ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  เหตุการณ์สำคัญสมัยกรุงศรีอยุธยาต

 

 

เหตุการณ์สำคัญสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(4)

 

ศักราช  946  (พ.ศ.  2127)  ครั้งนั้นสมเด็จพระยานารายณ์เป็นเจ้า  เสวยราชสมบัติ  ณ  เมืองพิษณุโลก  รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงสาและพระเจ้าอังวะผิดกัน  ครั้งนั้นเสด็จไปช่วยงานเศิกพระเจ้าหงสาและอยู่วันพฤหัสบดี  แรม  3  ค่ำ  เดือน  5  ช้างต้นพลายสวัสดิมงคลและช้างต้นพลายแก้วจักรรัตน์ชนกัน  และงาช้างต้นพลายสวัสดิมงคลลุ่ยข้างช้างและโหรทำนายว่าห้ามยาตรา  และมีพระราชโองการตรัสว่าได้ตกแต่งการนั้นสรรพแล้ว  จึงได้เสด็จพยุหบาตรไปครั้งเถิง  ณ  วันพุธ  แรม  9  ค่ำ  เดือน  5  เสด็จออกตั้งทัพชัยตำบลวัดยม  ท้ายเมืองกำแพงเพชร  ในวันนั้นแผ่นดินไหว  แล้งจึงยกทัพหลวงเสด็จไปเถิงเมืองแกรง  แล้วจึงยกทัพหลวงเสด็จกลับมาพระนครศรีอยุธยา  ฝ่ายเมืองพิษณุโลกนั้นอยู่ในวันพุธ  ขึ้น  8  ค่ำ  เดือน  10  เกิดอัศจรรย์  แม่น้ำทรายหัวเมืองพิษณุโลกนั้น  ป่วนขึ้นสูงกว่าพื้นน้ำนั้น  3  ศอก  อนึ่งเห็นสุภาพสตรีท่านหนึ่ง  หน้าประดุจหน้าช้าง  และทรงสัญลักษณ์ประดุจงาช้างและหูนั้นใหญ่  นั่งอยู่  ณ  วัดปราสาททอง  หัวเมืองพิษณุโลก  อนึ่งช้างใหญ่ตัวนั้นยืนอยู่  ณ  ท้องสนามนั้นอยู่  ก็ล้มตายลงที่บัดเดี่ยวนั้น  อนึ่ง  เห็นตั๊กแตนบินมา  ณ  อากาศเป็นอันมากและบังพระอาทิตย์บดแล้วก็บินกระจีดกระจายหายสูญไปในปีเดียวนั้นพระเจ้าหงสาให้พระเจ้าสาถีและพระยาพสิม  ยกพลมายังกรุงพระนคร  ณ  วันพุธ  ขึ้น  2  ค่ำ  เดือน  2  เพลาเที่ยงคืน  และ2  นาฬิกา  9  บาทเสด็จพระยุหยาตราไปตั้งทัพตำบลสามขนอนครั้งนั้นเถิงหงสาแตกพ่ายไป  อนึ่ง  ม้าตัวหนึ่งตกลูกและศีรษะม้านั้นเป็นศีรษะเดียวกัน  แต่ม้านั้นเป็น  2  ตัว    และเท้านั้นตัวละ  4  เท้า  ประดุจชิงศรีษะกัน

 

                ศักราช  947  ระกาศก  (พ.ศ.  2128)  พระเจ้าสาวถียกพลมาครั้งหนึ่งเล่า  ตั้งทัพตำบลสะเกษ  และตั้งอยู่แต่  ณ  เดือนยี่  เถิงเดือน  4  ครั้นเถิงวันพุธ  ขึ้น  7  ค่ำ  เดือน  9  เวลารุ่งแล้ว  4  นาฬิกาบาท  เสด็จพยุหยาตราตั้งทัพชัยตำบลหล่มพลี  แล  ณ  วันเสาร์  ขึ้น  10  ค่ำ  เดือน  5  เสด็จทรงช้างพระที่นั่งมงคลทวีป  ออกดาช้างม้าทั้งปวง  ณ  ริมน้ำ  และพระอาทิตย์ทรงกลดและรัศมีกลดนั้นส่องลงมาต้องช้างพระที่นั่ง  มีทรงสัญลักษณ์ประดุจเงากลดนั้นมากั้นช้างพระที่ยั่ง  ครั้งนั้นตีทัพพระเจ้าสาวถีซึ่งตั้งอยู่ตำบลสะเกษนั้นแตกพ่ายไป  ในปีเดียวนั้นพระมหาอุปราชยกพลมาโดยทางกำแพงเพชร  ตั้งทำนาอยู่ที่นั่น

