ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

 

ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

 

สมเด็จพระแก้วฟ้า (สมเด็จพระยอดฟ้า)

ครองราชย์ พ.ศ. 2089 – 2091

 

                สมเด็จพระแก้วฟ้า พระโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระองค์มีอีกพระนามว่า พระยอดฟ้า

นางจิตราวดี พระชนนี้นั้นสิ้นพระชนม์แต่ยังเล็ก จึงอยู่ในความดูแลเลี้ยงดูของท้าวศรีสุดาจันทร์ พระสนมเอก เมื่อมีพระชนมายุได้ 1 พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์เป็นยุวกษัตริย์

 

                สมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) กษัตริย์ผู้เยาว์นั้น เนื่องจากยังออกว่าราชการไม่ได้ แม้ว่าเหล่าเสนาอำมาตย์มนตรีได้แต่งตั้งให้ พระเฑียรราชา พระอนุชาต่างพระมารดาของสมเด็จพระไชยราชาธิราช พระเจ้าเหนือหัวองค์ก่อน และเป็นพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแล้วก็ตาม

 

               

                แต่ด้วยเหตุที่สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงมอบให้ เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ พระสนมเอกของพระองค์ เป็นผู้คอยอภิบาลกษัตริย์พระองค์น้อยอยู่ก่อนแล้ว จึงทำให้นางพระยาฯ ไม่พอใจที่พระราชอำนาจนั้น จะต้องถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายราชการแผ่นดิน (พระเฑียรราชา) และฝ่ายในราชสำนัก (ฝ่ายท้าวศรีสุดาจันทร์)

 

                พระเฑียรราชานั้น แม้จะมีฐานะเป็นพระอนุชา ต่างพระมารดา ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช และเป็นพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดก็จริง อันสมควรได้ครองราชย์สืบแผ่นดิน ตามกฎมณเฑียรบาลเช่นเดียวกัน แต่เมื่อมีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเช่นนี้ พระเฑียรราชาก็รู้ในกุศโลบายที่ ท้าวศรีสุดาจันท์นั้นไม่ต้องการให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักรและหาโอกาสใช้อำนาจในราชสำนักเข้าครองอำนาจทั้งหมด โดยป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นด้วย

 

                เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ ในฐานะพระสนมเอกและพระมารดา ผู้อภิบาลกษัตริย์องค์น้อย ในฐานะที่เคยเป็นผู้สำเร็จราชการแทนกษัตริย์มาก่อน เมื่อครั้งสมเด็จพระไชยราชา ธิราชไปราชการศึกสงคราม นาง

พระยาฯมีอำนาจในพระราชสำนักมาก่อนจึงทำให้สามารถเรียกเอาอำนาจที่เคยมีอยู่กลับคืนมาได้ง่าย เนื่องจากมีข้าราชการที่เคยรับใช้ใกล้ชิดมาแต่ครั้งนั้น มาเป็นพวก ผู้ที่หวังในอำนาจต่างก็เข้าฝักใฝ่ช่วยเหลือนางพระยาฯ จนทำให้พวกของนางนั้นมีมากขึ้น ในไม่ช้าฝ่ายราชสำนักที่มีกษัตริย์องค์น้อยอยู่กับนางพระยาฯ เช่นนี้ จึงทให้กลุ่มของนางพระยามีอำนาจมากขึ้นอย่างง่ายดาย

 

                พระเฑียรราชา ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินนั้น เมื่อไม่มีอำนาจที่เหนือกว่าพระสนมเอก ที่เคยรักษาการงานเมืองแทนพระเจ้าเหนือหัวมาก่อนแล้ว ในการออกว่าราชการงานเมืองของพระเฑียรราชา จึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวก เนื่องจากเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ นั้นมีพระยศในฐานันดรศักดิ์ เป็นพระสนมเอก ของพระเจ้าเหนือหัวและพระมารดา ผู้อภิบาลยุวกษัตริย์

 

