ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

 

 

อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(1)

 

                บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ ตอนกลางนั้น มีแม่น้ำเจ้าพระเยาเป็นแม่น้ำสายหลัก ประกอบด้วยแม่น้ำป่าสักแม่น้ำลพบุรี และลำคลองหลายสายไหลมารวมกันในยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้น มนุษย์ได้จับกลุ่มตั้งชุมชนของตนอยู่ตามริมแม่น้ำ หรือเชิงเขาใกล้แม่น้ำ และมีการพัฒนาวิถีชีวิตและพื้นที่อย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เช่น เชิงเขาคริมแควตากแดด ริมบึงทับแต้ บ้านหลุมข้าว  (อุทัยธานี) เป็นต้น จนในสมัยทวาราวดี ได้มีการตั้งชุมชนเมืองขึ้นหลายแห่งตามพื้นที่ภาคกลางของชุมชนแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น  ชุมชนเมืองอู่ตะเภา ชุมชนเมืองบน ชุมชนเมืองบึงดอกช้าง ชุมชนเมืองจันเสน ชุมชนเมืองแม่นางเมือง เป็นต้น

 

                ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 นั้น พื้นที่ตรงบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี ไหลลงมาพบกันนั้น ได้กลายเป็นทำเลที่เหมาะสมต่อการใช้เป็นเส้นทางน้ำไปมาติดต่อได้สะดวก

ทำให้บริเวณที่ราบของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างถูกปรับสภาพให้เป็นชุมชนขนาดใหญ่ และมีการสร้างชุมชนเมืองขึ้น คือตั้งแคว้นสุพรรณภูมิ (เมืองสุพรรณบุรี) เป็นศูนย์ กลางของดินแดนด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรี เป็นเส้นทางติดต่อค้าขายกับตอนเหนือและภาคอีสาน

 

การสร้างกรุงศรีอยุธยา

 

                ต่อมาพุทธศตวรรษที่ 19 พระเจ้าอู่ทอง ผู้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ไชยปราการ เชียงแสน ซึ่งอภิเษกกับพระธิดาของกษัตริย์แคว้นสุพรรณภูมินั้น ได้อพยพสร้างกรุงศรีอยุธยา ณ บริเวณเสาสนคร ใกล้เมืองอโยธยาเดิมของแคว้นละโว้ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ปละท่าคูจาม (ประทาคูจาม)

 

                ศุภมัสดุ พุทธศักราช 1893 (ศักราช 712) ปีขาล โทศก ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5  เพลา 1 นาฬิกา 9 บาท วันศุกร์นั้น พระเจ้าอู่ทอง จึงให้สมณชี พราหมณ์ฤาษี ได้ทำพิธีสถาปนาพระนครขึ้นตามฤกษ์ เหล่าสมณชีพราหมณ์ฤาษี

ได้ร่วมกันตั้งพิธีกลบบาท และเมื่อขุดดินที่ใต้ต้นหมันก็พบสังข์ ทักษิณาวรรต เป็นนิมิตมงคล

 

                ดังนั้น การสร้างเมืองนี้ จึงสร้างตามลักษณะของสังข์ โดยให้ส่วนยอดสังข์เป็นตำแหน่ง ที่ตั้งของพระนคร ปลายสังข์เป็นทางน้ำที่รินออกจากสังข์ทักษิณาวรรตเป็นมงคล ภูมิประเทศนั้น ได้กำหนดให้มีเส้นทางน้ำไหลออกจากเมืองสู่แม่น้ำใหญ่ และให้สร้างพระตำหนักขึ้นทางตัวสังข์ ซึ่งอยู่ด้านตะวันตก

 

                เหล่ามหาอำมาตย์ มูลนายและไพร่พลเห็นประจักษ์เช่นนั้น จึงทำการสร้างพระนครขึ้น ในบริเวณด้านตะวันตกของบึงหนองโสน ใช้ลำแม่น้ำที่ไหลผ่าน นั้นเป็นเส้นทางติดต่อขึ้นไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำลพบุรี พระนครแห่งนี้ มีชื่อว่า

