ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  กรมพระเทพามาตย์ หรือ พระอัครมเหส

 

กรมพระเทพามาตย์ หรือ พระอัครมเหสีเดิม

 

                ชื่อของ กรมพระเทพามาตย์ นั้นปรากฏนามอยู่สองรัชกาลในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์และแผ่นดินของสมเด็จพระเพทราชานั้น กรมพระเทพามาตย์ นี้นับเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในราชสำนักที่น่าศึกษาอันเป็นพระอิสริยศักดิ์ พระมารดาเลี้ยงหรือพระแม่นมเอกของกษัตริย์

 

                กรมพระเทพามาตย์ คนแรกนั้น คือ หม่อมบัว เดิมมีตำแหน่งเป็น ท้าวสมศักดิ์มหาธาตีภายหลังได้ออกบวชเป็นชี จึงถูกเรียกขานว่า “เจ้าแม่วัดดุสิต” เนื่องจากนางพำนักอยู่ที่วัดดุสิตาราม

 

                ส่วนกรมพระเทพามาตย์ อีกองค์หนึ่งนั้น คือ พระอัครมเหสีเดิมของสมเด็จพระเพทราชาซึ่งมีเรื่องว่า ในการที่สมเด็จพระเพทราชาแต่งตั้งพระอัครมเหสีเดิม (กัน) ขึ้นเป็นพระมเหสีกลางแต่งตั้ง พระราชกัลยาณี (เจ้าฟ้าหญิงศรีสุวรรณ) พระบรมภคินีของสมเด็จพระนารายณ์เป็นกรมหลวงโยธาทิพ เป็นอัครมเหสีฝ่ายขวา และแต่งตั้งเจ้าฟ้าหญิง หลวงโยธาเทพ พระราชธิดาของพระนาราณ์เป็น กรมหลวงโยธาเทพ อัครมเหสีฝ่ายซ้ายนั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ถูกกล่าวโทษไม่มีความจงรักภักดี ที่กล่าวหาสมเด็จพระเพทราชาว่า บังอาจกระทำในเรื่องที่ไม่ควรดังกล่าว

 

                พระอัครมเหสีเดิม (กัน) นั้น เป็นพระมารดาเลี้ยงของ ขุนหลวงสุรศักดิ์ (เดื่อ) อยู่ด้วย มีความปรากฏในพงศาวดาร ดังนี้

 

                “ในขณะนั้นสมเด็จพระอัครมเหสีเดิม แห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงในพระบรมโกษาซึ่งเป็นพระมารดาเลี้ยงของ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินได้อภิบาลบำรุงรักษาพระองค์แต่ยังทรงพระเยาว์นั้น ครั้นเมื่อสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคตแล้วจึงทูลสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินออกไปตั้งพระตำหนักอยู่ในที่ใกล้พระอารามวัดดุสิต และที่พระตำหนักวัดดุสิตนี้เป็นที่พระตำหนักมาก่อน ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า และเป็นมารดาเจ้าพระนาโกษาเหล็ก เจ้าพระยาโกษาปาน ซึ่งได้ขึ้นไปช่วยกราบทูลขอพระราชทานโทษสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินขณะเป็นหลวงสรศักดิ์และชกเอาปากเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ครั้งนั้น และเจ้าแม่ผู้เฒ่านั้นก็ได้ตั้งพระตำหนักอยู่ในที่นี่ ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ และสมเด็จพระราชมารดาเลี้ยงก็เสร็จตั้งพระตำหนักอยู่ในที่นั้นสืบต่อมาแล้วทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เป็นกรมพระเทพามาตย์ ส่วนสมเด็จพระอัครมเหสีฝ่ายซ้ายและฝ่ายขาวแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้าในพระบรมโกษ ซึ่งทรงพระนามว่ากรมหลวงโยธาทิพและกรมทรวงโยธาเทพนั้น ก็ทูลลาสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแล้วเอาพระราชบุตรซึ่งทรงพระยามว่าตรัสน้อยนั้นออกไปตั้งพระตำหนักอยู่ในที่ใกล้พระอารามวัดพุทธไธสวรรค์”

 

