อมมาจากบ้านผม คือ ผมทาตามทางด่วน ๒ ด่วน ก็มาลงถนนที่ผมตั้งชื่อให้ว่าถนนล้านปี คือสร้างมานานเต็มทีแล้ว ตั้งแต่ผมยังรับราชการจนผมปลดเกษียณและจนใกล้จะลงโลงอยู่แล้ว ยังไม่ได่วิ่งบนถนนสายธนบุรี - ปากท่อ หรือถนน "พระราม ๒" อย่างสมบูรณ์เลย ตอนนี้ผมมาทางด่วนข้ามสะพานพระราม ๙  แล้วลงพระราม ๒ หรือถนนล้านปี วิ่งตรงมาเรื่อย ๆ พอผ่านบิ๊กซี ทางซ้ายก็เข้าถนนคู่ขนานมาได้หน่อยหนึ่ง จะมีสะพานข้ามถนนเพื่อข้ามถนนสายนี้ไปสู่ถนนที่ไปยัง "บางแค" ไปบางบัวทอง ไปสุพรรณบุรีได้ สายนี้แหละ หากข้ามสะพานยาวตรงสี่แยกบางแคตรงไปเรื่อย ๆ จนถึงบางใหญ่ จะขึ้นสะพานข้ามถนนกลับมาทางสะพานพระนั่งเกล้าได้ และจะมายังสี่แยกบางพลู ซึ่งจะเลี้ยวขวามายังวัดสวนแก้ว ซ้ำกับเส้นทางที่หนึ่ง
            ทางน้ำ  ผมไปครั้งแรกกับเรือทัวร์ แต่มีเรือหางยาวจากท่าน้ำนนทบุรีออกทุก ๒๐ นาที ค่าโดยสารคนละ ๒ บาท ตอนนี้น้ำมันแพงไม่รู้ว่าขึ้นราคาหรือเปล่า แต่หากมีรถไปสะดวกกว่า ไม่มีรถก็ต่อรถเมล์ไปถึงท่าเรือนนทบุรีแล้วลงเรือหางยาวไปสะดวกเช่นกัน
            บอกเส้นทางไปร้านอาหารช่อขนุนไว้เสียเลย เมื่อมาจากถนนพระราม ๒ พอข้ามสะพานที่ข้ามถนนเพชรเกษม จะมองเห็นเดอะมอลอยู่ทางขวา พอลงสะพานก็เข้าถนนคู่ขนานวิ่งผ่านปั๊มน้ำมัน พอถึงสะพานกลับรถ จะเห็นป้าย เห็นร้านช่อขนุนอยู่ทางซ้ายมือ จอดรถสะดวก ร้านจัดเก๋ นั่งสบาย มีทั้งห้องแอร์
และนั่งรับลมร้อนก็ได้ ห้องสุขาแจ่มแจ๋ว อะไรอร่อยเดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟัง

