ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ตำนานพระเจ้าอู่ทอง

 

ตำนานพระเจ้าอู่ทอง(8)

 

 

 

เมื่อท้าวอู่ทองกับท้าวศรีธรรมาโศกราชจะเป็นไมตรีกันนั้น ท้าวอู่ทองขึ้นบนแท่นแล้ว พระญาศรีธรรมาโศกราชจะขึ้นไปมิได้ ท้าวอู่ทองก็จูงพระกรขึ้น มงกุฎของพระเจ้าศรีธรรมาโศกตกจากพระเศียร แล้วท้าวศรีธรรมาโศกราชสัญญาว่า เมื่อตัวพระองค์กับอนุชาของพระองค์ยังอยู่ ให้เป็นทองแผ่นเดียวกัน ถ้าท้าวอู่ทองต้องประสงค์สิ่งใดจะจัดแจงให้ นานไปเบื้องหน้าให้มาขึ้นกรุงศรีอยุธยา

 

 

ฝ่ายท้าวอู่ทอง ก็รับเป็นไมตรีแก่กัน แลท้าวอู่ทองว่าถ้าท้าวศรีธรรมาโศกราชต้องการสิ่งใดท้าวอู่ทองจะจัดให้มา เจรจาความกันแล้ว ต่างองค์ต่างยกไพร่พลคืนเมือง

 

เรื่องของพระเจ้าอู่ทองหรือท้าวอู่ทองนั้น เมื่อมีตำนานเล่ากันมากมายเช่นนี้ จึงทำให้เหมือนว่าเป็นนิทานพื้นบ้านทั่วไป แต่ความนัยหมายบอกนั้นพอจับทางได้ 2 นัยว่า เป็นพระเจ้าอู่ทองมาจากทางเหนือโดยทางบก และท้าวอู่ทองที่มาจากเมืองจีนทางทะเล และเป็นพระเจ้าอู่ทองคนเดียวที่เมืองหลายเมือง โดยเฉพาะกรุงศรีอยุธยา

 

เมื่อสอบกับศักราชว่า สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.1893- 4 ท้าวอู่ทองที่เมืองนครศรีธรรมราช นั้นครองราชย์ประมาณ พ.ศ.1820 แล้ว เชื่อว่าเป็นท้าวอู่ทองคนละองค์

 

ในศิลาจารึกหลักที่ 24 มีความปรากฏว่า พระรามาธิบดี (ท้าวอู่ทอง) ผู้เป็นใหญ่ แห่งตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) นั้นทรงพระนามว่า จันทรภาณุ ทรงเป็นกษัตริย์แห่งปัทมวงศ์ และในจารึกหลักที่ 35 ได้กล่าวถึง พระเจ้ากรุงศรีธรรมาโศกโปรดให้เสนาบดี ถือรับสั่งไปยังพระเจ้าสุนัต ผู้ครองเมืองธานยปุระ ให้สร้างพระสถูปบรรจุพระอิฐิของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชองค์ที่สวรรคตไปแล้ว กล่าวคือ พระเจ้าศรีธรรมาโศกนั้นเป็นกษัตริย์

ครองเมืองนครศรีธรรมราบก่อนมีการสร้างกรุงศรีอยุธยา ในพุทธศตวรรษที่ 18 และภายหลังนั้นได้ปรากฏเรื่องราวของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ที่ทรงฝากฝังพระมเหสีและพระญาติไว้กับพระเจ้าอู่ทองนั้น จึงพอจับเค้าข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า เมืองนครศรีธรรมราชนั้นน่าจะอยู่ในฐานะเป็นเมืองประเทศราชหรือเมืองที่ขึ้นต่ออำนาจของกรุงศรีอยุธยาในสมัยที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แล้ว

 

ความเรื่องพระเจ้าอู่ทองในพงศาวดารโยกนั้น พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) น่าจะได้นำความจากจดหมายเหตุของบาทหลวงตาชาต มาเรียบเรียง ดังนี้

 

“พระปฐมสุริยเทพ หรือไทยบรมบพิตร์ เสวยราชสมบัติ ณ ไชยบุรีมหานคร (ไชยบุรีนี้เป็นนามเมืองเชียงแสน) เมื่อพระพุทธศาสนากาลล่างแล้ว 1300 พรรษา จุลศักราชได้ 118 ปี (ศักราชนี้ใกล้เคียงกับศักราชในตำนานไทยใหญ่ และพงศาวดารจีน ว่าด้วยตั้งแว่นแคว้นยวนชาน) สืบพระวงศ์มาได้ 10 ชั่วกษัตริย์พระองค์ที่ 10 ทรงพระนามอิโปยาหรือทิพย์สุนทรเทพมหาเทวราช ย้ายพระนครตั้งใหม่ที่ใกล้ธาตุหลวง (ในข้อนี้เกือบจะตรงกับเรื่องพระยาลาวเคียง กษัตริย์ที่ 9 แห่งวงศ์ลาวจักราช ย้ายจาไชยบุรีเชียงราว มาตั้งเมืองหิรัญนครเงินยาง ณ ที่ใกล้พระธาตุดอยตุง เรียกว่า โยนกนครหลวง เพราะคำว่า นครหลวงมีทั้งลาวและเขมร แต่นครหลวงเขมรนั้นเป็นคำไทยแปลมาจากคำเขมรว่า แองเกอทม กำแพงทม) สืบพระวงศ์ต่อ ๆ มาอีก 12 ราชวงศ์ จนถึง พระนมศิริไชย ยกลงมาตั้งเมืองนครไทย เมื่อพระพุทธศาสนากาลล่วงได้ 1730 พรรษา จุลศักราช ได้ 559 (นครไทยหรือนครชุมเป็นนามเมืองกำแพงเพชร และสุโขทัยหรือแว่นแคว้นเฉลียง น่าจะตรงกับพระเจ้าไชยศิริลงมาตั้ง ณ เมืองกำแพงเพชร) สืบพระวงศ์มาได้อีก 4 ชั่วกษัตริย์ ตรงกันกับความในต้นพระราชพงศาวดาร จึงถึงพระเจ้ารามาธิบดีอู่ทอง  ได้ลงไปครองเมืองพริบพรีก่อน แล้วจึงมาสร้างกรุงเทพมหานครบวร ทวาราวดีศรีอยุธยาที่ตำบลหนองโสน เมื่อพุทธศาสนากาลล่วงแล้วได้ 1893 จุลศักราช 721 สืบกษัตริย์ขัตติยวงศ์ต่อ มาถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้าเป็นลำดับที่ 25 นับแต่พระเจ้ารามาธิบดีอู่ทองมา และเป็นลำดับที่ 52 นับแต่ปฐมสุริยเทพหรือไทยสุวรรณบพิตร เป็นต้นมา”

 

เช่นเดียวกับในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ นั้น มีความเล่าทำนองเดียวกันว่า

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม ตำนานพระเจ้าอู่ทอง(8)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์