ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  สังคมและวัฒนธรรมชาวสยามสมัยกรุงธ

สังคมและวัฒนธรรมชาวสยามสมัยกรุงธนบุรี

 

จากบันทึกของ  ฟรังซัว  อังรี  ตุรแปง

 

                เหตุการณ์ช่วงก่อนกรุงศรีอยุธยาจะแตกถึงสมัยต้นกรุงธนบุรีนั้น  ชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อนายฟรังซัว  อังรี  ตุรแปง (Turpin)  ได้มีบันทึกประวัติศาสตร์สยาม  จากข้อมูลที่ได้รับจากบาทหลวงบรีโกต์  สังฆราช  แห่งตาบรากา  (Bishop  of  Tabraca)  ประมุขมิสซังกรุงสยาม  ที่เคยอยู่กรุงสยามหลายปี

 

                เนื่องจากเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกนั้น  บาทหลวงบรีโกต์  ถูกพม่าจับตัวไปที่บางช้าง  แล้วพาไปเมืองทวาย ต่อจากนั้น  กัปตันเรือชาวอังกฤษ  ชื่อรีเวียร์  ได้พาไปจนถึงเมืองย่างกุ้งประทเศพม่า  เมื่อวันที่  26  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2310  เมื่อบาทหลวงบรีโกต์ได้รบการปล่อยตัวจากย่างกุ้งก็เดินทางมาเมืองปอนดิเชอรี่  เมื่อ  17  มีนาคม  พ.ศ. 2311  แล้วจึงได้เดินทางกลับไปปารีส

 

                ฟรังวัว  อังรี  ตุรแปง  ได้เขียนบันทึกดังกล่าวไว้เป็นหนังสือภาษาฝรั่งเศส  2  เล่ม  ชื่อ “Histoire  du  Royaume  de  Siam”  พิมพ์ที่กรุงปารีสในปี  พ.ศ. 2314  (ค.ศ. 1771)  หนังสือนี้  กรมศิลปากรได้ให้นายปอล  ซาเวียร์  แปลเล่มที่ 1  และพิมพ์เป็นภาษาไทยชื่อ  “ประวัติศาสตร์แห่งพระราชอาณาจักรสยาม”  ส่วนเล่มที่สอง  กรมศิลปากรให้นางสมศรี  เอี่ยฝธรรม  แปลเป็นภาษาไทยจากฉบับภาษาอังกฤษชื่อว่า  “ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาฉบับตุรแปง”

 

                บันทึกของฟรังซัว  อังรี  ตุรแปง  นั้นมีเรื่องเกี่ยวกับชาวสยามและความเป็นอยู่ไว้อย่างละเอียด  สรุปได้  ดังนี้

 

                นิสัยใจคอของชาวสยาม

 

                ชาวสยามเป็นคนภาคภูมิใจในชาติและรักขนบธรรมเนียมอย่างเหนียวแน่น  มีกิริยามารยาท  อ่อนโยนสุภาพ  มีเมตตา  ซ่อนความรู้สึกไม่ชอบพูดมาก  มัธยัสถ์  ไม่ชอบหรูหราฟุ่มเฟือย  ไม่เห็นแก่ตัว  มีความรู้จักพอ  ไม่ติดใจอยากได้สมบัติสิ่งของต่างๆ  เหมือนคนยุโรป  แต่ของที่มีอยู่จะรักษาอย่างหวงแหน  ชอบฝังสมบัติมากกว่าจะนำออกมาใช้  นับถืออาวุโส  เคารพพ่อแม่  คำสบประมาทของชาวสยามที่เจ็บแสบที่สุด  คือ  เป็นคนขี้ปด

 

                จุดอ่อนของชาวสยาม  คือ  เป็นคนเฉื่อยชาเกียจคร้าน  อันแก้ไม่หาย  ย่อท้อ  ไม่ชอบทำอะไรที่ลำบากยากเย็น  ไม่ชอบทำของยาก  ไม่ยินดียินร้าย  ไม่ลุกลี้ลุกลน  ไม่ออกกำลังบริหารร่างกายเพราะทำให้เหน็ดเหนื่อย  ชาวสยามเป็นศัตรูกับความเหน็ดเหนื่อย  และความยากลำบาก  ดูเหมือนจะมีชีวิตอยู่เพื่อจะกินและสืบเผ่าพันธุ์เท่านั้น  คนสยามมักจะเหลาะแหละไม่ยอมรับหลักการและผลที่เกิดจากหลักการ  จิตใจไม่ค่อยได้รับการฝึกฝน  จึงไม่เคยแยกว่าอะไรดีและอะไรดีที่สุด  แล้วก็ประพฤติโดยไม่นึกจะคิดไตร่ตรองหาเหตุผล  มักเป็นนายที่แข็งกระด้างไม่ค่อยรู้วิธีบังคับบัญชาคน

 

                ชาวสยามมีความเจ็บแค้นสูงเมื่ออับอาย  บ้าคลั่งอย่างไม่รู้จักชั่วใจเมื่อโมโห  บางครั้งโหดเหี้ยมทารุณทำร้ายกันถึงตาย  โดยเฉพาะวิธีประหารชีวิตของสยามแบบต่างๆ  นั้นสยดสยองทรมานยิ่ง  การปฏิวัติที่มีบ่อยๆ  ทำให้คนมั่งมีหลายคนถูกริบทรัพย์จนหมดตัว

                คนสยาม  มักยอมอ่อนน้อมต่อผู้อยู่เหนือกว่า  แต่จะหยิ่งดูหมิ่นคนที่ต่ำกว่าและคนที่แสดงความยกย่องเขา  บางคนช่างพูดอย่างมีเลห์เหลี่ยม  อ้างเหตุผลผิดๆ  มาตบตาคน  เชื่อถือไสยศาสตร์  โชคลาง  หมอดู  เข้าทรงและคาถาอาคม

 

                ครอบครัว

 

                สตรีสยามมีความเหนียมอายสงบเสงี่ยม  ผู้หญิงสยามทำงานหนัก  ทำไร่ไถนาตัดไมและเก็บเกี่ยวข้าว  ขณะที่ผู้ชายชาวสยามบางคนนอนซึมอยู่บนที่นอน  ผู้ชายสยามชอบมีภรรยาหลายคน

               

                โรคภัยไข้เจ็บ

 

                ชาวสยามไม่รู้จักปลูกฝีฉีดยา  หลายคนมีแผลบนใบหน้าซึ่งเกิดจากฝีดาษ  กามโรคยังไม่เป็นที่รู้จักกันในสยาม  ยังไม่รู้จักการผ่าตัด  ชอบใช้การนวดในการรักษาโรค  มีการใช้ปูที่กลายเป็นหินนำไปตำละลายกับเหล่าเพื่อรักษาโรคบิด

 

                อาหารการกิน

 

                คนสยาม  กินอึ่อ่าง  คางคก  หนูนา  ไข่เหี้ย  ตั๊กแตน  หนุ  กิ้งก่า  ตับปลากระเบน  ตะขาบปิ้ง  และแมลงทุกชนิด  ชอบสูบยาฉุน  และชอบกินหมากทำให้ฟันดำ  ลิ้นชาวสยามนั้นหยาบสามารถกินหลาเน่าหรือไข่เสียตายโคมได้  ชาวสยามไม่ชอบกินเนื้อสัตว์  แต่ชอบกินไส้สัตว์  มีการทำปูจ๋า  โดยเอาเนื้อปูมาสับกับกระเทียมใส่ในกระดองปูแล้วนำไปทอด

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สังคมและวัฒนธรรมชาวสยามสมัยกรุงธนบุรี

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์