ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย> ศาสนาในประเทศไทย


ศาสนาคริสต์

ประวัติความเป็นมา

            ศาสนาคริสต์ มีกำเนิดมาจากพระเจ้า  เริ่มมีมาตั้งแต่มนุษย์คู่แรกในโลก กาลต่อมาบรรดาลูกหลานสืบต่อ ๆ มา ส่วนใหญ่ต่างหลงลืมพระเจ้า พระเจ้าจึงได้เลือกบุรุษผู้หนึ่ง ชื่อ อับราฮัม ให้เป็นต้นตระกูลของชนชาติหนึ่งชื่อ ฮีบรู หรือยิว หรืออิสราเอล และให้พระเยซูคริสต์ (พระบุตรพระเจ้า) บังเกิดในชนชาตินี้ เพื่อจัดศาสนาของพระองค์ให้ถูกต้องสมบูรณ์
            พระเยซู ได้จาริกสั่งสอนในประเทศปาเลไตน์ หรืออิสราเอล ประมาณสามปี ได้เลือกอัครสาวกสิบสองคน เป็นหลักสืบศาสนาต่อไป โดยมีนักบุญเปโตร (Saint Peter) เป็นหัวหน้า ผู้สืบตำแหน่งนักบุญเปโตร ต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า สมเด็จพระสันตปาปา
            เมื่อพระเยซูคืนชีพ และขึ้นสวรรค์แล้ว คณะอัครสาวก และบรรดาศิษย์ประมาณ ๑๒๐ คน ได้มาชุมนุมสวดภาวนาที่กรุงเยรูซาเลม และในวันเปนเตกอสต์  (วันที่ห้าสิบหลังจากพระเยซูคืนชีพ) เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น.พระจิต ได้ลงมาเหนือทุกคนในห้องประชุมนั้น บันดาลให้ผู้รับพระจิต กลับเป็นคนใหม่ เปี่ยมด้วยความรู้ ความเข้าใจในคำสอนที่ได้รับจากพระเยซู และมีใจร้อนรนกล้าหาญที่จะเป็นพยาน ประกาศยืนยันพระนามของพระเจ้า วันเปนเตกอสต์ นี้ถือเป็นวันกำเนิดของศาสนจักร หรือคริสตศาสนา
            คณะอัครสาวกและสานุศิษย์แพร่คำสอน  เมื่อแพร่คำสอนที่นครเยรูซาเล็ม ระยะหนึ่งแล้ว คณะอัครสาวกก็ได้ถือตามบัญชาของพระเยซู ที่ว่าจงไปสอนนานาชาติทั่วโลก โลกซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในสมัยคริสตกาลนั้น ได้แก่ประเทศต่าง ๆ ในเครือจักรวรรดิ์โรมัน ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม  ก่อนจะแยกย้ายกันไปแพร่คำสอน อัครสาวกได้ย่นย่อข้อความเชื่อพื้นฐานของคริสตศาสนา ไว้ในบทข้าพเจ้าเชื่อ หรือสัญลักษณ์ของอัครสาวก
                นักบุญเปาโล หรือ Saint Paul  ได้เดินทางสั่งสอนตามเกาะ และเมืองริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน เช่น ที่เกาะไซปรัส เมืองมาสิโดเนีย โครินธ์ เอเฟซัส ฯลฯ   ในประเทศกรีซ
