ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  บันทึกของ  วันวลิต  หรือ  เยเรเม

 

บันทึกของ  วันวลิต  หรือ  เยเรเมียส  ฟาน  ฟลีต

 

ต้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

 

วันวลิต  หรือ  เยเรเมียส  ฟาน  ฟลีต  (Jeremias  van  Vliet)  ซึ่งเป็นผู้จัดการสถานีค้าขายของบริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา  ต่อจากนายโยส  เซาเตา  โดยวันวลิตนั้นได้เดินทางมาค้าขาย  สมัยต้นรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  เมื่อ  พ.ศ. 2177 – 2190  และนายวันวลิตนั้นมีภรรยาเป็นชาวสยาม

 

วันวลิตได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ  ของประเทศสยาม  ระหว่าง  พ.ศ. 2172 – 2190  ไว้  เป็นหนังสือ  3  เล่ม  เป็นภาษาฮอลันดา  ต่อมาได้มีผู้นำมาแปลเป็นอังกฤษ

 

•  เล่มแรกชื่อ  Description  of  the  Kingdom  of  Siam  (เขียนใน  พ.ศ. 2179  กรมศิลปากรได้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว)

 

•  เล่มที่สองชื่อ  Chronicles  of  the  Ayuthian  Dynasty  (เขียนใน  พ.ศ. 2183  แปลภาษาไทยแล้วชื่อ  พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  โดย  พล.ต.มรว.ศุภวัฒย์  เกษมศรี)

 

•  และ  เล่มที่สามชื่อ  The  Historical  Account  of  the  War  of  Sucession  following  the  death  of  King  Pra  Interajasia  22  nd  King  of  Ayuthian  Dynasty  (เขียนในปลาย  พ.ศ. 2190  กรมศิลปากรจัดแปลและพิมพ์ไว้ในประชุมพงศาวดาร  ภาคที่  79  ชื่อว่า  “จดหมายเหตุวันวลิตฉบับสมบูรณ์”)

 

หนังสือพระราชทานพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา  ฉบับวันวลิตนั้น  เขียนเสด็จเมื่อวันที่  8  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2183  เป็นเอกสารรายงานสำคัญจาก  หัวหน้าสถานีการค้าฮอลันดาประจำประเทศสยามถึงผู้สำเร็จราชการรัฐแห่งเนเธอรแลนด์ในอินเดียตะวันออก  นับเป็นเอกสารพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับเก่าที่สุดเท่าที่ค้นพบ

 

วันวลิตได้เขียนเล่าเรื่องอาณาจักรสยามตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างกรุง  จนถึงรัชกาลสมเด็จพรเจ้าทรงธรรม  พระองค์ทรงเป็น  กษัตริย์องค์ที่  26  ของกรุงศรีอยุธยา  ต้นฉบับของเอกสารนี้  เขียนเป็นภาษาฮอลันดาได้หายลี้ลับไปเกือบสามร้อยปี  เพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานแล้วมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ  และสยามสมาคมได้จัดพิมพ์ขึ้นใน  พ.ศ. 2518

 

ข้อความที่วันวลิตได้บันทึกไว้ในรายงานนั้นมีสาระสำคัญที่น่าสนใจอยู่หลายเรื่อง  เช่นเรื่องการสร้างอาณาจักรสยามว่า  “ยังหาข้อยุติไม่ได้เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของชาติสยามผู้ก่อตั้งประเทศชาติ  ผู้สถาปนาพระราชอาณาจักร  และ  พระนามกษัตริย์องค์แรกที่เสวยราชย์ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเล่าเชิงนิยาย  ถึงแม้บางเรื่องพอมีเหตุผลพอจันความจริงบ้าง  เรื่องหนึ่งที่มีเล่าขานคือ  เมื่อประมาณ  2,000  ปีที่ล่วงมา  ราชโอรสกษัตริย์จีนพระองค์หนึ่งถูกเนรเทศจากเมืองจีน  จึงลงเรือมาขึ้นที่ปัตตานี  แล้วสร้างอาณาจักรขึ้น  ชื่อลังกาสุกะ  (Langhseca)  ประกอบด้วยเมืองละคร  (Lijgoor)  กุย  (Cuij)  และ  พริบพรี  (Piprij)  อาณาจักรสยามเป็นราชอาณาจักรเก่าแก่  อีกทั้งเป็นชาติที่มีกฎหมาย  กับดำเนินนโยบายได้ดี  ชนสามัญสุภาพเรียบร้อย  มีอัธยาศัยไมตรีและเที่ยวธรรม”