                สมเด็จพระอัครมเหสีเดิม ของสมเด็จพระเพทราชานี้ นามเดิมชื่อกัน เป็นพระราชมารดาเลี้ยงของขุนหลวงสรศักดิ์ (เดื่อ) เนื่องจากนางกุสาวดี (กุลธิดา) พระราชมารดาเดิม ซึ่งเป็นพระราชธิดาของเจ้าเมืองเชียงใหม่ และถูกสมเด็จพระนารายณ์พระราชทานให้สมเด็จพระเพทราชานำไปเลี้ยงดูในขณะที่มีพระครรภ์แล้ว ครั้นเมื่อประสูติขุนหลวงสรศักดิ์ (เดื่อ) ที่ตำบลโพธิ์ประทับช้าง แขวงเมืองพิจิตรแล้วก็คงมิได้กลับมาด้วย สมเด็จพระอัครมเหสีเดิม (กัน) จึงรับภาระเลี้ยงดูอย่างบุตรบุญธรรม

 

                ครั้นเมื่อสมเด็จพระเพทราชาเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๒๔๐ นั้น สมเด็จพระอัครมเหสีเดิมจึงได้ขอลาออกมาตั้งพระตำหนักอยู่ใกล้วัดดุสิต พระตำหนักในพระอารามวัดดุสิตแห่งนี้เดิมเป็นของเจ้าแม่ผู้เฒ่า ซึ่งเรียกว่ากันทั่วไป “เจ้าแม่วัดดุสิต” ผู้เป็นพระนมเอกของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเป็นพระมารดาของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ซึ่งครั้งหนึ่งขุนหลวงสรศักดิ์ (เดื่อ) ได้เคยไปขอร้องให้เจ้าแม่ผู้เฒ่าขึ้นไปกราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ณ พระราชวังที่เมืองลพบุรี คราวมีเรื่องกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ มีความในพงศาวดารว่า

 

                “ฝ่ายหลวงสรศักดิ์ก็ไปเฝ้าเจ้าแม่ดุสิต ซึ่งเป็นมารดาเจ้าพระยาโกษาเหล็กโกษาปาน และเป็นพระนมผู้ใหญ่ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น และถวายบังคมแล้วก็กราบทูลแถลงการณ์อันพระเจ้าวิไชยเยนทร์ กระทำการร้อนในพระพุทธศาสนาเหมือนดังนั้นและได้กราบทูลพระกรุณาแล้วก็มิได้เอาโทษ ข้าพระพุทธเจ้ามีความโทมนัสถึงพระพุทธศาสนา อันพระเจ้าวิไชยเยนทร์จะทำให้พระพุทธศาสนาให้พินาศเสื่อมสูญ ดังนั้นจึงชกเอาปากเจ้าสมุหนายกแล้วหนีลงมา และบัดนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระพิโรธจะลงอาญาแก่ข้าพระพุทธเจ้า ขอจงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม อัญเชิญเสด็จขึ้นไปขอพระราชทานโทษข้าพระพุทธเจ้าครั้งหนึ่งเถิด”

 

                เมื่อสมเด็จพระราชมารดาเลี้ยง หรือพระอัครมเหสีเดิม (กัน) ของสมเด็จพระเพทราชาผู้นี้ได้ออกไปตั้งตำหนักอยู่ที่เดียวกับพระตำหนักของเจ้าแม่วัดดุสิต เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเข้าใจว่าเจ้าแม่ดุสิต (หม่อมบัว หรือเจ้าแม่ผู้เฒ่า) นั้น คงถึงแก่อสัญกรรมแล้ว และต่อมาสมเด็จพระราชมารดาเลี้ยงองค์นี้มาอาศัยอยู่ในที่เดิม และได้รับแต่งตั้งเป็น กรมพระเทพามาตย์ (กัน) เมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๓ จึงเรียกว่า กรมพระเทพามาตย์และก็น่าจะถูกเรียกว่า เจ้าแม่วัดดุสิตได้เช่นกัน

 

                ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเสือ (ขุนหลวงสรศักดิ์) บุตรชายของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ชื่อ ขุนทอง ได้เข้ารับราชการมีความดีความชอบเป็นพระยาอัษฎาเรืองเดช และอยู่รับราชการจนมีตำแหน่งสูง เป็นเจ้าพระยาวรวงศาธิราช ตำแหน่งเสนาบดีคลัง ตามลำดับ

 

