ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

 

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(2)

 

ตลาดในกรุงศรีอยุธยานั้นเป็นมีท่าเรือสินค้าสำคัญอยู่หน้าป้อมเพชร ซึ่งมีแม่น้ำสามสายชุมนุมกันจนเป็นน่านน้ำใหญ่ เรือสินค้าชาวต่างประเทศและเรือสำเภาพ่อค้าคนจีน พากันจอดเรียงรายอยู่แน่นขนัด

 

                สินค้าจากเรือที่จอดอยู่ได้ลำเลียงลงเรือพายที่มาขนถ่ายสินค้า ไปยังตลาดใหญ่น้อยในกรุงที่มีกว่า30 แห่ง เช่น ตลาดหน้าวัดมหาธาตุหลังขนานยางหลวง ตลาดท่าเรือจ้างหน้าวัดนางชี ตลาดหลังตึกวิลันดาแถววัดหนู ตลาดวัดท่าลาดหน้าบ้านเจ้าสัว ซึ่งมีตึกแถวยาว 6 หองสองชั้น ตลาดหน้าบ้านโปรตุเกส และตลาดบ้านเจียง ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ มีตึกกว้างและมีร้านของพ่อค้าคนจีน มากมาย

 

                หน้าป้อมเพชรนั้นมีวัดพนัญเชิง (วัดของเมืองอโยธยา) อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำ เป็นวัดที่มีเรื่องราวของนางสร้อยดอกหมาก พระธิดาของพระเจ้ากรุงจีน ผู้กลั้นพระทัยสิ้นพระชนม์ด้วยความน้อยใจที่พระเจ้าสายน้ำผึ้ง

กษัตริย์แห่งอโยธยาไม่เสด็จมารับนางที่ท่าน้ำ จนเป็นตำนานเล่าขานประจำเมืองอโยธยา เมืองท่าสำคัญของอาณาจักรละโว้ หรือลพบุรี

 

                รอบกรุงศรีอยุธยานั้นมีแม่น้ำไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ต่อมาได้มีการขุดคูเมืองด้านเหนือเชื่อมแม่น้ำป่าสักกับแม่น้ำลพบุรี ทำให้เกิดคูน้ำล้อมอบเป็นส่วนที่ใช้เป็นคูเมืองป้องกันพระนคร เรียกว่า คูขื่อหน้า พื้นที่กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีเส้นทางน้ำและประตูน้ำเข้า ออกอยู่โดยรอบ

 

                เมื่อพระเจ้าอู่ทองสร้างพระนครใหม่ตรงบริเวณเกาะหน้าเมืองอโยธยาเดิม บริเวณเมืองอโยธยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าหรือเมืองท่าขายของอาณาละโว้เดิมนั้น ก็ยังคงสภาพตลาดสินค้าที่มีเรือสินค้าต่างชาติและเรือสินค้าจากหัวเมืองพากันจอดเรียงรายเป็นแถวไป ตลาดแนวแม่น้ำ ตลาดและบ้านเรือนบนตัวเกาะนั้นมีมากขึ้น จนเป็นเหตุให้พ่อค้าชาวเมืองจากแคว้นสุพรรณภูมิและผู้คนจากเมืองละโว้ รวมทั้งเมืองอโยธยา ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้พากันอพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในกรุงศรีอยุธยา

 

                ส่วนบรรดาเมืองที่เคยเป็นเมืองสำคัญ ในระบบรัฐอิสระต่าง ๆ นั้น ได้ถูกปรับลดฐานะลงมาเป็นเพียงหัวเมืองของอาณาจักรแห่งใหม่ เมืองสำคัญของอาณาจักรแห่งนี้ได้แก่ เมืองสุโขทัย เมืองละโว้ (ลพบุรี) เมืองสุพรรณบุรี เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองละคร เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา

เมืองมะละกา เมืองจันทบูน (จันทบุรี) เป็นต้น

 

                ครั้นเมื่อมีการสถาปานากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง และเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของอาณาจักรขึ้น ในไม่ช้าพระนครแห่งนี้ก็มีฐานะเป็นเมืองท่าสำคัญในภูมิภาคนี้แทนเมืองอโยธยาเดิม การติดต่อกับพ่อค้าต่างประเทศที่พากันเดินทางเข้ามายังเมืองอโยธยาเดิมนั้น จึงย้ายเปลี่ยน มาใช้ศูนย์กลางแห่งใหม่อย่างกว้างขวาง เรือสินค้าจากต่างชาตินั้นนำเรือสินค้าเดินทางเข้ามาตามเส้นทางจากปากน้ำอ่าวไทย เข้ามาตามแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม (คลองบางหลวง และคลองบางกอกน้อย) และติดต่อค้าขายกับอาณาจักรแห่งนี้ บริเวณริมแม่น้ำรอบกรุง จึงมีเรือสินค้าจากหัวเมืองล่องลงมาจากแม่น้ำน้อย แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ไหลมาจากทางตอนเหนือและแม่น้ำน่าน ที่มาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือด้วย

 

                แม่น้ำบริเวณหน้าป้อมเพชร ใกล้ตลาดน้ำวน บางกะจะนั้น ใช้เป็นสถานที่ท่าจอดเรือสำหรับใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า จนกลายเป็นตลาดใหญ่ ทำให้กรุงศรีอยุธยาของอาณาจักรสยาม มีความเจริญรุ่งเรืองได้ในเวลาต่อมา

 

                แต่อาณาจักรสยามแห่งนี้ ก็ยังนิยมเรียกชื่อ อโยธยา ตามเดิม โดยชาวต่างชาติ คือ ชาวโปรตุเกส ผู้เดินทางไปมาค้าขายและบอกเล่าถึงบ้านเมืองนี้ต่อไปอีกหลายเมือง ด้วยเหตุนี้ อโยธยา หรืออยุธยา จึงทำให้ชาวต่างประเทศเข้าใจและรู้จักเมืองเหมือนเป็นเมืองแห่งเดียวกัน ชื่อเสียงเมือง อโยธยา จึงรู้จักทั่วไป ส่วนชื่อที่เรียกกันแตกต่างไปนั้นขึ้นอยู่กับชนต่างชาติที่ใช้ภาษาของตนเรียก เช่น

 

                ชาวจีนนั้นเรียกอยุธยาว่า เสียนโหล หรือ เซียนโลว หรือ เซียนหลัว (เสียมล้อ) เนื่องจากอาณาจักรสยามแห่งนี้มีผู้คนที่น่าเชื่อว่า จะเป็นพื้นชาวสุวรรณภูมิหรือเมืองสุพรรณบุรี (คือ เสียน Sian หรือ เสียม) และชาวละโว้ เมืองลพบุรี (คือ โลว Lo –ละโว้)

 

                ชาวอาหรับ และเปอร์เวีย นั้นเรียก อยุธยาว่า ซาห์รินาว Sarnau หรือ Shar – I – naw แปลว่าเมืองเรือ(เรือแพ) เนื่องจากเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่ในเรือเป็นจำนวนมาก

 

                ชาวญี่ปุ่น เรียกอยุธยาว่า ซามโร Shamro ด้านชาวปอร์ตุเกส เรียก อยุธยาว่า ยุธยา Juthya หรือ โอธียาOdia และชาวพม่าเรียกอยุธยาว่า โยเดีย

 

                สรุปแล้วชาวต่างเหล่านี้ ต่างพากันเดินเรือเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา และได้นำสินค้าจากอาณาจักรสยามไปค้าขายยังประเทศต่าง ๆ มาก่อนมีการสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้น

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(2)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์