ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ความสัมพันธ์ทางการทูตกับนานาประเ

 

ความสัมพันธ์ทางการทูตกับนานาประเทศ

 

                ด้วยเหตุที่สมเด็จพระนารายณ์  กษัตริย์อยุธยามีความสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่  14  ของฝรั่งเศสและนานาประเทศ  พระองค์จึงได้ส่งคณะราชทูตออกไปเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศหลายครั้ง  กล่าวคือ

                อาณาจักรสยามนั้นมีความสัมพันธ์กับเมืองจีนมาช้านาน  ตั้งแต่แคว้นสุโขทัย  ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  การมีสัมพันธไมตรีจึงถือปฏิบัติที่สืบต่อกันมา  ดังจะเห็นว่าใน  พ.ศ. 2207 , พ.ศ. 2208 , พ.ศ. 2211 , พ.ศ. 2215 , พ.ศ. 2216 , พ.ศ. 2221  กรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะทูตของอาณาจักรสยามไปจีน

 

                พ.ศ. 2211  อาณาจักรสยามได้ส่งคณะทูตเดินทางไปอิหร่าน

 

                พ.ศ. 2223  ฝรั่งเศส  ได้เดินทางเข้ามาตั้งสถานีการค้าอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา  โดยมีนายเดสลังส์บูโร  เป็นผู้จัดการ  ต่อมาใน  พ.ศ. 2224  สมเด็จพระนารายณ์  กษัตริย์อยุธยาได้ส่งออกญาพิทักษ์ราชไมตรี  (Pra  Pitatraatchmaitri)  เป็นราชทูต  หลวงศรีวิศาลสุนทร  เป็นอุปทูตเดินทางไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่  14  ณ กรุงฝรั่งเศส  และพระสันตะปาปา  ที่กรุงโรม  โดยมีบาทหลวงเกมส์  (Gayme)  เป็นล่าม

 

                เครื่องราชบรรณาการที่กรุงศรีอยุธยานำไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่  14  นั้นมี  ดังนี้  ลูกช้าง  2  ตัว  ลูกระมาด  (แรด)  2  ตัว  น้ำมันชะมด  และไม้สัก  แต่ด้วยเหตุที่เรือของฝรั่งเศสชื่อดอเรียง  Le  soleil  D’Orient  ซึ่งนำคณะทูตจากกรุงศรีอยุธยาโดยสารไปนั้น  ได้เกิดอับปางลงใกล้เกาะมาดากัสการ์ทวีปอาวริกา  (แอฟริกา)  ไม่เห็นซากอับปางของเรือลำนี้  จึงทำเชื่อกันว่าคณะทูตหลวงนี้ได้เสียชีวิตหมด

 

                ต่อมากุมภาพันธ์  พ.ศ. 2225  นั้นได้มีรายงานจากเมืองมะสุลีปะตัมของอินเดียว่าเรือของพระเจ้ากรุงสยามลำหนึ่งเดินทางมาถึงพร้อมกับช้าง  22  เชือก

 

                พ.ศ. 2226  สมเด็จพระนารายณ์ได้ส่งคณะราชทูตไปที่กรุงมนิลา  ขณะนั้น  คอนแสตนตินฟอลคอน  (Constance  Falcon)  ได้ทำหน้าที่เป็น  สมุหานายกของกรุงศรีอยุธยา

 

                คอนสแตนติน  ฟอลคอน  ผู้นี้เป็นชาวกรีกชื่อ  คอนสแตนติน  เยรากี  แปลว่า  นกเหยี่ยว)  นับถือคาทอลิก  เกิดเมื่อ  พ.ศ. 2193  เดิมนั้นเป็นลูกเรือรับจ้างของอังกฤษที่เดินทางมาทำการค้าขายทางด้านทิศตะวันออก  ขณะนั้นอายุได้  16  ปี  ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น  คอนสแตนตินฟอลคอน  ได้เดินทางเข้ามาถึงเมืองสยามเมื่อ  พ.ศ. 2218  ตรงกับแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์  (ปีที่  19)  โดยเป็นลูกเรืออังกฤษเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา  ต่อมาได้ลาออกจากบริษัทการค้าของอังกฤษสมัครเข้ารับราชการเป็นสมุห์บัญชี  กรมพระคลังสินค้า  อยู่กับเจ้าพระยาโกษาธิบดี  (ขุนเหล็ก)

