ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ส่วนราชกุลวงศ์ชั้นที่ ๒ ของราชวง

 

ส่วนราชกุลวงศ์ชั้นที่ ๒ ของราชวงศ์จักรีนั้น เป็นดังนี้

 

๑.       สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) มีภัสดาชื่อพระอินทรรักษา (หม่อมเสน) มีพระโอรสพระธิดา ๔ พระองค์ คือ

 

(๑)   เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ (พ.ศ. ๒๒๘๐ – ๒๓๔๙) พระนามเดิมชื่อทองอิน ได้เป็นพระยาสุริยอภัย ในสมัยกรุงธนบุรีไปแจ้งให้ทราบเมื่อคราวยกทัพไปตีเมืองเขมร ต่อมาได้สถาปนาเป็นกรมพระราชวังหลัง มีวังอยู่ในส่วนลิ้นจี่ ริมคลองบางกอกน้อย (ต้นสกุลปาลวงศ์ และเสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา)

(๒)  เจ้าฟ้ากรมหลวงธิเบศร์บดินทร์ (พ.ศ. ๒๒๙๐ – ๒๓๒๘) พระนามเดิมชื่อบุญเมืองได้เป็นพระอภัยสุริยา ในสมัยกรุงธนบุรีอยู่ที่พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี

(๓)  เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ (พ.ศ. ๒๓๐๐ – ๒๓๔๐) พระนามเดิมชื่อทองจีน ได้เป็นหลวงนายฤทธิ์ อุปทูตไปปักกิ่งมีวังอยู่ที่สวนมังคุด เหนือวัดบางหว้าใหญ่ (ต้นสกุลนรินทรกูร ณ อยุธยา)

(๔)   เจ้าฟ้าหญิงทองคำประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๔ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑

 

๒.    พระเจ้ารามณรงค์ มีพระธิดา ๑ พระองค์ คือ กรมขุนรามินทรสุดา คนทั้งหลายเรียก “เจ้าครอกชี” สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้สถาปนาพระอัฐิเป็น กรมขุนรามินทรสุดา

 

๓.      สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์ (แก้ว) มีภัสดาชื่อ เจ้าขรัวเงิน สกุลเศรษฐี มีพระโอรสพระธิดา ๖ พระองค์ คือ

 

 

(๑)    เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพพิทักษ์ (พ.ศ. ๒๓๐๒ – ๒๓๔๘) พระนามเดิมชื่อ “ตัน” (ต้นสกุล เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

(๒)  เจ้าฟ้าหญิงกรมขุนอนัคฆนารี ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๕ พระนามเดิมชื่อ “ฉิม” ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้สถาปนาพระอัฐิเจ้าฟ้าหญิงฉิม เป็นกรมขุนอนัคฆนารี

(๓)   เจ้าฟ้าชาย สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์

(๔)  สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (พ.ศ. ๒๓๑๐ – ๒๓๗๙) พระนามเดิมชื่อ “บุญรอด” เป็นอัครมเหสีของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ คนทั้งหลายเรียก “สมเด็จพระพันวษา” สวรรคตเมื่อพรรษาได้ ๗๐ ปี ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยเป็น “สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์”

(๕)   เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี (พ.ศ. ๒๓๑๖ – ๒๓๖๕) พระนามเดิมชื่อ “จุ้ย” กำกับกรมวัง กรมมหาดไทย (ต้นสกุล มนตรี ณ อยุธยา)

(๖)   เจ้าฟ้ากรมขุนอิสรานุรักษ์ (พ.ศ. ๒๓๑๖ – ๒๓๗๓) พระนามเดิมชื่อ “เกศ” ทรงกำกับกรมมหาดไทยต่อจากพระเชษฐา (ต้นสกุล อิศรางกูร ณ อยุธยา)

 

๔.    พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราช รามาธิบดี (ทองด้วง) ทรงมีพระราชโอรสพระราชธิดากับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (๙ มีนาคม ๒๒๘๐ – ๒๕ พฤษภาคม ๒๓๐๙ รวม ๙ พระองค์ ด้วยกันที่ปรากฏชื่อ มี

 

(๑)   สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมขุนกษัตรานุชิต พระนามเดิมว่า “ฉิมใหญ่” เรียกกันว่า “เจ้าครอกฉิมใหญ่” เป็น “พระราชชายาของสมเด็จพระเจ้าตากสิน” สิ้นพระชนม์ครั้งกรุงธนบุรี พ.ศ. ๒๓๒๒ มีพระราชโอรสคือ เจ้าฟ้าสุพันธุ์วงศ์

(๒)  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลสงอิศรสุนทร (๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๓๑๐ – ๒๑ กรกฎา ๒๓๖๗) พระนามเดิมว่า “ฉิม” ได้เป็นพระมหาอุปราชา กรมพระราชวังบวรสถานมงคลเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ ต่อมาได้เสวยราชสมบัติเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงมีพระราชโอรสอันประสูติแต่พระศรีสุริเยนทราบรมราชชนนี (เจ้าฟ้าบุญรอด) พระอัครมเหสี ๓ พระองค์ ดังนี้

๒.๑ เจ้าฟ้าชาย สิ้นพระชนม์ในวันประสูติ พ.ศ. ๒๓๔๔

๒.๒ เจ้าฟ้าชายมงกุฎ สมมุติเทวงวงศ์พงศาอิศรกษัตริย์ ขัตติราชกุมาร (๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๔๗ – ๒๔๑๑) คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔

๒.๓ เจ้าฟ้าชายจุฑามณี (๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๑ – ๒๔๐๘) ได้เป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ต่อมาภายหลังได้บรมราชาภิเษกเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

                สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่ ๒) ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติ จากเจ้าจอมมารดาอื่น ๆ อีก รวมทั้งสิ้น ๗๒ พระองค์ พระราชโอรสที่สำคัญคือ

๒.๔ พระองค์เจ้าชายทับ (๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๐ – ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔) ได้เป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และคือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ ประสูติจากสมเด็จพระศรีสุลาลัย (เจ้าจอมมารดาเรียม)

(๓)   สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ (พ.ศ. ๒๓๑๓ – ๒๓๕๐) พระนามเดิมชื่อ “แจ่ม”

(๔)  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์ (๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๑๕ – ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๐) พระนามเดิมชื่อ “จุ้ย” ได้รับสถาปนาเป็น พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๒ อยู่ที่พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี

 

(๕)  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพยวดี (พ.ศ. ๒๓๒๐ – ๒๓๖๖) พระนามเดิมชื่อ “เอี้ยง” ได้เป็นเจ้าฟ้าประไพวดี (บางแห่งว่าประภาวดี) เป็นพระธิดาคนสุดท้องของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี

 

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราช รามาธิบดี ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาอื่น ๆ รวม ๔๒ พระองค์ สำหรับองค์ที่สำคัญควรทราบ ได้แก่

 

·                พระองค์เจ้าชายอรุโณทัย (๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ – ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๗๓) พระนามเดิมชื่อ “พระองค์ช้าง” ได้เป็นกรมหมื่นศักดิ์พลเสพ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ และได้อุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๐ และได้อุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๗ พระองค์ประสูติจากเจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่

 

·                พระองค์เจ้าชายวาสุกรี (๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ – ๒๓๙๖) พระนามเดิมชื่อ “วาสุกรี” ทรงผนวชเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕ ประทับอยู่ ณ วัดพระเชตุพน ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้สถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ พระองค์ประสูติจากเจ้าจอมมารดาจุ้ย (ท้าวทองกันดาล)

 

·                พระองค์เจ้าหญิงจันทบุรี (พ.ศ. ๒๓๔๑ – ๒๓๘๑) ได้เป็นพระราชชายานารีในรัชกาลที่ ๒ และทรงมีเจ้าฟ้า ๔ พระองค์ ต่อมาได้รับสถาป

นาเป็นเจ้าฟ้ากุลฑลทิพยวดี พระองค์ประสูติจากเจ้าจอมมารดาทองสุก

 

๕.    สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) ทรงมีพระโอรสพระธิดาที่ประสูติจากเจ้าจอมมารดาหลายคน รวม ๔๓ พระองค์ สำหรับที่สำคัญควรทราบ คือ

(๑)   เจ้าฟ้าหญิงพิกุลทอง (พ.ศ. ๒๓๒๐ – ๒๓๕๓) ในรัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนาเป็นกรมขุนศรีสุนทร ประสูติจากเจ้าศิริรดจา น้องนางของพระเจ้ากาวิละ เจ้าเมืองเชียงใหม่

(๒)  พระองค์เจ้าหญิงดาราวดี ประสูติเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ ได้เป็นพระชายาของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ ประสูติจากเจ้าจอมมารดาน้อย

 

๖.     เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทรเทวี (กุ) หรือ “เจ้าครอกวัดโพธิ์” มีภัสดาคือ พระองค์เจ้ากรมหมื่นนรินทร์พิทักษ์ (หม่อมมุก) บุตรของเจ้าพระยามหาสมบัติในรัชกาลที่ ๑ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๗ มีพระโอรสด้วยกัน ๒ พระองค์ คือ

 

๗.      เจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา (ลา) มีพระโอรสและพระธิดากับเจ้าจอมมารดาหลายพระองค์ ไม่ปรากฏพระนามที่สำคัญ

 

 

กษัตริย์ราชวงศ์จักรีนั้น เริ่มนับราชวงศ์ตั้งแต่ สมเด็จพระชนกาธิบดีแห่งพระปฐมกษัตริย์และมีราชสกุลวงศ์จักรีสืบราชสันตติวงศ์ต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทุกพระองค์ทรงเป็นสมเด็จพระมหาราชาธิราช ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่ออาณาประชาราษฎร์ ทรงมีมหากรุณาธิคุณที่มากพ้นสุดพรรณนา ธ สถิตอยู่ในดวงใจของปวงประชาชนชาวไทยทั้งมวลอย่างยั่งยืนตลอดกาลนาน

 

สมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม จึงเป็นราชวงศ์กษัตริย์ที่สืบราชวงศ์ดำรงสิริราชสมบัติ สามารถครองอาณาจักรมาตั้งแต่อาณาจักรโบราณมาจนถึงปัจจุบัน กล่าวคือนับได้ตั้งแต่กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย เมื่อพ.ศ. ๑๗๘๑ พ.ศ. ๒๕๔๔ รวม ๗๖๓ ปี (หากนับตั้งแต่ต้นราชวงศ์เชียงแสนเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๖๐๐ แล้วจะเป็น ๙๔๔ ปี) แล้ว ราชวงศ์กษัตริย์ของอาณาจักรสยามจึงเป็นราชวงศ์กษัตริย์ที่สืบราชสันตติวงศ์ที่มีอายุยาวนานกว่าราชวงศ์กษัตริย์ประเทศใดในโลก

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม ส่วนราชกุลวงศ์ชั้นที่ 2 ของราชวงศ์จักรี

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์