                เมื่อนางพระยาฯ ผู้นี้ได้รับการยกย่องเป็น “นางพระยาเจ้าแม่อยู่หัว” (เจ้าแม่ยัวเมือง) อันเป็นตำแหน่งสูงสุดของพระมเหสีของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ด้วยเหตุที่พระเจ้าเหนือหัวทรง มีพระทัยเสน่หามากจนถึงกับเคยให้พระสนมเอกผู้นี้เป็นผู้สำเร็จราชการในยามที่พระองค์ไปราชการทัพเช่นนี้ อีกทั้งนางพระยาฯ ผู้นี้ก็มีกลุ่มขุนนางคอยสนับสนุนอยู่และไม่ปฏิบัติงานราชการของผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน

 

                ดังนั้น เมื่อมีการสถาปนาพระยอดฟ้า พระโอรสผู้มีพระชันษาเพียง 11 พรรษาขึ้นครองราชย์ เป็นสมเด็จพระแก้วฟ้า จึงต้องในอำนาจที่ทำให้เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ สามารถยึดอำนาจในราชบัลลังก์นั้นกลับคืนมาทั้งหมด โดยนางพระยาฯ นั้นได้ออกว่า ราชการภายในพระราชวังต่างสมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) กษัตริย์องค์น้อย ทำให้งานบ้านเมืองมีเหตุให้มีข้อขัดแย้งกันอยู่เสมอ ระหว่างเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ ผู้สำเร็จราชการในราชสำนักกับพระเฑียรราชา ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ที่มีแต่ข้าราชการที่เป็นเชื้อพระวงศ์ฝ่ายสมเด็จพระไชยราชาธิราชด้วยกัน

 

                เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ นั้นประสงค์ที่จะขึ้นมีอำนาจในราชการแผ่นดิน โดยมีสิทธิขาดอยู่แก่นางผู้เดียว จึงพาลหาเหตุใส่ร้ายพระเฑียรราชาต่างนานา จนพระเฑียรราชาได้รับความเดือดร้อน แม้จะคิดกำจัดนางเสีย ก็ติดที่นางนั้นเป็นพระมารดา ผู้คอยอภิบาลกษัตริย์ พระองค์น้อย ที่เป็นหน่อเนื้อของราชวงศ์เดียวกัน ครั้นพระเฑียรราชาจะสู้ทนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอยู่ต่อไป ก็เกรงว่าในวันข้างหน้าเจ้าแม่อยู่หัวท้าวสุดาจันทร์จะใช้ให้คนมาลอบทำร้ายตนได้

 

                อีกประการหนึ่ง เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ นั้นเมื่อเป็นม่ายพระสาวมีลงเช่นนี้ ความต้องการที่มีอำนาจในราชบัลลังก็ที่มีสมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) เป็นยุกษัตริย์ที่อยู่ใกล้ตัวนั้น ไม่ได้ทำให้นางเป็นฝ่ายราชวงศ์ได้ นางพระยาฯ จึงคิดที่จะมีเสน่หาชอบพอในตัวของพระเฑียรราชา ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เพื่อรักษาอำนาจและยกฐานะของพระสนมเอกให้เป็นพระวงศ์สูงขึ้นตามกฎมณเฑียรบาล แม้ว่าในขณะนั้นพระเฑียรราชา จะมีพระสุริโยทัย เป็นพระชายาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม ด้วยเหตุแห่งภัยที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าพระเฑียรราชา จึงตัดสินใจออกผนวช พระเฑียรราชาได้มีหนังสือทูลลาออกผนวชถึงสมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) กษัตริย์องค์น้อยเหมือนเป็นนัยที่จะบอกให้เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ ได้เลิกราต่อกัน

 

                เมื่อพระเฑียรราชา ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินได้ออกผนวชหนีภัยการเมืองไปจำพรรษาอยู่ที่วัดราประดิษฐ์เสียเช่นนี้แล้ว บรรดาข้าราชการบริพารที่ภักดีต่างพากันออกบวชติดตามเจ้านายพระองค์นี้ในเวลาต่อมาเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อแผ่นดินขาดผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไปเสียดังนี้แล้ว จึงทำให้เจ้าแม่อยู่หัว ท้าวศรีสุดาจันทร์ มีอำนาจเบ็ดเสร็จในกรุงศรีอยุธยา โดยนางพระยาฯ ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแต่ผู้เดียว

 