 

                ด้วยเหตุที่คอนสแตนตินนั้นรู้วิธีการค้าขายและเข้าใจเล่ห์กลของพ่อค้าชาวตะวันตกจึงทำความชอบให้ปรากฏอยู่บ่อยครั้ง  จนเป็นที่ไว้วางใจของเจ้าพระยาโกษาธิบดี  (ขุนเหล็ก)  ครั้นเมื่อความชอบนั้นทราบถึงสมเด็จพระนารายณ์ฯ  จากการกราบทูลของเจ้าพระยาโกษาธิบดี  (ขุนเหล็ก)  แล้ว  พระองค์จึงได้แต่งตั้งให้  คอนสแตนติน  ฟอลคอน  นั้นเป็น  หลวงวิชเยนทร์  และต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระ  พระยาพระคลังและเจ้าพระยาวิชเยนทร์  พระยาวิชาเยทร์นั้นมีภรรยาเป็นชาวญี่ปุ่นลูกครึ่ง  แขกเบงกอลชื่อ  มาร์  กีมาร์  Marie  Gimard  คนไทยเรียก  ท้าวทองกีบม้า  ครั้งนั้น  ฟอลคอนนั้นได้สร้างสัมพันธมิตรกับฝรั่งเศสให้ช่างฝรั่งเศสสร้างป้อมปราการขึ้นที่เมืองธนบุรีในพื้นที่ของบางกอก  (มีป้อมฝั่งตะวันออกและป้อมฝั่งตะวันตกคือ  ป้อมวิชาเยนทร์  หรือป้อมวิชัยประสิทธิ์เดี๋ยวนี้)  ดังนั้นพวกฮอลันดาและอังกฤษจึงไม่ชอบคอนสแตนติน  ฟอลคอนหรือพระยาวิชาเยนทร์ผู้นี้

 

                พ.ศ. 2223  นั้นบริษัทของฝรั่งเศส  ได้เข้ามาตั้งค้าขายในกรุงศรีอยุธยาในครั้งแรกสมเด็จพระนารายณ์ทรงให้ความอุปการะเป็นอย่างดี  เพราะได้มีพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่  14  อยู่แล้ว  จึงโปรดให้แต่งทูตไปเมืองฝรั่งเศสกับบริษัทฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก  เมื่อ  พ.ศ. 2224  แต่ทูตที่ไปคราวนี้  ได้เกิดเรือแตกเสียกลางทางจึงสูยหายไปหมด  ทำให้เดินทางไปไม่ถึงฝรั่งเศส

 

                ครั้นเมื่อเจ้าพระยาโกษาธิบดี  (ขุนเหล็ก)  ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ  พ.ศ. 1116  นั้น  สมเด็จพระนารายณ์ฯ  จึงไว้วางพระทัยพระเพทราชาข้าหลาวงเดิมมากขึ้น  พระเพทราชานั้นถนัดแต่การทหาร  ไม่สันทัดและไม่ชอบในเรื่องการมีสัมพันธไมตรีกับชาวต่างประเทศ  ขณะนั้นข้าราชการที่มีปัญญาสันทัดในการต่างประเทศจึงมีแต่  พระยาวิชาเยนทร์แต่ผู้เดียวภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาฯ

 

