ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  สำหรับเหตุการณ์ในแผ่นดินของสมเด็

 

สำหรับเหตุการณ์ในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ฯ  นั้น  มีดังนี้(2)

 

พระเจ้าอังวะ  ได้สั่งให้มังจาเล  ราชบุตร  คุมกำลังลงมาตั้งทัพคอยต่อสู้กับกองทัพไทยที่เมืองพุกาม  เมื่อกองทัพไทยไปถึงจึงเกิดสู้รบกันกลางแปลงหลายครั้ง  พระยาสีหราชเดโชชัยแม่ทัพหน้าได้ทำการสู้รบอย่างเข้มแข็งสามารถตีกองทัพของ  มังจาเล  ราชบุตร  ถอยหนีเข้าไปตั้งค่ายรับมือไม่ออกมารบกลางแปลงอีก  พระยาสีหราชเดโชได้นำกำลังเข้าบุกตีปล้นเอาค่ายพม่าหลายครั้ง  จนถูกอุบายพม่าซุ่มจับเอาตัวไปได้แต่ก็สามารถหนีออกมาได้

 

เจ้าพระยาโกษาธิบดี  (ขุนเหล็ก)  ได้ให้กองทัพเข้าล้อมเมืองพุกามอยู่จนเข้าปี  พ.ศ. 2208  ก็ยังไม่สามารถตีเอาเมืองพุกามได้  ประกอบกับเสบียงอาหารนั้นขัดสนลง  จึงทำอุบายเป็นถอยทัพออกจากค่าย  พม่าหลงกลอุบายจึงยกทัพออกมาติดตามหมายตีให้แตกพ่าย  แต่ถูกกองทัพไทยวางแผนตีกระหนาบจนแตกพ่ายยับเยินกลับไป  ส่วนกองทัพไทยนั้นยกกลับคืนพระนคร  โดยที่พม่าไม่กล้ายกทัพติดตามอีก  หลังจากเหตุการณ์สู้รบครั้งนี้แล้ว  ไม่มีเหตุการณ์สงครามระหว่างไทยกับพม่าอีกตลอดรัชกาล  และรัชกาลต่อมาเป็นเวลานานถึง  95  ปี

 

แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะว่างศึกสงคราม  ในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ฯ  ก็มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศจนนับว่าทำให้อาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญที่สุด  ชาวต่างประเทศหลายชาติได้พากันเข้ามาเป็นมิตรไมตรีและค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา  มี  จีน  จาม  แขก  ฝรั่งชาติตะวันตกโดยเฉพาะชาวโปรตุเกส  ซึ่งเป็นชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายในดินแดนแถบตะวันออกก่อนชาติอื่น

 

สำหรับกรุงศรีอยุธยานั้นโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งแต่  พ.ศ. 2161  เมื่อครั้งแผ่นดินของสมเด็จพระรามาธิบดีที่  2  พวกฮอลันดานั้น  เข้ามาเมื่อ  พ.ศ. 2141  ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรฯ  อังกฤษเข้ามา  เมื่อ  พ.ศ. 2155  ในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ  และฝรั่งเศส  เข้ามาเมื่อ  พ.ศ. 2205  ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ  เป็นต้น

 

การที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ  เป็นไมตรีกับฝรั่งเศส  เนื่องจากโป๊บ  ที่กรุงโรมต้องการที่จะเผยแพร่ศาสนาคริสดังนิกายโรมันคาธอลิคมาทางตะวันออก  จึงทูลขอความช่วยเหลือพระเจ้าหลุยส์  ที่  14  พระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส  สนับสนุน  ครั้งนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่  14  ได้ทรงรับเป็นธุระแล้วคัดเลือกบาทหลวงฝรั่งเศส  3  รูป  แต่งตั้งเป็นบิชอบ  คือ  บิชอบเบรีธ  บิชอบเดลิโอโปลิส  บิชอบเมเตโปลิส  (คือบาทหลวงลาม็อตสังแบรต์  (De  La  Motte  Lambert)  เป็น  สังฆราช  แห่ง  เบริธ  (Eveque  de  Beryte)  เป็นหัวหน้าคณะ  ร่วมกับ  บาทหลวง  เดดิเอร์  (D’idier)  และบาทหลวงเดอบูร์ช  (De  Brourges)  พร้อมด้วยบาทหลวงและคฤหัสถ์  อีกหลายคนเป็นคณะ  ออกเดินทางสำรวจดูหนทางที่จะเผยแพร่ศาสนาคริสตังทางดินแดนทางตะวันออก  คณะบาทหลวงฝรั่งเศสออกเดินทางมาทางทะเลอยู่หลายปีจนบาทหลวงรูปหนึ่งมรณภาพไปแล้ว  จึงเหลือบาทหลวง  สองรูปและคณะเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อ  พ.ศ. 2205  แล้วเห็นว่าอาณาจักรสยามแห่งนี้เหมาะสำหรับที่จะทำการเผยแพร่ศาสนากว่าประเทศอื่นๆ  ด้วยเหตุที่ราชสำนักและราชการนั้นไม่รังเกียจกีดกันการนับถือศาสนาอื่นๆ  จึงพากันกันอาศัยอยู่กับพวกคริสตังคือชาวโปรตุเกสเดินทางเข้ามาอยู่ก่อนแล้ว  โดยคณะบาทหลวงนั้นก็ทำการเรียนภาษาไทยและทำตัวเข้าช่วยเหลือผู้คนทั้งหลายเพื่อที่จะสร้างความนิยมชมชอบโดยทั่วไป

