ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย

 

ราชวงศ์ปราสาททอง

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

ครองราชย์  พ.ศ.2172 – 2199

 

                สมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้น  คือ  สมเด็จพระยากลาโหมสุริยวงศ์  ขณะนั้นมีอายุ  30  พรรษา  ได้ทำการยึดอำนาจจากพระอาทิตย์วงศ์สำเร็จแล้ว  ใน  พ.ศ. 2173  ได้รับเชิญขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์และสถาปนาราชวงศ์ปราสาททองขึ้น  ทรงพระนามว่า  สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

 

                สมเด็จพระเจ้าปราสาททองนี้เดิมมีพระนามว่าพระองค์ไล  เกิดในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรเมื่อราวปี  พ.ศ. 2143  ปีชวด  เป็นบุตรของพระยาศรีธรรมาธิราช  ผู้เป็นพี่ชายของพระชนนีของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม  มีเรื่องเล่ากันว่า  ในวันหนึ่งพระเอกาทศรถ  ซึ่งมีพระอิสริยยศเป็นพระมหาอุปราชนั้นได้เสด็จประพาสทางน้ำมาถึงที่เกาะบางปะอินครั้งแรกให้พระเชษฐาธิราชขึ้นเป็นกษัตริย์  ต่อมาได้ยึดให้พระอาทิตย์วงศ์ขึ้นครองราชย์  แต่สุดท้ายต้องยึดอำนาจกลับมาสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นครองราชย์ด้วยพระองค์เอง

 

                ดังนั้น  ผู้ที่จงรักภักดีต่อราชวงศ์เดิม  คือ  สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม  และสมเด็จพระเชษฐาธิราช  นั้นต่างถูกถอดออกจากตำแหน่งและถูกเนรเทศ  หรือประหารชีวิตจำนวนมาก  เรื่องนี้ทำให้พระยาเสนาภิมุข  (ออกญาเสนาภิมุข  หรือยามาดะ)  เจ้ากรมทหารอาสาญี่ปุ่น  ไม่พอใจในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  ที่ทำการยึดอำนาจแล้วขึ้นครองราชย์เสียเอง  ด้วยธรรมเนียมญี่ปุ่นนั้นถือว่าไม่ถูกต้องที่สามัญชนจะขึ้นเป็นกษัตริย์

 

                เหตุการณ์เช่นนี้  สมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้นทรงรู้พระองค์อยู่เสมอ  แต่ยังเกรงกำลังทหารอาสาญี่ปุ่นในพระนครและสัมพันธไมตรีต่อกันกับพวกญี่ปุ่น  จึงทำให้พระองค์คิดแก้ปัญหาโดยส่งให้พระยาเสนาภิมุข  นั้นลงไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช  พร้อมกับทหารญี่ปุ่นทั้งหมดที่อยู่ในกรุงศรีอยุธยา  ต่อมาพระยาเสนาภิมุข(ยามาดะ)  ได้เกิดเป็นแผลที่ขา  แล้วถูกวางยาพิษในผ้าปิดแผล  จนถึงแก่อนิจกรรมที่เมืองนครศรีธรรมราช  ทำให้พวกญี่ปุ่นไม่พอใจจะจับคนวางยาพิษมาลงโทษให้ได้  จึงเกิดการสู้รบกันระหว่างชาวเมืองนครศรีธรรมราชกับชาวญี่ปุ่น  ทำให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก  พวกญี่ปุ่นสู้ไม่ได้จึงพากันทิ้งเมือง  หนีลงเรือเดินทางไปทางกัมพูชา

 

                ในปีที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองครองราชย์นั้น  พระเจ้าสุทโธธรรมราชาของพม่าได้ขึ้นครองราชย์  และทำการปราบปรามหัวเมืองไทยใหญ่และตีได้บ้านเมืองลงมาตามลำดับจนถึงเมืองเชียงใหม่  ซึ่งตั้งเมืองเป็นอิสระไม่ขึ้นกับอาณาจักรสยาม  ดังนั้น  เมื่อพม่าเห็นว่ากรุงศรีอยุธยานั้นไม่ได้คอยป้องกันดูแลเมืองเชียงใหม่อย่างแต่ก่อนแล้ว  เห็นได้โอกาสดีจึงยกกองทัพเข้าตีเมืองเชียงใหม่  พระยาเมืองเชียงใหม่สู้รบไม่ได้  ทำให้เมืองเชียงใหม่ตกเป็นของพม่า  เมื่อ  พ.ศ. 2173  ทำให้หัวเมืองทั่วทั้งเขตลานนานั้นได้กลับไปขึ้นกับพม่าตามเดิม

 

                ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนี้  ได้โปรดให้สร้างพระราชวังขึ้นที่บางปะอิน  พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์  ในพระบรมมหาราชวัง  และโปรดให้มีการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณปากเกร็ด

 

                วันที่  21  ตุลาคม  พ.ศ. 2175  ภายในกรุงศรีอยุธยาได้เกิดกรณีพิพาทระหว่างอาณาจักรสยามกับชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในพระนคร  ทำให้หมู่บ้านญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยาไฟเผา  และถูกยิงด้วยปืนใหญ่ทำลายจนหมดสิ้นพวกญี่ปุ่นถูกฆ่าหรือถูกขับออกไปจากอาณาจักรสยามโดยลงเรือสำเภาหนีไปทางกัมพูชา  ทำให้บทบาทของญี่ปุ่นในราชสำนักสยามถูกกำจัดลงจนเกือบหมดสิ้น  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้ทำให้โชกุน  โตกูกาวะแห่งญี่ปุ่นไม่พอใจมาก   สั่งให้ตัดสัมพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรสยามทำให้มีผลกระทบกระเทือนทางการค้าต่างประเทศของกรุงศรีอยุธยามาก  สมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้นได้พยายามที่จะส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่นใน  พ.ศ. 2178  และ  พ.ศ. 2183  แล้วก็ตาม  ญี่ปุ่นไม่ยอมเจริญพระราชไมตรีกับอาณาจักรสบามด้วย