 

                ศักราช 948  จอศก  (พ.ศ  2129)  ณ  วันทร์  แรม  8  ค่ำ  เดือน  12  พระเจ้าหงสางาจีสยางยกพลมาเถิงกรุงพระนคร  ณ  วันพฤหัสบดี  ขึ้น  2  ค่ำ  เดือน  2  พระเจ้าหงสาเข้าล้อมกรุงพระนครและตั้งตำบลคนอนปากคู  และทัพมหาอุปราตั้งขนอนบางตนาวกองทัพทั้งปวงนั้นก็ตั้งรายกันไปล้อมพระนครอยู่  และครั้งนั้นได้รบพุ่งกันเป็นสามารถ  พระเจ้าหงสาเลิกทัพกลับคืนไปในศักราช  949  (พ.ศ.  2130)  วันจันทร์  แรม  14  ค่ำ  เดือน  4  เสด็จโดยทางชลมารคไปตีทัพมหาอุปราชาอันตั้งอยู่ขนอนบางตนาวนั้น  แตกพ่ายถอยลงไปตั้งอยู่  ณ  วันศุกร์  แรม  10  ค่ำ  เดือน  6  เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพมหาอุปราชาอันลงไปตั้งอยู่  ณ  บางกระดานนั้นแตกพ่ายไป  วันพฤหัสบดี  ขึ้น  1  ค่ำ  เดือน  7  เสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตราออกตั้งทัพชัย  ณ  วัดเดช  และตั้งค่ายขุดคูเป็นสามารถ  วันพฤหัสบดี  ขึ้น  4  ค่ำ  เดือน  7  เอาปืนใหญ่ลงสำเภาขึ้นไปยิงเอาค่ายพระเจ้าหงสา  ๆ  ต้านมิได้  ก็เลิกทัพไปตั้ง  ณ  ป่าโมกใหญ่  วันจันทร์  ขึ้น  10  ค่ำ  4  เสด็จพระราชดำเนินออกไปตีทัพข้าเศิก  ๆ  นั้นแตกพ่าย  และไล่ฟันแทงข้าเศิกเข้าไปจนค่ายพระหงสานั้น  วันอังคาร  แรม  10  ค่ำ  เดือน  4  เสด็จพระราชดำเนินออกตั้งทัพซุ่ม  ณ  ทุ่งหลุมพลี  และออกตีทัพข้าเศิกไปจนถึงหน้าค่าย  ครั้นข้าเศิกแตกทัพพ่ายเข้าค่ายและไล่ฟันแทงข้าเศิกไปจนเถิงหน้าค่าย  วันจันทร์  แรม  10  ค่ำ  เดือน  3  เพลานาฬิกาหนึ่งจะรุ่ง  เสด็จยกทัพออกไปตีทัพพระยานครซึ่งตั้งอยู่  ณ  ปากน้ำมุทุเลานั้น  ครั้งนั้นได้ตีทัพได้เถิงในค่าย  และข้าเศิกหนีจากค่ายข้าเศิกเสียสิ้น  และพระเจ้าหงสาก็เลิกทัพคืนไป  และพระยาละแวกมาตั้ง  ณ  บางซาย  ครั้งนั้นเสด็จออกไปชุมพลทั้งปวง  ณ  บางกระดาน  เถิงวันพฤหัสบดี  ขึ้น  1  ค่ำ  เดือน  3  เพลาอุษาโยค  เสด็จพยุหยาตราจากบางกระดาน  ไปตั้งทัพชัย  ณ  ซายเคืองและเสด็จไปละแวก  ครั้งนั้นได้ช้างม้าผู้คนมาก