 

ในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ฯ  นั้นได้ให้กรมพระคลังสินค้าทำการต่อเรือกำปั่นหลวงขึ้นหลายลำเพื่อที่จะใช้บรรทุกสินค้าของหลวงไปขายยังเมืองจีนและญี่ปุ่นโดยตรงเนื่องจากก่อนนั้นมีเหตุการณ์ที่เรือสินค้าของฝรั่งชาติตะวันตกจะเดินทางไปค้าขายถึงญี่ปุ่นไม่ได้  ด้วยเหตุที่ญี่ปุ่นนั้นพากันรังเกียจว่าพวกฝรั่ง  ซึ่งไปแล้วเที่ยวชักชวนให้ชาวญี่ปุ่นเข้ารีตนับถือศาสนาคริสตัง

 

ต่อมาตอนปลายแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้น  พวกฮอลันดาซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนส์อยู่นั้น  ได้พยายามแสดงตนให้ญี่ปุ่นได้รู้ว่า  พวกฮอลันดาไม่ได้นับถือศาสนาโรมันคาธิลิค  หรือศาสนาคริสตัง  ญี่ปุ่นจึงอนุญาตให้พวกฮอลันดาเข้าไปค้าขายถึงเมืองญี่ปุ่นได้

 

ครั้นเมื่อฮอลันดาคู้ว่ากรุงศรีอยุธยาได้ต่อเรือกำปั่นหลวงขึ้นเพื่อทำการค้าขายและนำสินค้าไปขายแข่งกันที่ญี่ปุ่นเช่นนั้นก็เกิดไม่พอใจ  ด้วยถือว่าพวกฮอลันดานั้นได้เปิดตลาดค้าขายที่ญี่ปุ่นมาก่อนและมีกำลังเรือรบมากกว่า  ดังนั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยามีเหตุการณ์สู้รบกับพม่า  เมื่อ พ.ศ. 2207  ฮอลันดาจึงเห็นเป็นโอกาสที่จะหาเหตุวิวาท  จึงให้เรือรบของฮอลันดาเที่ยวทำลายเรือกำปั่นหลวงของกรมพระคลังสินค้าที่บรรทุกสินค้าไปเสียระหว่าง  บ้างครั้งก็จับยึดสินค้าไป  แล้วฮอลันดาก็ส่งเรือรบเข้ามาทำการปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยาเสียโดยที่กรุงศรีอยุธยายังไม่ทันได้ป้องกันตัว  และเห็นว่าหากสู้รบกันก็จะเสียทีได้  กรุงศรีอยุธยาจึงรีบทำสัญญาปรองดองกันกับฮอลันดาว่าจะไม่ไปทำการค้าขายแข่งขันกับพวกฮอลันดาทางด้านตะวันออกเหตุการณ์จึงสงบลงได้

 

ด้วยเหตุที่พวกฮอลันดาปิดตลาดค้าขายทางด้านตะวันออกดังกล่าวนั้น  ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ฯ  ไม่ไว้วางใจพวกฝรั่งชาติตะวันตก  จึงมีพระราชดำริว่า  กรุงศรีอยุธยานั้นอยู่ใกล้กับทะเล  ข้าศึกสามารถที่จะเอาเรือรบเดินทางขึ้นมาถึงพระนครได้โดยง่าย  พระองค์จึงให้ทำการสร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีสำรองอีกแห่งหนึ่ง  สำหรับใช้เป็นพระนครสำหรับต่อสู้กับข้าศึกต่างชาติที่เดินทางเข้ามาจากทะเล  และให้ทำการสร้างป้อมปราการป้องกันไว้ที่เมืองธนบุรี  เมืองนนทบุรี  สำหรับเป็นเมืองด่านคอยป้องกันข้าศึกที่จะเดินทางตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาถึงกรุงศรีอยุธยา

 