 

เรื่องพระเจ้าอู่ทองและกษัตริย์อยุธยา  “พระเจ้าอู่ทอง  (Prae  Thaeu  Outhongh)  ทรงสร้างเมืองหลวงชื่ออยุธยา  (Juaia)  เมื่อวันขึ้น  5  ค่ำเดือน  4  ปีขาล  ทรงสร้างวัดหน้าพระธาตุ  (Nappetadt)  และวัดราชบูรณะ  (Raeijae  Boenna)  ทรงสร้างเมืองนครชัยศรี  (Lijcon-t’  Jeijsij)  พิษณุโลก  (Pouceloucq)  สุโขทัย  (Suckethaij)  และเมืองกำแพงเพชร  (Caphijn)  ทรงแต่งราชทูตไปเฝ้าพระเจ้ากรุงจีน  และส่งสำเภาไปค้าขายที่เมืองกวางตุ้ง  พระเจ้าอู่ทองสวรรคตเมื่อทรงมีพระชนมายุ  57  พรรษา  ทรงครองราชย์  19  ปี  ราชโอรสพระเจ้าอู่ทองชื่อพระราเมศวร  (Prae-rhaem  mijsoon)  ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์สยามองค์ที่สอง  เสวยราชย์  3  ปี  แล้วถูกพระปิตุลาถอดออกจากตำแหน่ง  ต้องไปอยู่ตามป่าเขาอย่างทุกข์ยากขัดสน  เจ้าขุนหลวงพะงั่ว  (Tjaeu  Couloangh  Phongh  Wo - Ae)  พระปิตุลาของพระราเมศวร  ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์สยามองค์ที่  3  เสวยราชย์อยู่  18  ปี  โดยเมืองสยามยุคนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก  เมื่อขุนหลวงพะงั่วสวรรคต  ขณะพระชนม์  81  พรรษา  พระทองจัน  (Prae  Thongh  t’Jan)  โอรสเจ้าขุนหลวงพะงั่วได้เป็นกษัตริย์องค์ที่  4  แต่เสวยราชย์เพียง  7  วัน  ก็ถูกพระราเมศวร  อดีตกษัตริย์สยามบุกเข้าโจมตีเวลากลางคืนและสำเร็จโทษ  พระราเมศวรขึ้นครองราชย์อีกครั้งเป็นเวลา  6  ปี  โอรสพระราเมศวร  คือ  พระรามขึ้นเสวยราชย์เป็นเวลา  3  ปี  ต่อจากนั้น  พระนครอินทร์  โอรสเจ้าขุนหลวงพะงั่วและเป็นพระเชษฐาของพระทองจัน  ซึ่งเคยครองเมืองสุพรรณบุรี  ได้กลับมาครองราชย์ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา  20  ปี  พระโอรสของพระนครอินทร์  คือพระบรมราชาธิบดีหรือเจ้าสาม  ครองราชย์ต่ออีก  20  ปี  หลังจากนั้นเป็นสมัยของพระบรมไตรโลกนารถ  พระอินทราชา  พระเจ้ารามาธิบดี  พระหน่อพุทธางกูร  พระวรรัษฐาธิราช  พระไชยราชา  พระยอดเจ้า  พระขุนชินราช  พระเทียรราชา  พระมหินทร์  พระมหาธรรมราชา  พระนเรศราชาธิราช  (Prae  Naerith  Raetisia  Thieraij)  พระอนุชาธิราช  พระราเมศวร  (Prea  Anoet  Tsiae  Thieraij  Pra  Rhae  Mij  Soon)  พระอินทราชา  พระองค์เชษฐราชา  พระองค์อาทิตย์สุรวงศ์  พระองค์ศรีธรรมาธิราช  และกษัตริย์องค์ที่  26  คือ  พระเจ้าทรงธรรม

 

พรเจ้าทรงธรรม  ประสูติเมื่อ  พ.ศ. 2134  ครองราชย์เมื่อ  พ.ศ. 2163  ทรงมีราชโอรสซึ่งต่อมาเป็นกษัตริย์สยามสองพระองค์  คือ  สมเด็จพระเชษฐาธิราช  และ  สมเด็จพระอาทิตย์วงศ์  และ  วันวลิตได้บันทึกไว้ด้วยว่า  “สถานที่สำเร็จโทษเจ้านายสยามอยู่ที่วัดโคกพญา  ตรงข้ามพระราชวัง”

 

