ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย> ศาสนาในประเทศไทย


ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู

ประวัติความเป็นมา

            ในสมัยโบราณ แต่แรกเริ่มศาสนาพราหมณ์ฮินดูนี้เรียกกันว่า สนาตนธรรม หมายถึงธรรมอันเป็นนิตย์ คือไม่สิ้นสุดไม่รู้จักตาย แปลเอาความหมายถึงพระวิษณุ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิษณุธรรม
            ในเวลาต่อมา ศาสนานี้ได้มีชื่อเรียกกันว่า ไวทิกธรรม คือ ธรรมที่ได้มาจากพระเวท ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระวิษณุนั่นเอง
            ในเวลาต่อมา ได้มีผู้ตั้งชื่อศาสนานี้ใหม่ว่า อารยธรรม คือ ธรรมอันดีงามหรือธรรมอันเจริญ
            ต่อมาได้เปลี่ยนไปเรียกกันว่า พราหมณ์ธรรม คือคำสั่งสอนของพราหมณ์ ในสมัยนั้นชนวรรณะพราหมณ์ครองความเป็นใหญ่ มีอำนาจเต็มที่ ผู้ใดไม่เชื่อถือคำสั่งสอนของพราหมณ์ ถือว่ามีโทษหนัก เห็นได้ว่าที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดแท้ที่จริงแล้วก็คือ ธรรมะอันเดียวกัน เพียงแต่เรียกชื่อไปต่าง ๆ กันตามยุคสมัย ตำรับพระเวทยังคงมีอยู่ โดยอยู่ในกำมือของพวกพราหมณ์ โดยเฉพาะพวกพรามหมณ์ผู้มีหน้าที่สาธยาย ท่องบ่น และสั่งสอน ตลอดจนประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ให้แก่ชนในวรรณะของตน
            ศาสดา หรือผู้ตั้งศาสนาพราหมณ์ฮินดูคือ พระนารายณ์ ซึ่งคนส่วนมากเรียกกันว่า พระวิษณุ แต่เดิมพระวิษณุได้สอนธรรมะ และวิธีปฏิบัติธรรมแก่พระพรหมธาดา แล้วพระพรหมธาดา ผู้ได้สอนสันตกุมาร ผู้เป็นบุตรอีกชั้นหนึ่ง ต่อมาทั้งสองท่านก็ได้สั่งสอนแก่พระนารถมุนี ผู้เป็นเทพฤาษี เพื่อให้เผยแพร่ต่อไปยังนานาโลก
            สำหรับในโลกมนุษย์ พระอุปเทศกะ คือผู้แสดงเรื่องราวทางศาสนารองลงมาจากพระนารถมุนีคือ พระกปิลมุนี ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ มีตัวตนอยู่ในโลก ได้แสดงธรรมครั้งแรกที่วินทุอาศรม ต่อมาได้ตั้งอาศรมขึ้นที่ปลายแม่น้ำคงคาที่เรียกว่า กันคงคาสาคร ดังนั้นในเดือนธันวาคมและมกราคมของ
ทุกปี จะมีประชาชนจำนวนมากไปจาริกแสวงบุญ ณ ที่ดังกล่าว
            พระปรมาตมันเป็นพระเจ้าสูงสุด มีอุปาสยเทพอยู่สามองค์คือ พระพรหมา พระวิษณุ และพระศิวะ พระปรมาตมันไม่มีรูปและไม่มีตัวตน จึงกล่าววกันว่าเป็นนิรังการ หรือนิรากาลคือไม่มีอาการ หรือปราศจากอาการ
            ต่อมาเมื่อพระปรมาตมัน ประสงค์จะสร้างโลกก็เลยกลายเป็นสาการภาพคือ เกิดภาวะอันมีอาการและเป็นสามรูป ได้แก่พระพรหมธาดา พระวิษณุ และพระศิวะ
                พระพรหมา  เป็นผู้สร้างโลกต่าง ๆ
                พระวิษณุ  เป็นผู้คุ้มครองโลกต่าง ๆ
                พระศิวะ  เป็นผู้สังหารหรือทำลายโลกต่าง ๆ
            เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ฮินดู  มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละสถานีมีเทพเจ้าแต่ละองค์ ดูไม่ออกว่าองค์ไหนสำคัญกว่าหรือสูงกว่า แต่ละกลุ่มนับถือแต่ละองค์ บางทีในครอบครัวเดียวกัน แต่ละคนในครอบครัวก็นับถือเทพเจ้าต่าง ๆ กัน เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก
            เมื่อพระปรมาตมัน ประสงค์จะมีโลกต่าง ๆ ก็จะแบ่งภาคเป็นสามภาคคือ พระพรหมา พระนารายณ์ และพระศิวะ ขณะเดียวกันพระแม่อาทิศักตี ก็แบ่งภาคเป็นสามองค์คือ มหาสรัสวดี มหาลักษมี และมหากาลี หรืออุมาเทวี
            ทั้งหกองค์แบ่งปางต่าง ๆ หรือสร้างเทพต่าง ๆ ขึ้นตามความต้องการเช่น พระโลกปาล ๕ องค์ พระทิศปาล ๑๐ องค์ พระเกษตรปาล (เจ้าที่เจ้าทาง) ๔๙ องค์ นพเคราะห์ ๙ องค์ เป็นต้น
            คัมภีร์ปุราณต่าง ๆ ได้บัญญัติไว้ว่ามีเทวดาทั้งหมดสามร้อยสามสิบล้านองค์ เพราะสิ่งของทุกชนิดมีเทวดาประจำด้วยทุกสิ่ง ในบ้านเรือนแต่ละส่วนของบ้าน มีเทพประจำอยู่ มีเทพเจ้าแห่งน้ำคือ พระวรุณ หรือพระพิรุณ เทพเจ้าแห่งลมคือ พระวายุเทพ เทพเจ้าแห่งอัญมณีรัตน์คือ พระกุเวร เทพเจ้าแห่งวิชาคือ พระแม่สรัสวดี เทพเจ้าแห่งสมองคือ พระพิฆเนศวร เป็นต้น
            ยังมีปางของพระแม่อาทิศักตี และปางนี้ทำให้เห็นว่ามีเทวดานานานาม นานารูป มีเทวดาในรูปนามเพื่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุด โดยมีหลักว่าบรรดาเทพเจ้าเหล่านั้น เป็นส่วนของพระปรมาตมัน จึงถือกันว่ามีเอกภาพในพหุภาพคือ มีเทพเจ้าองค์เดียวในรูปร่างต่าง ๆ
            คัมภีร์  คือ พระเวท ซึ่งมีความหมายกว้างขวางมาก ถ้าต้องการให้เข้าใจดีจะต้องศึกษาศาสตร์หกแขนงเรียกว่า วิชาหกประการ หรือเวทางคศาสตร์ คือ ความรู้เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นพระเวททั้งหกประการคือ
                ศึกษาศาสตร์  สอนการอ่าน ทำนองของพระเวท
                ศิลปศาสตร์  สอนว่าพระเวทหรือคำแต่ละคำของพระเวทและมนตร์ต่าง ๆ นั้น จะมีวิธีนำเอาไปใช้ที่ไหนและอย่างไร
                ไวยากรณ์ศาสตร์  สอนว่าคำแต่ละคำของพระเวท พระมนตร์ อุบัติขึ้นมาอย่างไร และออกเสียงอย่างไร
                นิรุกติศาสตร์  สอนเรื่องคำพูดหรือภาษาความเข้าใจในภาษา และการรู้จักใช้ถ้อยยคำให้ผู้อื่นเข้าใจ การศึกษาถึงที่มาของคำว่าแต่ละคำ มีอะไรมาประกอบเข้ากันบ้าง
                ฉันทศาสตร์  หรือกาพย์ศาสตร์ สอนว่ามนตร์แต่ละมนตร์ของพระเวทอ่านทำนองอย่างไร และมีวิธีการประพันธ์แต่ละกาพย์ แต่ละฉันท์อย่างไรบ้าง
                โชยติษศาสตร์  หรือนักษัตรศาสตร์ หรือโหราศาสตร์ หรือดาราศาสตร์ สอนถึงคติการโคจรของดวงดาวทั้งหลาย รวมถึงอุตนิยมวิทยาด้วย
                ได้มีการแบ่งการศึกษาพระเวทออกเป็นสี่เล่มคือ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และอาถรรพเวท และหนังสือพระเวททั้งสี่ดังกล่าวยังแยกออกไปได้อีกสี่เล่มเรียกว่า อุปเวท
                ฤคเวท  แสดงประวัติศาสตร์ของโลก ไม่ว่าจะเป็นเทวโลก มนุษยโลก หรือเคราะห์โลกต่าง ๆ ที่มีอยู่ในห้วงอวกาศ
                อุปเวทของฤคเวทคือ อยุรเวท แปลว่า แพทย์ศาสตร์
                สามเวท  แสดงกลาศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ต่าง ๆ
