ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

 

 

ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์  (เจ้าฟ้าพร)

ครองราชย์  พ.ศ. 2275 – 2301

 

สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์  คือ  เจ้าฟ้าพร  พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าเสือ  ได้รับแต่งตั้งเป็นพระบัณฑูรน้อย  พระมหาอุปราชในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ  ซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราช  ภายหลังได้ชิงราชสมบัติกับ  เจ้าฟ้าอภัย  และเจ้าฟ้าปรมเมศร์  พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ  มีชัยชนะได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช  (บางแห่งว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่  3)  แต่ที่รู้จักนิยมเรียกคือ  ขุนหลวงบรมโกษฐ์  หรือสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์

 

ด้วยเหตุที่ต้นรัชกาลนั้นได้มีสงครามกลางเมืองชิงอำนาจกันระหว่างวังหลวง  (เจ้าฟ้าอภัย)  และวังหลัง  (พระบัณฑูรน้อย)  ดังนั้น  ฝ่ายที่แพ้  คือ  วังหลวงนั้น  มีข้าราชการวังหลวงเป็นพวกด้วยจำนวนมาก  จึงทำให้ข้าราชการถูกกำจัดมากกว่าทุกครั้งที่มีการชิงอำนาจกัน  ทำให้ฝ่ายที่เป็นศัตรูกับพระเจ้าเหนือหัวต่างพากันหลบหนีจากกรุงศรีอยุธยาไปหลบซ่อนตัวอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ  ทำให้กำลังฝ่ายพระนครนั้นอ่อนกำลังลง  จนเชื่อว่าหากมีศึกสงครามมาในเวลานั้นก็ยากที่จะสู้รบเอาชัยชนะได้  ประจวบกับเป็นช่วงที่ประเทศต่างๆ  นั้นต่างเสื่อมโทรมไปตามกัน  เช่น  กัมพูชานั้นยอมขึ้นกับอาณาจักรสยามโดยไม่ต้องรบพุ่งกัน

 

พ.ศ. 2271  อาณาจักรสยามนั้นมีเรือสำเภาจีนเข้าเจริญสัมพันธไมตรีจำนวน  8  ลำ  และกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะราชทูตสยามไปเมืองจีนเป็นการตอบแทนด้วย

 

ในรัชการสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ช่วง  พ.ศ. 2276 – 2301  นั้น  เนื่องจากมีการกำจัดขุนนางข้าราชการในวังหลวง  ส่วนใหญ่เป็นคนของเจ้าฟ้าอภัยและเจ้าฟ้าปรเมศร์เกือบทั้งหมดจึงทำให้กำลังทหารอ่อนแอลง

 

ดังนั้น  ตอนต้นรัชกาลนี้พระองค์จึงทรงตั้งข้าราชการและราชวงศ์ขึ้นมาทดแทนเป็นจำนวนมาก  เช่น  แต่งตั้ง  เจ้าฟ้ากุ้ง  เป็นเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์  พระมหาอุปราช  เจ้าฟ้าอุทุมพรเป็นกรมพระราชวังบวรฯ  ต่อมาได้มีเหตุการณ์ภายในเช่นมีการล้อมจับช้างที่เมืองลพบุรี  แล้วพวกจีนในไข่ยกคนเข้าปล้นพระราชวัง  เขมรถวายช้างเผือก  และรัชกาลนี้ได้ทำการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีสรรเพชญ์  วัดภูเขาทอง  วัดกุฎีดาว  ตลอดจนสมโภชพระพุทธบาทตอนปลายรัชกาล

 

สมเด็จพระบรมโกษฐ์นั้นต้องฟื้นฟูอาณาจักรสยามในทุกด้านเช่น  การส่งเสริมด้านการค้า  ด้านอักษรศาสตร์  และวัฒนธรรม  เป็นต้น  และได้มีการแต่งวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง  เช่น  อิเหนา  กาพย์เห่เรือ  บุณโณวาทคำฉันท์  กลบทศิริวิบุลกิติโคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์  เป็นต้น

 

ต่อมาเดือนพฤศจิกายน  พ.ศ. 2279  ฝ่ายสยามได้ถืออาวุธไปล้อมหมู่บ้านฮอลันดาในกรุงศรีอยุธยา  สาเหตุจากการขัดแย้งกันในเรื่องการตีราคาผ้าที่นำมาจากอินเดีย

 