                นักบุญเปโตร หรือ Saint Peter  ได้ไปสั่งสอนที่อันติโอ๊ก ซึ่งในสมัยนั้นเป็นนครใหญ่ เป็นเมืองหลวงของซีเรีย และภาคตะวันออกทั้งหมด  และที่เมืองนี้บรรดาศิษย์ติดตามพระคริสต์ได้เรียกตนเองว่า คริสตัง ตามสำเนียงโปร์ตุเกส ซึ่งมาแพร่คำสอนในสมัยอยุธยา ภาษาอังกฤษใช้ว่า คริสเตียน (Christians)
                ประมาณปี ค.ศ.๔๔  นักบุญเปโตรได้ไปสั่งสอนที่กรุงโรม ซึ่งขณะนั้นเทียบได้กับนครหลวงของโลก ได้อยู่เผยแพร่คำสอนอยู่ประมาณ ๒๕ ปี  ทำให้มีผู้กลับใจมากมาย และกรุงโรมได้กลายเป็นศูนย์กลางของคริสตศาสนา จึงได้มีคำโรมันคาทอลิก เกิดขึ้น
            การเบียดเบียนและการกลับใจ  ในระยะสามคริสตศตวรรษแรก คริสตังถูกเบียดเบียนร้ายแรงถึงสิบครั้ง บุคคลเกือบทุกฐานะอาชีพได้เป็น มรณสักขี (Martyr)  คือ สละชีพเป็นศาสนพลี แต่คริสตศาสนาก็แพร่ไปรวดเร็วในจักรวรรดิ์โรมัน ในที่สุด จักรพรรดิ์ คอนสแตนติน ก็ได้ประกาศพระกฤษฎีกาที่เมืองมิลาน เมื่อปี พ.ศ.๓๑๓  ให้ทุกครมีอิสระเสรีที่จะนับถือคริสตศาสนา ทรงมีบัญชาให้คืนวัด และสมบัติต่าง ๆ ที่ริบไปจากพวกคริสตังด้วย
            ต่อมาในคริสตศตวรรษที่ห้า  จักรวรรดิ์โรมันถูกพวกอนารยชน (Bardrians) รุกราน ศาสนจักรก็ต้องพลอยลำบาก เนื่องจากขนบธรรมเนียมอันแข็งกระด้าง และป่าเถื่อนของพวกนั้น บรรดา บิชอป (Bishops) และนักพรต มิสชันนารีได้พยายามกล่อมเกลาชนชาติเหล่านั้น ให้ค่อย ๆ มารับคริสตศาสนา
            ในปี ค.ศ.๔๙๖  โกลวิส  กษัตริย์ชาวฟรังก์ (บรรพบุรุษของชาวฝรั่งเศส) ทรงกลับใจรับศีลล้างบาป พร้อมกับทหารอีก ๓,๐๐๐ คน
            ต่อมาอีกประมาณหนึ่งศตวรรษ พวกวิสิก็อธในสเปน ได้เลิกนับถือเฮเรติกของอาริอุส พวกลอมบาร์ค ในอิตาลีกลับเป็นคริสตัง นักบุญโกลัมบัน และนักบุญคัล ไปแพร่คำสอนในสวิตเซอร์แลนด์ นักบุญโบนิฟาส เผยแพร่คำสอนไปจนสุดแดนป่า ในเยอรมันนี สมเด็จพระสันตปาปาเกรโกรี ส่งบาทหลวงหลายคนไปแพร่คำสอนในอังกฤษ นักบุญปาตริก สอนชาวไอริชให้กลับใจทั้งประเทศ
            ในคริสตศตวรรษที่เก้า ชาวเดนมาร์ค สวีเดน โปแลนด์ บุลกาเรีย รัสเซีย กลายเป็นคริสตังโดยทั่วกัน คริสตศตวรรษที่สิบ พวกนอร์แมน และฮังการี ได้รับความเชื่อ เป็นอันว่ายุโรปทั้งทวีปได้รับคำสอนของคริสตศาสนาแล้ว
            การมิสซัง  หลังจาก วาสโก ดา คามา  พบดินแดนใหม่ในเอเซีย และคริสโตเฟอร์โคลัมบัส พบทวีปอเมริกา ขอบเขตของโลกได้ขยายตัวออกไป ในคณะผู้สำรวจดินแดนใหม่มักมีบาทหลวงคาทอลิก ติดตามไปด้วยเช่น นักบุญ ฟรันซิส เซเวียร์ แห่งคณะเยซูอิต ได้มาแพร่คำสอนในอินเดีย ผ่านแหลมมะละกา  ไปประกาศคำสอนในญี่ปุ่น ทำให้มีผู้สมัครเป็นคาทอลิกหลายหมื่นคน ท่านสิ้นชีพขณะเตรียมตัวเข้าประเทศจีน ในปี ค.ศ.๑๕๕๒
