ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

 

 

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์  (พระเจ้าเอกทัศน์)

ครองราชย์  พ.ศ. 2301 – 2310(3)

 

ฝ่ายพม่ากลัวฝีมือชาวบ้านระจันยิ่งนัก  แต่จัดแจงกะเกณฑ์ทัพ  ปรึกษากันอยู่ประมาณสิบเอ็ดสิบสองวัน  แม่ทัพจึงแต่งให้แยจออากาเป็นนายทัพ  เกณฑ์แบ่งพลทหารไปทุกๆ  ค่ายเป็นคนพันเศษ  สรรพด้วยม้าเครื่องศาสตราวุธให้ยกไปตีค่ายบ้านระจันอีก  ก็แตกพ่ายหนีมาเป็นห้าครั้ง  แล้วแม่ทัพจึงแต่งให้จิกแกปลัดเมืองทวายเป็นนายทัพคุมพลห้าร้อยเศษยกไปตีเป็นหกครั้งก็แตกพ่ายมา  จึงแต่งให้อากาปัญญียกไปตั้งค่ายอยู่  ณ ตำบลบ้านขุนโลก  ฝ่ายข้างทัพไทยบ้านระจันจึงจัดให้ขุนสันฝีมือยิงปืนแม่นเป็นนายพวกทหารปืน  คอยป้องกันทหารม้าพม่า  แล้วแต่งให้นายจันหนวดเขี้ยวเป็นนายทัพใหญ่คุมทหารพันเศษยกออกตีทัพพม่าเข้าล้อมค่ายไว้  ฝ่ายทัพพม่าตั้งค่ายยังไม่ทันแล้ว  ทัพไทยยวกเข้าโจมตีข้างหลังค่าย  ยิงแทงฟันพม่าตายแทบถึงพัน  และกากาปัญญีนายทัพนั้นก็ตายอยู่ในค่าย  ทัพไทยได้ม้าและผ้านุ่งห่ม  ศัตราวุธต่างๆ  เป็นอันมาก  พม่าแตกหนีเหลือรอดมานั้นน้อยประมาณร้อยเศษ  ตั้งแต่นั้นมาพม่ายิ่งกลัวฝีมือไทยค่ายบ้านระจันนัก  เกณฑ์กันจะให้ไปรบอีกมิใคร่ได้  หยุดนานไปถึงกึ่งเดือน

 

ฝ่านในกรุงเทพมหานครนั้น  ขณะเมื่อกองทัพพม่ายกเข้ามาจะใกล้ถึงกรุงนั้น  สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งให้ออกไปนิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะ  ซึ่งอยู่วัดนอกเมืองนั้น  ให้เข้ามาอยู่ในวัดพระนครทั้งสิ้น  และสมเด็จพระอนุชาธิราชซึ่งผนวชอยู่  ณ วัดประดู่นั้น  ก็เสด็จเข้ามาอยู่  ณ  วัดราชประดิษฐาน  ขุนนางและราษฎรชวนกันไปทูลเชิญเสด็จให้ลาผนวชออกช่วยราชการแผ่นดินป้องกันรักษาพระนคร  เหมือนเมื่อศึกมังลองครั้งก่อน  ก็หาลาผนวชออกไม่และเพลาเสด็จไปทรงรับบิณฑบาต  ชาวเมืองชวนกันเขียนหนังสือห่อใส่บาตรเป็นใจความทูลวิงวินให้ลาผนวชและได้ห่อหนังสือในบาตรเป็นอันมากทุกๆ  วัน

 

