ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  เจ้าพระยาวิชาเยนทร์

 

เจ้าพระยาวิชาเยนทร์  (ฟอลคอน)

 

เจ้าพระยาวิชาเยนทร์  เดิมชื่อ  คอนสแตนติน  เยรากี  เป็นชาวกรีกเป็นลูกเรือรับจ้างของอังกฤษที่เดินทางมาค้าขายทางด้านตะวันออก  ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น  คอนสแตนติน  ฟอลคอน  ได้มากับเรือสินค้าอังกฤษถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อ  พ.ศ. 2218  ต่อมาได้ลาออกจากบริษัทค้าขายของอังกฤษ  และสมัครเข้ารับราชการอยู่กับเจ้าพระยาโกษาธิบดี  (ขุนเหล็ก)  ในกรมพระคลังสินค้า  เนื่องจากเป็นผู้ที่เคยทำงานอยู่กับอังกฤษและรู้การค้าขายกับชาวต่างชาติเป็นอย่างดี  จึงมีความชอบและเป็นที่ไว้วางใจในด้านการค้ากับชาวต่างประเทศ  เจ้าพระยาโกษาธิบดี  (ขุนเหล็ก)  จึงกราบทูลสมเด็จพระนารายณ์  ทรงโปรดให้เป็น  หลวงวิชาเยนทร์และมีบรรดาศักดิ์ต่อมาจนได้เป็นสมเด็จพระนารายณ์  ทรงโปรดให้เป็น  หลวงวิชาเยนทร์และมีบรรดาศักดิ์ต่อมาจนได้เป็นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องการค้าขายกับต่างประเทศและการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ  ทำให้มีการส่งคณะราชทูตเดินทางไปยังฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆ

 

การค้าขายของกรุงศรีอยุธยานั้น  เจ้าพระยาวิชาเยนทร์  ได้คิดอ่านที่จะสร้างเรือกำปั่นหลวงเพิ่มเติมขึ้น  จึงชักชวนให้พวกอังกฤษออกจากบริษัทมารับเดินเรือกำปั่นหลวง  โดยมีข้อตกลงว่ายอมให้มีการนำสินค้าของตนไปกับเรือหลวงได้  จากนั้นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ได้ทูลขอให้สมเด็จพระนารายณ์  ทรงตั้งเมืองมะริดซึ่งเป็นเมืองท่าของกรุงศรีอยุยาอยู่นั้นเป็นสถานีค้าขายของหลวงและทำการสร้างป้อมประจำท่า  เช่นเดียวกับสถานีค้าขายของประเทศตะวันตกที่ตั้งขึ้นในแถบนั้น

 

การที่กรุงศรีอยุธยาได้จัดการค้าขายดังกล่าวนั้น  ทำให้บริษัทอังกฤษที่มีอำนาจทางการค้าอยู่ทางด้านตะวันตกไม่พอใจ  โดยเฉพาะมีการดึงคนอังกฤษออกไปจากบริษัท  และอังกฤษเองก็ต้องการที่จะมีอำนาจในเมืองมะริดไว้เป็นเมืองท่าของตน  บริษัทของอังกฤษนั้นจึงแจ้งเรื่องไปยังอังกฤษกล่าวโทษเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ว่าเป็นพวกฝรั่งเศส  และคิดอ่านเกลี้ยกล่อมคนอังกฤษไปตั้งช่องเพื่อประโยชน์ของตนเอง  หาใช่ความคิดของอาณาจักรสยามทำให้อังกฤษนั้นขัดเคืองจึงเรียกคนอังกฤษที่มาทำงานให้กันอาณาจักรสยามกลับหมด  แล้วบริษัทอังกฤษจึงถือโอกาสนั้นแต่งเรือรบออกจับเรือสินค้าของอาณาจักรสยามที่เดินทางไปค้าขายทางอินเดีย  แล้วยื่นคำขาดให้  พระยาตะนาวศรีมีหนังสือมากราบทูลสมเด็จพระนารายณ์  กล่าวโทษว่า  เจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั้นได้ทำการกลั่นแหล้งให้บริษัทต่างๆ  ได้รับความเสียหายไปถึง  40,000  ปอนด์  เพื่อให้มีการชดใช้ทรัพย์สินภายในกำหนด  2  เดือน  ยังไม่ทันที่กรุงศรีอยุธยาจะทำการโต้ตอบอย่างใด  อังกฤษได้ส่งเรือรบมายังเมืองมะริด  แล้วให้ทหารขึ้นบกเข้ายึดเมืองมะริด  ทำการรื้อป้อมและแย่งเอาเรือกำปั่นหลวงของไทยไปได้  1  ลำ  ฝ่ายพระยาตะนาวศรีนั้นเมื่อเห็นว่าอังกฤษได้กระทำการก่อสงครามขึ้นเช่นนั้น  จึงยกกองทัพเข้าปล้นเมืองมะริดในเวลากลางคืน  ทำการชิงเมืองฆ่าพวกอังกฤษตายเป็นอันมาก  ที่รอดตายก็หนีลงเรือไปได้  เหตุการณ์ดังกล่าวนั้น  เมื่อกรุงศรีอยุธยาทราบเรื่อง  สมเด็จพระนารายณ์จึงได้ประกาศสงครามกับอังกฤษ  เมื่อ  พ.ศ. 2230  ทำให้อาณาจักรสยามกับอังกฤษนั้นเป็นข้าศึกต่อกันมาตลอดรัชกาล