                นางพระยาฯ คิดการเป็นใหญ่อยู่เช่นนี้ จึงคิดที่จะครองอำนาจในราชบัลลังก์ทุกวิถีทาง เมื่อพระเฑียรราชาหลีกหนีจากนางไปเช่นนี้ นางก็รู้สึกอยู่ว่าเหตุการณ์เช่นนี้ นางจะต้องหาชายหนุ่มรูปงามที่พึงพอใจมาไว้เป็นกำลังในฝ่ายนาง และคบหาเป็นเพื่อนสนิทเสน่หาด้วย

 

                (ในพุทธศักราช 2071)  สมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) กษัตริย์องค์น้อย เสด็จออกท้องสนามหลวง พร้อมด้วยเหล่าเสนามาตย์มนตรีที่คอยเฝ้าเบื้องพระยุคลบาท ครั้งนั้นสมเด็จพระยอดฟ้า ได้สั่งให้เอาช้างต้นพระยาฉัททันต์ออกมาบำรูงากัน (ซ้อมการชนช้างซ้อมเอางาแหงหุ่นเป็นการฝึกการสู้รบด้วยช้าง) ในขณะช้างต้นฝึกซ้อมการสู้รบบำรุงงาอยู่นั้น ได้บังเกิดทุจริตนิมิตทำให้งาช้างพระยาไฟนั้นหักเป็นสามท่อน  ครั้นถึงเวลาค่ำวันนั้น ช้างต้นพระยา ฉัททันต์ในโรงช้างหลวงก็ร้องส่งเสียงดังลั่นราวกับเสียงร้องไห้ของคนที่ได้รับความเจ็บปวด แล้วก็วิ่งไล่แทงช้างต้นด้วยกันจนเกิดโกลาหลไปทั้งกรมช้าง ในขณะเดียวกันประตูไพชยนต์ที่เข้าไปสู่พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาทอันเป็นสถานที่สำคัญสำหรับพระเจ้าเหนือหัวออกขุนนางว่าราชการนั้น ได้เกิดมีเสียงร้องเป็นอุบาทว์ให้ได้ยินเป็นทุจริตนิมิตของแผ่นดิน

 

                เสียงโจษจันอันถึงเหตุทุจริตนิมิตของช้างต้น และประตูไพชรยนต์ ได้ร่ำลือแพร่สะพัดออกไปทั่วพระนครศรีอยุธยา จนเจ้าแม่อยู่หัวฯ ผู้ต้องการมีอำนาจในราชบัลลังก์หวั่นวิตกเมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้น แต่ด้วยเหตุที่ราชสำนักในขณะนั้นตกอยู่ในอำนาจของท้าวศรีสุดาจันทร์ จนหมดสิ้น ซึ่งไม่มีพระเฑียรราชา หรือเชื้อพระองค์ใดที่จะกล้ายื้อแย่งอำนาจได้แล้ว

 

                เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ นั้นแม้ภายในใจจะมีแต่ความรู้สึกหวั่นวิตกต่อเหตุร้าย ที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า นางนั้นก็รู้อยู่แก่ใจว่า การที่นางคิดมักใหญ่ใฝ่สูงจนได้อำนาจในราชบัลลังก์นั้น เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุจริตนิมิตร้ายนั่นเอง แม้แต่พระเฑียรราชาก็ยังหนีออกผนวชให้พ้นจากราชสำนัก แต่บรรดาขุนนางใหญ่น้อยและเชื้อพระวงศ์ที่จะพากันยอมรับให้นางพระยาฯ ได้มีฐานะเป็นคนในราชวงศ์ของกษัตริย์นั้น ก็ล้วนแต่มีความหวาดกลัว มองไปทางใดนางพระยาฯ ก็มีแต่ศัตรูอยู่โดยรอบ จนยากที่จะมีผู้คอยปกป้องคุ้มภัยให้นางได้ คิดแล้วนางจึงรู้สึกโดดเดี่ยวและยังปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีอำนาจและมั่นคง

 