 

                พ.ศ. 2175  สมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้นทรงไว้พระทัยพวกฮอลันดามาก  ในสมัยนั้นพระเจ้าออเรนจ์  กษัตริย์ฮอลันดา  “ได้ส่งทูตมาเฝ้าสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  พระองค์ทรงโปรดให้จัดการต้อนรับอย่างใหญ่ยิ่งพระราชสาส์นเจริญสัมพันธไมตรีนั้นถูกแห่แหนด้วยกระบวนเรือพระราชพิธี  12  ลำ  สมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้มีพระราชสาส์นตอบและส่งมงกุฎทองคำ  3  ชั้น   ประดับพลอยแดงน้ำเงินและเพชรตาแมว  เป็นเครื่องราชบรรณาการถวายแด่กษัตริย์ออกเรนจ์  กษัตริย์ของชาวฮอลันดาด้วย

 

                พ.ศ. 2178  ได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่  และไหม้ลุกลามไปทั่วกรุงศรีอยุธยา  กล่าวคือได้เกิดอสุนีบาตต้องเหมมหาปราสาท  เพลิงไหม้จนดีบุกหลังคาไหลลงห้องคลัง  เรือนหน้า  เรือนหลังไหม้จำนวน  100  หลังคาจึงดับลง  ครั้งนั้นพระอง์ได้โปรดให้สร้างคลังเรือน  (เรือนท้องพระคลัง)  เสด็จภายใน  3  เดือนและให้สถาปนาพระมหาปราสาทสำเร็จภายใน  1  ปี  เมื่อเสด็จแล้วทรงพระราชทางพระนามว่า  พระวิหารสมเด็จ

 

                สมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้น  ทรงใช้ชาวต่างชาติเข้ามาเป็นทหารอาสาหลายชาติ  เช่น  อิหร่าน  โปรตุเกส  ญี่ปุ่น  มลายู  และฮอลันดา  ในสมัยพระองค์ได้ส่งกองทัพออกไปโจมตี  เมืองปัตตานี  เมืองลำปาง  และพระองค์ยังได้ผูกสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์อินเดีย  จามปา  จีน  อังวะ  มอญ  และล้านช้างด้วย

 

                เหตุที่กรุงศรีอยุธยาต้องส่งกองทัพไปตีเมืองปัตตานีนั้น  เนื่องจากเมืองปัตตานีเป็นกบฏคบคิดกับแขกที่ปลายแหลมมลายู  ยกกำลังมาตีเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง  ทำให้ต้องส่งกองทัพออกไปสู้รบกันอยู่หลายปี  จนสามารถตีเอาเมืองปัตตานีคืนมาได้

 

                เหตุที่กรุงศรีอยุธยาสู้รบตีเมืองปัตตานีได้ใน  พ.ศ. 2178  นั้น  เนื่องด้วยบริษัทการค้าฮอลันดาได้ส่งเรือรบ  6  ลำมาช่วยอาณาจักรสยามทำการโจมตีเมืองปัตตานี  โดยมีข้อแลกเปลี่ยนกันว่า  กรุงศรีอยุธยาต้องยอมให้ฮอลันดานั้นทำการผูกขาดการซื้อหนังกวางและไม้ฝางเพื่อส่งไปขายต่างประเทศแต่ผู้เดียว  ในครั้งแรกกรุงศรีอยุธยาไม่ยินยอม  จึงทำให้ฮอลันดานำเรือรบสองลำเข้ามาปิดปากอ่าวเมืองตะนาวศรี  เพื่อมิให้เรือสินค้าของชาติอื่นเข้ามาทำการค้าขายได้

 

                เรื่องนี้สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงกริ้วมาก  จึงโปรดให้ประกาศห้ามคนไทยและมอญนั้นทำงานให้กับฮอลันดา  ครั้นเมื่อฮอลันดาขู่ว่าจะย้ายสถานีทำการค้าขายนั้นไปอยู่ที่กัมพูชา  จึงทำให้กรุงศรีอยุธยาจำต้องยอมโอนอ่อนตามที่ฮอลันดาเรียกร้องโดยยอมให้ฮอลันดาทำการผูกขาดการค้าหนังสัตว์และไม้ฝางแต่ผู้เดียว

 

                ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  ได้ยกกองทัพออกไปปราบปรามเมืองเขมร  ตีได้กัมพูชามากลับมาเป็นของอาณาจักรสยามตามเดิม

 

สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง  ครองราชย์อยู่  25  ปี  ทรงประชวรหนัก  จึงได้มอบราชสมบัติประทานให้  เจ้าฟ้าไชย  พระโอรสองค์ใหญ่พร้อมกับให้พระแสงขรรค์ชัยศรี  ต่อมา  3  วันพระองค์จึงเสด็จสวรรคต  พ.ศ. 2198  เจ้าฟ้าไชยนั้นต่อมาได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา

 

เนื่องจากกรุงศรีอยุธยานั้นมีชาวต่างประเทศเดินทางมาติดต่อค้าขายอยู่  จึงมีบันทึกเป็นจดหมายเหตุถึงอาณาจักรสยาม  ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้สามารถศึกษาถึงเหตุการณ์ในสมัยนี้ได้  จากเอกสารเหล่านี้  เช่น

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์