            ในปี ค.ศ.๑๖๒๒ สมเด็จพระสันตปาปาเกรโกรีที่ ๑๕ ได้ตั้งกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ กระทรวงนี้รับภาระทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศมิสซัง คือ ประเทศที่ยังมีคริสตชนแต่น้อย ต่อจากนั้นไม่นานคณะบาทหลวงมิสซัง ต่างประเทศแห่งปารีส ก็ได้ตั้งขึ้น และส่งมิสชันนารีออกแพร่คำสอนยังภาคตะวันออกไกล  ได้มาถึงกรุงศรีอยุธยา เมื่อ ๒๒ สิงหาคม ค.ศ.๑๖๖๒
            สมเด็จพระสันตปาปาบางองค์ในคริสตศตวรรษที่ ๒๐  มีอยู่ห้าองค์ด้วยกันคือ
                สมเด็จพระสันตปาปาปีโอที่ ๑๑  (ค.ศ.๑๙๒๒ - ๑๙๓๙) ปกครองคริสตศาสนจักร ๑๗ ปี ได้เป็นสัมพันธ์ทางการฑูตกับหลายประเทศ ในปี ค.ศ.๑๙๒๙ ได้ลงนามในสนธิสัญญาลาตวัน ระหว่างรัฐวาติกัน กับรัฐบาลอิตาลี  โดยสนธิสัญญาฉบับนี้รัฐบาลอิตาลี ยอมรับรู้อธิปไตยเหนือสมบัติฝ่ายโลก  ของพระสันตปาปาที่ถูกยึดไปในปี ค.ศ.๑๘๗๐ รัฐบาลใหม่วาติกันประกอบด้วยวังวาติกัน  มหาวิหารนักบุญเปโตร และสถานที่ทางศาสนาทั้งในและนอกกรุงโรม ได้ประกาศสารหลายฉบับ เช่น เรื่องการอบรมเด็ก และการศึกษา การแต่งงาน และปัญหาสังคม
                สมเด็จพระสันตปาปาปาปีโอที่ ๑๒  (ค.ศ.๑๙๓๙ - ๑๙๕๘) ทรงชี้ให้เห็นสันติภาพตามความยุติธรรม
                สมเด็จพระสันตปาปา ยอห์นที่ ๒๓  (ค.ศ.๑๙๕๘ - ๑๙๖๓) ทรงประกาศเรียกประชุมสังคายนาสากลวาติกันที่ ๒ ซึ่งเปิดสมัยแรก วันที่ ๑๑ ตุลาคม ค.ศ.๑๙๖๒ ปิชอปแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมด้วย ทรงนิพนธ์สารฉบับที่ได้รัยยกย่องจากนักสังคมศาสตร์ทั่วโลกคือ มาแตร์ แอต มายิสตรา เตือนโลกให้เผชิญกับสถานการณ์ปัจจุบัน
                สมเด็จพระสันตปาปา เปาโลที่ ๖  (ค.ศ.๑๙๖๓ - ๑๙๗๘) ได้ดำเนินการประชุมสังคายนาต่อในสมัยประชุมที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ ปิดเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๖๕ ได้เสด็จออกนอกประเทศอิตาลี ครั้งแรก ในปี ค.ศ.๑๙๖๔ เสด็จเยือนดินแดนศักดิ์สิทธิ์ (อิสราเอล) ทรงพบกับพระสังฆัยกาอเธนาโกรัส (ออร์โธดอกษ์) แห่งอิสตันบูล ครั้งที่สอง ในปี ค.ศ.๑๙๖๔ เสด็จบอมเบย์ในงานชุมนุมเคารพศีลมหาสนิทสากล ครั้งที่ ๓๘ ครั้งที่สามเสด็จสมัชชาใหญ่สหประชาชาติที่นครนิวยอร์ค เมื่อปี ค.ศ.๑๙๖๕ ทรงวิงวอนให้ทุกชาติหันหน้าเขาหากัน เลิกสะสมอาวุธร้าย เพื่อสันติของโลก