            กลับมายังวัดเฉลิมพระเกียรติ บอกเส้นทางให้หมดแล้วทั้งรถ และเรือ
            วัดเฉลิมพระเกียรติ  เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ใต้ตลาดขวัญ
            วัดนี้มีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๖ เมตร ยาว ๔๐ เมตร หน้าวัดหันไปทางทิศตะวันออก มีความยาว ๑๘๖ เมตร ติดแม่น้ำเจ้าพระยา วัดมีเนื้นที่ ๒๔ ไร่เศษ แบ่งออกเป็น ๓ เขต คือ เขตพุทธาวาส  เขตสังฆาวาส และเขตนอกกำแพงวัด "เขตนอกกำแพงวัดนี้"  จะดูคล้ายกับกำแพงเมืองโบราณ ซึ่งจะประกอบด้วย ศาลาน้ำสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และมีศาลาแดงอีก ๑ หลัง สาเหตุที่มีลักษณะเป็นกำแพงเมืองโบราณ ก็เพราะว่าเดิมคือ ป้อมเก่าริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
            เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๐  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๗  ได้สถาปนาสมเด็จพระราชชนนี แห่งพระองค์ท่านขึ้นเป็น "กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย"  ต่อมาทรงมีพระราชดำริว่า บริเวณป้อมทับทิมเก่าฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านตะวันตกนั้น เป็นนิวาสสถานเดิมแห่งอัยกาพระอัยกี ทั้งเป็นสถานที่ประสูติของกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัยพระราชชนนี จึงสมควรสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงขึ้นสักแห่งหนึ่ง จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เป็นแม่กองสร้างวัดขึ้นบริเวณนั้น และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างกำแพงเมือง และป้อมปราการก่ออิฐถือปูนรอบวัด มีใบเสมาทำนองเดียวกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า "วัดเฉลิมพระเกียรติ"
            การสร้างวัดเฉลิมพระเกียรตินี้ได้อนุรักษ์รูกแบบเดิมเอาไว้ แม้สิ่งก่อสร้างที่ร่วมสมัยนั้น ก้ได้สร้างให้กลมกลืนกับสถาปัตยกรรมเดิม จึงทำให้วัดเฉลิมพระเกียรติได้รัยรางวัล "อาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๓๖ จากสมาคมสถาปนิกสยาม"
            พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปทรงก่อพระฤกษ์พระอุโบสถ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๙๐
            วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๓  โปรดเกล้าให้อาราธนา พระประชาเฉลิม (เกษ) กับพระฐานานุกรมวัดอรุณราชวราราม ลงเรือแห่ไปจำพรรษา ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ ในวันต่อมาโปรดเกล้า ฯ บำเพ็ญพระราชกุศลพระสงฆ์ขึ้นกุฏิใหม่ที่ทรงสร้างจำนวน ๕๓ หลัง
            พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ แต่เมื่อทรงพระประชวนก็ห่วงการก่อสร้าง จึงได้มีพระดำรัสขอเงินจากท้องพระคลังจากพระเจ้าอยู่หัวองค์ต่อไป ๑ หมื่นชั่ง เพื่อนำมาสร้างวัดให้แล้วเสร็จ
            พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔  ได้ทรงสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติจนแล้วเสร็จตามพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๓ และยังโปรดให้ปิดทองพระประธานในพระอุโบสถ ไปพระราชทานพระกฐิน โปรดให้แห่พระบรมธาตุขึ้นไปบรรจุไว้ในเจดีย์ และให้แห่พระศิลา ๓ องค์ จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปประดิษฐานในพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติ
            ในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕  โปรดให้อาราธนาพระปรีชาเฉลิม (แก้ว) ไปเป็นเจ้าอาวาสวัด แต่ในตอนนั้น (พ.ศ. ๒๔๓๑) กุฏิสงฆ์ทรุดโทรมมากจนเจ้าอาวาสต้องพักอยู่ในพระอุโบสถ จึงพระราชทานเงิน ๑๑๕ ชั่ง เพื่อสร้างกุฏิใหม่สำหรับพระสงฆ์ และได้จัดตั้งโรงเรียนธรรมและบาลีขึ้นในยุคนี้
            ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ  ทรงบริจาคทรัพย์ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัด และเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๔ พระบาทสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้นำเสด็จเจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเคนท์ เสด็จพระราชดำเนินลอยพระประทีป ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ
            สิ่งสำคัญภายในวัด.-
            หากเข้าทางประตูหลังวัด เมื่อจอดรถแล้วจะมองเห็น "มอ" หรือน่าเรียกว่าภูเขาหิน ที่สร้างขึ้นให้เหมือนเขา มีต้นไม้ มีน้ำตก มีถ้ำลอด กล่าวว่าเป็น "มอ" ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเลยทีเดียว อยู่ทางด้านซ้าย


            พระบรมธาตุเจดีย์  ด้านหลังพระอุโบสถ
            พระอุโบสถ  เป็นสถาปัตยกรรมไทยปนจีนตามแแบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี่สลับลวดลายดอกพุดตาน บานประตูหน้าต่างด้านในภาพเขียนสีฝุ่นด้านนอกเขียนลายรดน้ำ ภาพตราแผ่นดิน พระประธานปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ ปิดทองแล้ว) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามว่า "พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา"
            พระวิหาร  เรียกว่าพระวิหารศิลาขาว องค์พระพุทธรูปประดิษฐานอยู่บนบุษบกไม้สัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจก มีลวดลายวิจิตรอ่อนช้อยงดงามยิ่ง
            พระเจดีย์  เป็นเจดีย์ทรงกลม ปรือทรงระฆัง
            การเปรียญหลวง  เป็นอาคารผสมผสานระหว่าอาคารทรงไทย กับเครื่องบนหลังคาแบบจีน
            กำแพงและป้อมปราการ  เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน มีใบเสมา มีป้อมปราการทั้ง ๔ มุม มีความสำคัญคือ เป็นสถานที่พักกองทัพจัดขบวนทัพ แลพประกอบพิธีกรรมในการยกทัพ เท่าที่พบหลักฐานมีถึง ๙ ครั้ง เช่นในการยกทัพไปตีเชียงตุง ยกทัพไปปราบฮ่อ เป็นต้น
            กุฏิไทยมี ๒๐ หลัง เป็นเรือนไทยภาคกลาง ทรงมะลิลา ใต้ถุนสูง ศิลปะแบบไทย

            อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก  อยู่ติดกับวัด กรมธนารักษ์สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติ ๕๐ ปี  ได้สร้างอย่างประณีตบรรจง ใช้เวลาในการก่อสร้างถึง ๕ ปี จึงแล้วเสร็จ ซึ่งจะประกอบด้วย อาารที่เป็นจุดเด่นที่สุดของสวนคือ "วิมานสราญนวมินทร์" ริมน้ำมีอาคารพลับพลาโถง จตุรมุขรับเสด็จ มีเรือนไทย และการตกแต่งต้นไม้ ตลอดจนคูน้ำลำธารภายในสวนนี้งดงามอย่างยิ่ง ไปเที่ยวตอนเย็นจะเหมาะที่สุด ส่วนผมไปผิดเวลาไปหน่อยหนึ่งคือ ไปตอนเที่ยงเลยชมยังไม่จุใจ
            ทีนี้ร้านอาหาร ช่อขนุน ผมได้บอกทิศทางไปให้แล้ว หากไปจากวัดเฉลิมพระเกียรติก็ต้องวิ่งกลับมาจนมาขึ้นถนนสาย สุพรรณบุรี - พระราม ๒ พอเห็นเดอะมอลอยู่ทางซ้ายมือ ก็หาทางกลับรถไปยังฝั่งถนนอีกด้านหนึ่ง ซึ่งได้บอกแล้ว่วาร้านช่อขนุนนั้นอยู่ตรงข้ามเดอะมอล (ด้านข้าง) ตรงสะพานกลับรถ โทร ๘๐๔ ๑๐๔๙ - ๙
            อาหารอร่อยเท่าที่พุงจะรับไหวในการไปชิมครั้งนี้คือ.-
            กุ้งทอดราดครีมสลัด  รายการนี้อย่าให้ขาด ต้องสั่ง เพราะใช้กุ้งใหญ่ ๔ ตัว ชุบแป้งแล้วเอาไปทอดกรอบนอกนุ่มใน มีผักสลัดราดด้วยนำสลัดวางเคียง ผักสด กรอบ น้ำสลักเข้มข้นออกรสหวาน กุ้งเนื้อแน่นหนึบ
            กุ้งสะดุ้งคะน้ากรอบ  เขาคิดขึ้นมาเอง ร้านอื่นเขามีหมูสะดุ้ง ปลาสะดุ้ง ทำนองนั้น ร้านนี้เอากุ้งสะดุ้ง ใช้กุ้งนางเผาผ่าซีก แนมด้วยก้านคะน้าเขียวสด แช่เย็นจนกรอบและกระเทียมโทนวางเคียง
            สตูว์ไก่อบ  หากมีเด็กต้องสั่ง มีแต่ผู้ใหญ่ก็น่าสั่ง ราคข้าวเหยาะน้ำปลาพริกถ้วยโปรด เด็ดนัก
            อ้อส่วนกรอบ  คงไม่ค่อยจะได้ยินกันนัก ทอดแป้งกรอบ เสริฟมาในกะทะร้อน
            ข้าวอบบัวหลวง  เอาข้าวไปผัดแล้วมาอบห่อใบบัวหอมกรุ่นทั้งกลิ่นข้าวและกลิ่นใบบัว กลัวฝืดคอให้สั่งแกงต้มส้มปลากระบอก ปิดท้ายด้วยบัวลอยน้ำขิง หวานหอม ซดร้อน ๆ ชื่นใจ

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |

วัดเฉลิมพระเกียรติฯ: ข้อมูลวัดเฉลิมพระเกียรติฯ ท่องเที่ยววัดเฉลิมพระเกียรติฯ ข้อมูลเที่ยววัดเฉลิมพระเกียรติฯ


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์