พ.ศ. 2280  สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์เสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี  โดยเสด็จทางชลมารคทางลำน้ำป่าสักถึงเมืองท่าเรือแล้วเสด็จโดยสถลมารค  ผ่านบางโขมดถึงวัดพระพุทธบาท  การเดินทางครั้งนี้  นาย  Jacobus  van  den  Heuvel  พ่อค้าชาวฮอลันดาได้ตามเสด็จและบันทึกเหตุการณ์ไว้  ว่าได้ไปที่ถ้ำประทุน  และธารทองแดง  ได้ดูละครด้วย  บริษัท  VOC  ของฮอลันดาซื้อหนังกวาง  หนังปลากระเบน  และไม้ฝางของสยามส่งไปขายญี่ปุ่นทีเมืองนางาซากิ  และส่งดีบุก  ตะกั่วและงาช้างไปขายที่เมืองปัตตาเวีย

 

พ.ศ. 2294  ประเทศทางด้านตะวันตก  คือพม่านั้นได้เกิดกบฏพวกมอญและพม่าได้เสียเมืองอังวะให้แก่พวกมอญ  เหตุการณ์นั้นสืบเนื่องจาก  สมิงทอ  หัวหน้าพวกมอญได้ราชาภิเษกตั้งตนเป็นพระเจ้าหงสาวดี  แล้วทำการแข็งเมืองเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อพระเจ้าอังวะ  พร้อมกันได้ส่งคนมาทำการสู่ขอพระธิดาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์  กับพระธิดาของพระเจ้าเชียงใหม่ไปเป็นมเหสี  สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ทรงขัดเคืองไม่ยอมยกให้  ส่วนพระเจ้าเชียงใหม่นั้นยอมยกพระธิดาไปอภิเษกเป็นมเหสีของสมิงทอ  เพื่อจะเป็นไมตรีกับเมืองหงสาวดี  ดังนั้น  เมื่อพวกมอญทำการแข็งเมืองขึ้น  จึงทำให้พวกพม่าที่ตกค้างอยู่ในเมืองเมาะตะมะเป็นจำนวนมากหวาดกลัว  จะพากันหนีกลับไปเมืองอังวะก็ไม่ได้  ด้วยเหตุที่เส้นทางกลับนั้นต้องผ่านหัวเมืองของพวกมอญที่เป็นกบฏหลายเมือง

 

พวกพม่าจึงพากันอพบพครอบครัวประมาณ  300  คน  ลงเรือหนีมาทางเมืองตะนาวศรี  สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ได้เห็นแก่มนุษยธรรม  จึงโปรดให้นำกำลังไปรับพวกพม่าอพยพนั้นเข้ามาไว้ยังกรุงศรีอยุธยา  พระราชทานที่ดินให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้วัดมณเฑียร

 

การช่วยเหลือให้ชาวพม่าหนีภัยและมีความสุขอยู่ในกรุงศรีอยุธยานั้น  ทำให้พระเจ้าอังวะแต่งราชทูตมาขอบคุณในความช่วยเหลือเมื่อ  พ.ศ. 2287  จากนั้นพระเจ้าอังวะได้พยายามที่จะปราบปรามพวกมอญที่แข็งเมือง  แต่ในขณะนั้นกำลังของพม่าอ่อนแอลง  ในที่สุดพระยาทะละ  ขุนนางผู้ใหญ่ของสมิงทอ  ได้เข้าชิงราชสมบัติขึ้นครองเมืองหงสาวดีเสียเอง  แล้วยกทัพออกทำศึกปราบปรามพวกพม่า  จนในที่สุดพม่าก็เสียเมืองอังวะแก่พวกมอญ  เมื่อ  พ.ศ. 2294

 

ต่อมา  มังออง  ไจยะ  ชาวพม่าซึ่งมีอาชีพเป็นพราน  ได้ทำการซ่องสุมผู้คนเป็นจำนวนมากเข้าทำการกู้บ้านเมืองให้กลับคืนมาเป็นพม่า  ครั้งนั้นพวกมอญได้จัดกองทัพเข้าทำการสู้รบปราบปรามก็พ่ายแพ้แตกพ่ายไป  มังออง  ใจยะ  จึงสร้างเมืองรัตนสิงห์  ขึ้นที่บ้านมุตโขโบ  ซึ่งเป็นถิ่นที่ตนเคยอยู่อาศัย  แล้วตั้งตนเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  มีพระนามว่า  พระเจ้าอลองมินตยาคยี  คนทั้งหลายเรียกว่า  พระเจ้าอลองพญา  เมื่อพระเจ้าอลองพญามีกำลังมากขึ้นทำการสงครามบุกรุกตีเอาเมืองของพวกมอญได้  ในที่สุดพระเจ้าลองพญาได้ให้  มังระราชบุตร  คนที่สองคุมกองทัพเข้าตีเอาเมืองอังวะกลับคืนมาได้  เมื่อ  พ.ศ. 22.96  แล้วก็ยกทัพเลยมาตีเอาเมืองแปรได้อีกเมืองหนึ่ง

