ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ราชวงศ์จักรี

ราชวงศ์จักรี

ต้นราชวงศ์จักรี(2)

 

เมื่อกรุงศรีอยุธยามีอำนาจเหนือแคว้นสุโขทัยนั้น พระรามาธิบดีที่ ๒ (พระเชษฐา) พระโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้รับแต่งตั้งให้ขึ้นไปครองอยู่เมืองพิษณุโลก และโอกาสนั้นพระองค์ทรงมีพระมเหสีเป็นสตรีเชื้อสายราชวงศ์กษัตริย์ทางเหนือ (คือราชวงศ์สุโขทัย ภายหลังพระเชษฐาได้กลับมาครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาทรงพระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ นัยว่าพระไชยราชาผู้ซึ่งเป็นพระโอรสนั้นอยู่กับพระมารดา ซึ่งเป็นพระญาติทางฝ่ายพระมารดาของพระเฑียรราชา

 

                พระเฑียรราชา จึงมีฐานะเป็นพระอนุชากับพระไชยราชาด้วย กล่าวคือต่างมีพระมารดาเป็นพระญาติและสืบเชื้อราชวงศ์กษัตริย์ทางเหนือเช่นกัน ต่อมาพระเฑียรราชาได้ติดตามเข้ามารับราชการอยู่ด้วยกับ สมเด็จพระไชยราชา ซึ่งได้เข้ายึดอำนาจขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา จนเกิดเหตุการณ์กรณีท้าวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาธิราช ทำให้พระเฑียรราชาผู้สำเร็จราชการแผ่นดินต้องหนีออกผนวช ต่อมาขุนพิเรนทรเทพ ผู้เป็นพระญาติทางมารดากับพระเฑียรราชา ซึ่งติดตามมารับราชการเป็นนายตำรวจหลวง ได้เป็นหัวหน้านำคณะก่อการชิงราชบัลลังก์กลับคืน

 

                ขุนพิเรนทรเทพ ผู้นี้เป็นเชื้อสายที่สืบต่อจากเชื้อพระวงศ์ของสมเด็จพระมหาธรรมราชากษัตริย์แคว้นสุโขทัย จึงได้ทูลเชิญพระเฑียรราชา (ขณะนั้นทรงผนวชหนีภัยอยู่) ผู้เป็นพระญาติมีฐานะศักดิ์เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระไชยราชานั้นขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ และแต่งตั้งพระมเหสีขึ้นเป็น พระมหาเทวี (ไม่ปรากฏพระนามเดิมว่าอะไร)

 

                พระมหาเทวี พระมเหสีผู้นี้เป็นสตรีเชื้อสายกษัตริย์ทางเหนือ เป็นพระญาติฝ่ายมารดาของขุนพิเรนทรเทพด้วยเช่นกัน ภายหลังนั้นพระมหาเทวี พระองค์นี้ได้รับการตั้งพระนามว่าพระสุริโยทัย

 

                เนื่องจากขุนพิเรนทรเทพ นั้นเป็นบุคคลที่เชื้อสายมาจากราชวงศ์สุโขทัยและมีความดีความชอบในการกู้ราชบัลลังก์กลับคืน จึงทำให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ทรงสถาปนาแต่งตั้งให้ขุนพิเรนทรเทพ พระญาติผู้นี้มีตำแหน่งเป็น พระมหาธรรมราชา ดำรงพระอริยยศเป็นพระมหาอุปราช (ตามพระนาม สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทย กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ซึ่งได้ลงมาครองเมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีของแคว้นสุโขทัย) ดังนั้นพระมหาธรรมราชา พระมหาอุปราชจึงขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกและดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งเจ็ด

 

                ในครั้งนั้นพระมหาธรรมราชาได้รับพระราชทานพระสวัสดิราช ผู้เป็นพระธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระมหาเทวี(พระสุริโยทัย) เป็นพระมเหสี ดำรงตำแหน่งเป็นพระวิสุทธิ์กษัตริย์ พระมหาธรรมราชา เชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยจึงมีฐานะเป็นราชบุตรเขยของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาและเจ้านายเดิมของราชวงศ์ทางเหนือด้วย

 

                ต่อมาพระมหาธรรมราชานั้นได้รับแต่งตั้งจากพระเจ้าบุเรงนองให้เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ (ไทยใช้พระนาม สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช) ดังนั้นในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชานั้น พระองค์โปรดให้พระโอรสทั้งสองพระองค์มีอำนาจรับผิดชอบบ้านเมืองแทน โดยพระนเรศวร พระโอรสองค์โตกับพระเอกาทศรถ พระอนุชา ได้ทำการกอบกู้อิสรภาพของแผ่นดินจนสามารถชนะสงครามยุทธหัตถี ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นเอกราชโดยสมบูรณ์

