ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

 

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3

ครองราชย์ พ.ศ.2031 – 2034

 

                สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระโอรสองค์ใหญ่ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต่อมา พ.ศ.2006 ทรงได้ตำแหน่งเป็น พระบรมราชา ครองกรุงศรีอยุธยาแทน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ที่ทรงประทับอยู่เมืองพิษณุโลก โดยตั้งเมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี คอยดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ และกรุงศรีอยุธยา (การที่พระบรมราชา ครองกรุงศรีอยุธยาแทนนั้น ใน พ.ศ.2006 สอบศักราชแล้ว น่าจะเป็นพระบรมราชา อีกองค์หนึ่ง ด้วยเหตุที่เวลานั้นน่าจะมีอายุยังน้อยอยู่)

 

                ครั้นเมื่อ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตลง พ.ศ.2031 นั้น พระองค์ได้ครองราชย์ต่อมา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 โดยมีพระเชษฐาธิราช พระอนุชา เป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก เป็นการให้ราชธานีนั้นย้ายกลับมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ตามเดิม ต่อมาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 นั้น ได้ยกทัพไปตีเอาเมืองทะวายที่เสียไปครั้งก่อนกลับคืนได้

 

                สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ครองราชย์ได้เพียง 3 ปี สวรรคต พ.ศ. 2034 พระเชษฐาธิราช พระอนุชาธิราช ได้ครองราชย์ต่อมา

 

                สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระโอรสองค์ใหญ่ ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าครองราชย์ พ.ศ.2031 – 2034 ( 3 ปี) ใน พ.ศ. 2006 พระองค์ตีเมืองทวายกลับคืนได้ บางแห่งไม่มีรัชกาลนี้

 

 

ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

 

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

ครองราชย์ พ.ศ.2034 – 2072

 

                สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีพระนามเดิมว่า พระเชษฐาธิราชเจ้า (บ้างว่า พระอินทราชา) เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า ได้รับแต่งตั้งเป็น พระเชษฐาธิราช ตำแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก โดยมี พระบรมราชา ครองกรุงศรีอยุธยาแทน พระราชบิดา ที่ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2035 พระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ (2 )

 

                พระองค์ ทางบำเพ็ญพระราชกรณียกิจตามรอยพระยุคลบาทอย่างพระบรมราชชนก ที่พระองค์ทางทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาสร้างวัดมหาธาตุ วัดพระราม และจัดการปกครองอาณาประชาราษฎร์ให้ร่มเย็นเป็นสุขมาตลอดรัชกาล

                พ.ศ.2039  ปีมะโรง สมเด็จพระรามาธิบดี ทรงมีพระทัยสำราญด้วยประพฤติการสู่วัยเลญจเพส (ประพฤการเบญจพิธ) พระองค์ก็มีพระราชหฤทัยสนใจในเรื่องราวดึกดำบรรพ์ จึงทำให้พระองค์เปี่ยมล้นด้วยพระราชศรัทธาทีจะทำนุบำรุงพระศาสนาและใฝ่ในขนบประเพณี พิธีกรรมต่าง ๆ เช่นเดียวกับพระบรมราชชนก

 

                พ.ศ. 2040 ปีสะเส็ง พระองค์ทรงโปรดให้มีการจัดการเรื่องไพร่พล โดยจัดให้มีพระราชพิธีปฐมกรรมขึ้นตามราชประเพณีและทรงโปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตเร่งทำตำราพิชัยสงคราม และทำสารบัญชีพระราชพิธีทุกเมือง

 

                การจัดการระเบียบไพร่พล (ทหาร) นั้น ได้มีการทำสารบาญชี คือ วิธีการเกณฑ์คนรับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยตั้งพระสุรัสวดี (สัสดี) เป็นเจ้าพนักงานทำทะเบียนฝ่ายพลเมืองกำหนดให้ชายฉกรรจ์ ตั้งแต่อายุ 18 ปี ไปจนถึงอายุ 60 ปี นั้นมีหน้าที่รับราชการ หรือ ให้มีบุตรมารับราชแทนตัว 3 คน จึงจะพ้นหน้าที่ ชายฉกรรจ์ที่ขึ้นทะเบียนอายุ 18 ปีนั้น กำหนดเป็น ไพร่สม ที่ต้องอยู่ฝึกหัดไปจนครบ 20 ปี แล้วจึงให้ย้ายไปเป็นไพร่หลวง คือ กำลังฝ่ายกองพลใหญ่ ที่รับราชการจนถึงเวลาการปลดจากราชการ