                ดังนั้น ความต้องการที่จะหาผู้ปกป้องที่เข้มแข็ง เพื่อคอยคุ้มครองช่วยเหลือนางให้มีอำนาจในราชบัลลังก์นั้น จึงทวีความต้องการมากขึ้น จนเช้าวันหนึ่ง เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ ได้เดินเที่ยวชมสวนเพื่อผ่อนความความกังวลใจ และถือโอกาสนั้นเข้ากราบไหว้พระพุทธรูป “พระศรีสรรเพชญ์” พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระพุทธรูปประจำหอพระในราชวังหลวงทุกแห่งไปพร้อมกัน

 

                สุดท้ายนั้น นางพระยาฯ ได้เข้าไปยังพระที่นั่งพิมานรัตยา ซึ่งเป็นหอพระด้านนอก ขณะที่เจ้าแม่อยู่หัวทำการสักการะพระพุทธรูปในหอนั้น นางพระยาฯ ได้เห็น พันบุตรศรีเทพ ผู้เฝ้าหอ พระนั่งสงบอยู่ข้างฐานชุกชี นางพระยาก็บังเกิดจิตเสน่หารักใคร่ในทันที เจ้าแม่อยู่หัวจึงให้นางกำนัลเอาเมี่ยงหมากห่อผ้าไปให้พันบุตรศรีเทพผู้นั้น ชายหนุ่มพันบุตรศรีเทพ รับห่อนั้น มาจากสาวกำนัล ก็รู้ด้วยอัธยาศัยว่า นางผู้เป็นเจ้าแม่อยู่หัวนั้นมีจิตเสน่หารักใคร่ในตน

 

                ชายหนุ่มคิดแล้วก็มีความยินดี จึงได้หยิบเอาดอกจำปาที่วางอยู่ในพานส่งให้นางกำนัลนั้น นางพระยาฯ หญิงหม้าย รับดอกจำปาและรู้ความนัยแล้ว ก็ยิ่งมีจิตปรารถนาในตัวพันบุตรศรีเทพ ชายหนุ่มผู้นั้นเป็นอันมาก

 

                ต่อจากนั้น นางพระยาฯ จึงได้สั่งให้พระยาราชภักดี เร่งทำการย้ายเปลี่ยนหน้าที่และแต่งตั้งให้พันบุตรศรีเทพ เข้ามาเป็นข้าหลวงเดิม โดยเปลี่ยนเอาขุนชินราช ตำแหน่งผู้รักษาหอพระในเขนพระราชฐานชั้นในออกไปทำหน้าที่หอพระด้านนอกแทน การที่นางพระยาฯ ให้พันบุตรศรีเทพ ชายหนุ่มจากบ้านมหาโลกนั้นเป็นที่ขุนชินราช ทำหน้าที่ข้าหลวงเดิมรักษาหอพระในพระราชฐาน ก็เพื่อที่นางจึงได้หาโอกาสใกล้ชิดกับชายหนุ่มผู้นี้ได้สะดวกขึ้น หลังจากวันนั้นความสัมพันธ์ของคนทั้งสองก็มีความสนิทเสน่หามากขึ้น จนถึงกับลักลอบผูกสมัครรักใคร่ร่วมสังวาลอยู่นานนับปี

 

                พระยามหาเสนา อำมาตย์ผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์นั้น ได้รู้ข่าวที่เกิดขึ้นภายในพระราชวังหลวงแล้ว ก็รู้สึกผิดหวังในความจงรักภักดีที่นางพระยาฯ คิดการใหญ่ลักลอบรักใคร่คนนอกราชวงศ์ จึงมีใจคิดจะกำจัดการกระทำของเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์นั้นเสีย ครั้นเมื่อได้พบกับพระยาราชภักดี ก็ได้แต่ปรารภความในโดยหารู้ไม่ว่า ตนกำลังบอกความให้กับฝ่ายตรงข้ามได้ล่วงรู้ ด้วยพระยาราชภักดีผู้นี้เป็นผู้ย้าย พันบุตรศรีเทพ ตามบัญชาของนางพระยาฯ ให้มาอยู่ในเขตพระราชฐาน เพื่อให้นางพระยาฯ มีโอกาสที่จะใกล้ชิดชายหนุ่มโดยไม่มีใครสงสัย พระยาราชภักดี นั้นได้นำความนั้นไปแจ้งต่อเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ ด้วยความหวาดระแวง ที่เหล่ามุขอำมาตย์ราชบัณฑิตจะมีทุจริตคิดร้ายต่อนาง เมื่อมีเหตุสงสัยขึ้นเช่นนี้ นางพระยาฯ จึงวางอุบายหาเหตุสั่งให้ พระยามหาเสนาได้เข้าเฝ้านางพระยาฯที่ประตูหินในเขตพระราชฐานชั้นใน