 

พ.ศ. 2293  นั้นพระเจ้าอลองพญา  ได้ยกกองทัพเรือลงมาตรีได้เมืองร่างกุ้ง  เมืองพะสิม  เมืองสิเรียม  แล้วยกกองทัพเลยลงมาล้อมเมืองหงสาวดี  ขณะนั้นเมืองหงสาวดีของพวกมอญเกิดข้าวยากหมากแพงอัตคัตเสบียงอาหารจึงทำให้พวกมอญไม่สามารถอยู่ป้องกันเมืองต่อไปได้  จึงเสียเมืองหงสาวดีแก่พม่าใน  พ.ศ. 2300  เมื่อพม่าสามารถตีเอาเมืองหงสาวดีกลับคืนได้แล้วก็สามารถมีอำนาจรวมพม่ามอญไว้ในอาณาจักรทั้งหมด

ส่วนพวกมอญที่พ่ายแพ้พม่าคราวตีเอาเมืองหงสาวดี  นั้นได้แตกหนีเข้ามาพึ่งพระบารมีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์  ซึ่งพระองค์ก็ทรงโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ชานพระนคร  เช่น  บ้านโพธิ์สามต้น

 

ส่วนเมืองลังกานั้น  ใน  พ.ศ. 2294  ได้เกิดเหตุการณ์สิ้นสมณวงศ์  พระเจ้ากรุงลังกาจึงได้ของพระสงฆ์จากอาณาจักรสยามไปทำการอุปสมบทให้กับพระลังกา  ในการนี้บริษัทอีสต์อินเดียของฮอลแลนด์  ได้จัดเรือส่งพระสงฆ์ไทย  18  รูป  ไปทำการบวชพระภิกษุลังกา  ด้วยพระเจ้ากรุงลังกานั้นได้ส่งราชทูตเดินทางมาขอพระภิกษุไปสืบพระพุทธศาสนาในลังกาที่เสื่อมลง  สมเด็จพรเจ้าบรมโกษฐ์  พระเจ้าแผ่นดินสยามจึงทรงให้พระอุบาลี  พระริยมุนี  และพระสงค์อีก  50  รูปเดินทางไปลังกา  โดยนำพระพุทธรูป  พระพุทธปฏิมากรห้ามสมุทร  กับพระไตรปิฏก  ไดด้วย  (พระไตรปิฎกฉบับดังกล่าวทางเมืองลังกาได้รักษาไว้อย่างดีจนถึงปัจจุบันและมีพระสงฆ์นิกายสยามวงศ์ในลังกาด้วย)

 

วันที่  17  กรกฎาคม  พ.ศ. 2294  คณะสมณทูตลังกาได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา  พรรณนาไว้ว่า  “ภายใน  กำแพงเมืองมีคลองหลายสาย  ยืนแนวเดียวกัน  มีเรือแลผู้คนที่ไปในทาเรือมากมายเหลือที่จะพรรณนา...  ร้านรวงขายสินค้าสิ่งของต่างๆ  ตลอดจนพระพุทธรูปทองก็มีขาย”

 

คณะสมณทูตชาวลังกาที่เข้ามากรุงสยามจดบันทึกไว้ว่า  “วันพุธ  ขึ้น  8  ค่ำ  เดือน  7  นำร่องพาเรือกำปั่นแล่นเข้าปากน้ำ  ไปจอดที่ตำบลอัมสเตอร์ดัมที่พวกวิลันดาสร้างขึ้นไว้ที่ปากน้ำ”

 

ในการส่งสมณทูตไทยไปลังกาครั้งที่  2  พ.ศ. 2295 ได้มีบันทึกว่า  “วันจันทร์  เดือนยี่  ขึ้น  15  ค่ำ  ออกเรือจากเมืองธนบุรี  ไปยังตึกวิลันดา  ณ  บางปลากด”

 

สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์  ทรงมีพระโอรสเป็นเจ้าฟ้า  3  องค์คือ

 

เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์หรือ  เจ้าฟ้ากุ้ง  พระโอรสองค์ใหญ่ทรงตั้งเป็น  กรมขุนเสนาพิทักษ์  ตำแหน่งพระมหาอุปราช

เจ้าฟ้าเอกทัศน์  พระโอรสองค์กลาง  ทรงตั้งเป็นกรมขุนอนุรักษ์มนตรี 

และเจ้าฟ้าอุทุมพร  พระโอรสองค์น้อย  ทรงตั้งเป็นกรมขุนพรพินิต)