 

                ศักราช  950  ชวดศก  (พ.ศ.  2131)  ณ  วันจันทร์  แรม  8  ค่ำ  เดือน  12  แผ่นดินไหว

 

                ศักราช  951  ฉลูศก  (พ.ศ.  2132)  ข้างแพงเป็นเกวียนละสิบตำลึงปิดตราพระยานารายณ์กำชับ  ณ  วันศุกร์  แรม  7  ค่ำ  เดือน  2  แผ่นดินไหว

 

                ศักราช  952  ขาลศก  (พ.ศ.  2133)  วันอาทิตย์  แรม  13  ค่ำ  เดือน  8  สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง  พระพฤฒาราชนฤพาน  วันอังคาร  แรม  2  ค่ำ  เดือน  12  มหาอุปราชยกทัพมาโดยทางกาญจนบุรี  ครั้งนั้นได้ตัวพระพสิมตำบลจระเข้สามพัน

 

                ศักราช  954  มะโรงศก  (พ.ศ.  2135)  วันศุกร์  แรม  2  ค่ำ  เดือน  2  อปราชายกมาแต่หงสา  ณ  วันเสาร์  แรม  1  ค่ำ  เดือน  1  เพดานช้างต้นพระไชยานุภาพ  ตกออกมาใหญ่ประมาณ  5  องคุลีครั้งเถิงเดือนยี่  มหาอุปราชายกมาถึงแดนเมืองสุพรรณบุรี  แต่ตั้งทัพตำบลพังตรุ    วันอาทิตย์  ขึ้น  9  ค่ำ  เดือน  2  เพลารุ่งแล้ว  4  นาฬิกา  2  บาท  เสด็จพระยุหยาตราโดยทางสถลมารค  ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี  ที่ตั้งทัพชัยตำบลม่วงหลาน  แล  ณ  วันพุธ  ขึ้น  12  ค่ำ  เดือน  2  เพลารุ่งแล้ว  2  นาฬิกา  9  บาท  เสด็จพยุหยาตราโดยทางสถลมาคร  อนึ่งเมื่อใกล้รุ่งขึ้นวัน  12  ค่ำ  เดือน  2  เพลารุ่งแล้ว  5  นาฬิกา  3  บาท  เสด็จทรงช้างต้นพระยาไชยานุภาพ  เสด็จออกรบมหาอุปราชาตำบลหนองสาหร่าย  ครั้งนั้นมิได้ตามฤกษ์และฝ่าย  (ฝ่า)  ฤกษ์หน่อหน่อย  และเมื่อได้ชนช้างพระมหาอุปราชานั้น  สมเด็จพระนารายณ์บพิตรเป็นเจ้าต้องปืน  ณ  พระหัตถ์ข้างขวาหน่อยหนึ่ง  อนึ่งเมื่อมหาอุปราชาขี่ช้างออกมายืนอยู่นั้น  หมวกมหาอุปราชาใส่นั้นตกเถิงดิน  และเอาคืนใส่เล่า  ครั้งนั้นมหาอุปราชาขาดคอตายในที่นั้น  และช้างต้นพระยาไชนุภาพ  ซึ่งทรงและได้ชนพระมหาอุปราชาและมีชัยชำนะนั้น  พระราชทานให้ชื่อเจ้าพระยาปราบหงสา

 

                ศักราช  955  มะเส็งศก  (พ.ศ.  2126)  วันจันทร์  ขึ้น  5  ค่ำ  เดือน  10  เสด็จเถลิงพระมหาปราสาท  ครั้งนั้นทรงพระโกธรแก่มอญให้เอามอญไปเผาเสียประมาณ  100  ณ  วันศุกร์  ขึ้น  10  ค่ำ  เดือน  2  เพลารุ่งแล้ว  3  นาฬิกา  6  บาท  เสด็จพยุหยาตราไปเมืองละแวกและตั้งทัพชัย  ตำบลบางขวด  เสด็จไปครั้งนั้น  ได้ตัวพระยาศรีพรรณในวันอาทิตย์  แรม  1  ค่ำ  เดือน  4  นั้น