 

ครั้นเมื่อ  ออกพระยาวิสูตรสุนทร  (ปาน  ต่อมาเป็นเจ้าพระยาโกษาธิบดี)  ได้นำคณะราชทูตกลับมาจากฝรั่งเศส  เมื่อเดือนกันยายน  พ.ศ. 2230  นั้น  พรเจ้าหลุยส์ที่  14  ได้จัดคณะราชทูตฝรั่งเศสเดินทางตามมาส่งถึงกรุงศรีอยุธยาด้วยพร้อมกับได้จัดทหารฝรั่งเศสติดตามมาด้วย  1,400  คนเข้ามารับราชการอยู่กับสมเด็จพระนารายณ์ด้วย

 

สมเด็จพระนารายณ์  ได้ส่งให้ทหารฝรั่งเศสนี้ไปรักษาป้อมที่เมืองมะริด  2  กองร้อย  และทหารที่เหลือนั้นให้ไปอยู่ประจำที่เมืองธนบุรีศรีสมุทร  โดยให้ทำการจัดสร้างป้อมใหญ่ขึ้นทางฝั่งตะวันออก  (บริเวณโรงเรียนราชินี)  ขึ้นอีกป้อมหนึ่ง  เพื่อกันไม่ให้ทหารฝรั่งเศสอยู่ในกรุงศรีอยุธยา

 

เมืองมะริดนั้นเมื่อสมเด็จพระนารายณ์ส่งทหารฝรั่งเศสไปอยู่ประจำเช่นนั้นแล้ว  บริษัทอังกฤษจึงไม่กล้ายกกำลังเข้ามาบุกรุกอีก  ด้วยเหตุที่อาณาจักรสยามมีความคัดแย้งกับอังกฤษดังกล่าว  สมเด็จพระนารายณ์  จึงได้มีพระราชไมตรีกับฝรั่งเศสอย่างแน่นแฟ้นและสร้างเมืองลพบุรีให้เป็นเมืองราชธานีสำรองของอาณาจักรสยามไว้  ซึ่งทรงโปรดให้คณะราชทูตฝรั่งเศสและเจ้าพระยาวิชาเยนทร์  อยู่ประจำที่เมืองลพบุรีเช่นเดียวกับพระองค์  คณะราชทูตฝรั่งเศสพำนักอยู่ในอาณาจักรสยามได้  3  เดือนก็เดินทางกลับฝรั่งเศส  ส่วนพระวิสูตรสุนทร  (ปาน)  นั้น  ได้แต่งตั้งให้เป็นพระยาโกษาธิบดี  ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์  ได้ทรงแต่ง  คณะราชทูตส่งไปพร้อมกับคณะราชทูตของฝรั่งเศสอีกครั้งนี้คณะราชทูตได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่  14  และเฝ้าสันตะปาปาหรือโป๊ปที่กรุงโรมด้วยพร้อมกับได้จัดส่งเด็กไทยหลายคนไปเล่าเรียนวิชาที่เมืองฝรั่งเศสด้วย

 