 

                ครั้นเวลาค่ำลง พระยามหาเสนากลับออกมาหลังจากเข้าเฝ้านางพระยาฯ แล้ว จึงมีผู้ร้ายเข้าฟันแทง พระยามหาเสนาจนล้มลง ขณะที่อำมาตย์ผู้จงรักภักดี นั้นกำลังจะสิ้นใจนั้น ได้ร้องขึ้นว่า “เมื่อเราถูกฆ่าเป็นดั่งนี้เสียแล้ว ผู้ที่อยู่ภายหลังจะได้รับกรรมอย่างไรเล่า” หลังจากที่มีเหตุการณ์ฆ่าพระยามหาเสนาแล้ว ทำให้หมู่อำมาตย์ราชมนตรีทั้งปวงได้แต่พากันรักษาตัวให้พ้นจากอำนาจภัย ไม่มีผู้ใดคิดเอาใจเป็นศัตรูต่อนางต่อไป เมื่อนางพระยาฯ สามารถปรามศัตรูให้หวาดกลัวได้เช่นนี้แล้ว การที่นางลักลอบสมัครรักใคร่กันกับขุนชินราชนั้นจึงเป็นไปโดยไม่มีผู้ใดกล้าขัดขวาง แม้แต่เสียงที่จะพูดโจษจันกัน

 

                คนทั้งสองลักลอบร่วมรักใคร่กันอยู่นาน ในไม่ช้าเจ้าแม่อยู่ท้าวศรีสุดาจันทร์ก็เกิดตั้งครรภ์ขึ้น นางปิดความไม่ให้แพร่พรายอย่างไรก็ไม่ได้ ด้วยความหวาดระแวงเกรงภัยอันตรายจากเหล่าขุนนางผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์ จึงทำให้นางพระยาฯ ออกอุบายที่จะแก้ไขความผิดนั้น นางพระยาจึงสั่งให้พระยาราชภักดี เร่งทำการแต่งตั้งให้ขุนชินราชขึ้นเป็นที่ขุนวรวงศาธิราช ซึ่งเป็นตำแหน่งฝ่ายราชนิกูล ให้มีหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาการทหารรักษาวัง และมีหน้าที่ว่าราชการใกล้ชิดต่างพระเนตรพระกรรณ กษัตริย์องค์น้อย โดยนางวางอุบายที่จะให้ชายหนุ่มนอกราชวงศ์ชู้รักผู้นี้เป็นผู้มีอำนาจโดยรับคำสั่งจากนางไปสนั่งราชการงานเมืองแทน

 

                เนื่องจากนางมีครรภ์และประสงค์จะปิดความไม่ให้ใครรู้ ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้นางพระยาฯ ไม่สามารถออกว่าราชการอย่างแต่ก่อนได้ แต่แล้วครรภ์ของนางนั้นก็โตขึ้นจนเป็นที่สงสัยแก่ข้าราชบริพารในราชสำนัก ในไม่ช้าเสียงโจษจันก็รู้กันทั่วในราชสำนัก โดยที่นางนั้นยังมัวเมาในเสน่หาอยู่กับขุนวรวงศาธิราชแต่ภายในพระราชวังหลวง

 

                เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดจันทร์นั้นหาได้รู้ตัวไม่ว่า ภายในเขตพระราชฐานบรรดาอำมาตย์ราชบัณฑิต และข้าผู้จงรักภักดีในเชื้อพระวงศ์ ที่ทำตัวพากันนิ่งเฉยรักษาชีวิตให้รอดจากภัยของนางนั้น ต่างรู้ถึงความลับของนางจนหมดสิ้นแล้ว

 