ขณะนั้น  ในพระนครได้ทราบข่าวว่าชาวบ้านระจันตั้งค่ายต่อรบพม่า  พม่ายกทัพไปตีแตกพ่ายมาเป็นหลายครั้ง  ชาวบ้านระจันฆ่าพม่าเสียเป็นอันมาก  เห็นพม่าย่อท้อถอยกำลังลง  สมเด็จพรเจ้าแผ่นดินจึงดำรัสให้เสนาบดีเกณฑ์กองทัพจะให้ยกออกไปรบพม่า  แล้วโปรดให้ถอดเจ้าหมื่นศรีสรรรักษ์ออกจากโทษให้คงถานาศักดิ์ทำราชการดังเก่า  จึงโปรดให้พระยาพระคลังเป็นแม่ทัพ  กับทั้งท้าวพระยาข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยเป็นหลายนาย  และทัพหัวเมืองสมทบด้วยก็หลายเมืองเป็นคนหมื่นหนึ่ง  ให้ยกออกไปตีค่ายพม่า  ซึ่งตั้งอยู่  ณ วัดป่าฝ้ายปากน้ำ  ประสบและให้สานกระชุกแบกไปเป็นอันมาก  สำหรับเมื่อจะตั้งรบที่ใดจะเอากระชุกตั้งเรียงให้ชิดกันแล้วจะขุดมูลดินลงในพระชุกเป็นสมานเพลาะ  บังตัวพลทหารกันปืนข้าศึก  พระยาพระคลังและนายทัพนายกองทั้งปวงกราบถวายบังคมลาแล้วยกกองทัพออกจากพระนครวันนั้น  รี้พลมากเต็มไปทั้งท้องทุ่ง  แม่ทัพหยุดแคร่ที่ใดกองทัพก็หยุดที่นั้น  พร้อมๆ  กันเป็นกองๆ  รั้งรอไป  ครั้นไปถึงที่ใกล้ค่ายพม่าก็ตั้งทัพดากันอยู่  และทหารพม่าขี่ม้าข้ามน้ำไปหาค่ายใหญ่ฟากตะวันตกเป็นหลายม้า  จึงขับทหารเข้าตีค่าย  พม่าในค่ายยิงปืนใหญ่น้อยออกมาต้องพลทัพไทยล้มลงสี่ห้าคน  กองทัพทั้งนั้นก็ถอยมาสิ้น  ครั้งเพลาเย็นก็เลิกกลับเข้าพระนครอยู่สองสามวัน  จึงมีพระราชดำรัสให้ทัพพระยาพระคลังยกออกไปตีค่ายปากน้ำประสบอีก  ขณะนั้นบรรดาชาวพระนครทั้งคฤหัสถ์และสมณะไม่เคยเห็นเขารบกัน  ชวนกันตามกองทัพออกไปดูรบพม่าเป็นอันมาก  และกองทัพยกออกไปตั้งอยู่ยังไม่ทันเข้าตีค่าย  พม่าแต่งกลให้รี้พลยกหาบคอนออกหลังค่ายทำทีจะแตกพวกกองอาฎมาต  (เขียนไว้ว่า  กองอาจสามารถ  น่าจะผิด)  ชวนกันวิ่งเข้าไปใกล้ค่ายพม่า  และเนเมียวแม่ทัพขับพลทหารทั้งคนทั้งม้าออกไล่โอบหลังกองทัพไทย  พุ่งหอกซัดและยิงปืนบนหลังม้าต้องพลทัพไทยตายเป็นหลายคน  กองทัพไทยมิได้ต่อรบ  พากันแตกพ่ายหนีถอยลงมา  ณ โพธิ์สามต้นทั้งสิ้น  และเจ้าหมื่นศรีสรรักษ์  เจ้าหมื่นเสมอใจราช  ขี่ม้าข้ามน้ำหนีมาฟากตะวันออก  แต่กองพระยาตากรอรบอยู่ค่อยข้ามตามมาต่อภายหลัง  ทัพม้าพม่าไล่ติดตามพุ่งหอกซัดพลทัพไทยและคนซึ่งตามออกไปดูรบศึกนั้นบาดเจ็บเป็นอันมาก  ที่ล้มตายก็กลาดเกลื่อนไป  กองทัพไทยก็พ่ายหนีเข้าพระนคร  พวกทัพพม่าก็กลับไปค่าย

 

