ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย> ศาสนาในประเทศไทย



หลักการอิสลาม
            หลักการอิสลามแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ ได้สองส่วนคือ
            หลักการอันเป็นข้อบังคับสำหรับบุคคล (ฟัรดูอัยนีย์) มุสลิมทุกคนต้องรู้และประพฤติปฏิบัติ โดยเริ่มตั้งแต่อายุเจ็ดขวบเป็นต้นไป แบ่งออกเป็นสามส่วนคือ หลักศรัทธา (อีมาน) หลักปฏิบัติ (อิสลาม) และหลักคุณธรรม (อิฮซวาน) หลักการทั้งสามส่วนนี้ผู้นับถืออิสลามทั้งที่สืบทอดจากบิดามารดามาแต่เดิมหรือเพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่ก็ตาม จำต้องศึกษาให้เข้าใจโดยถ่องแท้และสามารถประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดไป
            หลักการอันเป็นข้อบังคับสำหรับสังคม (ฟัรดู กิฟายะฮ์) ได้แก่หน้าที่ต่าง ๆ ทางสังคม นับตั้งแต่หน่วยเล็กที่สุดคือครอบครัวจนถึงสังคมที่ใหญ่ที่สุดคือประเทศชาติ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการเก็บภาษี การจัดการกองทัพ การบริหารประเทศ การทูต ฯลฯ เป็นส่วนหนึ่งในคำสอน
                หลักศรัทธา (อีมาน) อิสลามได้กำหนดไว้เป็นบทแรกแห่งการนับถือ บุคคลจะต้องเริ่มต้นด้วยการศรัทธาจะเป็นประการสำคัญมีหกหัวข้อคือ
                    ศรัทธาในพระเจ้า  ซึ่งเรียกว่าอัลเลาะฮ์ ซึ่งมีลักษณะความสมบูรณ์เช่น ทรงมีอย่างแน่นอนไม่มีข้อสงสัย ทรงมีมาก่อนสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงนิรันดรภาพ ทรงดำรงอยู่เองไม่อาศัยปัจจัยเงื่อนไขและที่พึ่งใด ๆ ทรงเอกานุภาพไม่มีสิ่งใดเป็นภาคี ทรงผิดแปลกกับสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงอานุภาพเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง ทรงชีวิตอันอมตะ ทรงได้ยิน ทรงมองเห็น ทรงบัญชา ทรงมุ่งหมาย และทรงรอบรู้
                    ศรัทธาในมลาอีกะฮ์  มลาอิกะฮ์เป็นสรรพสิ่งชนิดหนึ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นในธาตุพิเศษเป็นธาตุฝ่ายวิญญาณ ซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถสัมผัสได้ ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งพระเจ้าอย่างเคร่งครัด มีจำนวนมากมายมหาศาล เท่าที่มีรายชื่อและหน้าที่เฉพาะมีอยู่สิบมลาอิกะฮ์คือ
                        ๑. ยิบรออีล  ทำหน้าที่สื่อบัญญัติของพระเจ้ากับนบี
                        ๒. มีกาอีล  ทำหน้าที่นำโชคลาภจากพระเจ้าสู่โลก
                        ๓. อิสรอพิล  ทำหน้าที่เป่าสังข์ในวันสิ้นโลก
                        ๔. อิสรออิล  ทำหน้าที่ถอดวิญญาณมนุษย์และสัตว์
                        ๕. รอกีบ  ทำหน้าที่บันทึกความดีและความชั่วของมนุษย์