 

                “กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์”

 

                ภายในตัวพระนครนั้นได้สร้างพระตำหนักขนาดใหญ่ ให้มีรูปแบบยอดปราสาท เป็นพระที่นั่งไพฑูรย์ มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท  และพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท

 

                เมื่อสร้างพระที่นั่งสามองค์เสร็จแล้ว บรรดาสมณชีพราหมณ์ มหาอำมาตย์ ราชมนตรี และไพร่พล  จึงพร้อมกับอัญเชิญให้พระเจ้าอู่ทอง พระชนมายุ 36 พรรษา ขึ้นครองเมืองเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า

                “สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทราบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลกภพนพรัตนราชานีบุรีรมย์” ดำรงอิสริยศักดิ์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาแห่งนี้

 

                ในภาพเขียนกรุงศรีอยุธยา หรือ AYODIA เมืองราชธานีแห่งอาณาจักรสยาม ที่ชาวต่างชาติเขียนไว้นั้นได้แสดงให้เห็นภูมิสถานอันเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวง วัดและถนนหนทาง คูคลองในเมืองตลอดจนชุมชนใหญ่ อยู่ภายใต้กำแพงเมืองที่สร้างล้อมรอบตัวเกาะใหญ่

 

                พระราชวังของกรุงศรีอยุธยานั้น มีแนวกำแพงพระราชฐานสูง 10 ศอกทอดยาวไปข้างหน้า แล้วหักมุมเป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ วัดได้ยาวถึง 95 เส้น ภายในกำแพงสี่เหลี่ยม มีพระมหาปราสาทราชมณเฑียรตั้งอยู่ภายใต้เห็นยอดแหลมเสียฟ้าเหลืองอร่าม บนกำแพงนั้นหนาถึง 4 ศอก ใช้เป็นชานให้ทหารรักษาวังยืนดูแลความสงบภายในเขตพระราชฐานทั้งหมด ด้านตะวันตกนั้นเป็นอาณาเขตของวังหน้าที่อยู่ติดกับเขตพระราชวังหลวง

 

                ประตูพระราชวังทั้ง 16 แห่ง มีทหารเฝ้าดูแลเป็นอย่างดี เช่นเดียวกับป้อมสำคัญรอบเขตพระราชวังที่มีป้อมท้ายสนม ป้อมท่าคั่น อยู่ด้านเหนือ ป้อมศาลาสารบาญชี ป้อมศาลาพระวิหารบพิตร ป้อมมุมวัดพระศรีสรรเพชญ์ และป้อมสวนองุ่น อยู่ด้านใต้

 

                ป้อมท่าคั่นอยู่ตรงมุมพระราชวังด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ใกล้วัดธรรมิกราชแนวกำแพงพระนครด้านนี้มีประตูใหญ่ 3 แห่ง คือ ประตูเสาธงไชย ประตูท่าปราบ ประตูช้างเผือก สำหรับใช้เข้าออกระหว่างกำแพง พระนครกับพระราชวังที่มีท้องสนามหลวงอยู่ด้านตะวันออกศาลลูกขุน ตั้งอยู่ตรงมุมป้อมท่าคั่น สุดท้ายสนามหลวงมีหอแปลพระราชสาสน์ตั้งอยู่ตรงกลาง แนวกำแพงพระราชวังด้านตะวันออกมีประตูจักรมหิมา ประตูศรีไชยศักดิ์ ประตูสวรรค์พิจิตร ประตูสมณพิศาล ประตูศิลาภิรมย์ ประตูอาคเนย์ และป้อมศาลาสารบาญชี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แต่ประตูที่นำเข้าไปสู่พระที่นั่งนั้นเป็นประตูฉนวนชื่อ ประตูมหาไตรภพรสทวารอุทก (ประตูมหาไชยพยนต์ทวารอุทก)

