ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  สมเด็จพระปฐมกษัตริย์

 

 

สมเด็จพระปฐมกษัตริย์ (ทองด้วง) แห่งราชวงศ์จักรี(2)

 

 

แต่เนื่องจากคุณนาคภรรยาของหลวงยกกระบัตร (ทองด้วง) ขณะนั้นกำลังตั้งครรภ์อยู่ จึงได้ฝากพระธำมรงค์ ๓ วง และดาบทองคำเล่มหนึ่งไปให้พระยาวชิรปราการ (สิน) แทนตัว พร้อมกับแนะนำให้นายสุดจินดา (บุญมา) น้องชายไปรับนางนกเอี้ยงมารดาของพระยาวชิรปราการ (สิน) จากบ้านแหลม เมืองเพชรบุรีไปพร้อมกันเพื่อจะได้ไปอยู่กับพระยาวชิรปราการ (สิน) ผู้เป็นบุตรให้หายห่วงใยด้วย ส่วนตนเองนั้นจะติดตามไปสมทบด้วยในภายหลังขอให้คุณนาคภรรยาคลอดบุตรเสียก่อน มีความปรากฏในพงศาวดารว่า

 

                “ส่วนสุดจินดา มหาดเล็กนั้นหนีออกไปพำนักอยู่ ณ เมืองชลบุรี ครั้นเมื่อรู้ข่าวว่าเจ้าตากออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองจันทบุรี จึงพาพรรคพวกบ่าวไพร่เดินบกออกไปพึ่งด้วยเจ้าตาก เจ้าตากก็รับไปชุบเลี้ยงตั้งเป็นพระมหามนตรี เพราะรู้จักคุ้นเคยกันมาแต่ก่อนกรุงยังไม่เสียนั้น”

 

                ขณะนั้นเจ้าเมืองอื่น ๆ ได้ถือโอกาสตั้งตนเป็นใหญ่ในยามที่บ้านเมืองระส่ำระสาย สำหรับพระยาวชิรปราการ (สิน) นั้น ได้พยายามรวบรวมกำลังจากทหารที่หนีออกจากกรุงศรีอยุธยาและทำการปราบปรามพม่าและบรรดาก๊กต่าง ๆ พร้อมกับได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ หรือเรียกกันทั่วไปว่า สมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือขุนหลวงตาก เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ และได้สร้างกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงของไทย

 

                พระมหามนตรี (บุญมา) เจ้ากรมพระตำรวจในขวา ถือศักดินา ๒,๐๐๐ ไร่ ได้ทูลขอสมเด็จพระเจ้าตากสินออกไปรับหลวงยกกระบัตร (ทองด้วง) เมืองราชบุรี ผู้เป็นพี่ชายมารับราชการอยู่ด้วย และต่อมาหลวงยกกระบัตร (ทองด้วง) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา ถือศักดินา ๑,๖๐๐ ไร่ พี่น้องทั้งสองท่านนี้ได้ทำความดีความชอบในการสงครามมาก จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น ดังนี้

 

                พระมหามนตรี เป็น พระยาอนุชิตราชา จางวางพระตำรวจฝ่ายขวา พระราชวรินทร์ เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ จางวางพระตำรวจฝ่ายนอกขวา และได้รับพระราชทานบ้าน ที่ดิน อยู่ใต้วัดบางหว้าใหญ่ (คือวัดระฆังโฆษิตาราม กรุงเทพฯ)

 

                สมเด็จพระเจ้าตากสินได้ยกทัพขึ้นไปตีเมืองพิษณุโลกทั้งทางบกและทางเรือ ในครั้งนั้นเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เจ้าเมืองพิษณุโลกได้สั่งให้หลวงโกษา (ฝัง) คุมกองทัพบกและกองทัพเรือมาตั้งรับที่ตำบลเกยชัย แขวงเมืองนครสวรรค์ รบพุ่งกันเป็นสามารถและยิงปืนต้องพระชงฆ็ข้างซ้าย สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงได้สั่งให้ถอยทัพกลับกรุงธนบุรี เจ้าเมืองพิษณุโลก (เรือง) จึงได้ใจกำเริบถือว่าตนเองมีบุญญาธิการชนะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ จึงตั้งตนเป็นกษัตริย์ และได้แต่งตั้งพระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) ซึ่งถือว่าเป็นเจ้านายผู้ใหญ่ที่ขึ้นไปหลบหนีพม่าอยู่ที่เมืองพิษณุโลกเป็น “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายกเสนาบดี”

 

                ส่วนเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) นั้น ครั้นเมื่อสถาปนาตนเองและจัดพิธีราชาภิเษกได้ ๗ วัน ก็ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคฝีละลอกในคอ พระอินทรชากรน้องชายจึงปกครองเมืองพิษณุโลกแทนพี่ชาย แต่ไม่ได้สถาปนาเป็นกษัตริย์

 

