ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  พิษณุโลก ราชธานีแห่งใหม่ของกรุงศ

 

พิษณุโลก ราชธานีแห่งใหม่ของกรุงศรีอยุธยา

 

 

                เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นไปครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลกแทนกรุงศรีอยุธยานั้น ได้ทำให้กรุงศรีอยุธยาราชธานี กลับแปรเปลี่ยนสถานะจากศูนย์กลางการปกครอง มีกษัตริย์ครองราชย์อยู่เช่นเหมือนเมื่อก่อนนั้น เหลือเพียงราชสำนักที่มีอำนาจรองคอยดูแลแทนพระองค์เท่านั้น

 

                เมืองพิษณุโลกนั้นเดิมเป็นเมืองที่พระมหาธรรมราชา แห่งแคว้นสุโขทัยปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือมาแต่ครั้งราชวงศ์สุโขทัยมีอำนาจและย้ายลงมาใช้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีนั้น ต่อมาสมัยอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ใช้เป็นเมืองราชย์สำรองแทนกรุงศรีอยุธยา ตลอดรัชกาลนั้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงประทับอยู่เมืองพิษณุโลก จนเสด็จสวรรคตที่นั่น จึงทำให้เมืองพิษณุโลกมีความสำคัญมากขึ้น ในฐานะราชธานีที่มีกษัตริย์ประทับเป็นศูนย์อำนาจการปกครองอาณาจักรอยู่ที่นั้น เป็นการลดบทบาทของเมืองพิษณุโลก ที่มีอำนาจปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือลงแต่เป็นราชธานีปกครองอาณาจักร

 

                สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้น ไม่ปรารถนาที่จะให้เมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางอำนาจอย่างถาวร ดังนั้น พระองค์จึงได้สถาปนา พระเชษฐา พระราชโอรส ผู้ประสูติที่เมืองพิษณุโลก กับพระชายาเมืองเหนือ ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชเมืองพิษณุโลก คือ พระเอกสัตรามหาอุปราช ที่มีฐานะเป็นพระมหาอุปราชผู้เป็นเอก สามารถปกครองทั้งเมืองพิษณุโลก และกรุงศรีอยุธยา (ส่วนพระบรมราชาธิราช พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้น เป็นรัชทายาทครองกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พงศ.2006 กล่าวคือ เป็นพระมหาอุปราชฝ่ายกรุงศรีอยุธยา)

 

                ในขณะเดียวกัน พระองค์ยังได้นำ พระอาทิตย์ พระโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 3 ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์มีฐานะเป็น พระอนุชาธิราช และพระอาทิตย์ พระองค์นี้ที่มีอายุคราวเดียวกับพระเชษฐา พระมหาอุปราชผู้เป็นพระนัดดานั้น มาเลี้ยงดูอยู่เสียที่ราชสำนักเมืองพิษณุโลกด้วย

 

                ดังนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2031 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 จึงขึ้นครองราชย์อยู่ที่กรุงศรีอยุธยาต่อมา 3 ปี โดยพระเชษฐา นั้นยังคงเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกตามเดิม

 

                ต่อมา พงศ. 2034 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เสด็จสวรรคต พระเชษฐา พระมหาอุปราชเมืองพิษณุโลก จึงได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์สมบัติยาวนาน คือ ตั้งแต่ พ.ศ.2034 – 2072 ถึง 38 ปี

 

                ตั้งแต่นั้นมาเมืองพิษณุโลก จึงเปลี่ยนบทบาทจากเดิมที่เคยเป็นศูนย์อำนาจปกครอง  อาณาจักรโดยมีกษัตริย์ประทับในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้น เมื่อฐานะของเมืองพิษณุโลกนั้นไม่ปรากฏว่ามีการแต่งตั้งให้เป็นเมืองพระมหาอุปราช ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ครองราชย์มาช้านานแล้ว ไม่มีการแต่งตั้งตำแหน่งพระมหาอุปราชอย่างเป็นทางการ จึงทำให้มีการทอดบัตรสนเท่ห์กันมากขึ้น จนต้องมีการประหารชีวิตขุนนางไปหลายคน จนเมื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 จำต้องแต่งตั้งให้ พระอาทิตย์ เป็นพระมหาอุปราช ตามราชประเพณี จึงทำให้เหตุการณ์นั้นสงบลงได้

 

                เมืองพิษณุโลก มีพระอาทิตย์เป็นพระมหาอุปราชขึ้นไปครองเมืองเหนือนั้น น่าจะยังมีราชสำนักเดิมอยู่ประกอบด้วยขุนนาง ข้าราชบริพารทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน ส่วนมากน่าจะเป็นคนในเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยที่พำนักอยู่ที่เมืองพิษณุโลกมาแต่เดิมและมีความสัมพันธ์กับกษัตริย์อยุธยา คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงมีพระราชมารดา และพระชายาเป็นเชื้อสายราชวงศ์กษัตริย์เมืองเหนือ

 

                ดังนั้น บุคคลจากราชวงศ์สุโขทัย จึงได้เดินทางเข้ารับราชการในราชสำนักของกรุงศรีอยุธยาตามพระมหาอุปราชที่ลงมาจากเมืองพิษณุโลก และครองราชย์เป็นกษัตริย์ กรุงศรีอยุธยา เช่น พระเชษฐา คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ครองราชย์ 38 ปี พระอาทิตย์วงศ์ คือ พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ครองราชย์ 4 ปี และสมเด็จพระไชยราชาธิราช ตามลำดับ

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม พิษณุโลก ราชธานีแห่งใหม่ของกรุงศรีอยุธยา

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์