ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  อาณาจักรสยาม

 

 อาณาจักรสยาม

ยุคกรุงธนบุรีเป็นราชธานี  (พ.ศ. 2310 – 2325)(2)

 

                วันที่  25  ตุลาคม  พ.ศ. 2321  นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ค  ชื่อ  ดอกเตอร์  เจ  จี  โกนิก  เดินทางจากอินเดียมาประเทศไทยโดยเรือบริสตอล  เขียนบันทึกไว้ในเอกสารชื่อ  Voyage  from  India  to  Siam  and  Malacca  ว่าได้เห็นภูเขาร้อยยอด  ที่มีทองคำเนื้อดี  ผ่านเมืองบางกอกเห็นป้อมที่ฝรั่งเศสสร้างไว้  (คือป้อมวิชาเยนทร์  ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นป้อมวิชัยประสิทธิ์)  พระเจ้าแผ่นดินประทับอยู่ในพระราชวังหลังป้อม  พระราชวังเป็นไม้  มีตำหนักแพสำหรับพระเจ้าแผ่นดินด้วย  พระเจ้าตากสินทรงโปรดเรื่องการค้า

 

                บันทึกนั้นได้เล่าว่า  บางกอกเป็นเมืองที่มีแม่น้ำคั่นกลาง  มีป้อมตามริมแม่น้ำ  มีเชิงเทินแข็งแรง  มีกำแพงล้อมเมือง  มีคูลึกในด้านที่ต่อกับที่ราบ  มีกองร้อยปืนใหญ่อยู่บนกำแพงนอกป้อม  ครั้งนั้นเกิดไฟไหม้เรือชาวจีนลำหนึ่ง  พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จออกมาทรงบัญชาการดับไฟด้วยพระองค์เอง

 

                ดอกเตอร์  เจ  จี  โกนิก ได้แล่นเรือขึ้นไปทางเหนือผ่าน  สามโคก  ผ่านค่ายโปรตุเกสุ  และโบสถ์เซนต์ปอลซึ่งถูกไฟไหม้เหลือแต่ซาก  เห็นวิทยาลัยใหญ่ของพวกโรมันคาทอลิกริมแม่น้ำ  เห็นกรุงศรีอยุธยาเป็นที่รกร้าง  กำแพงเมืองแตกร้าว  มีคนนำช้างมาเลี้ยง  500  เชือก  ดร.  โกนิก  ชอบขลุ่ยไทยเพราะมีเสียงไพเราะมาก  และยังได้เดินทางไปจังหวัดเพชรบุรีด้วย

 

                สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงบุรี  (พระเจ้าตากสิน)  ได้มีการสั่งซื้อปืนใหญ่จากเดนมาร์ค  จำนวน  10,000  กระบอก  โดยจ่ายค่าปืนด้วยดีบุก  เดนมาร์คได้ส่งปืนใหญ่  3,000  กระบอกมาจากโคเปนเฮเกน  แต่ปรากฏว่าปืน  521  กระบอก  นั้นเกิดระเบิด  ทำให้พระองค์ทรงปฏิเสธการซื้อปืนจากเดนมาร์ค

 

                สำหรับปืนใหญ่เดนมาร์คยี่ห้อ  Frederiksvaerk  ที่มีอายุราวปี  พ.ศ. 2301  นั้น  ได้พบอยู่ที่บริเวณป้อมปราการเก่าในเมืองสมุทรสาครและเมืองสงขลา  และพบปืนใหญ่โบราณจากฮอลแลนด์  อายุราวสี่ร้อยปี  สองกระบอก  ยี่ห้อ  VOC  ตั้งอยู่ที่หน้าทำเนียบรัฐบาล

 

                บริเวณหน้ากระทรวงกลาโหมนั้นมีปืนใหญ่โบราณอยู่จำนวนมาก  ซึ่งมี  ปืนพญาตานี  ที่หล่อจากปัตตานีด้วย

 

                พ.ศ. 2323  เจ้าพระยามหากษัตริย์ได้ศึกยกทัพไปปราบเขมร  และได้นำ  นักองเองเจ้าของเขมรมาชุบเลี้ยงในกรุงเทพฯ  และได้แต่งตั้งให้พระยาอภัยภูเบศร์  (แบน  ต้นตะกูลอภัยวงศ์)  ออกไปปกครองดินแดนเมืองเขมร

                พ.ศ. 2324  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือพระเจ้าตากสิน  (จีนเรียก  เจิ้งเจา  หรือ  แต้อ๋อง)  ทรงโปรดให้เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช  และพระยามหานุภาพนำคณะทูตเดินทางไปเจริญไมตรีที่เมืองจีนโดยเดินทางออกจากกรุงธนบุรีเมื่อวันอังคาร  เดือน  7  แรม  11  ค่ำ  จุลศักราช 1143  ปีฉลู  เดินทางไปเมืองกวางตุ้ง  โดยมีเรือสำเภา  11  ลำ  บรรทุกไม้ฝาง  งาช้าง  ดีบุก  นอแรด  ไม้ดำ  ไม้แดงและชางหนึ่งเชือก  ใช้เวลาเดินทาง  33  วัน  ครั้งนั้นได้อัญเชิญพระราชสาส์นไปเจริญทางพระราชไมตรี  กับพระเจ้ากรุงปักกิ่ง  เคี่ยนหลงฮ่องเต้  หลังจากที่ว่างเว้นการติดต่อกับกรุงจีนมา  24  ปี