                สมเด็จพระสันตปาปา ยอห์นปอลที่ ๒  เป็นชาวโปแลนด์ ประกอบพิธีอภิเษก เมื่อปี พ.ศ.๑๙๗๘ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ เจริญรอยตามทสมเด็จพระสันตปาปาองค์ก่อน
            ศาสนสถาน  ในเขตมิสซัง ทั้ง ๑๐ เขต มีดังนี้
                เขตมิสซังกรุงเทพ ฯ  ระดับโบสถ์ มี ๓๖ แห่ง อยู่ในกรุงเทพ ฯ ๑๗ แห่ง จังหวัดสมุทรปราการ ๒ แห่ง นนทบุรี ๒ แห่ง สมุทรสาคร ๑ แห่ง นครปฐม ๓ แห่ง สุพรรณบุรี ๑ แห่ง ปทุมธานี ๑ แห่ง นครนายก ๒ แห่ง อยุธยา ๕ แห่ง ฉะเชิงเทรา ๒ แห่ง
                    ระดับที่พักสอนศาสนา  ๗ แห่ง อยู่ในกรุงเทพ ฯ ๓ แห่ง จังหวัดนครปฐม ๑ แห่ง ปทุมธานี ๒ แห่ง ฉะเชิงเทรา ๑ แห่ง
                เขตมิสซังราชบุรี  ระดับโบสถ์ใหญ่  มี ๑๓ แห่ง อยู่ในจังหวัดราชบุรี ๙ แห่ง สมุทรสงคราม ๒ แห่ง กาญจนบุรี ๒ แห่ง
                    ระดับโบสถ์น้อย  มี ๑๐ แห่ง อยู่ในจังหวัดราชบุรี ๔ แห่ง สมุทรสงคราม ๔ แห่ง กาญจนบุรี ๒ แห่ง
                    ระดับที่พักสอนศาสนา  มี ๗ แห่ง อยู่ในจังหวัดราชบุรี ๓ แห่ง เพชรบุรี ๓ แห่ง กาญจนบุรี ๑ แห่ง
                เขตมิสซังจันทบุรี  ระดับโบสถ์ มี ๒๕ แห่ง อยู่ในจังหวัดจันทบุรี ๗ แห่ง ตราด ๑ แห่ง ระยอง ๒ แห่ง ชลบุรี ๖ แห่ง ฉะเชิงเทรา ๓ แห่ง ปราจีนบุรี ๔ แห่ง นครนายก ๒ แห่ง
                    ระดับที่พักสอนศาสนา  มี ๑๖ แห่ง อยู่ในจังหวัดจันทบุรี ๑ แห่ง ตราด ๒ แห่ง ระยอง ๑ แห่ง ชลบุรี ๒ แห่ง ฉะเชิงเทรา ๒ แห่ง ปราจีนบุรี ๗ แห่ง นครนายก ๑ แห่ง
                เขตมิสซังเชียงใหม่  ระดับโบสถ์ใหญ่  มี ๗ แห่ง อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ๒ แห่ง เชียงราย ๓ แห่ง แพร่ ๑ แห่ง ลำปาง ๑ แห่ง
                    ระดับโบสถ์น้อย  มี ๕ แห่ง อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ๔ แห่ง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๑ แห่ง
                    ระดับที่พักสอนศาสนา  มี ๗๓ แห่ง อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ๓๔ แห่ง แม่ฮ่องสอน ๓๔ แห่งเชียงราย ๕ แห่ง