 

                  ศักราช  956  มะเมียศก  (พ.ศ.  2139)  ยกทัพไปเมืองตะโตง

 

                ศักราช  957  มะแมศก  (พ.ศ.  2138)  วันอาทิตย์  ขึ้น  3  ค่ำ  เดือน  1  เพลารุ่งแล้ว  3  นาฬิกา  9  บาท  เสด็จพยุหยาตราไปเมืองหงสาครั้งก่อน  ฟันไม้ข่มนามตำบลหล่มพลี  ตั้งทัพชัยตำบลม่วงหวานเถิงวันจันทร์  แรม  13  ค่ำ  เดือน  4  เพลาเที่ยงแล้ว  เข้าปล้นหงสามิได้ทัพหลวงเสด็จกลับคืนมา

 

                ศักราช  958  วอกศก  (พ.ศ.  2139)  วันอังคาร  ขึ้น  4  ค่ำ  เดือน  6  ลาวหนี  ขุนจ่าเมืองรบลาวตำบลตะเคียนด้วน  และ  วันพฤหัสบดี  ขึ้น  6  ค่ำ  เดือน  3  ฝนตกหนัก  3  วันดุจฤดูฝน

 

                ศักราช  961  กุนศก  (พ.ศ.  2142)  วันพฤหัสบดี  ขึ้น  11  ค่ำ  เดือน  11  เพลารุ่งแล้ว  2  นาฬิกา  8  บาท  เสด็จพยุหยาตราไปเมืองตองอูฟันไม่ข่มนามตำบลหล่มพลี  ตั้งทัพชัยตำบลวัดตาล  และในเดือน  11  นั้น  สงกรานต์วันเสาร์แต่  (ราศีกันย์ไปราศี)  ตุลย์ครั้นเถิงวันพุธ  ขึ้น  10  ค่ำ  เดือน  4  เสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองตองอู  และทัพหลวงเข้าใกล้เมืองตองอูประมาณ  30  เส้นและตั้งอยู่ที่นั้นสองเดือน  ขาดอาหารพ้นกำลัง  ไพร่พลทั้งปวงตายด้วยอดอาหารเป็นอันมาก  ครั้นวันพุธ  แรม  6  ค่ำ  เดือน  6  ทัพหลวงเสด็จกลับคืนมาพระนครศรีอยุธยา

 

                ศักราช  963  ฉลูศก  (พ.ศ.  2144)  เดือน  7  เดือนเดียวนั้นมีสุริยุปราคา  ในปีนั้นรับพระอิศวรและพระนารายณ์เป็นเจ้า  ไปถวายพระพรวันเดียวกันทั้ง  4  คานหาม

 

                ศักราช  964  ขานศก  (พ.ศ.2145)  เสด็จไปประพาสลพบุรี

 

                ศักราช  965  เถาะศก  (พ.ศ.  2146)  ทัพพระ  (เจ้า)  ฝ่ายหน้าเสด็จไปเอาเมืองขอมได้

 

                ศักราช  966  มะโรงศก  (พ.ศ.  2147)  วันพฤหัสบดี  (แรม  6  ค่ำ  เดือน  2)  เสด็จพยุหยาตราจากป่าโมกทางชลมาคร  และฟันไม้ข่มนามตำบลเอกราช  ตั้งทัพชัยตำบลพระหล่อ  วันนั้นเป็นวันอุนเป็นวันสงกรานต์  พระเสาร์ไปราศีธนูเป็นองศาหนึ่ง  ครั้งนั้นครั้นเสด็จพระราชดำเนินเถิงเมืองหลวงตำบลทุ่งวัดหลวง

      

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม เหตุการณ์สำคัญสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(4)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์