 

                ไพร่หลวง นั้นแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ พวกหนึ่งใช้แรงรับราชการผลัดเปลี่ยนกันเข้าเวร อีกพวกหนึ่งเป็นกำลังที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ไกล จัดเป็น ไพร่ส่วย มีหน้าที่หาสิ่งของที่ต้องใช้ ในราชการแทนการรับราชการ แต่เวลาสงคราม แล้วถูกเรียกเป็น ไพร่พลเหมือนกัน

 

                การเรียกระดมพลเข้ามาซ้อมหรือฝึกการสู้รบหรือกระบวนยุทธนั้น (เรียก พระราชพิธีปฐมกรรม) ก่อนเข้าเป็นไพร่พล ได้ให้มีพิธีขึ้นทุกหัวเมือง และยังให้มีการแต่งตำราการสู้รบหรือพิชัยสงครามขึ้นด้วย

 

                พ.ศ. 2035 ปีชวด สมเด็จพระรามาธิบดี ทรงโปรดให้สร้างพระมหาสถูปเจดีย์ใหญ่ สำหรับพระบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระชนกนาถ) และพระบรมราชาธิราช (พระมหาอุปราช ซึ่งเป็นพระเชษฐา บ้างว่า พระอินทราชา) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลขึ้น ที่วัดพุทธาวาส (วัดพระศรีสรรเพชญ์) แล้วพระองค์ทรงโปรดให้สร้างพระวิหารหลวงขึ้นในวัดพุทธาวาส พระราชวังหลวงด้วย

 

                ครั้งนั้น พระองค์ได้มีหมายเกณฑ์ระดมช่างฝีมือเร่งสร้างพระวิหารหลวง ประจำ พระราชวังให้แล้วเสร็จเพื่ออัญเชิญพระพุทธรูปจำพระราชวังขึ้นประดิษฐาน เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายเป็นพุทธบูชา และอุทิศถวายแด่พระบรมราชชนก พระพุทธรูปนั้นเป็นพระพุทธปฏิมากรยืนองค์ใหญ่ โดยจะสร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ หุ้มทองคำองค์หนึ่ง (สร้าง พ.ศ. 2043) ถวายพระนามว่า “พระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพชญ์” ต่อมาวัดพุทธาวาสประจำพระราชวังหลวงจึงเรียกเป็น วัดพระศรีสรรเพชญ์

 

                พระพุทธปฏิมากร “พระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพชญ์” องค์นี้ช่างหลวงได้สร้างเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ วัดจากพระบาทถึงยอดพระรัศมีสูง 8 วา พระพักตร์กว้าง 3 ศอก ยาว 4 ศอก พระอุระกว้าง 11 ศอก ใช้ทองหล่อหน้าห้าหมื่นสามพันชั่ง ทำการหล่อเป็นองค์พระแล้วหุ้มด้วยทองคำหนักสองร้อยแปดสิบชั่ง โดยใช้ทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขาหุ้ม ด้านหน้าและใช้ทองเนื้อหกน้ำสองขาหุ้มด้านหลัง พระพุทธรูปองค์ใหญ่ใช้เวลาสร้างตั้งแต่ ปีกุน เมื่อพุทธศักราช 2022 (สร้าง พ.ศ. 2043) รวมเป็นเวลาถึง 4 ปี พระพุทธรูปนี้จึงสำเร็จและทรงจัดให้มีการฉลองพระพุทธรูปและวัดพระสรีสรรเพชญ์ขึ้นในปีเถาะ พุทธศักราช 2026 (ศักราชน่าจะคลาดเคลื่อน กล่าวคือ สร้างพระวิหารหลวง พ.ศ. 2035 และพระพุทธรูป เมื่อ พงศ.2043 หากใช้เวลาหล่อ 4 ปี ก็สำเร็จใน พ.ศ. 2047 และคงไม่สร้างพระพุทธรูปก่อนสร้างพระวิหาร

 

                (ตอนกรุงศรีอยุธยาแตก เมื่อ พงศ.2310 พระพุทธรูปศรีสรรเพชญ์ องค์นี้ ถูกโจรก่อนพม่าเข้ากรุง โดยเอาไฟเผาเอาทองคำจนเหลือแต่ซากอิฐ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 1 ได้นำซากนั้นมาบรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดพระเชตุพน ที่กรุงเทพ) นอกจากพระพุทธรูปที่สร้างอุทิศเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำพระราชวังแล้ว พระองค์ยังได้เสด็จไปกระทำพิธีสักการะบูชา พระพุทธรูปองค์ประธาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปทั่วพระนครอีกด้วย