                        ๖. อะติด  ทำหน้าที่บันทึกความดีและความชั่วของมนุษย์
                        ๗. มุงกัร  ทำหน้าที่สอบถามคนตายในกุบูร (หลุมฝังศพ)
                        ๘. นะกีร  ทำหน้าที่สอบถามคนตายในกุบูร (หลุมฝังศพ)
                        ๙. ริดวาน  ทำหน้าที่กิจการของสวรรค์
                        ๑๐. มาลิก  ทำหน้าที่ดูแลกิจการของขุมนรก
                    ศรัทธาในนบี  มุสลิมมีศรัทธาว่า โลกมนุษย์ในแต่ละยุคที่ผ่านมานับแต่ยุคแรกคือ อาดัมนั้นจะต้องมีนบี หรือศาสนทูต เป็นผู้รับบทบัญญัติของพระเจ้ามาประกาศ เพื่อปฏิบัติจำนวนนบีที่เผยแพร่บทบัญญัติของพระเจ้ามีจำนวนมากมาย ลักษณะคำประกาศของแต่ละนบีย่อมผิดแปลกไปตามยุคตามสมัย แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกนบีประกาศออกมาเหมือนกันคือ ความเชื่อในพระเจ้าเดียวและห้ามกราบไหว้บูชาวัตถุโดยสิ้นเชิง
                    บรรดานบีที่รับบทบัญญัติจากพระเจ้ามาเผยแพร่เท่าที่มีปรากฏในอัลกุรอ่าน มีทั้งสิ้น ๒๕ ท่านคือ
                        ๑. อาดัม  ๒. อิบรอฮิม  ๓. อิสฮากร์  ๔. ยากูฟ  ๕. นัวฮ์  ๖.ดาลูด  ๗. สุไลมาน  ๘.ไอยยูฐ  ๙.ยูซุบ  ๑๐. มูซา (โมเสส)  ๑๑.ฮารูฯ  ๑๒. ซาการียา  ๑๓. ยาห์ยา  ๑๔. อีซา (เยซู) ๑๕. อินยาส  ๑๖. อิสมาอีล  ๑๗. อัลย่าซะอ์  ๑๘. ยูนุส  ๑๙. ลูด  ๒๐. อิดรีส  ๒๑. ฮูด  ๒๒.ซู่ไอย์  ๒๓. ซอและห์  ๒๔. ซุลกิฟลี่  ๒๕. นบีมูฮำมัด (ซ.ล.)
                    บรรดานบีทุกท่านเป็นมนุษย์ธรรมดา จึงดำรงชีวิตแบบคนทั่วไป สาเหตุที่พระเจ้าเลือกคนธรรมดาขึ้นมาเป็นนบีเพราะความเป็นนบีหมายถึง การเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตามคำสอนของตนที่ได้รับมาจากพระเจ้า ทุกสิ่งที่นบีสอนผู้อื่นท่านก็จะปฏิบัติสิ่งนั้นด้วยคำสอนที่สอนออกไป จึงเป็นกฎหมายที่ท่านต้องปฏิบัติตาม เพราะสิ่งที่ท่านสอนก็คือบทบัญญัติที่พระเจ้าให้ผ่านมาทางท่านนั่นเอง
                    ศรัทธาในคัมภีร์  สิ่งที่พระเจ้าบัญญัติมาจะแบ่งได้เป็นสองแบบคือ เป็นคัมภีร์ฉบับสมบูรณ์ (กิตาบ) เป็นคำแถลงการณ์ (ซุฮุบ) คัมภีร์ที่เป็นฉบับสมบูรณ์ มีดังต่อไปนี้
                        ๑. ซะบูร  นบีดาวุด  เป็นผู้รับบทบัญญัติและเผยแพร่
                        ๒. เตารอด  นบีมูซา  เป็นผู้รับบทบัญญัติและเผยแพร่
                        ๓. อันยีล  นบีอีซา  เป็นผู้รับบทบัญญัติและเผยแพร่
                        ๔. กุรอาน  นบีมูฮำมัด  เป็นผู้รับบทบัญญัติและเผยแพร่
                    มีบทบัญญัติที่ไม่เป็นคัมภีร์ฉบับสมบูรณ์แต่เป็นเพียงคำแถลงการณ์ซึ่งเผยแพร่ออกมาตามวาระต่าง ๆ คือโดยนบีซีซ มี ๖๐ ฉบับ โดยนบีอิบรอฮิม มี ๓๐ ฉบับ และโดยนบีอีซา จำนวน ๑๐ ฉบับ