ฝ่ายนายทัพนายกองพม่าทั้งปวง  จึงปรึกษากันจัดหาผู้ซึ่งจะเป็นนายทัพ  จะให้ยกไปตีเอาค่ายบ้านระจันให้จงได้  ขณะนั้นรามัญคนหนึ่งเป็นมอญเก่าอยู่ในพระนครนี้มาช้านาน  เข้าเกลี้ยกล่อมพม่ามีฝีมือรบเข้มแข็ง  แม่ทัพพม่าตั้งให้เป็นพระนายกอง  จึงเข้ารับอาสาจะขอไปตีค่ายบ้านระจันให้แตกจงได้  แม่ทัพจึงเกณฑ์พลพม่ารามัญให้สองพัน  ตั้งให้พระนายกองเป็นรายทัพ  สรรพด้วยม้าเครื่องสรรพาวุธให้ยกไปตีค่ายบ้านระจันอีกเป็นแปดครั้ง  และพระนายกองยกทัพไปตีค่ายบ้านระจันครั้งนั้นมิได้ตั้งทัพกลางแปลงให้ตั้งค่ายรายไปตามทางสามค่าย  แล้วให้รื้อค่ายหลังผ่อนไปตั้งข้างหน้าอีกแต่เดินค่ายไปตามทางทีละสามค่าย  ดังนี้  ถึงกึ่งเดือนจึงไปเกือบจะใกล้ค่ายบ้านระจัน  พวกตัวนายค่ายบ้านระจันคุมพลทหารยกออกตีค่ายพระนายกองเป็นหลายครั้งไม่แตกฉาน  และพระนายกองตั้งมั่นรับอยู่แต่ในค่ายมิได้ออกรบนอกค่าย  พวกบ้านระจันเสียคนล้มตายเป็นอันมาก  วันหนึ่งนายทองเหม็นกินสุราเมาขี่กระบือเผือกยกพลเข้าตีค่ายพม่า  พระนายกองขับพลรามัญออกต่อรบนอกค่าย  นายทองเหม็นขับกระบือไล่ถลำเข้าในกลางทัพแต่ผู้เดียว  แทงพลพม่ารามัญตายเป็นหลายคน  พวกพม่าต่อรบต้านทานล้อมเข้าไว้ได้  เข้ารุมฟันแทงนายทองเหม็นไม่เข้า  นายทองเหม็นสู้รบอยู่ผู้เดียวจนสิ้นกำลังพม่าจับตัวได้ก็ทุบตีตายในที่นั้น  พวกทัพบ้านระจันเสียนายแล้วก็แตกหนีไปค่าย  ทัพพม่าพระนายกองก็ยกติดตามมาถึงบ้านขุนโลกใกล้ค่ายบ้านระจัน  จึงให้เก็บศพพม่าซึ่งตายแต่ทัพก่อนๆ  นั้นเผาเสียสิ้น  แล้วก็ตั้งค่ายใหญ่ลงที่นั้นรักษามั่นอยู่  ทัพบ้านระจันออกตีค่ายเป็นหลายครั้งไม่แตกก็เสียน้ำใจ  ท้อถอย  พระนายกองจึงให้ขุดอุโมงค์เดินเข้าไปใกล้ค่ายบ้านระจัน  แล้วปลูกหอรบขึ้นสูง  เอาปืนใหญ่ขึ้นยิงเข้าไปในค่ายต้องไทยตายเป็นอันมาก  และตีเอาค่ายน้อยบ้านระจันได้  ยังแต่ค่ายใหญ่และนายแท่นซึ่งถูกปืนพม่าเข่าหักแต่ก่อนนั้นป่วยมานานก็ถึงแก่กรรมลงในเดือนหก  ปีจอ  อัฐศก

 