 นอกจากนี้สมเด็จพระบรมโกษฐ์ยังมีพระโอรสที่เป็นพระเจ้าชายอีก  4  คน  คือพระองค์เจ้าแขก  ได้รับแต่งตั้งเป็น  กรมหมื่นเทพพิพิธพระองค์เจ้ามังคุต  เป็นกรมหมื่นจิตต์สุนทร

 

พระองค์เจ้ารถ  เป็น  กรมหมื่นสุนทรเพทและพระองค์เจ้าปาน  เป็นกรมหมื่นเสพภักดี  พระองค์เจ้าทั้งสี่พระองค์นี้มี  กรมหมื่นเทพพิพิธองค์เดียวที่ทรงชอบกับพระมหาอุปราช  อีกพระองค์เจ้าอีก  3  องค์นั้นเป็นศัตรูกับเจ้าฟ้าและกล่าวโทษพระมหาอุปราชว่าเป็นชู้กับเจ้าฟ้าสังวาลย์  พระชายาองค์หนึ่งของพระบิดา  ทำให้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์นั้นถูกพิจารณา  เมื่อรับว่าเป็นความจริงจึงทำให้ต้องพระอาญาโบยและสิ้นพระชนม์ในระหว่างลงอาญานั้น  จากนั้นมาเจ้าฟ้า  2  องค์คือ  เจ้าฟ้าเอกทัศน์  และเจ้าฟ้าอุทุมพร  จึงเป็นศัตรูกับพระองค์เจ้า  3  องค์

 

พ.ศ. 2300  นั้นสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์  เห็นว่าเจ้าฟ้าเอกำทัศน์หรือกรมุขนอนุรักษ์มนตรีนั้น  โฉดเขลาไม่มีสติปัญญาและความเพียร  จึงให้ออกผนวชเสีย  แล้วพระองค์ก็แต่งตั้งให้เจ้าฟ้าอุทมพร  เป็นพระมหาอุปราช  ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ทรงประชวรหนักเจ้าฟ้าเอกทัศน์  ที่ทรงผนวชอยู่ได้ลอบลาผนวชเข้าไปอยู่ในพระราชวังหลวง  ส่วนพระองค์เจ้าทั้งสามนั้นก็เตรียมรวบรวมกำลังผู้คนและเครื่องราชูปโภคตามพลการ  ดังนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์  พระชันษา  78  ปี  ครองราชย์ได้  26  ปี  ได้สวรรคตใน  พ.ศ.  2301  นั้น  เจ้าฟ้าอุทุมพรหรือกรมขุนพรพินิต  พระมหาอุปราช  จึงขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์สืบต่อมา

 

สมเด็จพระบรมโกษฐ์  หรือ  สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่  3  คือ  เจ้าฟ้าพร  พระบัณฑูรน้อย  ผู้เป็นพระอนุชาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ  มีพระชนมายุ  51  พรรษา  ได้ขึ้นครองราชย์  พ.ศ. 2275  รัชกาลนี้ทรงตั้งข้าราชการและราชวงศ์  มีการล้อมจับช้างที่เมืองลพบุรี  พวกเจ็ลในไข่ยกคนปล้นพระราชวัง  เขมรถวายช้างเผือก  ตั้งกรมขุนเสนาพิทักษ์  (เจ้าฟ้ากุ้ง)  เป็นมหาอุปราชต่อมาต้องพระอาญาทิวงคต  ทำการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีสรรเพชญ์  วัดภูเขาทอง  มอญอพยพเข้ามาพึ่งกรุงศรีอยุธยา  ตั้งกรมขุนพรพินิตเป็นกรมพระราชวังบวรฯ  มีการสมโภชพระพุทธบาทปลายรัชกาลสมเด็จพระบรมโกษฐ์มีพระชนมายุ  78  พรรษา (บางแห่งว่า  77  พรรษา)  ทรงประชวรสวรรคต  พ.ศ.  2301  อยู่ในราชสมบัติ  26  ปี  (บ้างว่า  21  ปี)  เนื่องจากสมเด็จพระบรมโกษฐ์ทรงมีพระราชโอรสหลายพระองค์  ดังนั้น  กรมขุนอนุรักษ์มนตรี  จึงได้จับกุมกรมหมื่นจิตต์สุนทร  กรมหมื่นสุนทรเพทและกรมหมื่นเสพภักดี  สำเร็จโทษที่ตึกพระคลังศุภรัตน์  แต่ให้กรมขุนพรพินิตครองราชย์สมลัติตามที่สมเด็จพระราชบิดาสั่งไว้  กรมขุนอนุรักษ์มนตรีเสด็จไปอยู่พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์  (ครองราชย์  พ.ศ. 2275 – 2301  (26  ปี)  ศักราชตรงกัน

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์  (เจ้าฟ้าพร)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์