เรื่องสินค้าจากอาณาจักรสยามว่า  “เมื่อ  19  กรกฎาคม  พ.ศ. 2179  สมัยพระเจ้าปราสาททอง  นั้นพระองค์ได้ส่งสินค้าสยามลงเรือใหญ่  ชื่อราแรป  และโนร์ทวิท  ไปขายที่ญี่ปุ่นมูลค่า  67809.12  ฟลอริน  ประกอบด้วย

 

หนังกวาง                                               103,480     แผ่น

หนังปลากระเบน                                  17,960        แผ่น

ไม้ฝาง                                                     3,650          หาบ

Cambodia  Nuts                                   1,600            ลูก

เขาควาย                                                  3,700           เขา

ไม้กฤษณา                                              400               ชั่ง

น้ำตาลหม้อ                                            150               หาบ

หวาย                                                       200               มัด

หนังกวางแดงฟอกแล้ว                         1,200            แผ่น

 

ครั้นวันที่  22  และ  28  กรกฎาคม  พ.ศ. 2179  วันวลิตได้ส่งเรือ  ชื่อบอมเมล์ และวารมอนต์  บรรทุกสินค้าต่อไปนี้ไปขายที่โตยัน

 

ไม้ฝาง                                                     2,000           หาบ

ตะกั่วของไทย                                       300               หาบ

ยางรัก                                                     36                  หาบ

ไม้กฤษณา                                              11                   หาบ

ข้าว                                                         7                     เกวียน

ข้าวเปลือก                                             35                  หาบ

ไม้สักซุง                                                 132                หาบ

ไม้สักแผ่น                                              150                 แผ่น

 

ไม้ฝาง  ซึ่งเป็นสินค้าออกสำคัญของไทยไปยังจีนและญี่ปุ่นแต่โบราณนั้นมีชื่อภาษาอังกฤษว่า  Sappan  wood  ได้มาจากต้นฝาง  ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  ใบเล็กเป็นฝอยเนื้อและแก่นไม้มีสีแดงเข้ม  ขึ้นหนาแน่นในป่าทางภาคเหนือ  ภาคตะวันตก  ที่บางปลาสร้อยและเทือกเขาในเขตกัมพูชา  แก่นไม้ใช้ทำสีย้อมผ้าและสีผสมอาหารให้มีสีแดงเข้ม  หากผสมปูนขาวจะมีสีม่วงสีย้อมผ้าจากฝางจะทนทานไม่ตกง่ายลำต้นไม้ฝางใช้ทำท้องเรือสำเภาและเครื่องเรือน  นอกจากนี้ยังนำมารักษาโรคคุดทะราด  แก้ท้องร่วง  บำรุงโลหิตสตรีและบรรเทาอาการร้อนใน  กระหายน้ำได้ด้วย  ในปัจจุบันมีการผลิตสีเคมีวิทยาศาสตร์มากขึ้นความต้องการไม้ฝางไปทำสีย้อมผ้าจึงลดลง

 

นายวันวลิตนั้นได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  เมื่อวันที่  29  ตุลาคม  พ.ศ. 2184  พร้อมกับพ่อค้าฮอลันดาอีก  สองคน  คือ  นายผอน  ซัม  และนายมูรไดต์  ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงโปรดกระจกเงาบานใหญ่  ที่วัดวลิตนำไปถวายมาก  พระองค์ทรงพระราชทานช้างมีชีวิตให้สองเชือก  เพื่อส่งลงเรือไปยังปัตตาเวีย  ต่อมาวันวลิตได้เดินทางไปเมืองปัตตานี  และเข้าเฝ้านางพระยาของเมืองปัตตานี  เมื่อวันที่  15  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2185  ด้วย

 

นายวันวลิตได้บันทึกไว้อีกว่า  ในปี  พ.ศ. 2173  สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้น  ได้มีการตั้งกรมพระคลังสินค้า  จัดสำเภาหลวงไปค้าขายกับประเทศตะวันออก  โดยจ้างชาวจีนเป็นพนักงาน  และจัดการการเดินเรือ  ชาวเปอร์เซียชื่อ  เฉกอะหมัด  เจ้ากรมท่าขวาสมัยพระเจ้าทรงธรรม  นั้นต่อมาได้เป็น  เจ้าพระยาบวรราชนายก  ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง  (เฉก – อะหมัด  ผู้นี้ต่อมานั้นเป็นต้นสกุลของ  “บุนนาค”  ซึ่งได้มีเชื้อสายเป็นบุคคลสำคัญของแผ่นดินในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์)

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม บันทึกของ  วันวลิต  หรือ  เยเรเมียส  ฟาน  ฟลีต

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์