                พระอักษรสุนทรศาสตร์ (ทองดี) หลังจากได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายกเสนาบดี” แล้ว ต่อมา พ.ศ. ๒๓๑๑ เจ้าพระยาจักรีฯ ได้ถึงแก่อสัญกรรม คุณนายมาภรรยาน้อยและนายลาบุตรชาย พร้อมด้วยนายขวัญ (ต่อมาได้เป็นนายชำนาญกระบวนนายเวรกรมมหาดไทย) นายยิ้ม นายแย้ม ได้ช่วยกันจัดการเรื่องศพและนำพระอิฐของเจ้าพระยาจักรีฯ ลงมาหาพระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) ที่ตำบลเกยชัย แขวงเมืองนครสวรรค์

 

                พระอัฐของเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ (ทองดี) นี้ ได้แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนหนึ่งเป็นของพระยาอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) และอีกส่วนหนึ่งเป็นของพระอนุชิตราชา (บุญมา) บุตรชายทั้งสองคน แล้วต่างก็ร่วมกันรับคุณนายมา นายลา และพรรคพวกไว้ในอุปการะทั้งหมด

 

                ในปี พ.ศ. ๒๓๑๒ เจ้าพระฝาง (เรือง) ได้ยกกองทัพล้อมเมืองพิษณุโลก ๓ วัน ๓ คืน ก็สามารถตีเมืองและยึดครองเมืองพิษณุโลกได้ ชาวเมืองพิษณุโลก เมืองพิจิตรจึงพากันอพยพครอบครัวลงมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของสมเด็จพระเจ้าตากสินเป็นอันมาก และในที่สุดสมเด็จพระเจ้าตากสินสามารถปรามปรามก๊กเจ้าฝางได้

 

                เมื่อทำการปราบปรามก๊กต่าง ๆ สำเร็จ และจัดแจงบ้านเมืองให้เหตุการณ์สงบเรียบร้อยประเทศสยาม ก็สามารถรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นดำรงความเป็นเอกราชได้แล้ว พระอนุชิตราชา (บุญมา) จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยายมราช และเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช ผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลกตามลำดับ ส่วนพระอภัยรณฤทธิ์ (ทองด้วง) นั้น ได้รับแต่งตั้งเป็น พระยายมราช เจ้าพระยาจักรีสมุหพระกลาโหม และสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกแม่ทัพ ตามลำดับ

 

                บุคคลทั้งสองพี่น้องนี้ได้รับราชการอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสิน จนกรุงธนบุรีเกิดระส่ำระสาย มีการจลาจลตอนปลายรัชกาล โดยพระยาสวรรค์ ได้ทำการเข้ายึดอำนาจไว้

 

                ขุนสรวิชิต (หน) นายด่านเมืองอุทัยธานี ได้ยกกำลังทหารด่านนำข้อราชการเหตุจลาจลที่กรุงธนบุรีไปรายงาน และนำทหารด่านเมืองอุทัยธานีออกไปรับกองทัพ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ณ ทุ่งแสนแสบ (เขตบางกะปิ) แล้วนำกองทัพเข้ากรุงโดยตั้งทัพพักที่วัดสระเกศ ๑ คืน

 

                ครั้นรุ่งเช้าวันเสาร์ที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ ตรงกับแรม ๙ ค่ำเดือน ๕ เวลา ๒ โมงเศษ สมเด็จพระเจ้ามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ได้จัดกระบวนกองทัพเดินตรงมานั่งเรือพระที่นั่งข้ามไปยังกรุงธนบุรีทำการปราบจลาจลเสร็จแล้ว ได้ทำการชำระความบ้านเมืองซึ่งมีปรากฏในพงศาวดารว่า

 

                “มุขมนตรีทั้งหลายพร้อมกับการกราบทูลว่าพระเจ้าแผ่นดินทุจริตธรรมเสียฉะนี้ ก็เห็นว่าเป็นเสี้ยนหนามหลังตออันใหญ่อยู่ในแผ่นดินจะละไว้มิได้ควรจะให้สำเร็จโทษเสีย จึงรับสั่งให้มีการกระทู้ถามเจ้าตาก เจ้าแผ่นดินผู้ทุจริตว่าตัวเป็นเจ้าแผ่นดินใช้เราไปกระทำการสงครามได้ความลำบากกินเหงื่อต่างน้ำเราอุตสาหะทำศึกมิได้อาลัยต่อชีวิต คิดแต่จะทำนุบำรุงแผ่นดินให้สิ้นเสี้ยนหนาม จะได้สมณพราหมณาจารย์และไพร่ฟ้าประชากรอยู่เย็นเป็นสุขสิ้นด้วยกัน ก็เหตุไฉนอยู่ภายหลังตัวจึงเอาบุตร ภรรยาเรา มาจองจำโทษ แล้วโบยตีพระภิกษุสงฆ์ และลงโทษแก่ข้าราชการและอาณาประชาราษฎร์ เร่งเอาทรัพย์สินโดยพลการด้วยหาความผิดมิได้ กระทำให้แผ่นดินเดือดร้อนทุกเส้นหญ้า ทั้งพระพุทธศาสนาก็เสื่อมทรุดเศร้าหมองดุจเมืองมิจฉาทิฐิฉะนี้โทษตัวมีประการใด จงให้การไปให้แจ้ง และเจ้าตากสินก็รับผิดทั้งสิ้นทุกประการ”