                เขตมิสซังนครสวรรค์  ระดับโบสถ์  มี ๙ แห่ง อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ๑ แห่ง สิงห์บุรี ๑ แห่ง ลพบุรี ๑ แห่ง สระบุรี ๑ แห่ง เพชรบูรณ์ ๓ แห่ง พิษณุโลก ๑ แห่ง สุโขทัย ๑ แห่ง ตาก ๑ แห่ง
                    ระดับที่พักสอนศาสนา  มี ๖ แห่ง อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ๑ แห่ง ตาก ๑ แห่ง เพชรบูรณ์ ๓ แห่ง ลพบุรี ๑ แห่ง
                เขตมิสซังสุราษฎร์ธานี  ระดับโบสถ์  มี ๒๒ แห่ง อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๒ แห่ง ประจวบคีรีขันธ์ ๔ แห่ง ชุมพร ๒ แห่ง นครศรีธรรมราช ๓ แห่ง สงขลา ๔ แห่ง ยะลา ๒ แห่ง นราธิวาส ๑ แห่ง ปัตตานี ๑ แห่ง ตรัง ๑ แห่ง ภูเก็ต ๑ แห่ง ระนอง ๑ แห่ง
                    ระดับที่พักสอนศาสนา  ๒ แห่ง อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑ แห่ง ชุมพร ๑ แห่ง
                เขตมิสซังท่าแร่ - หนองแสง ระดับโบสถ์  มี ๖๓ แห่ง อยู่ในจังหวัดสกลนคร ๓๗ แห่ง นครพนม ๓๐ แห่ง กาฬสินธิ์ ๖ แห่ง
                    ระดับที่พักสอนศาสนา  มี ๑๓ แห่ง อยู่ในจังหวัดสกลนคร ๕ แห่ง นครพนม ๔ แห่ง กาฬสินธิ์ ๔ แห่ง
                เขตมิสซังอุดรธานี  ระดับโบสถ์  มี ๓๙ แห่ง อยู่ในจังหวัดอุดร ๕ แห่ง ขอนแก่น ๘ แห่ง เลย ๓ แห่ง หนองคาย ๒๓ แห่ง
                    ระดับที่พักสอนศาสนา  มี ๑๗ แห่ง อยู่ในจังหวัดอุดร ๓ แห่ง ขอนแก่น ๒ แห่ง เลย ๑ แห่ง หนองคาย ๑๑ แห่ง
                เขตมิสซังอุบลราชธานี  ระดับโบสถ์  มี ๑๘ แห่ง อยู่ในจังหวัดอุบล ฯ ๖ แห่ง ศรีษะเกษ ๖ แห่ง ยโสธร ๔ แห่ง ร้อยเอ็ด ๑ แห่ง มหาสารคาม ๑ แห่ง
                    ระดับโบสถ์น้อย  มี ๑๓ แห่ง อยู่ในจังหวัดอุบล ฯ ๘ แห่ง ยโสธร ๑ แห่ง ศรีษะเกษ ๓ แห่ง ร้อยเอ็ด ๑ แห่ง
                    ระดับที่พักสอนศาสนา  มี ๑๕ แห่ง อยู่ในจังหวัดอุบล ฯ ๖ แห่ง สุรินทร์ ๙ แห่ง ศรีษะเกษ ๔ แห่ง ร้อยเอ็ด ๒ แห่ง ยโสธร ๒ แห่ง
                เขตมิสซังนครราชสีมา  ระดับโบสถ์  มี ๑๓ แห่ง อเยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ๙ แห่ง บุรีรัมย์ ๓ แห่ง ชัยภูมิ ๑ แห่ง
                    ระดับที่พักสอนศาสนา  มี ๔ แห่ง อยู่ในจังหวัดนครราชสีมา ๑ แห่ง ชัยภูมิ ๓ แห่ง


 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์