ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี

www.dooasia.com > มรดกไทย > อุทยานแห่งชาติ > อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
 01
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง

ข้อมูลทั่วไป
    อุทยานแห่งชาติภูกระดึง  จังหวัดเลย ประกอบด้วย ภูเขาสูงที่มีธรรมชาติอันสวยสดงดงามมาก  ที่ราบบนยอดภูกระดึงมีพืชเมืองหนาว ได้แก่ ป่าสนสองใบ ป่าสนสามใบ  ป่าต้นเมเปิล (ไฟเดือนห้า) และพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงาม เช่น กุหลาบป่า ม้าวิ่ง เอื้องหินคำ ดอกม่วนดักหงาย เป็นต้น ตลอดจนมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติบรรยากาศและทิวทัศน์ที่สวยงามหลายแห่ง ภูกระดึงมีเนื้อที่ประมาณ 348 ตารางกิโลเมตร
    ตามตำนานกล่าวว่า มีพรานผู้หนึ่งตามล่ากระทิงโทนขึ้นไปจนถึงบนยอดเขาลูกหนึ่ง ในเขตตำบลศรีฐาน ได้พบพื้นที่บนยอดเขาราบเรียบและกว้างใหญ่มากเป็นทุ่งหญ้าสลับกับป่าสน มีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างเรียงรายเป็นระเบียบ และยังเต็มไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น ช้างป่า ฝูงกระทิง เก้ง กวาง ซึ่งหากินอยู่เป็นฝูง ๆ ไม่ตระหนกตื่นกลัวนายพราน เนื่องจากไม่เคยเห็นคนมาก่อน ภูกระดึงซึ่งธรรมชาติได้ปิดบังซ่อนเร้นมานานก็ถูกเปิดเผยให้มนุษย์รู้จักแต่นั้นมา
    จากการเล่าลือกันมาแต่โบราณว่า มีผู้ได้ยินเสียงระฆังของพระอินทร์ที่อยู่บนเขานี้ ดังนั้นจึงให้ชื่อว่า ภูกระดึง หรือภูกะดึง เพราะคำว่า "ภู" หมายถึง ภูเขา และ "กระดึง" มาจาก "กระดิ่ง" ภาษาพื้นเมืองจังหวัดเลยแปลว่า "ระฆังใหญ่" นอกจากนี้เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาบางส่วน หากเดินหนัก ๆ หรือใช้ไม้กระทุ้งก็จะมีเสียงก้องคล้ายระฆัง ซึ่งเกิดจากโพรงข้างใต้ จึงได้รับขนานนามว่า "ภูกระดึง"
    ภูกระดึงเป็นที่รู้จักกันมานาน ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 สมุหเทศาภิบาล (พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม) ได้ทำรายงานสภาพภูมิศาสตร์เสนอต่อกระทรวงมหาดไทย และต่อมาในปี พ.ศ. 2463 นายอำเภอวังสะพุง ซึ่งปกครองท้องที่เขตภูกระดึงในขณะนั้นได้ขึ้นไปสร้างพระพุทธรูปไว้บนยอดภูกระดึงองค์หนึ่ง ในปี พ.ศ. 2486 ทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดป่าภูกระดึงให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ และกรมป่าไม้เริ่มดำเนินการ สำรวจเพื่อจัดตั้งอุทยานแห่งชาติขึ้นที่ภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นแห่งแรก แต่เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณและเจ้าหน้าที่ จึงได้ดำเนินการไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
    ภูกระดึงได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2505 นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 2 ของไทย และนับเป็นอุทยานแห่งชาติที่มีประวัติความเป็นมาแบบวิถีชีวิตไทยที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง


สภาพภูมิประเทศ
    เป็นภูเขาหินทรายที่มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่สลับกับเนินเตี้ย ๆ ยอดสูงสุดคือ  ภูกุ่มข้าว  สูงราวระดับน้ำทะเล  ประมาณ 1,350 เมตร เป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำพอง ซึ่งหล่อเลี้ยงเขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนหนองหวาย ยอดภูกระดึงประกอบไปด้วยป่าสนสลับป่าก่อและทุ่งหญ้า มีพันธุ์ไม้ดอก ไม้ใบ ขึ้นอยู่ทั่วไปตามบริเวณน้ำตก ลำธารและลานหิน ซึ่งธรรมชาติได้สร้างสรรค์ไว้อย่างสวยงามยิ่ง


พรรณไม้
     มีป่าไม้หลายชนิด เช่น  ป่าเต็งรัง  ป่าเบญจพรรณ  ป่าดงดิบเขา และป่าสนเขา  มีพรรณไม้ต่าง ๆ ได้แก่  เต็ง  รัง  พลวง  แดง  มะค่า  ยมหอม  มะเกลือ  ตะแบก  สมอ  รกฟ้า  พญาไม้  สนสามพันปี  จำปีป่า  ทะโล้  เมเปิ้ล  สนสองใบ   และสนสามใบ  ในทุ่งหญ้ามีพันธุ์ไม้ดอกที่สวยงาม ออกดอกบานสะพรั่งสลับกันไปในแต่ฤดูกาล เช่น  กุหลาบป่า  เทียนน้ำ  มณเทียนทอง  แววมยุรา  กระดุมเงิน  เทียบภู  ส้มแปะ  เง่าน้ำทิพย์  ดาวเรืองภู  หยาดน้ำค้าง และกล้วยไม้  ซึ่งบางชนิดชอบขึ้นตามลานหิน ได้แก่  ม้าวิ่ง  เอื้องคำหิน ส่วนไม้พื้นล่างมี  เฟิร์น  หญ้ามอส  โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวตอกฤาษี ซึ่งเป็นหญ้ามอสขนาดใหญ่และสวยงามมีอยู่มาก


สัตว์ป่า
    เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้มีสัตว์ป่าอาศัยอย่างชุกชุม เช่น  ช้าง  เสือโคร่ง  หมีควาย  เลียงผา  เก้ง  กวาง  หมูป่า  ชะนี  บ่าง  พญากระรอก  หมาไม้  หมาไน  ส่วนนกชนิดต่าง ๆ ที่พบเห็น ได้แก่  นกกางเขนดง  นกกระทาทุ่ง  นกพญาไฟใหญ่  นกขมิ้นดง และมีเต่าชนิดหนึ่งซึ่งหาได้ยากคือ  เต่าปูรู หรือเต่าหาง  เป็นเต่าที่หางยาวอยู่ตามลำธารในป่าเขาระดับสูงของประเทศไทย


สถานที่ท่องเที่ยว
    ผานกแอ่น  ผาหล่มสัก  สระอโนดาด  สระแก้ว  น้ำตกเพ็ญ  น้ำตกตาดร้อง  น้ำตกถ้ำสอ  น้ำตกน้ำผ่า  ถ้ำใหญ่  น้ำตกขุนทอง  ผาหมากดูก  ผาแดง  ผาเหยียบเมฆ  สวนสีดา  ซึ่งส่วนใหญ่มีทางเดินชมธรรมชาติติดต่อถึงกันหมด ฉะนั้นผู้ที่จะไปเที่ยวบนภูกระดึงควรใช้เวลาอย่างน้อย 3 วัน เพื่อที่จะได้เที่ยวชมธรรมชาติที่สวยสดงดงามเหล่านั้นได้ทั่วถึง


0105:24:30 -->
เขาใหญ่: อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สถานที่ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ข้อมูลเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์