                ในครั้งแรกนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ  จะทรงแต่งตั้งเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ให้เป็นพระยาโกษาธิบดี  แต่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั้นขอตัวก่อน  ด้วยเกรงว่าข้าราชการจะพากันเป็นปฏิปักษ์และอิจฉาริษยาจน  พระองค์จึงแต่งตั้งขุนนางแขกผู้หนึ่งขึ้นเป็นเจ้าพระยาโกษาธิบดี  แต่ไม่สามารถทำงานได้อย่างเจ้าพระยาโกษาธิบดี  (เหล็ก)  จึงเป็นเหตุให้งานราชการต่างประเทศนั้นกลับมาตกอยู่ความรับผิดชอบของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ในที่สุด  ในเวลานั้นข้าราชการส่วนใหญ่ต่างพากันรังเกียจเจ้าพระยาวิชาเยนทร์  ด้วยเหตุที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั้น  เดิมนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนส์  แล้วกลับมาเข้ารีตนับถือนิกายโรมันคาธอลิคตามฝรั่งเศสมาก่อนประมาณ  1  ปี  จึงเป็นเหตุให้ข้าราชการนั้นแตกแยกออกเป็น  2  ฝ่าย  คือ  ฝ่ายของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ซึ่งเป็นพวกที่ชอบฝรั่งเศส  กับฝ่ายของพระเพทราชาที่เกลียดชังฝรั่งเศส  แต่ทั้งสองฝ่ายนั้นยังมีความเกรงใจสมเด็จพระนารายณ์อยู่  จึงไม่แสดงความไม่พอใจต่อกันให้ปรากฏ

 

                ใน  พ.ศ.  2224  สมเด็จพระนารายณ์ฯ  ได้โปรดให้แต่งคณะราชทูตเดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง  แต่ไม่แน่ใจว่าคณะราชทูตนั้นจะปลอดภัยในการเดินทางหรือไม่  จึงให้จัดข้าราชการ  2  คนเดินทางไปสืบข่าวคณะราชทูตที่เดินทางไปครั้งก่อน  โดยให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ดำเนินการประสานงาน

 

                เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ได้ขอให้สังฆราชคริสตังที่อยู่ในอาณาจักรสยามนั้น  ได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าหลุยส์ที่  14  ให้แต่งคณะราชทูตต่างพระองค์เดินทางมาเจริญไมตรีต่อกันตามอย่างประเทศที่มีเกียรติยศ  และให้ทำการยกย่องพระเกียรติยศของสมเด็จพระนารายณ์ฯ  ด้วยเพื่อจะได้มีหนทางสะดวกในการที่จะเผยแพร่ศาสนาคริสตังในอาณาจักรสยามต่อไปได้  คณะราชทูตของอาณาจักรสยามนั้นได้ออกเดินทางไปเมื่อ  พ.ศ. 2226  และเดินทางถึงฝรั่งเศส  ปรากฏว่าทางฝรั่งเศสได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี

 

                สังฆราชฝรั่งเศสที่อยู่ในกรุงศรีอยุธยานั้น  ได้มีหนังสือทูล  พระเจ้าหลุยส์ที่  14  อย่างไรไม่ทราบ  จึงเป็นเหตุให้พระเจ้าหลุยส์ที่  14  เข้าพระทัยว่า  สมเด็จพระนารายณ์นั้นมีความเลื่อมในศรัทธาจะเข้ารีตเป็นคริสตัง

 

                ดังนั้นเมื่อคณะทูตจากฝรั่งเศสได้เดินทางมาถึงเมืองสยาม  พ.ศ. 2228  พร้อมกับคณะทูตของกรุงศรีอยุธยาที่เดินทางไปครั้งที่สองนั้นกลับมาพร้อมกันด้วย

 

                ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ  ทรงรับรองคณะราชทูตฝรั่งเศสอย่างสมเกียรติและเป็นเกียรติยศ  และเมื่อพระองค์ทรงแจ้งว่า  พระเจ้าหลุยส์ที่  14  ให้ราชทูตมาชักชวนพระองค์เข้ารีตเป็นคริสตัง  พระองค์ก็ทรงผ่อนผันด้วยพระปรีชาญาณ  โดยให้ประกาศพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอนุญาต  ว่าแล้วแต่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินคนใดจะมีใจศรัทธานับถือศาสนาคริสตังก็ไม่ห้ามปราม  ส่วนพระองค์นั้นได้มีรับสั่งให้ราชทูตฝรั่งเศสนำความไปกราบทูลพระเจ้าหลุยส์ที่  14  ว่า  การนับถือศาสนานั้นไม่ได้อยู่ในอำนาจมนุษย์ที่เลือกเอาเองได้  ต้องแล้งแต่ศรัทธาจะเกิดขึ้นในใจเป็นใหญ่  การที่พระเจ้าหลุยส์ทรงชักชวนมานั้นพระองค์ไม่ขัดขวาง  จะตั้งพระทัยไว้เป็นกลาง  หากทรงศรัทธาในพระทัยขึ้นเมื่อใด  ก็จะยอมเข้ารีตแต่นั้นไป

