ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี



| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป |
| พัฒนาทางประวัติศาสตร์ | มรดกทางธรรมชาติ | มรดกทางวัฒนธรรม | มรดกทางพระพุทธศาสนา |

มรดกทางพระพุทธศาสนา

           ความมั่นคงของพระพุทธศาสนาในอดีต มีอิทธิพลต่อคนไทยในสมัยสุโขทัยเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดวิถีชีวิตไทยในครรลองของพระพุทธศาสนา สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
           ในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีของไทย ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สมัยนั้นมีศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาทปนกันอยู่ มีวัดสำคัญเป็นหลักตั้งอยู่กลางเมืองสุโขทัยคือ วัดมหาธาตุ พระเจดีย์สำคัญของวัดมหาธาตุ ยังเหลืออยู่หลายองค์ในปัจจุบัน มีศิลปะแปลกกว่าเจดีย์อื่นในไทย หรือในต่างประเทศ คือ พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือพุ่มเทียน ปัจจุบันเรียกว่า ทรงดอกบัวตูม พระเจดีย์รูปแบบดังกล่าวมีปรากฏอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย ตาก และกำแพงเพชร มากกว่าที่อื่น นอกจากนั้นเจดีย์แบบนี้ยังมีอยู่ที่ประเทศจีนถึงสององค์ นอกจากเมืองสุโขทัยแล้ว ที่เมืองศรีสัชนาลัย ยังมีโบราณวัตถุคล้ายกับสุโขทัย เช่น วัดเจดีย์เจ็ดแถว พระสถูปทรงดอกบัว
           มีหลักฐานแสดงว่า ในสมัยสุโขทัยไทยได้เลิกนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานอย่างขอม ซึ่งรุ่งเรืองมากในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ในสมัยนั้นไทยได้รับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ จากเมืองนครศรีธรรมราช และตั้งแต่นั้นมาก็ไม่เคยเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นอีกเลย การที่ไทยมีการปกครองในระบบพ่อปกครองลูกก็เป็นเพราะอิทธิพลของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท โดยเฉพาะเนื้อความในจักรวัตติสูตร และอัคคะสูตร ได้มีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบการปกครองของไทยสมัยนั้น ทำให้กษัตริย์ทรงทำหน้าที่ในการบำเพ็ญจักรวรรดิวัตรต่อประชาชน
           ด้านปูชนียสถาน มีการสร้างพระสถูปเจดีย์แบบไทย เช่นพระสถูปเจดีย์วัดช้างล้อม และวัดเจดีย์เจ็ดแถวที่เมืองศรีสัชนาลัย
           ด้านประติมากรรม พุทธศิลป ในสมัยสุโขทัย แบ่งออกเป็นสามระยะคือ ระยะที่รุ่งเรืองที่สุด ระยะผสม และระยะเสื่อม กล่าวได้ว่าไทยเป็นชาติที่สร้างพระพุทธรูปมากที่สุดในโลก และพุทธศิลปที่งามที่สุดคือสมัยสุโขทัย ในการหล่อพระพุทธรูป ปฏิมากรไทยในยุคนั้น สามารถหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่มากได้เช่น พระศรีศากยมุนี ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดสุทัศน์เทพวราราม มีขนาดหน้าตักกว้างสามวาเศษ พระพุทธรูปที่สร้างนิยมสร้างเป็นสี่อิริยาบท คือ ยืน เดิน นั่ง และนอน พระพุทธรูปยืนที่ทำด้วยสำริดมีน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นปูนปั้นได้แก่ พระอัฏฐารศที่วัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย และพระอัฏฐารศที่วัดสระเกศ พระพุทธรูปปางลีลาที่นับว่าสง่างามที่สุด ประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดเบญจมบพิตร พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ เช่น พระอจนะที่วัดศรีชุม ส่วนพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ เช่น พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศาสดา พระทองที่วัดไตรมิตร ฯ กรุงเทพ ฯ และพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ที่ประดิษฐานในวิหารพระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร
           ในสมัยสุโขทัย มีคณะสงฆ์ที่สืบมาจากสมัยทวาราวดีพวกหนึ่ง และคณะสงฆ์ที่มาจากสมัยลพบุรีพวกหนึ่ง ซึ่งมีทั้งฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายาน ต่อมาในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้ทรงส่งฑูตไปนิมนต์คณะสงฆ์ลังกาวงศ์ จากเมืองนครศรีธรรมราชมาที่กรุงสุโขทัย
           เมื่อพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์มาประดิษฐานที่กรุงสุโขทัยแล้วได้เกิดผล ที่ตามมาในด้านการศึกษา การปกครองคณะสงฆ์ และศิลปกรรม ดังต่อไปนี้
           ด้านการศึกษา ไทยได้รับพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา จากลังกา เป็นเหตุให้การออกเสียง ภาษามคธของคณะสงฆ์ไทย มีความชัดถ้อยชัดคำตามแบบลังกายิ่งกว่าชนชาติอื่น
           คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในยุคแรก คงจะจารึกด้วยอักษรสิงหล ต่อมาจึงได้ถ่ายเป็นอักษรขอม การที่ไม่ถ่ายเป็นอักษรไทย ตามที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงประดิษฐขึ้นก็อาจจะเนื่องจากอักษรไทยดังกล่าวมีอักษรไม่พอเขียนคำมคธ
           การปกครองคณะสงฆ์  อิทธิพลของลัทธิลังกาวงศ์ ต่อการปกครองคณะสงฆ์ไทย ทำให้เกิดสมณศักดิ์ขึ้น ซึ่งในอินเดียไม่มี ลังกาเป็นผู้คิดขึ้นมา ในชั้นเดิมมีสองตำแหน่งคือ ตำแหน่งสวามี และตำแหน่งมหาสวามี เมื่อทางสุโขทัยรับมาจึงได้เกิดทำเนียบสมณศักดิ์ขึ้นครั้งแรกคือ ครูบา เถร มหาเถร สังฆราช และสังฆาธินายกสิทธิ
           การปกครองคณะสงฆ์แบ่งออกเป็นสองคณะคือ คณะคามวาสี และคณะอรัญวาสี  คณะคามวาสี มีเจ้าคณะเป็นที่สังฆราชญาณรจีมหาเถระ คณะอรัญวาสี มีเจ้าคณะเป็นที่พระบรมครูติโลกดิลกติรัตนะศีลคันธวนวาสี ธรรมกิตติสังฆราชมหาสวามี
           การปกครองคณะสงฆ์อย่างเป็นระบบดังกล่าวได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย มีความสอดคล้องกับฝ่ายบ้านเมือง มีแบบแผนชัดเจน ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท พระองค์ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ชาวลังกามีนามว่า พระมหาสามีจากเมืองนครพันมาตั้งสำนักเผยแผ่พระศาสนาที่วัดป่ามะม่วง กรุงสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๔ และเนื่องจากพระภิกษุสงฆ์ในคณะลังกาวงศ์เป็นพระนักปฏิบัติกรรมฐาน นิยมพำนักอยู่ในวัดที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมือง จึงมีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า คณะอรัญวาสี หรือคณะฝ่ายขวา พระภิกษุสงฆ์ผู้พำนักอยู่ในวัดใกล้หมู่บ้านหรือตัวเมือง เล่าเรียนพระปริยัติธรรม เรียกว่าคณะคามวาสี หรือคณะฝ่ายซ้าย พระสงฆ์ทั้งสองฝ่ายแยกการปกครองเป็นอิสระแก่กัน แต่ละคณะมีผู้ปกครองสูงสุดเรียกว่า พระสังฆราช