ขณะนั้นบาทหลวงฝรั่งเศสได้เดินทางเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาได้ประมาณ  3  ปีเศษ  เป็นชาติที่ไม่เข้ากับพวกฮอลันดาด้วยเหตุที่นับถือศาสนาคริสต์ต่างนิกายกัน  จึงเห็นเป็นโอกาสที่จะเข้าช่วยเหลือทางกรุงศรีอยุธยาเพื่อหาหนทางสนิทสนมเพื่อเผยแพร่ศาสนาของตน  จึงให้บาทหลวง  โทมัส  ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ในการสร้างป้อมปราการเข้าไปหา  เจ้าพระยาโกษาธิบดี  (ขุนเหล็ก)  ทำการรับอาสาสร้างป้อมปราการที่เมืองลพบุรี  ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ  ทรงโปรดรูปแบบป้อมปราการที่สร้างขึ้นตามแบบอย่างตะวันตกมาก  จึงได้พระราชทานบ้านเรือนให้คณะบาทหลวงฝรั่งเศสอยู่ในพระนคร  และโปรดให้ทำการสร้างโรงสวด  (โบสถ์)  ขึ้นภายในบริเวณนั้นด้วย

 

บิชอบเบริธ  หัวหน้าคณะบาทหลวงนั้น  เมื่อเห็นว่าสมเด็จพระนารายณ์ฯ  ทรงโปรดปรานบาทหลวงโทมัสเช่นนั้น  และไม่รังเกียจศาสนาคริสตัง  จึงส่งคนกลับไปทูลขอพระราชสาสน์จากพระเจ้าหลุยส์ที่  14  ให้มีมายังกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเพื่อฝากชาวฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรสยาม  ส่วนสมเด็จพระนารายณ์ฯ  นั้นเมื่อได้รับพระราชสาส์นแล้วทรงเห็นว่า  ถ้ากรุงศรีอยุธยาได้เป็นไมตรีกับฝรั่งเศสแล้วก็จะเป็นการป้องกันไม่ให้พวกฮอลันดากล้ามาเบียดเบียนอีก  จึงยอมรับเป็นไมตรีต่อกัน

 

ขณะนั้นทางด้านตะวันตกของอาณาจักรสยามนั้นอังกฤษได้เดินทางมาทำการค้าขายอยู่ตามเมืองท่าด้านทะเลตะวันตกของกรุงศรีอยุธยาคือ  เมืองตะนาวศรี  เมืองมะริด  เมื่อเห็นฮอลันดาทำการแข็งข้อผูกขาดการค้าขายด้านตะวันออกได้  ก็คิดจะเอาเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดตามอย่างเพื่อผูกขาดการค้าขายทางด้านนี้  แต่พอกรุงศรีอยุธยาเป็นไมตรีกับฝรั่งเศสเช่นนี้  ก็ไม่คิดจะรุกรานเอาเมืองท่าสำคัญทางด้านตะวันตกของอาณาจักรสยาม

 

ครั้งนั้น  สมเด็จพระนารายณ์  ไม่โปรดที่จะประทับที่กรุงศรีอยุธยา  พระองค์นิยมแต่เสด็จไปประทับที่เมืองลพบุรี  ด้วยเหตุที่อาจเป็นเพราะในกรุงศรีอยุธยามีฝ่ายราชวงศ์และขุนนางของกษัตริย์องค์เก่าอยู่มาก  จึงทำให้พระองค์โปรดที่จะประทับอยู่เมืองลพบุรี  ดังนั้นพระราชวังแห่งนี้จึงสร้างเหมือนพระราชวังหลวง  และใช้เป็นราชธานีสำรองอีกแห่งหนึ่ง

 

คณะบาทหลวงฝรั่งเศสนั้นอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยามาได้  13  ปี  โดยมีคอนสแตนตินฟอนคอน  ชาวกรีก  ที่เข้ามารับราชการจนมีอำนาจในราชสำนัก  นั้นได้ประสานสัมพันธ์ไมตรีระหว่างฝรั่งเศสกับอาณาจักรสยามจนแน่นแฟ้นขึ้น

 

ในจดหมายเหตุชาวต่างประเทศนั้นได้กล่าวว่า  สมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นทรงสนพระทัยในวิทยาการของชาวตะวันตกอย่างมาก  สมัยนั้นได้มีการสั่งกล้องดูดาวเข้ามาใช้ในสมัยพระองค์  ดังเห็นได้จากภาพเขียน  สมเด็จพระนารายณ์  ทรงส่องกล้องดูจันทรคราส  ณ  พระที่นั่งไกรสรสีหราช  (พระที่นั่งเย็นริมทะเลขุบศรที่เมืองลพบุรี)    กับบาทหลวงตาชาร์ด  เมื่อวันที่  11  ธันวาคม  พ.ศ. 2228  และได้พบว่ามีภาพสีน้ำขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ  ส่องกล้องดูสุริยคราส  เมื่อ  30  เดือนเมษายน  พ.ศ. 2231  อยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ  กรุงปารีสด้วย

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สำหรับเหตุการณ์ในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ฯ  นั้น  มีดังนี้(2)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์