 

                ป้อมท้ายสนอมอยู่ตรงมุมพระราชวังด้านทิศตะวันตกตรงคลองปากท่อ แนวกำแพงมีประตูทายสนม (ประตูดิน) อยู่ทางกำแพงด้านเหนือ ภายในเป็นเขตของพระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์เป็นเขตพระราชวังด้านตะวันตก ซึ่งมีอ่างแก้วและพระที่นั่งทรงปืนอยู่ทางด้านเหนือ ถัดมาด้านตะวันตกนั้นมีสระน้ำขนาดใหญ่ตรงกลางเป็นพระที่นั่งบรรยงรัตนาสน์ อยู่กลางสระพระที่นั่งองค์นี้สูง 20 วา ส่วนยอดสร้างเป็นรูปพรหมพักตร์มีเครื่องยอด 9  ชั้น ประดับฉัตร และมีหลังคากระเบื้องดีบุกสีเงิน เช่นเดียวกับพระที่นั่งศรีสรรเพชญ์ปราสาท ถัดไปด้านใต้มีพระตำหนักขนาดเล็ก ตั้งอยู่ 2-3 หลังอยู่แนวกำแพงที่แบ่งเป็นเขตพระราชฐานฝ่ายใน

 

                เขตพระราชวัง ด้านตะวันออกนั้น พระที่นั่งศรีสรรเพชญ์ ปราสาทตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลาง พระที่นั่งทั้งหมด ยอดปราสาทเป็นรูปพรหมพักตร์สูงเด่นประดับช่อฉัตร 5 ชั้น สีทอง่วนยอดปราสาทยามต้องแสงอาทิตย์ในยามเช้านั้น กลับส่องประกายตัดกับหลังคาดีบุกสีเงิน ซึ่งทอดยาวเป็นเชิงชั้น พระที่นั่งนี้สูง 25ว่า ถัดจากพระที่นั่งองค์นี้ไปทางด้านหลังนั้นเป็นพระวิหารสมเด็จที่มีมุขยายไปทางด้านตะวันออกและตะวันตกขนานไปกับแนวของพระที่นั่ง พระศรีสรรเพชญ์ปราสาท ด้านตะวันออกนั้นมีโรงช้างเผือกอยู่ 2 หลัง ส่วนแนวกำแพงด้านใต้ มีประตูออกปู่เขตพระราชฐานฝ่ายใน

 

                เขตพระราชฐานฝ่ายในของพระราชวังหลวง อยู่ถัดมาทางทิศใต้มีบริเวณยาวตามแนวกำแพงทั้งหมดภายในมีพระที่นั่งจักรพรรดิตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก ส่วนด้านตะวันตกตรงกลาง นั้นเป็นสระแก้วขนาดใหญ่ ที่มีพระประตูชลชาติทวารษาครอยู่ตรงป้อมสวนองุ่นลำเลียงน้ำเข้าสู่สระนั้น และกำแพงใกล้ป้อมสวนองุ่นด้านตะวันออก มีประตูบรรเจษฎานีให้เข้าออกของนางสนมกำนัลฝ่ายใน  ส่วนป้อมตรงมุมสระแก้ว นั้น มีประตูเข้าปู่วัดพระศรีสรรเพชญ์ประจำพระราชวัง พระพุทธรูปทององค์ขนาดใหญ่เป็นประธาน แนวกำแพงของวัดพระศรีสรรเพชรญ์ ด้านใต้นั้น มีประตูเข้าออกหลายแห่ง ได้แก่ ประตูบวรนิมิต ประตูฤทธิ์ไพศาล ประตูมงคลพิศาล ประตูวิจิตรพิมาลย์ หากออกไปนอกกำแพงแล้ว ก็เป็นบริเวณของวัดมงคลบพิตรที่มีพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่สำหรับชาวเมืองสักการบูชา

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(1)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์