                เจ้าพระยาวรวงศาธิราช (ขุนทอง) ขุนนางราชสำนักกรุงศรีอยุธยาผู้มีบุตรชายคนโต ๑ คน ชื่อทองคำ ได้ถวายตัวเข้ารับราชการเป็นที่จมื่นมหาสนิท หัวหมื่นมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

 

                เมื่อ พ.ศ. ๒๒๔๕ สมเด็จพระเจ้าเสือได้สั่งลงพระอาญาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชบวนสถานมงคล และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพร พระบัณฑูรน้อย โดยจับมัดเฆี่ยนยกละ ๓๐ ที ทุกเช้าเย็น เนื่องจากทรงพระพิโรธที่ช้างพระที่นั่งตกหล่มลึก กล่าวหาว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอได้ทำถนนผ่านบึงเพื่อให้ช้างพระที่นั่งเดินข้ามติดหล่ม หมายจะฆ่าเอาพระราชสมบัติถึงกับพระองค์ขับช้างพระที่นั่งไล่ฟันด้วยพระแสงของ้าวและให้ทหารจับตัวมาลงพระอาญาดังกล่าว

 

                เรื่องนี้กรมพระเทพามาตย์ (กัน) ซึ่งอยู่ที่พระตำหนักริมวัดดุสิตถึงกับต้องนั่งเรือพระที่นั่งขึ้นมายังพลับพลาที่ตำบลบ้านพลูหลวง แขวงเมืองนครสวรรค์ ดังมีความปรากฏในพงศาวดารว่า

 

                “ขณะนั้นนายผลข้าหลวงเดิมคนหนึ่ง เข้าไปเฝ้าเยียนสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองในเรือนโทษ จึงมีพระบัญฑูรตรัสว่า อ้ายผลบัดนี้สมเด็จพระราชบิดาทรงพระพิโรธ ดำรัสสั่งให้ลงพระอาญาแก่กูทั้งสองทุกเพลาเช้าเย็นเป็นนิจทุกวัน ๆ กว่าจะเสด็จกลับลงไป ณ กรุงเทพมหานครและกูทั้งสองจะทนพระราชอาญาได้หรือจะมิตายเสียหรือ เองจะคิดประการใด อ้ายผลได้ฟังดังนั้นก็เห็นว่าจะพ้นภัยจึงกราบทูลว่า ขอพระราชทานจงดำรัสให้ตำรวจเอาเรือเร็วลงไปกราบทูลเชิญสมเด็จพระอัยกีกรมพระเทพามาตย์ ซึ่งเสด็จอยู่ ณ พระตำหนักริมวัดดุสิตนั้นมาช่วยกราบทูลโทษ เห็นว่าจะทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานให้เป็นมั่นคง ด้วยเหตุว่ากรมพระเทพามาตย์นี้มีคุณูปการเป็นอันมาก ได้อุปถัมภ์บำรุงเลี้ยงรักษาสมเด็จพระราชบิดามาแต่ทรงพระเยาว์นั้น จะว่ากระไรก็ว่ากันได้ เห็นจะขัดกันมิได้ และซึ่งจะอุบายคิดอ่านไปอย่างนั้นเห็นว่าจะพ้นโทษ”

 

                สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์ตรัสได้ทรงฟังดังนั้นก็เห็นชอบด้วย ทรงพระปีติโสมนัสยิ่งนัก จึงมีพระบัณฑูรตรัสใช้หลวงเกษตรรักษา ให้เอาเรือเร็วรีบลงไปเฝ้าสมเด็จพระอัยกีกรมพระเทพามาตย์ และให้กราบทูลโดยมูลเหตุทั้งปวงให้ทราบสิ้นทุกประการ แล้วจงทูลว่าเราทั้งสองพี่น้อง ขอถวายบังคมมาแทบฝ่าพระบาท สมเด็จพระอัยกีเจ้าขอทรงพระกรุณาโปรด เชิญเสด็จขึ้นมาช่วยทูลขอพระราชทานโทษข้าพเจ้าทั้งสองโดยเร็วเถิด ข้าพเจ้าทั้งสองจึงจะรอดจากความตายและซึ่งบุคคลใดจะมาเป็นที่พึ่งที่พำนักช่วยชีวิตข้าพเจ้าทั้งสองในคราวนี้เห็นไม่มีตัวแล้ว และหลวงเกษตรรักษารับสั่งแล้วก็มาลงเรือรีบไป ณ กรุงสามวันก็ถึง จึงเข้าไปเฝ้ากรมพระเทพามาตย์ พระตำหนักริมวัดดุสิตนั้น แล้วกราบทูลโดยมีพระบัณฑูรสั่งมานั้นทุกประการ