           การปกครองคณะ  สังฆราชประจำแต่ละหัวเมืองที่สำคัญ นอกจากกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระสังฆราชประจำแต่ละหัวเมือง และขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ ขณะเดียวกันพระสังฆราชก็ปกครองพระสงฆ์ลงไปตามลำดับ คือ พระครู และเจ้าอาวาส
           ศิลปกรรม พระพุทธสิหิงค์จากลังกา เป็นแม่แบบของพระพุทธรูปแบบสุโขทัย พระพุทธรูปในประเทศไทยก่อนหน้านี้ไม่เคยมีเปลวรัศมีสูง เพิ่งจะมีครั้งแรกในสมัยสุโขทัย สังฆาฏิก่อนหน้านี้ไม่เคยมีปลายเป็นแฉกที่เรียกว่าเขี้ยวตะขาบ อย่างที่มีในสมัยสุโขทัย พระเจดีย์แบบลอมฟางถ่ายแบบมาจาก ริจิเจดีย์ในลังกาถูปารามแบบลังกา ในสมัยสุโขทัยก็ได้สร้างไว้ที่วัดมหาธาตุวัดช้างล้อมเมืองเชลียง
           ศาสนสถาน  สุโขทัยในอดีตจนถึงปัจจุบันมีวัดอยู่เป็นจำนวนมาก วัดที่สำคัญพอประมวลได้ดังนี้
  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

           วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชมหาวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญมาแต่โบราณกาล สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ ได้โอนมาขึ้นในปกครองคณะสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๙ ได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ ภายในวัดมีกลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ประกอบด้วย
           พระปรางค์ประธาน  ก่อด้วยศิลาแลงฉาบแล้วลงสีชาดทับ ลักษณะภายนอกเป็นปรางค์แบบอยุธยา ฐานรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง ๓๐ เมตร ฐานเขียงขั้นแรกย่อมุมไม้สิบสอง ฐานล่างสุดก่อผนังแบบทึบ เจาะช่องแสงกันอยู่ด้านในสามชั้น (วิหารคด) เรือนธาตุทางด้านหน้าทำเป็นซุ้มโถง มีบันไดขึ้นไปสู่ซุ้มทางด้านหลังพระวิหาร ภายในซุ้มโถงมีสถูปขนาดเล็กรูปดอกบัวตูมประดิษฐานอยู่ อาจเป็นที่บรรจุพระธาตุ ตามผนังภายในองค์ปรางค์มีร่องรอยว่าแต่เดิมมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ส่วนบริเวณเรือนธาตุทางด้านหลัง ทำเป็นบันไดขึ้นสู่องค์ปรางค์เช่นเดียวกัน แต่เป็นประตูหลอก ฐานชั้นล่างสุดมีพระสาวกเดินประณมมือประทักษิณ
           พระวิหาร  ก่อด้วยศิลาแลง ฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๙.๒๐ เมตร ยาว ๒๕.๒๐ เมตร ฐานสูง ๑.๒๐ เมตร เป็นวิหารขนาดหกห้อง มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า ผนังวิหารเป็นแบบผนังทึบเจาะช่องแสง พระประธานเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย ขนาบด้วยพระพุทธรูปยืนขนาดเล็กทั้งขวาและซ้าย
           พระวิหารขนาดเล็ก  ก่อด้วยศิลาแลงอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระวิหารประธานฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ด้านหลังตอนบนทำเป็นซุ้มพระ ทรงโค้งแหลมภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก
           ฐานพระวิหารขนาดเล็ก  ก่อด้วยศิลาแลงอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นฐานขนาดห้าห้อง กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ด้านหลังทำเป็นซุ้มพระ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งซึ่งชำรุดหักพังเป็นส่วนใหญ่