                    คัมภีร์ฉบับสุดท้ายอันประมวลความสมบูรณ์และใช้อยู่จนถึงวันสิ้นโลกคือคัมภีร์กุรอาน ประกาศโดยท่านนบีมมูฮัมมัด
                คัมภีร์กุรอาน  มิใช่เป็นเพียงคัมภีร์ทางศาสนาที่มีบทสวดมนต์หรือคำสอนทางความเชื่อ หรือทางศีลธรรมโดยเฉพาะ แต่เป็นคัมภีร์ที่ประมวลเรื่องราวต่าง ๆ ไว้มีบทบัญญัติต่าง ๆ ประมาณ ๖๖๐๐ บทบัญญัติ แบ่งออกเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักความเชื่อ พิธีการทางศาสนา ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การปกครอง การแพทย์ การคำนวณ วิทยาศาสตร์ กฎหมาย การทูต สังคม วัฒนธรรม บทขอพร และหลักศีลธรรม เป็นต้น
                มุสลิมถือว่า กุรอานเป็นธรรมนูญชีวิตของทุกคน การกระทำทั้งหลายจะต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติของกุรอาน มุสลิมจะอ่านกุรอานเป็นประจำ แม้ไม่ได้เข้าใจความหมาย แต่ทุกคนถือเป็นหน้าที่ต้องอ่าน เพื่อเตือนตัวเองให้สำนึกถึงความสำคัญของกุรอานที่มีต่อการดำเนินชีวิต โดยจะอ่านให้จบทั้ง ๖,๖๐๐ กว่าบทบัญญัติ อย่างน้อยปีละครั้ง
                เนื้อความของกุรอานเป็นธรรมนูญสูงสุดของมุสลิม กฎหมายหรือบทบัญญัติอื่นใดไม่สามารถหักล้างได้ มุสลิมเชื่อว่านบีมูฮำมัดไม่ได้เขียนกุรอ่านขึ้นเอง เพราะท่านอ่านหนังสือไม่ออก และคนอาหรับในสมัยนั้นไม่มีผู้ใดมีความรู้ในสาขาต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในกุรอานจึงต้องมาจากการไขความ (วิวรณ์) ของพระเจ้า และจากยุคของท่านนบีจนถึงปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดสามารถแต่งประโยคที่มีสัมผัสภาษาและให้ความหมายที่ใกล้เคียงกับกุรอาน
                ศรัทธาในโลกหน้า  อิสลามสอนเรื่องของโลกหน้าว่ามีจริง มุสลิมทุกคนต้องเชื่อมั่นการมีโลกหน้าจะเกิดหลังการแตกดับของโลกปัจจุบันนี้เสียก่อน  การที่โลกนี้จะแตกดับ ท่านนบีได้พยากรณ์ไว้หลายอย่าง เช่น จะเกิดปัญหาหมอกควัน จะเกิดสงครามมากมาย จะเกิดการอ้างตัวเป็นนบีปลอม จะแข่งขันในการสร้างอาคารสูง ๆ  จะแข่งขันในการสร้างมัสยิด จะมีการผิดประเวณีกันแพร่หลาย จะมีการดื่มสุราอย่างแพร่หลาย และผู้นำจะขาดคุณธรรม
                ศรัทธาในลิขิตของพระเจ้า มุสลิมต้องศรัทธากำหนดการต่าง ๆ ในโลก และชีวิตแต่ละคนนั้นเป็นไปโดยอำนาจของพระเจ้า มนุษย์จะต้องปฏิบัติตามครรลองที่ถูกกำหนดไว้แล้ว การดิ้นรนขวนขวายอุตสาหวิริยะของมนุษย์ดำเนินอยู่ภายใต้ข้อกำหนดดังกล่าว
                หลักปฏิบัติ (อิสลาม)  ผู้นับถืออิสลามทุกคนจะต้องถือเป็นหน้าที่และกิจวัตรจะขาดไม่ได้ การปฏิบัติเบื้องต้นอันเป็นพื้นฐานแรกนั้นแบ่งออกได้เป็นห้าประการคือ