ขณะนั้นขุนสันซึ่งมีฝีมือเข้มแข็งถือปืนอยู่เป็นนิจ  และนายจันหนวดเขี้ยวยกพลทหารออกรบกับพม่าอีกเป็นหลายครั้ง  วันหนึ่งพลพม่าโอบหลังเข้าได้  ก็ฆ่าขุนสันกับทั้งนานจันหนวดเขี้ยวตายในที่รบทั้งสองนาย  ยังแต่นายพันเรืองกับนายทองแสงใหญ่อยู่ในค่ายบ้านระจัน  เห็นเหลือกำลังจะสู้รบพม่าจึงบอกเข้ามาในเมือง  ขอปืนใหญ่และกระสุนดินดำ  เสนาบดีจึงปรึกษาลงเห็นพร้อมกันมิได้ให้  ว่าถ้าพม่าตีค่ายบ้านระจันแตกแล้วก็จะได้ปืนใหญ่  และกระสุนดินดำเป็นกำลังเข้ามารบพระนคร  เหมือนหนึ่งให้กำลังแก่ข้าศึก  แต่พระยารัตนธิเบศนั้นหาลงเห็นด้วยไม่  จึงออกไป  ณ  ค่ายบ้านระจัน  คิดอ่านเรี่ยรายทองชาวบ้านซึ่งอยู่ในค่ายมาหล่อปืนใหญ่ขึ้นได้สองกระบอก  ก็บกพร่องร้าวรานไปหาบริบูรณ์ไม่  เห็นจะคิดการสงครามไม่สำเร็จก็กลับเข้าพระนคร  ฝ่ายชาวบ้านระจันหาที่พึ่งมิได้  ไม่มีใครช่วยอุดหนุน  ก็เสียใจย่อหย่อนอ่อนฝีมือลง  เห็นจะสู้รบต้านทานพม่าไม่ได้  แต่ตั้งต่อรบพม่ามาแต่เดือนสี่ปลายปีระกาสัปตศกจนถึงเดือนแปดปีจออัฐสกได้ห้าเดือน  เห็นเหลือกำลังจะขับเคี่ยวทำสงครามกับพม่าสืบไปอีก  ต่างคนก็พากันครอบครัวหนีไปจากค่าย  ไปยังอยู่นั้นน้อย  ผู้คนก็เบาบางลง

 

ครั้นถึง  ณ วันจันทร์  แรม  2  ค่ำ  เดือน  8  ปีจอ  อัฐศก  พม่าก็ยกเข้าตีค่ายใหญ่บ้านระจันแตก  ฆ่าคนเสียเป็นอันมาก  ที่จับเป็นไปได้นั้นก็มาก  บรรดาครอบครัวชายหญิงเด็กและผู้ใหญ่ซึ่งเหลือตายอยู่นั้นให้กวาดเอาไปสิ้น  แล้วก็เลิกทัพกลับไปยังค่ายพม่า  ตั้งแต่รบกันมาห้าเดือนจนเสียค่ายนั้น  ไทยตายประมาณพันเศษ  พม่าตายประมาณ  สองพัน  และพระอาจารย์ธรรมโชตินั้นกระทำสายสิญจน์มงคลประเจียดกะตรุดต่างๆ  แจกให้คนทั้งปวงแต่แรกนั้นมีคุณอยู่แคล้วคลาดคุ้มอันตรายอาวุธได้ขลังอยู่  ภายหลังผู้คนมาอยู่ในค่ายมากสำส่อน  ที่นับถือแท้บ้างไม่แท้บ้าง  ก็เสื่อมตบะเดชะลง  ที่อยู่คงบ้างที่ต้องอาวุธบาดเจ็บล้มตายบ้าง  และตัวพระอาจารย์นั้นที่ว่าตายอยู่ในค่ายก็มี  ที่ว่าหายศูนย์ไปก็มี  ความหาลงเป็นแน่ไม่”

 

ในที่สุดพม่าก็ยกทัพเข้าทำลายค่ายบ้านระจันได้ต้องตายเกือบทั้งหมดหมู่บ้าน  เมื่อวันจันทร์  แรม  2  ค่ำ  ปีจอ

 

ฝ่ายกรุงศรีอยุธยานั้น  เมื่อกองทัพพม่าเข้ามาตั้งค่ายอยู่ที่บ้านสีกุก  และที่ปากน้ำพระประสบนั้น  ได้ให้กวาดต้อนราษฎรและขนเสบียงอาหารเข้าไปไว้ในพระนครจนหมดสิ้น  สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดประดู่โรงธรรม  นั้นได้เสด็จไปประทับอยู่ที่วัดราชประดิษฐาน  นั้นได้มีขุนนางข้าราชการไปทูลวิงวอนขอให้ลาผนวชออกไปบัญชาการสู้รบอยู่ไม่ขาด  แม้เวลาพระองค์ออกบิณฑบาตก็มีราษฎรเขียนหนังสือใส่บาตรให้ลาผนวชทุกวัน  พระองค์คงจะเห็นว่าสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์นั้นยังเฉยอยู่  จึงไม่ลาผนวชตลอดเวลาสงคราม

 