                อุปเวทของสามเวท คือ คนธรรพเวท  ซึ่งมีการวิปัสนาต่าง ๆ  โดยใช้ศิลปะแห่งการดนตรี  เข้าช่วยให้ตั้งเป็นสมาธิได้
                อาชุรเวท  แสดงวิธีบูชาบวงสรวงต่าง ๆ ที่เรียกว่า  ยัญญกรรม
                อุปเวทของอาชุรเวท คือ ธนุรเวท  ซึ่งมีวิธีการสร้างอาวุธต่าง ๆ
                อาถรรพเวท  แสดงการใช้เวทมนตร์ เพื่อให้เกิดผลดี หรือผลร้ายขึ้น
                อุปเวทของอาถรรพเวท  คือ ศิลปเวท  ได้แก่ วิชาศิลปะต่าง ๆ
                นอกจากนี้ยังมี คัมภีร์อุปนิษัท หลายอย่างที่แต่งขึ้น เพื่อบรรยายความหมายของพระเวท อีกหลายเล่มด้วยกัน
                ต่อมาจึงได้มีการแต่ง คัมภีร์ปุราณะ ๑๘ เล่ม  กับคัมภีร์อุปปุราณะ อีก ๑๘ เล่ม  เพื่ออธิบายข้อความและความหมายของคัมภีร์พระเวท โดยยกเอาเรื่องจริง ๆ ขึ้นมากล่าว และใช้นิทานเรื่องต่าง ๆ มาสาธกด้วย เพื่อเป็นอุทาหรณ์ประกอบให้เข้าใจชัดเจน
                นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์อื่น ๆ ที่เป็นทำนองอรรถาธิบาย คัมภีร์พระเวทอีกมาก เช่น คัมภีร์สังหิตา คัมภีร์พระพรหมครันถ์ เป็นต้น  รวมกันแล้วนับได้หลายพันเล่ม
                คัมภีร์ที่เป็นสาระแห่งคัมภีร์ทั้งหลายยังมีอีกสองเล่ม คือ คัมภีร์มหาภารตะ ในคัมภีร์เล่มนี้มีอยู่ตอนหนึ่งชื่อ ศรีมัทภควคีตา  นับว่าเป็นตอนที่สำคัญที่สุดเป็นที่คารวะของนักคิด นักการศาสนา และนักปรัชญาทุกระบบ หลักธรรมคำสอนใน ภควัทคีตา มีที่มาจากแหล่งคัมภีร์อุปนิษัท  ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของคัมภีร์พระเวท
                คัมภีร์อีกเล่มหนึ่งคือ คัมภีร์รามายณะ  เป็นประวัติเรื่องราวของพระราม  ชาวฮินดูเชื่อกันว่า พระรามเป็นอวตารปางที่เจ็ดของพระวิษณุ  และเป็นผู้มีคติวิเศษในการปฎิบัติมนุษยธรรม
                ในคัมภีร์ของสนาตนธรรมทุก ๆ คัมภีร์สอนไว้ว่า ชีว คือ วิญญาณนั้ไม่มีวันตาย และไม่สูญหาย มีอยู่ตลอดเวลา  เพียงแต่หมุนเวียนอยู่โดยกรรมคติ ที่กระทำอยู่ตลอดเวลา
                ตามคติของพราหมณ์ฮินดู  ถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นอีกสาขาหนึ่งของสนาตนธรรม พระพุทธเจ้าเป็นอวตารปางที่เก้าของพระวิษณุ ในทำนองนี้ศาสนาทุกศาสนาจึงเป็นองค์ประกอบของสนาตนธรรม ด้วยเหตุนี้ ชาวพราหมณ์ฮินดูจึงมิได้มีจิตใจรังเกียจเดียดฉันท์ศาสนาใด  บรรดาศาสนิกชนของทุกศาสนา เป็นเสมือนพี่น้องกัน
            สัญลักษณ์ทางศาสนา  สำคัญที่สุดคือ ตัวอักษรที่อ่านว่า โอม มาจาก  อ + อุ + มะ เป็นแทนพระตรีมูรตีเทพ คือ แทนพระนารายณ์หรือพระวิษณุ  อุ  แทนพระพรหมา แทนพระศิวะ หรือพระอิศวร เมื่อรวมกันเข้าเป็นอักษรเดียวกลายเป็นอักษร โอม  แทนพระปรมาตมัน พระเจ้าสูงสุด ไม่มีตัวตน สัญลักษณ์นี้ทุกนิกาย ทุกลัทธิ ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ต้องใช้เป็นประจำ
            สัญลักษณ์รองลงมาคือ เครื่องหมายสวัสดิกะ  เป็นสัญลักษณ์ที่ทุกนิกาย ทุกลัทธิใช้กันมาก  เป็นเครื่องหมายแทนพระพิฆเนศวร หรือพระคเณศ   หมายถึงเป็นมงคลทุกด้าน ทุกมุม ปราศจากอุปสรรคทั้งปวง