 

                สมเด็จพระอัยกีได้ทรงฟังดังนั้นก็ตกพระทัย จึงตรัสเรียกข้าหลวงสาวใช้สั่งให้ฝีพายผูกเรือพระที่นั่งมาประเทียบท่าเป็นการเร็วแล้วเสด็จโดยด่วนมาลงเรือพระที่นั่ง ให้รีบเร่งฝีพายขึ้นไปหลวงเกษตรรักษาเป็นเรือนำเสด็จ รีบเร่งไปทั้งกลางวันกลางคืน สี่วันก็ถึงท่าเรือประทับ จึงเสด็จขึ้นไปเฝ้าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ณ พระตำหนักพลับพลานั้น

 

                จึงพระยาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเห็นกรมพระเทพามาตย์ พระราชมารดาเลี้ยงเสด็จขึ้นมา ก็กระทำปัจจุคมน์มหาการต้อนรับเชิญเสด็จให้ขึ้นนั่งร่วมราชาอาสน์ ทรงพระถวายอภิวาทแล้วลำดับถามว่า ซึ่งเจ้าคุณขึ้นมานี้มีกิจธุระเป็นประการใด จึงกรมพระเทพามาตย์กราบทูลว่าได้ยินข่าวลงไปว่าพระราชบุตรทั้งสองเป็นโทษ จึงอุตสาหะขึ้นมาหา ทั้งนี้เพื่อจะทูลขอพระราชทานโทษ จึงมีพระราชโองการตรัสเล่าให้กรมพระเทพามาตย์ทรงฟังว่า อ้ายคนทั้งสองนี้มันคิดการกบฏ เดิมข้าพเจ้าให้มันเป็นแม่กองถมถนนข้ามบึง มันแสร้งทำเป็นพุหลุมไว้ให้ช้างซึ่งข้าพเจ้าขี่นั้นเหยียบถลำลง แล้วมันก็คิดจะฆ่าข้าพเจ้าเสียจะเอาราชสมบัติ กรมพระเทพามาตย์จึงกราบทูลว่า อันพระราชบุตรทั้งสองนี้เป็นลูกเพื่อนทุกข์เพื่อนยากของพ่อมาแต่ก่อน และซึ่งจะคิดกบฏประทุษร้ายต่อพ่อนั้นหามิได้ กรมพระเทพามาตย์ กราบทูลวิงวอนขอพระราชทานโทษไปเป็นหลายครั้ง จึงทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานโทษแก่กรมพระเทพามาตย์นั้น แล้วมีพระราชดำรัสมอบให้แก่กรมพระเทพามาตย์ว่า เจ้าคุณ จงเอามันทั้งสองลงไปเสียด้วยเถิดอย่าให้มันอยู่กับข้าพเจ้าที่นี่เลย และถ้าจะเอามันไว้ที่นี่ด้วยข้าพเจ้าไซร้มันจะคิดกบฏฆ่าข้าพเจ้าอีกเป็นมั่นคง และกรมพระเทพามาตย์รับสั่งแล้วก็ไปถอดสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทั้งสองพระองค์ออกจากโทษ แล้วทูลลาสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์มาลงเรือพระที่นั่ง แล้วเสด็จกลับลงมายังกรุงเทพมหานคร”

 

                ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงน่าจะไว้วางใจให้จมื่นมหาสนิท (ทองคำ) หัวหมื่นมหาดเล็กของพระองค์ออกไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสะแกกรัง เพื่อคอยกะเกณฑ์สิ่งของและทำราชการ ด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงโปรดการเสด็จประพาสล้อมช้างป่า และเมืองอุทัยธานีเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยข้าว ช้างป่า มูลค้างคาว ไม้ ผลกระวาน เป็นต้น สำหรับใช้ในกองทัพและเป็นยุทธปัจจัยของสมเด็จเจ้าฟ้าเพชร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เพื่อเป็นกำลังในโอกาสที่จะขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ต่อไปด้วย

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม บุคคลสำคัญจากเชื้อสายของเจ้าพระยาโกษาธิบดี

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์