 

                สมเด็จพระมหาธรรมราชานั้นทรงมีพระราชธิดาและพระโอรส ๓ พระองค์ คือพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ

 

                เมื่อ พ.ศ. ๒๑๒๖ พระยาเกียน (บางแห่งเขียนพระยาเกียรติ์) พระยาราม (บางแห่งเขียนพระยาพระราม) ขุนนางเชื้อสายมอญจากเมืองหงสาวดี ได้พาครอบครัวและพวกอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพเป็นไทไม่ขึ้นเมืองหงสาวดี มีความปรากฏในพงศาวดารว่า

 

                “ข้าพเจ้าจะนำพระองค์กับพระยาเกียน พระยาราม และญาติโยมทั้งปวงลงไปอยู่ ณ กรุงพระมหานครศรีอยุธยา จะไดปฏิบัติภาระสนองคุณพระองค์ปลูกเลี้ยงพระยาเกียน พระยาราม ก็พร้อมโดยพระราชบริพาร”

 

                เมื่อสมเด็จพระนเรศวรนำบุคคลสำคัญเชื้อสายมอญดังกล่าวอพยพครอบครัวมายังกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระองค์ได้ให้พระมหาเถรคันฉ่องนั้น จำพรรษาอยู่ที่วัดมหาธาตุ ส่วนพระยาเกียน พระยารามนั้น ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านขมิ้น วัดขุนแสน ส่วนญาติพี่น้อง นอกนั้นให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบ้านหลังวัดนก

 

                ต่อมา พระยาราม ขุนนางมอญผู้นี้ มีลูกหลานสืบเชื้อสายอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด นอกจากเล่ากันว่า พระราชธิดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ องค์หนึ่งนั้นได้แต่งง่านกับบุคคลที่สืบเชื้อสายจากขุนนางมอญไม่ปรากฏชื่อ และมีบุคคลสืบต่อเชื้อสายมาอย่างไร กี่ชั้นไม่ปรากฏ แต่ปรากฏชื่อบุคคลชั้นหลัง คือ เจ้าแม่วัดดุสิต

 

                อีกความว่าสมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชาธิราชของสมเด็จพระนเรศวรนั้นทรงมีพระชายาเป็นธิดามอญ เป็นบุคคลในเชื้อสาย (บางแห่งว่าเป็นบุตรี) ของพระยาราม (บางแห่งเรียกพระยารามราช) ขุนนางมอญที่พาครอบครัวและกลุ่มชาวมอญอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในสมัยสมเด็จพระนเรศวรพร้อมกับพระยาเกียน (บางแห่งเขียนพระยาเกียรติ์)

 

                ผู้ที่เป็นพระชายาของสมเด็จพระเอกาทศรถผู้นั้น ได้บุคคลสืบเชื้อสายต่อมาจนถึงบุคคลชื่อ บัว (บางแห่งเรียก หม่อมเจ้าหญิงบัว)

 

                ความที่เล่าต่างกันนี้ จึงมีทั้งสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงมีพระชายาเป็นพระธิดาของพระยาพระราม ขุนนางมอญ และพระองค์ทรงมีพระราชธิดาออกไปแต่งงานกับบุคคลเชื้อสายมอญจาก พระยาพระราม แล้วมีเชื้อสายสืบต่อมาจนถึงบุคคลชื่อ บัว

 

                สรุปแล้ว บุคคลสำคัญที่ชื่อ บัว นี้เป็นเชื้อสายที่สืบจากสมเด็จพระเอกาทศรถกับคนในเชื้อสายมอญ ต่อมานั้นบุคคลนี้ (หม่อมบัว) ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ท้าวสมศักดิ์วงศามหาธาตีนั่นเอง (นามนี้อาจแต่งเติมกันในชั้นหลังให้สมฐานะ) แต่นางผู้นี้ได้มีบทบาทสำคัญมาในสมัยพระนารายณ์มหาราช มีฐานะเป็นพระแม่นมเอกของสมเด็จพระนารายณ์ จึงถือเป็นบุคคลสำคัญที่ใกล้ชิดในราชสำนักมาก่อน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บุตรชายของนางสองคน (คือเหล็กและปาน) ที่ร่วมดื่มน้ำนมจากเต้าเดียวกับสมเด็จพระนารายณ์นั้นได้เข้ารับราชการในราชสำนักและมีตำแหน่งเป็นขุนนางระดับสูง

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม ต้นราชวงศ์จักรี(2)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์