            รองลงมามีเครื่องหมายสัญลักษณ์หลายอย่าง ซึ่งแต่ละนิกายและลัทธิ ใช้กันประจำนิกาย และลัทธิ เช่น  นิกายไศวะ ใช้รูปตรีศูล  นิกายไวษณพ ใชรูปจักร เป็นต้น
            ในประเทศไทย เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ใช้ทั้งตรีศูล และตัวอักษร โอม เป็นสัญลักษณ์ ทางสมาคมฮินดูสมาชเอาตัวอักษรโอม เป็นสัญลักษณ์ สมาคมฮินดูธรรมสภา  เอารูปโอม ล้อมรอบด้วยสวัสดิกะ และจักร ในรูปวงกลมเป็นสัญลักษณ์
            ทั้งสามสถาบัน รวมกันเรียกว่า องค์การศาสนาพราหมณ์ฮินดู ซึ่งมัสัญลักษณ์ร่วมคือ ตัวโอม อยู่ระหว่างตรีศูล
            นอกจากนี้ยังมีรูปดอกบัว สังข์ คฑา ช้าง โค พระอาทิตย์ นกยูง สิงโต งู คันไถ และอื่น ๆ ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำนิกาย และประจำลัทธิด้วย แต่ต้องมีตัวโอมอยู่เสมอ
            นิกายและลัทธิ  มีสี่นิกายด้วยกัน คือ
                นิกายไศวะ  ถือพระอิศวรเป็นใหญ่ และนับถือพระนารายณ์ พระพรหม  กับเทพอื่น ๆ ด้วย
                นิกายไวษณพ  ถือพระนารายณ์เป็นใหญ่ และนับถือพระศิวะ พระพรหมา  กับเทพอื่น ๆ ด้วย
                นิกายศากฺต  ถือว่าพระแม่อาทิศักตี หรือพระแม่ปราศักตี เป็นใหญ่  และนับถือพระพรหมา พระนารายณ์ กับเทพอื่น ๆ ด้วย
                นิกายสมารฺต  ถือเทพห้าองค์ด้วยกัน คือ พระพิฆคเณศวร พระแม่ภวานี คือ พระศักตี พระพรหมา พระนารายณ์ พระศิวะ ไม่มีองค์ใดใหญ่กว่าโดยเฉพาะ
                มีลัทธิที่แยกจากทั้งสี่นิกาย อีกหลายร้อยนิกาย แต่ละนิกายมีเทพสำหรับสักการะบูชา มีปรมาจารย์ผู้กำเนิดนิกาย แต่ทุกนิกายถือว่า พระปรมาตมัน เป็นพระเจ้าสูงสุด และใช้ตัวอักษร โอม เป็นสัญลักษณ์ทั้งสิ้น
                จุดมุ่งหมายของศาสนา  เพื่อนำบุคคลไปสู่ความหลุดพ้น ทั้งจากกองกิเลส และกองทุกข์ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อหลุดพ้นไปแล้วก็จะกลายเป็นเอกภาพ มีภาวะเป็นอันหนึ่งอันเดียวไปกับพระปรมาตมัน ภาวะดังกล่าวเรียกว่า โมกฺษคติ ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
                ในโลกนี้มีโยนิ (คือ สัตว์ทั้งหลาย)  อยู่ถึงแปดล้านสี่แสนชนิดด้วยกัน มีสัตว์เพียงประเภทเดียวเท่านั้น ที่มีลัทธิพิเศษเฉพาะคือ มนุษย์ ที่จะเข้าถึงโมกฺษ ได้
                ศาสนาพรหมณ์ฮินดู ไม่ปล่อยให้เป็นภาระของเทพเจ้า เป็นที่พึ่งฝ่ายเดียว แต่ยังอาศัยกรรมของตน ฉะนั้นคัมภีร์พระเวทจึงได้สอนไว้ว่า  มนุษย์ทั้งหลายควรปฎิบัติตามคติสี่ประการคือ ธรรมะ อรรถะ กามะ และโมกษะ
                    อรรถ  แปลว่า  ทรัพย์สมบัติ หรือสิ่งของที่ต้องการ
                    กาม  แปลว่า ความปรารถนา ความประสงค์  ความต้องการ การอุปโภค บริโภค สิ่งต่าง ๆ  ก็จัดเป็นกามเหมือนกัน
                    มนุษย์ เมื่อสำเร็จโมกษธรรมแล้ว ยังไม่ควรจะละเลิก อรรถะ กับกามะ โดยสิ้นเชิง


 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์