 

                แม้แต่เส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อทางน้ำ ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา กับแม่น้ำบางปะกง โดยใช้คลองสำโรงเชื่อมออกไปต่อกับครองหัวจระเข้และครองทับนาง ให้เรือสินค้าสามารถนำเรือผ่านเข้าออกนั้น ต่อมาเมื่อปากแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดตื้นเขินลง จนเรือขนาดใหญ่เดินทางเข้าออกไม่สะดวก พระองค์ก็โปรดให้ระดมคนงานทำการขุดลอกคลองนี้ ในปี พงศ. 2041 ขณะที่พระองค์ทรงโปรดให้ทำการขุดคลองเชื่อมระหว่างคลองสำโรงกับคลองทับนางนั้น คนงานได้ขุดพบรูปเทพารักษ์หล่อด้วยทองสำริดสององค์ มีชื่อจารึกไว้ว่า พระยาแสนตาและบาทสังคังกร พระองค์ได้โปรดให้จัดพิธีกรรมบวงสรวงรูปเทพารักษ์ทั้งสอนั้น แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานในศาลที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นที่เมืองพระประแดง เรือสินค้าที่เดินทางเข้าออกต่างพากันสักการบูชานับถือเป็นเทพารักษ์ คุ้มครอง ป้องกันภัยในการเดินทางเรือ ต่อมา พ.ศ. 2102 เจ้าเมืองละแวกได้เข้ามาตีหัวเมืองชายทะเลถึงพระประแดง ได้นำเทวรูปทั้งสองนี้ไปที่เมืองละแวกด้วย

 

                พ.ศ. 2047 กรุงศรีอยุธยานั้นเกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ พบกับภาวะน้ำน้อยทำให้มีน้ำไม่พอเลี้ยงข้าวในท้องทุ่ง จนข้าวในนาพากันแห้งตาย บ้านเมืองเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง แล้วยังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ถือเป็นนิมิตอุบาทว์ขึ้น จนราษฎรพากันหวาดวิตกกันไปทั่วพระนคร แม้ในปีต่อมาสภาพบ้านเมืองก็ยังประสบข้าวยากหมากแพงอยู่ มีการซื้อขายข้าวกันถึงสามทะนานต่อเฟื้อง เบี้ยร้อยต่อเฟื้อง ข้าวเกวียนหนึ่งขายได้เงินชั่งหนึ่งกับเก้าบาทสลึง ทำให้อาณาประชาราษฎร์พากันเดือดร้อนไปทั่วแผ่นดิน

 

                พ.ศ. 2050 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ครองราชย์กรุงศรีอยุธยามาได้ 16 ปี นั้น พระเมืองแก้ว  กษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่ ได้ยกกองทัพมาตีเมืองสุโขทัย ชาวเมืองได้ร่วมกันป้องกันเมืองไว้ได้ทำให้กองทัพเมืองเชียงใหม่ต้องยกกลับไป จากเหตุการณ์นี้สมเด็จพระรามาธิบดี จึงให้พระยากลาโหมคุมกองทัพขึ้นไปตีเมืองแพร่

 

                ใน พ.ศ. 2052 นั้นกรุงศรีอยุธยาได้เกิด “ราษตรีภาคเห็นอากาศนิมิตเป็นอินทธนู แต่ทิศหรดีผ่านมาทิษพายัพ มีพรรณสีขาว” ถือเป็นทุจริตนิมิตที่บอกเหตุร้ายในพระนคร

 

                สืบเนื่องจากเหตุการณ์เมืองเชียงใหม่ รุกรานเมืองสุโขทัยนั้น ต่อมา หนึ่งพิงยี่ แม่ทัพ คนสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ที่รักษาชายแดนอยู่ที่เมืองนครลำปาง ได้แต่งกองโจรลงมาจับเอาผู้คนเป็นเชลยตามหัวเมืองเหนืออยู่เสมอนั้น ได้ยกกองทัพมาตีเมืองสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 2056 พร้อมกันได้ให้ หมื่นมลา ยกทัพลงมาตีเมืองกำแพงเพชรด้วย ชาวเมืองต่างช่วยกันป้องกันเมืองไว้ได้อีก เป็นเหตุให้พระองค์ทรงขัดเคืองพระทัย พงศ. 2058 จึงยกทัพหลวงขึ้นไปตีเมืองนครลำปาง และทำลายกองทัพข้าศึก (ของหมื่นพิงยี่) ในที่สุด