 

                เรือสำเภาสยามใช้ใบแล่นออกไปทางปากน้ำติดสันดอน  รอน้ำขึ้นสองวันแล่นทวนลมไปพัทยา  ผ่านเส้นทางทะเลดังนี้  ผ่านสามร้อยยอด  พุทไธมาศ  เกาะขวาง  เขาขนุน  เกาะกุ๋นตุ๋น  เกาะทราย  เมืองป่าสัก  (ญวน)  ปากน้ำญวนเขาช้างข้าม  ข้ามทะเลถึงเมืองกวางตุ้ง  รวมระยะทาง  300  โยชน์  คณะราชทูตนั้นได้เห็นป้อมปืนกลางน้ำที่เมืองกวางตุ้ง  และเห็นฝรั่งอังกฤษวิลันดาจำนวนมาก  บ้านเรือนก่อเป็นตึก  หญิงจีนรัดเท้าเล็ก  มีขอทานมาก

 

                จงตกดูหมูอี๋  อุปราชของเมืองกวางตุ้งได้ให้ม้าเร็วเดินทางไปปักกิ่ง  เพื่อขออนุญาตให้คณะราชทูตสยามเข้าเฝ้าพระเจ้าเคี่ยนหลงฮ่องเต้ที่กรุงปักกิ่ง  (พระยามหานุภาพ  เรียกกรุงปักกิ่งว่า  กรุงราชคฤห์) ใช้เวลาเดินทางไปกลับ  27  วัน  คณะราชทูตจึงได้ลงเรือไปเฝ้าพระเจ้าเคี่ยนหลงฮ่องเต้ที่ปักกิ่ง  ได้รับพระราชทานเลี้ยงอย่างสมเกียรติ  คณะราชทูตได้ซื้ออาวุธจากจีน  และอุปกรณ์ก่อสร้าง  กลับมากรุงสยามเมื่อ  พ.ศ. 2325  อุปกรณ์ก่อสร้างดังกล่าวนั้นได้นำมาใช้ในการสร้างพระบรมมหาราชวังในสมัยรัชกาลที่  1  ด้วย

 

                เหตุการณ์เมื่อทูตไทยไปเฝ้าพระเจ้ากรุงจีนนี้  ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุจีน  ชื่อ  หวง  เฉียวบุ๋ยเหียนทงเค้า  เล่ม  34  หน้า  40 – 41  เรียกประเทศสยามว่า  “เสียมหลอก๊ก”  และอ้างว่าในสมัยราชวงศ์สุย  ราชวงศ์ถัง  เรียกประเทศสยามว่า  “เซียะโท้วก๊ก”

 

                พ.ศ. 2324  เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกยกทัพไปเขมร  เพราะเขมรต่อต้านอำนาจของไทยไปฝักใฝ่กับญวน  กองทัพไทยจึงเข้ายึดเสียมราฐและพระตะบองเอาไว้  แต่เกิดเรื่องวุ่นวายทางกรุงธนบุรี  เนื่องจากพระยาสรรค์นั้นเข้ายึดอำนาจจับพระราชวงศ์มาจองจำไว้  จำต้องยกทัพกลับมาปราบกบฏแล้วสิ้นสมัยกรุงธนบุรี

 

                พ.ศ. 2325  เมืองพม่าได้เกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน  พระเจ้าจิงกูจาแห่งกรุงอังวะเมืองพม่า  ได้ถูกตะแคงปดุงอะตวนหวุ่นกับอะแซหวุ่นกี้  ชิงอำนาจและจับพระเจ้าจิงกูจาประหารชีวิตขณะมีพระชนมายุ  27  พรรษา  ตะแคงปดุง  จึงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พม่า  พระนามว่าพระเจ้าปดุง  ภายหลังได้ยกทัพมาสู้รบกับอาณาจักรสยาม

 

                สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือพระเจ้าตากสิน  ครองราชย์อยู่  14  ปี  ทรงมีพระโอรส  คือ  กรมขุนอินทรพิทักษ์  (พระองค์เจ้าจุ้ย)  และกรมขุนกษัตรนุชิต  (หม่อมเหม็น)  ใน  พ.ศ. 2325  เกิดเหตุการณ์จลาจล  พระองค์ได้ถูกเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  เข้าปราบจลาตล  ทำการยึดอำนาจและถูกประหารชีวิต  พระบรมศพประดิษฐานอยู่ที่วัดอินทราราม

 

                พระยาตาก  (สิน)  ได้ครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระบรมราชาที่  4  หรือ  สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  เมื่อ  จ.ศ. 1130  (พ.ศ. 2311)  พระองค์ทรงสร้างราชธานีที่กรุงธนบุรี  พระองค์ทรงรวมกำลังกอบกู้ชาติ  และทำการปราบปรามก๊กต่างๆ  ปรับปรุงบ้านเมืองจนเป็นปึกแผ่นมั่นคง  ปลายรัชกาลนั้นเกิดจลาจลภายในกรุงธนบุรี  พระองค์เสด็จสวรรคตในปี  จ.ศ. 1144  (พ.ศ. 2325)  รวมอยู่ในสิริราชสมบัติ  14  ปี

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม อาณาจักรสยาม(2)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์