           พระเจดีย์ราย  เป็นเจดีย์ทรงกลม ก่อด้วยศิลาแลง ตั้งอยู่บริเวณมุมทั้งสี่ของพระปรางค์ประธาน ขนาดโดยเฉลี่ย ๕ เมตร มีอยู่ห้าองค์
           กำแพงวัด  เป็นศิลาแลงแท่งกลมขนาดใหญ่ปักเรียงชิดติดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๖๐ เมตร ยาว ๙๐ เมตร มีคานทับหลังกำแพง เป็นรูปหลังเจดีย์ตัด มีทางเข้าออกที่ด้านหน้าและด้านหลัง เหนือซุ้มประตูทำเป็นรูปคล้ายหลังคายอดแหลมเหมือนช่อฟ้า เหนือซุ้มขึ้นไปเป็นรูปปั้นรูปพรหมพักตร์ และรูปนางอัปสรฟ้อนรำอยู่ต่ำลงมา
          พระธาตุมุเตา  อยู่ด้านหลังพระปรางค์ประธาน นอกกำแพงแก้ว ก่อด้วยศิลาแลงฐานรูปแปดเหลี่ยม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๒ เมตร ซ้อนกันสี่ชั้น ต่อจากนั้นเป็นชั้นบัวสามชั้น ส่วนที่อยู่เหนือขึ้นไปหักพังหมด บริเวณบัวถลาทำเป็นซุ้มหลอกเจ็ดส่วน ซุ้มทางด้านหน้ามีทางเข้าไปภายในแต่หักพังปิดทับหมด มีบันไดขึ้นไปสู่ซุ้ม
          มณฑปพระอัฏฐารศ  อยู่ทางด้านหลังพระธาตุมุเตา สันนิษฐานว่า เป็นมณฑปพระสี่อิริยาบถ เป็นพระพุทธรูปประทับยืนทางทิศเหนือ ด้านทิศตะวันออกเหลือส่วนพระชงฆ์ของพระพุทธรูป ด้านหลัง (ทิศใต้) และทางด้านขวาหักพังเสียหายมาก จากการสำรวจโดยรอบพระมณฑป พบเศษกระเบื้องมุงหลังคาดินเผา ตกกระจายอยู่ค่อนข้างหนาแน่น สันนิษฐานว่า หลังคาพระมณฑปน่าจะเป็นเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา
          พระวิหารสองพี่น้อง  อยู่ทางด้านซ้ายของพระมณฑปพระอัฏฐารศ ก่อด้วยศิลาแลงฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๑๑ เมตร ยาว ๒๗ เมตร ขนาดเจ็ดห้อง ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยสององค์ ด้านหลังมีขนาดใหญ่กว่าด้านหน้า
           อาคารขนาดเล็ก  ก่อด้วยศิลาแลงเป็นแบบฐานปัทม์เพียงชั้นเดียว หักพังไปแล้วเป็นส่วนใหญ่
          พระอุโบสถ  อยู่ถัดออกมาทางด้านหน้าพระปรางค์ประธานนอกกำแพงแก้ว ได้รับการบูรณะซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นโบสถ์ขนาดห้าห้อง มีมุขยื่นอีกหนึ่งห้อง หลังคาลดสามชั้นซ้อนสองตับ ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก
           กุฏิพระร่วงพระลือ หรือที่เรียกกันว่าศาลพระร่วง-พระลือ ลักษณะเป็นพระมณฑปฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส กว้าง ๗.๒๐ เมตร หลังคาคล้ายรูปชามคว่ำสี่ชั้น ภายในประดิษฐานรูปพระร่วง พระลือ (จำลอง) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
  วัดสว่างอารมณ์วรวิหาร

           วัดสว่างอารมณ์ ฯ  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยม ในเขตตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร ได้รับการสถาปนาขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๓๓๘ โดยพระยาวิชิตภักดี (นาค) ผู้ครองเมืองสวรรคโลกครั้งนั้นได้บริจาคที่ดิน จำนวน ๔๒ ไร่ เพื่อใช้เป็นที่สร้างวัดพร้อมทั้งบริจาคเรือนพัก หรือจวนให้เป็นเสนาสนะสงฆ์ ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า วัดจวน
           วัดสว่างอารมณ์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๓๓๐ และได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ สิ่งสำคัญภายในวัดมีดังนี้