 

                สมเด็จพระรามาธิบดี หวั่นเกรงว่าเหตุการณ์บ้านเมืองนั้นนับวันจะทำให้เป็นภัยต่อราชบัลลังก์ เนื่องเกิดเหตุการณ์ทอดบัตรสนเท่ห์ ทำให้มีการฆ่าขุนนางเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงโปรดให้แต่งตั้ง พระอาทิตย์วงศ์

พระโอรสขึ้นเป็น พระบรมราชาหรือ สมเด็จหน่อพุทธางกูร ตำแหน่งพระมหาอุปราช โดยให้ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก เสียก่อน และเป็นการดูแลหัวเมือง ฝ่ายเหนือไม่ให้เข้ามารุกรานด้วย ภายหลังนั้น พ.ศ. 2065 ได้มีการทำไมตรีกับอาณาล้านนา ทำให้การสงครามสิ้นสุดลง

 

                เนื่องจากโคลัมบัสได้นำเรือออกเดินทางจากประเทศสเปนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก สำรวจดินแดนไปถึงเกาะบาฮาม่าใกล้ทวีปอเมริกา เมื่อ พงศ. 2035 ต่อมาทำให้ประเทศที่มีเรือเดินทางได้นำนักสำรวจหลายประเทศพากันออกเดินทางไปค้นหาแผ่นดินใหม่ และสร้างอาณาเขตนิคมของชาติไปตามดินแดนต่าง ๆ ใน พงศ. 2053 นั้น โปรตุเกสได้นำเรือเดินทางและเข้าทำการยึดครองเมืองกัวในอินเดียวได้ จากนั้นโปรตุเกสได้ใช้เมืองกัวนั้นเป็นฐานที่มั่น ทางภาคตะวันออกของอินเดีย ต่อมาในปี พงศ. 2054 นั้น โปรตุเกสได้นำเรือเข้ายึดครองเมืองมะละกา บริเวณปลายแหลมมลายู จึงเป็นเหตุให้โปรตุเกสเดินทางเข้ามาดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นครั้งแรกในเวลาต่อมา กล่าวคือ

 

                ในรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นั้น ชาวโปรตุเกส ซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เมืองกัวในอินเดียใต้นั้น ได้นำทัพเรือมายึดครองเมืองมะละกาใต้ แต่เมื่อรู้ว่าเมืองมะละกานั้น เคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสยามมาก่อน จึงเกรงว่ากองทัพสยามจะยกทัพลงไปตีเอาเมืองมะละกากลับคืนไป กษัตริย์ของโปรตุเกสจึงแต่งทูตนำเรือเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พงศ. 2061 ขอเป็นไมตรีกับอาณาจักรสยามและทำการติดต่อค้าขายกัน ตั้งแต่นั้นมาโปรตุเกสกับกรุงศรีอยุธยา จึงติดต่อค้าขายและมีบทบาทสำคัญทางการค้าในเวลาต่อมา ทำให้ไทยได้เรียนรู้วิทยาการสู้รบจนแต่งตำราพิชัยสงครามและเริ่มสำรวจทำบัญชีผู้คนและสัตว์เลี้ยง

 

                ครั้นถึงวันอาทิตย์ เดือนสิบสอง ขึ้นแปดค่ำ พ.ศ. 2073 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ครองราชย์มาได้ 38 ปี ได้เสด็จสวรรคต ขณะที่พระองค์มีพระชันษา 57 ปี

 

                สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 คือ พระเชษฐาธิราช พระราชโอรสของ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (บางแห่งว่าพระองค์เป็นพระโอรสของสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 2 บางแห่งไม่มีรัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 2 องค์นี้)ครองราชย์ พ.ศ. 2034 บางว่า พระองค์ครองราชย์แต่ครั้งยังไม่ราชาภิเษก 3 ปี (น่าจะหมายถึงเป็นพระมหาอุปราช)และครองราชย์เมื่อราชาภิเษกแล้ว 38 ปี คือ สวรรคต พงศ.2072 บางแห่งว่า ครองราชย์ พงศ.2035 – 2052 (18 ปี) ศักราชไม่ตรงกันถึง 20 ปี

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์