 

                วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๓๒๕ วันอาทิตย์ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีขาล ได้ทำพิธีตั้งเสาหลักเมืองกรุงเทพมหานคร และต่อมาวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๕ วันจันทร์เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ได้รับปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ประดิษฐานพระราชวงศ์ใหม่ โดยนำเอานามบรรดาศักดิ์ของ “เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์” และได้สถาปนาพระราชวงศานุวงศ์ มีสมเด็จพระพี่นาง ๒ พระองค์ และพระเจ้าน้องยาเธออีก ๑ พระองค์ รวมเป็น ๑๙ พระองค์

 

                เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช (บุญมา) นั้น ได้รับสถาปนาให้เป็น “สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” ตำแหน่งพระมหาอุปราชวังหน้า

                พระอัฐิของพระชนก ส่วนที่เป็นของพระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราช รามาธิบดี (ทองด้วง) นั้นได้อัญเชิญเข้าประดิษฐานในพระโกศทองคำประดับพลอยและทับทิม ตั้งไว้บนหอนมัสการในพระบรมมหาราชวัง สำหรับพระองค์ทรงสักการบูชาและให้พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนข้าราชการ ได้ถวายบังคมในพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาแทนธรรมเนียมเดิม ที่นิยมถวายบังคมพระเชษฐบิดร อันได้แก่รูปสมเด็จพระรามาธิบดี (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาส่วนพระอัฐิของพระชนกอีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นของสมเด็จกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท (บุญมา) สันนิษฐานว่าคงจะอัญเชิญเข้าประดิษฐานในพระเจดีย์ทองทีมณฑปวัดมหาธาตุ จึงต้องตั้งเครื่องทองน้อยสำหรับพระองค์ทรงสักการบูชาเป็นพิเศษ ณ พระเจดีย์ทองในพระมณฑปสืบต่อมา

 

                สำหรับการถวายพระเพลิงพระบรมอัฐิของ สมเด็จพระชนกาธิบดีสนองพระเดชพระคุณ เพราะเมื่อพระชนกาธิบดีสวรรคตเป็นเวลาบ้านเมืองเกิดจลาจล พระราชวงศานุวงศ์กระจัดพลัดพรากกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระพี่นาง สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ก็หาได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระชนกาธิบดีไม่ จึงโปรดให้สร้างพระเมรุมาศขนาดใหญ่ และเครื่องมหรสพสมโภชเหมือนอย่างการพระบรมโกศพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงเก่า

 

                เจ้าอนัมก๊ก และองค์สมเด็จพระนารายณ์ รามาธิบดี เจ้ากรุงกัมพูชาเมื่อได้ทราบข่าวก็แต่งทูตให้คุมสิ่งของเข้ามาทูลถวายช่วยในการพระเมรุทั้ง ๒ เมือง

 

                ครั้น ณ เดือน ๕ ปีมะโรง อัฐศก จุลศักราช ๑๑๕๘ การพระเมรุสร้างเสร็จแล้ว วันขึ้น ๑๓ ค่ำ โปรดให้แก่พระบรมสาริริกธาตุออกมาสู่พระเมรุมีการมหรสพสมโภช ๓ คืน ๓ วัน

 

                ในวันแรม ๑ ค่ำ จึงจัดพิธีแห่พระบรมอัฐิ ครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชโยงพระบรมอัฐิด้วยพระองค์เอง สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้นทรงพระราชทานโปรยข้าวตอกนำมาในกระบวน และพระราชวงศ์ทรงรูปสัตว์สังเค็ด ประคองผ้าไตรเข้าในกระบวนแห่ด้วยหลายพระองค์ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในครั้งนั้นเป็นอเนกประการ

 

                อนึ่งในการมหรสพสมโภชพระบรมอัฐิครั้งนั้น มีโขนชักรอกโรงใหญ่ ทั้งโขนวังหลวงและวังหน้า แล้วประสมโรงเล่นกลางแปลง เล่นเรื่องศึกทศกัณฐ์ยกทัพกับ ๑๐ ขุน ๑๐ รถ โขนวังหน้าเป็นทัพทศกัณฐ์ นกออกจากพระราชวังบวรฯ มาเล่นรบในท้องสนามหลวงหน้าพลับพลาถึงมีปืนบาเรียมลางเกวียนลากออกมายิงกันสนั่นไป

 

                ครั้งถึงวันแรม ๔ ค่ำ เชิญพระบรมธาตุแห่กลับแล้ว เวลานั้นถวายพระเพลิงพระบรมอัฐินั้นด้วยไม้หอมต่าง ๆ และในเวลาที่ถวายพระเพลิงพระบรมอัฐินั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคลช่วยกันทรงเชิญพระจิตกาธานซึ่งประดิษฐานพระบรมอัฐิไว้ด้วยพระหัตถ์ จนถวายพระเพลิงเสร็จ รุ่งขึ้นโปรดให้แห่พระอังคารไปลอยตามประเพณี”

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สมเด็จพระปฐมกษัตริย์ (ทองด้วง) แห่งราชวงศ์จักรี(2)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์