                    ปฏิญาณตน  การปฏิญาณตนเข้ารับนับถืออิสลามนั้นให้ปฏิญาณในความเชื่อที่มีต่อพระเจ้าและต่อนบี โดยกล่าวออกมาเป็นวาจาจากความเชื่อมั่น และพร้อมที่จะปฏิบัติตามคำสอน ข้อความที่กล่าวคือ
                    "ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะฮ์ และข้าพเจ้าปฏิญาณตนว่า นบีมูฮำมัดเป็นศาสนทูตแห่งอัลเลาะฮ์"
                    เมื่อผู้ใดกล่าวด้วยสำนึกอันจริงใจและด้วยความศรัทธาอันมั่นคงและพร้อมที่จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลาม ก็ถือว่าเป็นมุสลิมแล้ว จากนั้นก็จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับอื่น ๆ เช่น การขลิบปลายผิวหนังส่วนนอกที่หุ้มปลายอวัยวะเพศ การทำความสะอาด การทำนมัสการ การบริจาคทาน และอื่น ๆ
                    ผู้เข้าอิสลามบางคนที่เข้าโดยเงื่อนไขของการแต่งงานกับมุสลิม มักเข้าใจว่า การกล่าวข้อความปฏิญาณเป็นเพียงเงื่อนไขในการแต่งงาน จึงคิดว่าเมื่อผ่านพิธีปฏิญาณแล้วก็แล้วกัน ตนไม่ต้องสนใจคำสอนอิสลามแล้ว ปล่อยตัวตามสภาพเดิม การกระทำดังกล่าวไม่เรียกว่าเป็นมุสลิม
                    ทำละหมาด  คือการนมัสการต่อพระเจ้า ต้องทำเป็นประจำในหลายวาระคือ
                        - รอบวัน  ให้ทำวันละ ๕ ครั้งคือเวลาเช้าตรู่ (ซุบฮ์) ๒ รอกะอัต  เวลาบ่าย (ซุฮุร) ๔ รอกะอัต  เวลาเย็น (อัสริ) ๔ รอกะอัต เวลาพลบค่ำ (มักริบ) ๓ รอกะอัต และเวลากลางคืน (อิซา) ๔ รอกะอัต
                        - รอบสัปดาห์  ให้รวมกันทำในวันศุกร์ ณ มัสยิด จำนวน ๒ รอกะอัต
                        - รอบปี  ให้ทุกคนมาละหมาด ณ มัสยิดหรือสถานชุมนุมซึ่งมีสองครั้งคือ
                        - ละหมาดเมื่อสิ้นเดือนถือศีลอด (อีดิลพิตร์) เรียกว่า วันออกบวช จำนวน ๒ รอกะอัต
                        - ละหมาดในวันเชือดสัตว์พลีทานเนื่องในเทศกาลฮัจยี (อีดิลฮัดฮา) ซึ่งเรียกว่า วันออกฮัจยี จำนวน ๒ รอกะอัต
                        - ตามเหตุการณ์  เมื่อเกิดเหตุการณ์บางประการให้ทำละหมาดด้วย เช่น
                        - ทำละหมาดขอพรแก่ผู้ตายก่อนนำไปฝัง เรียกว่า ละหมาดยานาซะฮ์
                        - ทำละหมาดขอฝนในยามแห้งแล้ง เรียกว่า ละหมาดอิสติกออ์
                        - การทำละหมาดในกลางคืนของเดือนถือศีลอด จำนวน ๒๐ กอระอัต เรียกว่า ละหมาดตารอวีห
                        - ทำละหมาดระลึกถึงพระเจ้าเมื่อเกิดเหตุผิดปกติทางธรรมชาติคือเมื่อเกิดจันทรุปราคา เรียกว่า คุซูฟุลกอมัร จำนวน ๒ รอกะอัต และเมื่อเกิดสุริยุปราคา เรียกว่า กุซูฟุซซัมซี จำนวน ๒ รอกะอัต
                        - ทำละหมาดขอต่อพระเจ้าให้ชี้ทางเลือกในการประกอบการงานต่าง ๆ เรียกว่า ละหมาดอิสติคงเราะย์ จำนวน ๒ รอกะอัต