 

                เมื่อคณะราชทูตฝรั่งเศสเดินทางกลับไปนั้น  สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงฝากคณะราชทูตไทยไปพร้อมกันด้วย  โดยให้  พระวิสูตรสุนทร  (ปาน)  น้องชายของ  เจ้าพระยาโกษาธิบดี  (ขุนเหล็ก)  นำคณะราชทูตเดินทางไปพร้อมกัน  คณะราชทูตได้เดินทางถึงฝรั่งเศสเมื่อปลายปี  พ.ศ. 2228

 

                การเจริญสัมพันธไมตรีของพระวิสูตรสุนทร  (ปาน)  และคณะราชทูตในครั้งนั้น  ได้สร้างชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือในทวีปยุโรป  เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่พระเจ้าแผ่นดินทางด้านตะวันออกแต่งคณะราชทูตไปยังสำนักฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ทรงจัดการรับรองคณะราชทูตจากกรุงศรีอยุธยาอย่างสมเกียรติยศ  และโปรดให้จัดทำเหรียญที่ระลึก  และมีการเขียนรูปราชทูตไทยเข้าเฝ้า  พระเจ้าหลุยส์ที่  14  ของฝรั่งเศสเป็นที่ระลึกด้วย

 

                ออกพระวิสูตรสุนทร  (ปาน)  ผู้นี้เป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต  ซึ่งเป็นพระนมของสมเด็จพระยาโกษาธิบดี  (ขุนเหล็ก)  ผู้เป็นพี่ชายเป็นออกพระวิสูตรสุนทร  ต่อมา  พ.ศ. 2228  สมเด็จพระนารายณ์ฯ  ได้แต่งตั้งให้เป็นราชทูตออกไปเจริญพระราชไมตรีกับฝรั่งเศส  โดยเดินทางไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่  14  และเดินทางกลับมายังกรุงศรีอยุธยาเมื่อ  พ.ศ. 2230  กลับมาแล้วประมาณ  3  เดือนได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาโกษาธิบดี  ต่อมา  5  เดือนสมเด็จพระนารายณ์ก็สวรรคต

 

                พระยาโกษาธิบดี  (ปาน)  เป็นชายหนุ่มที่มีรูปงาม  กิริยามารยาทเรียบบร้อย  มีไหวพริบดีรู้จักโต้ตอบได้ถูกเรื่องราวและกาลเทศะ  ไม่มีอาการประหม่าสะทกสะเทิ้นเขินอาย  เป็นคนช่างสังเกตจดจำสิ่งที่พบเห็นได้ทุกอย่างเมื่อเปลี่ยนแผ่นดินเป็นสมเด็จพระเพทราชานั้น  พระยาโกษาธิบดี  (ปาน )  นั้นได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาโกษาธิบดี  แต่ด้วยเหตุที่เป็นคนซื่อสัตย์ต่อสมเด็จพระนารายณ์ฯ  ดังนั้นเมื่อเห็นว่าสมเด็จพระเพทราชากระทำการไม่สมควรกรณี  แต่ตั้งทั้งพระมเหสีและพระขนิษฐาของสมเด็จพระนารายณ์เป็นพระมเหสี  จึงทำให้สมเด็จพระเพทราชานั้นทรงกริ้วเป็นอันมาก  จึงหาเหตุให้ต้องพระราชทานอาญา  และมีโทษโบยด้วยเชือกจนสลบ  เล่ากันว่าหลังนั้นไม่มีเนื้อดีจนมีการกล่าวกันว่า  เข้าพระยาโกษาธิบดี  (ปาน)  นั้น  มีความเกรงกลัวพระราชอาญาเสียจนไม่กล้าที่จะกราบทูลเรื่องสำคัญๆ  จนในที่สุดถึงแก่สัญกรรม  ด้วยความดันโทมนัสที่ถูกพระราชอาณาและต้องโทษโบยอยู่เสมอ

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม ความสัมพันธ์ทางการทูตกับนานาประเทศ

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์