คณะราชทูตฝรั่งเศสได้เดินทางกลับไปแล้วได้  5  เดือน  สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวรหนักและเหตุเหตุการณ์จลาจลภายในขึ้น  เนื่องนาก  สมเด็จพระนารายณ์นั้น  ไม่มีพระราชโอรสที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัชทายาท  พระองค์ทรงมีแต่พระธิดาที่ทรงแต่งตั้งเป็น  กรมหลวงโยธาเทพกับพระน้องเธอ  3  อง5  ได้แก่  เจ้าฟ้าหญิงที่ทรงตั้งเป็น  กรมหลวงโยธาทิพ,  เจ้าฟ้าอภัยทศ  และเจ้าฟ้าองค์น้อย  ไม่ปรากฏพระนาม  นอกจากนี้พระองค์ยังทรงชุบเลี้ยงเจ้าราชินิกูลองค์หนึ่งที่ทรงเมตตาเหมือนพระราชบุตร  คือ  พระปีย์  (หรือพระปิยะ)

 

ดังนั้นผู้ที่จะรับเวนราชสมบัตินั้น  เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เห็นว่า  สมเด็จพระนารายณ์จะมอบราชสมบัติให้  พระปีย์  จึงเข้าเกลี้ยกล่อให้พระปีย์  เข้าเป็นพรรคพวกฝรั่งเศส  มีความสัยว่าพระปีย์นั้นเข้ารีตเป็นคริสตังแล้วด้วย  ส่วนฝ่ายข้าราชการที่พากันระแวงการกระทำของพระยาวิชาเยนทร์จะคิดร้ายต่อบ้านเมือง  จึงพากันไปเข้ากับพระเพทราชา  ซึ่งมีความเกลียดชังฝรั่งเศสอยู่ก่อนแล้ว

 

สมเด็จพระนารายณ์นั้นทรงประชวรอยู่ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์  เมืองลพบุรี  พระเพทราชา  กับ  หลวงสรศักดิ์  เห็นว่า  พระเจ้าเหนือหัวทรงมีพระอาการหนัก  ไม่ทรงหายประชวรแน่แล้ว  จึงสั่งให้ตั้งกองทหารล้อมรักษาพระราชวังอย่างกวดขัน  แล้วทำการล่อเอาตัวพระปีย์  ไปประหารชีวิตเสียแล้วทำการจับเอาตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์มาไต่สวนกล่าวโทษว่า  เจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั้นเป็นกบฏจะชิงราชสมบัติให้พระปีย์  ด้วยประสงค์จะเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเสียเอง  เมื่อสอบสวนแล้วก็ให้เอาตัวเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ไปประหารชีวิตเสียที่ทะเลชุบศร

 

สมเด็จพระนารายณ์นั้นทรงประชวรหนักอยู่  เมื่อทรงทราบว่า  พระปีย์และเจ้าพระยาวิชาเยนทร์  ได้สิ้นชีวิตลงเสียแล้ว  พระองค์ไม่สามารถจะทำอย่างไรได้  จึงได้เศร้าพระทัยแทบจะสิ้นใจ  จากนั้น  พระเพทราชา  ได้ให้คนลงมาเชิญเจ้าฟ้าหญิงอภัยทศ  ไปเมืองลพบุรี  เจ้าฟ้าอภัยทศ  นั้นสำคัญว่าจะได้รับราชสมบัติ  ก็มีพระทัยยินดีจึงชวนพระน้องอีกพระองค์หนึ่ง  (ไม่ทราบนาม)  ไปด้วย  พระเพทราชาทรงรับรองเจ้าฟ้าอภัยทศเป็นอย่างดี  ต่อมาอีก  2  วัน  หลวงสรศักดิ์บุตรของพระเพทราชานั้นได้ปลงพระชนม์เจ้าฟ้าอภัยทศกับพระน้องเธอองค์นั้นเสีย  โดยประสงค์ที่จะให้พระเพทราชานั้นจะต้องชิงราชสมบัติคราวนี้เสียเอง

 

ขณะนั้นพระเพทราชานั้น  ได้มุ่งที่จะทำการกำจัดพวกฝรั่งเศสที่อยู่ในอาณาจักรสยาม  โดยเฉพาะทหารฝรั่งเศสที่ประจำอยู่ป้อมเมืองธนบุรีศรีสมุทร  จึงมีเหตุการณ์สู้รบกันขึ้น  ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์ที่ทรงประชวรอยู่เมืองลพบุรีนั้นสวรรคตลงเมื่อ  พ.ศ. 2231  เจ้านายฝ่ายราชวงศ์นั้นได้หมดสิ้นลงแล้ว  และเวลานั้นมีเหตุการณ์สู้รบกับทหารฝรั่งเศสอยู่  จึงทำให้ข้าราชการทั้งปวงจำต้องเชญพระเพทราชาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาต่อมา  เป็นการเริ่มต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม เจ้าพระยาวิชาเยนทร์  (ฟอลคอน)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์