ในที่สุดข่าวโจษจันกันในราชสำนักก็แน่ชัดว่า คนทั้งสองนั้นได้ลักลอบเป็นชู้กันและนางก็กำลังจะเกิดบุตรขึ้นในครรภ์ ในภายหน้านั้นบุตรของนางจะเป็นอันตรายแก่ราชบัลลังก์ ของราชวงศ์กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา แต่เนื่องจากขณะนั้นเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ได้คุมอำนาจเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และให้ขุนวรวงศาธิราชมีหน้าที่ว่าราชการแผ่นดินมากขึ้น จึงได้พากันนิ่งเฉยอยู่

 

สำหรับขุนวรวงศาธิราชนั้น เป็นชายที่นางเสน่หารักใครอยู่มาก นางจึงปรารถนาที่จะให้ปรากฏว่าขุนวรวงศษธิราชผู้นี้เป็นบุคคลที่มีความสำคัญของแผ่นดิน ดังนั้น ถ้าเสนาบดีหรือข้าราชการคนใดไม่ยอมอ่อนน้อมต่อขุนวรวงศาธิราชแล้ว นางก็จะให้คนออกไปลอบฆ่าเสีย หรือกำจัดออกไป จนบรรดาเหล่ามุขอำนาตย์ราชมนตรีในราชการงานเมืองพากันหวั่นเกรงภัยกันถ้วนหน้า

 

เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ เร่งสั่งให้ทำการปลูกจวนพักขึ้นที่ริมศาลาสารบัญชี เพื่อให้ขุนวรวงศาธิราช ได้ใช้เป็นที่ว่าราชการพิจารณาเลกสมสังกัดกองกำลังสำหรับรวบรวมกำลังให้มากขึ้น โดยให้จัดราชอาสน์ตั้งไว้ด้านหน้าบนจวนนั้น สำหรับใช้ขุนวรวงศาธิราชนั่งประทับว่าราชการ และทำให้บรรดาขุนนางใหญ่น้อยทั้งปวงอ่อนน้อมยำเกรง

 

นอกจากนี้ นางพระยาฯ ยังให้สร้างจวนศาลาว่าราชการเมือง ขึ้น ณ ประตูริมต้นหมัน เพื่อให้ขุนวรวงศาธิราช ใช้เป็นที่ออกนั่งว่าราชการแทนนางที่นั่นด้วย

 

เมื่อผู้คนทั่วพระนครรู้ว่าเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีครรภ์กับขุนวรวงศาธิราช เช่นนี้แล้ว นางจึงคิดหาทางที่จะยกเอาขุนวรวงศาธิราชขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดิน

 

(ในพุทธศักราช 2072) สมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) แม้จะมีพรรษาได้ 13 ปี ก็ทรงตระหนักดีว่า พระมารดา (เป็นพระมารดาเลี้ยง) นั้นผูกสมัครักใคร่กับขุนวรวงศาธิราช จนมีครรภ์ก็เกิดละอายพระทัย จึงคบคิดกับขุนนางผู้จงรักภักดี โดยคิดที่จะหาหนทางกำจัด ขุนวรวงศาธิราชเสีย เพื่อรักษาเกียรติยศของราชวงศ์ แต่ขุนวรวงศาธิราชได้รู้ความนี้เสียก่อน จึงลอบเข้าไปวางยาพิษปลงพระชนม์สมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) เสีย บางแห่งว่า           ขุนวรวงศาธิราชวางแผนจับเอาตัวสมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) ปลงพระชนม์ที่วัดโคกพระยาสรุปแล้ว

 

สมเด็จพระแก้ว (พระยอดฟ้า) ครองราชย์ได้ 2 ปี 6 เดือน)สมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) พระชนมายุ 11 พรรษา เป็นพระโอรสของสมเด็จพระไชยราชา ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2089 โดยมีท้าวศรีสุดาจันทร์ เป็นพระชนนีเลี้ยง ช่วยดูแลราชการแผ่นดิน และเกิดแผ่นดินไหวปีนั้น สมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) ถูกขุนวรวงศาธิราช ยึดอำนาจแล้วเอาตัวไปประหารชีวิตที่วัดโคกพระยาเมื่อ

พ.ศ. 2091 รวมอยู่ในราชสมบัติได้ 1 ปี 2 เดือน (บางแห่งว่าครองราชย์ พง.2070 – 2072 (2 ปี) ศักราชไม่ตรงกัน

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สมเด็จพระแก้วฟ้า (สมเด็จพระยอดฟ้า)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์