          พระอุโบสถ  สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๐ เป็นอาคารทรงไทย กว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๒ เมตร สูง ๑๖ เมตร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเรืองฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๒.๓๐ เมตร สูง ๒.๘๐ เมตร มีพุทธลักษณะสวยงามมาก เดิมประดิษฐานอยู่ที่พระอุโบสถวัดพระศรีมหาธาตุเชลียง (วัดพระปรางค์) เมืองสวรรคโลกเก่า หรืออำเภอศรีสัชนาลัยในปัจจุบัน ต่อมาเมื่อพระยาวิชิตภักดี (นาค) สร้างวัดสว่างอารมณ์เสร็จ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถแต่นั้นมา
          พระวิหาร  สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๐ เป็นอาคารทรงไทย กว้าง ๗.๕๐ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สูง ๑๕ เมตร เป็นที่เก็บรักษาพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ของวัด
          พระมณฑป  สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๔ โดยตระกูลคันธนาค เป็นอาคารทรงไทยจตุรมุข กว้างยาวด้านละ ๑๑.๕๐ เมตร มีกำแพงล้อมรอบ พร้อมซุ้มประตูทั้งสี่มุขเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง
  วัดหนองโว้ง
           วัดหนองโว้ง  ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมในเขตตำบลเมืองบางยม อำเภอสวรรคโลก เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ มีพื้นที่ประมาณ ๗๗ ไร่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๓๙๙ วัดนี้สร้างเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๒๒๔๒
          พระอุโบสถ สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๙๑ โดยเจ้าเมืองบางยมร่วมกับชาวบ้านช่วยกันสร้าง ใช้เวลาถึงแปดปีสิ้นค่าก่อสร้าง ๔,๐๐๐ บาทเศษ ฝาผนังภายในโบสถ์เขียนภาพพระเจ้าสิบชาติ และพุทธประวัติบางตอนประดับไว้อย่างสวยงาม เพดานบนแกะสลักไม้สักเป็นรูปดอกไม้ประดับลวดลายและปิดทองด้วย พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๘๙ นิ้ว รอบพระประธานทั้งสี่ทิศ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๓๙ นิ้ว พระอุโบสถกว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร กำแพงก่ออิฐฉาบปูนแบบสมัยโบราณ ก้อนอิฐที่ใช้เป็นอิฐก้อนใหญ่เท่าขนาดที่ใช้ก่อสร้างสมัยสุโขทัย กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๘ เมตร สูง ๑.๕๐ เมตร
          พระมณฑป  สร้างหลังจากสร้างพระอุโบสถแล้วเสร็จ เป็นแบบทรงไทยจตุรมุขกว้างด้านละ ๙ เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง  รอบผนังด้านข้างพระมณฑป ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยทั้งสี่มุม ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว กำแพงแบบสองชั้น ชั้นในกว้างยาวด้านละ ๑๒ เมตร ชั้นนอกกว้างยาวด้านละ ๒๒ เมตร
          พระวิหาร  เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อสองพี่น้อง ซึ่งเป็นที่นับถือกันอย่างมาก แท่นที่ประดิษฐานหลวงพ่อสองพี่น้องสร้างอย่างงดงาม ประดับลวดลายต่าง ๆ ยากที่จะหาวัดใดเสมอเหมือน ในวันขึ้น ๑๒ - ๑๕ ค่ำ ถึงแรมค่ำเดือนสาม จะมีงานฉลองนมัสการปิดทองหลวงพ่อสองพี่น้องเป็นประจำทุกปี