                        นอกจากนี้ยังมีละหมาดอื่น ๆ อีกที่ปรากฏในตำราศาสนาโดยตรง และการละหมาดยังส่งเสริมให้กระทำโดยไม่ต้องรอวาระ ทำเมื่อระลึกถึงพระเจ้า กระทำครั้งละ ๒ รอกะอัตและทำได้เรื่อยไป เรียกว่า ละหมาดสนัตมุตลัก
            วิธีทำละหมาด  เริ่มด้วยการชำระร่างกายให้สะอาด และอาบน้ำละหมาดตามแบบดังนี้คือ ตั้งใจว่าจะอาบน้ำละหมาด ล้างมือให้สะอาด บ้วนปาก และล้างรูจมูกให้สะอาด ล้างหน้าให้สะอาด ล้างมือจรดข้อศอก เช็ดศีรษะ เช็ดหู ล้างเท้า ทำไปตามลำดับ เสร็จแล้วให้สวมเสื้อผ้าที่สะอาด โดยผู้ชายต้องปิดระหว่างสะดือกับหัวเข่า ผู้หญิงปิดทั้งร่างยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ แล้วยืนหันหน้าไปทางกิบลัด (กะบะฮุ์ปัยตุลเลาะฮ์) ด้วยใจสงบมุ่งตรงต่อพระเจ้า แล้วทำดังนี้
                        - ตั้งเจตนาอันแน่วแน่
                        - ยกมือจรดระดับบ่าพร้อมทั้งกล่าวตักบีร (กล่าวอัลลอฮูฮักบัร แปลว่า อัลเลาะฮ์ยิ่งใหญ่ที่สุด) แล้วยกมือลงมากอดอก
                        - ยืนตรงในท่าเดิมพร้อมกับอ่านบางบทจากกุรอานคือแม่บทฟาติฮะห์และบทอื่น ๆ ตามต้องการ
                        - ก้มลงใช้มือทั้งสองข้างจับหัวเข่าไว้ ศีรษะทำแนวตรงกับสันหลัง ไม่ห้อยลงและไม่เงยขึ้น พร้อมกับอ่านว่า "ซุบฮานะริบบิยันอะซีมวะบิฮันดิฮ" สามครั้งเป็นอย่างน้อย
                        - เงยหน้ามาสู่ที่ยืนตรงพร้อมทั้งกล่าวว่า "สมิอัลลอฮุลิมันฮะมิดะฮ์รอบบะนาละกัลฮั้นดุ"
                        - ก้มลงกราบโดยให้หน้าผากและจมูกจรดพื้น มือวางแนบพื้นในระดับบ่า หัวเข่าทั้งสองวางบนพื้น และปลายนิ้วเท้าสัมผัส
กับพื้น พร้อมกับอ่านว่า "ซุบฮานะรอบบิยัลอะฮ์ลาวะบิฮัมดิฮี" สามครั้งเป็นอย่างน้อย
                        - ลุกขึ้นมานั่งพักพร้อมกับอ่านบทขอพร
                        - ก้มลงกราบครั้งที่สองเช่นเดียวกับครั้งแรก การกระทำตามลำดับดังกล่าวถือว่าหนึ่งรอกะอัต
                        - จากนั้นขึ้นมายืนตรง แล้วย้อนกลับไปเริ่มต้นทำตามลำดับที่กล่าวแล้ว และในรอกะอัตที่สอง  ให้กระทำดังนี้คือ เมื่อขึ้นจากการกราบครั้งที่สอง ให้นั่งพร้อมกับอ่าน ตะฮียะฮ์ หากละหมาดนั้นมีเพียงสองรอกะอัต ก็ไม่ต้องลุกไปทำรอกะอัตต่อไป แต่ถ้าเป็นละหมาดที่มี ๓ - ๔ รอกะอัต ก็ให้ลุกขึ้นทำตามลำดับดังกล่าว ครบครบจำนวน
                        - ให้สลาม คืออ่านว่า อัสลามุอะลัยกุม วะเราะห์มะตุลลอฮ์ พร้อมกับเหลียวไปทางขวา และว่าอีกครั้ง พร้อมทั้งเหลียวไปทางซ้าย จากนั้นให้ยกมือขวาขึ้นลูบหน้า เป็นอันเสร็จพิธี


 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์