เมื่อราวต้นปี  พ.ศ. 2309  นั้น สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์  ได้ข่าวว่า  ชาวบ้านได้พากันรวมตัวที่บ้านระจันนั้น  ได้ทำการต่อสู้กับพม่าและรบชนะหลายครั้ง  ทำให้ไพร่พลที่อยู่ในกรุงนั้นดีใจที่คนไทยกล้าหาญ  จึงมีกำลังใจต่อสู้  พระองค์จึงจัดกองทัพให้พระยาพระคลัง  เป็นแม่ทัพควบคุมกำลังออกไปตีค่ายพม่าที่ตั้งอยู่ปากน้ำประสบที่อยู่ด้านเหนือ

 

การสู้รบครั้งนั้นพระยาพระคลังเกิดเสียทีในอุบายของพม่าที่เข้าโอบตีแตกพ่ายกลับมาแต่ได้กองทัพของพระยาตาก  (สิน)  เข้าช่วยรบป้องกันข้าศึกที่ติดตามมาด้านหลัง  เนเมียวสีหบดีเห็นได้ทีจึงยกกองทัพหน้ารุกเข้ามาตั้งที่ค่ายบ้านโพธิ์สามต้น  เพื่อให้อยู่ใกล้พระนครมากกว่าเดิม  ส่วนกองทัพของมังมหานรธานั้นได้ส่งกองทัพหน้าขึ้นไปตั้งค่ายที่ขนอนหลวงริมวัดโปรดสัตว์  ให้ใกล้พระนครกว่าเดิมเช่นกัน

 

ครั้นถึงฤดูฝน  บรรดาแม่ทัพนายกองทั้งหลายวิตกว่าน้ำจะท่วมทำให้กองทัพลำบาก  จึงพากันไปร้องขอให้มังมหานรธานั้นเลิกทัพกลับไปเสียก่อน  ต่อเมื่อถึงฤดูแล้งแล้วจึงยกทัพกลับมาตีกรุงศรีอยุธยาใหม่  มังมหานรธานั้นเห็นว่าขณะนี้กำลังของกรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลงมากแล้ว  จึงไม่ยอมเลิกทัพกลับ  จึงให้ไพร่พลเที่ยวตรวจหาที่ดอนที่เป็นโคกหรือเนินดินของวัดที่มีอยู่โดยรอบนอกกรุงศรีอยุธยา   เมื่อได้สถานที่แล้วก็ให้กองทัพไปตั้งค่ายสำหรับจะใช้อยู่ในเวลาน้ำหลากมา  พร้อมกับให้รวบรวมเรือใหญ่น้อยไว้ใช้ในกองทัพให้มาก  แต่ในขณะที่เตรียมการอยู่นั้นประมาณ  เดือนธันวาคม  พ.ศ. 2309  มังมหานรธา  ได้เกิดล้มป่วยลงแล้วถึงแก่ความตายที่ค่ายบ้านสีกุก  จึงทำให้กองทัพพม่าทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ที่ต่างมักมีอิสระในการสู้รบและแก่งแย่งกันนั้นอยู่ในบังคับบัญชาของเนเมียวสีหบดี  แม่ทัพใหญ่แต่ผู้เดียวซึ่งเป็นผลร้ายแก่กรุงศรีอยุธยา  เนื่องจาก  เนเมียวสีหบดีนั้นได้สั่งให้กองทัพทั้งหมดเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา  และเนเมียวสีหบดีนั้นได้ย้ายออกจากค่ายปากน้ำประสบมาอยู่ที่ค่ายบ้านโพธิ์สามต้น  แล้วให้กองทัพหน้าย้ายมาตั้งค่ายที่วัดภูเขาทอง  จากนั้นก็ให้กองทัพรุกเข้าไปตั้งค่ายที่วัดท่าการ้องอีกแห่งหนึ่ง

 

สรุปแล้วพม่าตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุธยา  อยู่ทีวัดภูเขาทอง  วันท่าการ้อง  วัดกระชาย  วัดแม่นางปลื้ม  วัดสามวิหาร  วัดพลับพลาชัย  วัดเตา  วัดสุเรนทร์  วัดแดง  วัดศรีโพธิ์

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์  (พระเจ้าเอกทัศน์)(3)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์