          ศาลาการเปรียญ  สร้างหลังสร้างพระวิหารแล้ว เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔ เป็นศาลาทรงไทย กว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๔๒ เมตร ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาต่าง ๆ และเป็นสถานที่ทำบุญของพุทธศาสนิกชน
          ภูเขาพระฉาย  สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๐ โดยพวกมอญที่มาอาศัยพักหลับนอนในระหว่างที่ล่องเรือบรรทุกโอ่ง อ่าง ไห จากใต้ไปจำหน่ายทางเหนือ พวกมอญเหล่านี้ได้ร่วมกันสร้างภูเขาพระฉาย (ถ้ำไห) ขึ้น มีลักษณะเป็นถ้ำข้างล่าง ก่อด้วยไหเสริมคอนกรีต บนยอดก่อเป็นรูปเจดีย์ มีฉัตรบนยอด ข้างล่างมีทางเข้าทางด้านตะวันออก ทางด้านตะวันตกมีทางเข้าสองช่อง ตรงกลางประดิษฐานพระพุทธรูปปางลีลาสูงประมาณ ๓.๔๐ เมตร ฉายพระรัศมีตรวจดูเวไนยสัตว์ก่อนจะเสด็จออกโปรด ถ้ำมีลักษณะคล้ายอุโมงค์ ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย
  วัดมหาธาตุ

           วัดมหาธาตุ  เป็นวัดที่มีความสำคัญและมีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่กลางเมืองสุโขทัยในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง ฯ ห่างจากตัวอำเภอเมือง ฯ ไปทางทิศตะวันตก ๑๒ กิโลเมตร สิ่งสำคัญในวัดคือ พระเจดีย์มหาธาตุทรงดอกบัวตูม มีเจดีย์รายล้อมทั้งสี่ทิศ ฐานพระอุโบสถ ฐานพระวิหาร และซุ้มคูหาพระพุทธรูป
           พระเจดีย์มหาธาตุ  เป็นเจดีย์ประธาน ฐานชั้นล่างสุดมีพระสาวกเดินประณมมือประทักษิณ บนฐานเดียวกันมีปรางค์สี่องค์ ตั้งอยู่ทั้งสี่ทิศ และบริเวณมุมทั้งสี่ทิศ มีเจดีย์ทรงปราสาทแบบศรีวิชัยผสมลังกาสี่องค์ ลักษณะเป็นเจดีย์บริวารของพระเจดีย์ประธาน
           ภายในวัดมีเจดีย์ขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า เจดีย์ราย จำนวน ๒๐๐ องค์ วิหารที่สำคัญคือ วิหาร พระศรีศากยมุนี (วิหารหลวง) ตั้งอยู่ทางด้านหน้า หรือทางทิศตะวันออกของพระเจดีย์มหาธาตุ
           ศิลาจารึกหลักที่ ๑  ได้กล่าวถึงสภาพใจกลางเมืองสุโขทัยว่า "กลางเมืองสุโขทัยนี้มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารศ มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม" พระพุทธรูปทองน่าจะหมายถึง พระศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริด ศิลปะสุโขทัย สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) ในปี พ.ศ.๑๙๐๔
           ภายในวัดมหาธาตุพบศิลาจารึกสามหลัก หลักแรกคือ ศิลาจารึกหลักที่ ๔๕ หรือที่เรียกว่า จารึกปู่สบถหลาน (จารึกปู่ขุนจิตขุนจอด) พ.ศ.๑๙๓๕ จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทย พบบริเวณริมเสาด้านขวาหน้าวิหารหลวงซึ่งอยู่ด้านหลังวิหารสูง หลักที่สองคือ ศิลาจารึกเจดีย์น้อย พุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๑ จารึกด้วยอักษรไทยสุโขทัย เป็นภาษาสันสกฤต พบที่เจดีย์น้อยด้านหน้าเจดีย์ห้ายอด หลักที่สามคือ จารึกลานทอง สมเด็จพระมหาเถรราชจุฬามุนี จารึกเมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๙ ด้วยอักษรไทยสุโขทัย อักษรธรรมล้านนา

| ย้อนกลับ | หน้าต่อไป | บน |


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์