ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ตำนานพระเจ้าอู่ทอง

 

ตำนานพระเจ้าอู่ทอง(4)

 

 

 

 

                เมื่อพระโอรส ได้ทรงทราบข่าวการที่ต้องถูกเนรเทศเช่นนี้ก็ไม่แปลกใจนัก เจ้าชายจึงว่า พวกขุนนางพิจารณาว่าพระองค์ประพฤติตนเลวมากถึงกับจะประหารชีวิตเรา หรือพระบิดาเช่นนี้ การที่พระบิดาตัดสินแล้วว่า พระองค์ควรจะไปเสียให้พ้น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพระองค์ก็จะยอมรับพระราชโองการทุกประการ

 

พระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานเรือสำเภาหลายลำ พร้อมทั้งเสบียงอาหารมากมาย เช่น ข้าว อาวุธยุทธภัณฑ์ และสิ่งของทุกสิ่งที่จำเป็นต่อการเดินทางไกล พร้อมทั้งยังพระราชทานไพร่พลให้อีก 200,000 คน และสิ่งของมีค่าต่าง ๆ

 

ดังนั้นเจ้าอู่ พระโอรสจึงออกเดินทางจากเมืองจีน พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติดังกล่าว พระโอรสนี้ทรงตั้งพระทัยที่จะไปตั้งถิ่นฐานตามความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า และตามกระแสลมที่จะพัดพาขบวนเรือไปยังแห่งใด พระเชษฐานั้นได้ติดตามพระอนุชาไปในเรือสำเภาด้วยเนื่องจากพระองค์ทรงรักเจ้าอู่ พระอนุชาองค์นี้มาก

 

กองเรือของเจ้าอู่ นั้นได้มาถึงปัตตานีโดยบังเอิญ พระองค์จึงพร้อมด้วยข้าราชบริพารได้พากันขึ้นบกแต่เมื่อพระองค์ทรงพบว่า เมืองปัตตานีนั้นเป็นเมืองที่มีประชาชนอยู่กันหนาแน่น และพระองค์ไม่ต้องการที่จะตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ปัตตานีอีก จึงเสด็จลงเรือนำไพร่พลเดินเลียบมาตามชายฝั่งเข้าไปในแผ่นดิน จนถึงอุลุปัตตานี (OULOU VANPTANIJ) บริเวณตอนเหนือของเมืองปัตตานี) พระองค์ได้สร้างเมืองลังกาสุกะ (LANGH SCCA) ขึ้นที่บริเวณนั้น หลังจากที่พระองค์ได้สร้างอาณาจักรลังกาสุกะมั่นคง เป็นปึกแผ่น ประกอบกับประชาชน ทหาร ได้มีกำหมายและระเบียบปกครองเรียบร้อยดีแล้ว พระองค์จึงเสด็จกลับเข้าไปในแผ่นดินต่อจนถึงบริเวณที่เรียกว่า ลีคร (LIJGOOR – LIGOR) นครศรีธรรมราช) เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นป่ารกร้าง พระองค์จึงทรงฉวยโอกาสร้างเมืองขึ้นที่นั้น เรียกว่า เมืองลีคร พระองค์ได้ปกครองเมืองลีคร และจัดการบ้านเมืองจนมีทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว พระองค์ก็เสด็จต่อไปจนถึงกุย (CUIJ) แม้ว่าพระองค์ จะพบว่าบริเวณนั้นเป็นเพียงป่าก็ตาม พระองค์ก็ยังทรงสร้างเมืองใหม่ ขึ้นอกแห่งหนึ่งและประทับอยู่ที่เมืองนี้ตลอดมา

 

ในเวลานั้น ได้มีเรือสำเภาจากพระเจ้าแผ่นดินจีนสองลำมาปรากฏที่เมืองกุย และมีข่าวลือไปถึงเจ้าอู่ว่านายเรือ ANNACHOAS และพ่อค้าจีนนั้นยินดีที่จะรับไม้ฝาง พระองค์จึงมีไมตรีให้ไม้ฝางแก่บุคคลดังกล่าวเป็นจำนวนมากเท่าที่เรือสำเภาจะบรรทุกไปได้ ทำให้พ่อค้าจีนกลัยไปเมืองจีนด้วยความยินดีปรีดานั้น เมื่อถึงเมืองจีนแล้วพ่อค้าได้รายงานต่อพระจักรพรรดิได้ทราบถึงเรื่องราวที่ได้รับไม้ฝางมาเป็นของกำนัล ทำให้พระจักรพรรดิมีความยินดีเป็นอย่างมากจึงยากพระธิดาพระนามว่า นางประคำทอง NANMGH PACKAM TONGH ให้มาอภิเษกกับเจ้าอู่ โดยพระจักพรรดินั้นได้จัดพิธีส่งพระธิดาอย่างมโหฬาร และพระราชทานนามเจ้าอู่ว่า ท้าวอู่ทอง เป็นรางวัลอีกด้วย

 

หลังจากที่เจ้าอู่นั้น มีพระนามว่า ท้าวอู่ทองแล้ว ได้ครองเมืองกุยอยู่กับพระมเหสี ซึ่งเป็นพระธิดาจักรพรรดิจีนชั่วระยะเวลาสั้น  ด้วยพระองค์นั้นได้ตัดสินพระทัยที่จะตั้งบ้านเมือในสยามประเทศให้ดีกว่านี้ ครั้นเมื่อทราบข่าวว่ามีโอกาสที่จะทำได้แล้ว พระองค์จึงออกเดินทางจากเมืองกุย และสร้างเมืองต่าง ๆ ขึ้น เมืองแรก ได้แก่ เมืองพริบพรี (PLJPRIJ)

 

ขณะที่กำลังขุดดิน (สร้างเมือง) อยู่นั้น คนงานได้ขุดพบรูปปั้นทองแดง 60 ฟุต นอนวางอยู่ใต้พื้นดิน จึงสร้างความประหลาดใจให้แก่พระเจ้าอู่ทอง เป็นอย่างมาก หลังจากที่พระองค์ได้สดับฟังคำอธิบายเกี่ยวกับรูปปั้นและความเชื่อจากรากฐานของศาสนาของชาวสยามแล้ว พระองค์จึงเปลี่ยนใจจากการนับถือศาสนาของจีน มานับถือศาสนาของชาวสยามแทน

 

หลังจากนั้น พระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองคองขุดเทียม (CHONGH COUT THIAM และบางกอก (BANCKOCQ)ขณะนั้นพระองค์ได้ทรงทราบข่าวคราวเกี่ยวกับเกาะ ซึ่ง (ต่อไป) จะเป็นที่ตั้งเมืองอยุธยา พระองค์ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมากด้วย เป็นทำเลภูมิสงเมืองอยุธยา พระองค์ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมากด้วย เป็นทำเลภูมิสถานที่สวยงามซึ่งไม่มีผู้คนอาศัยอยู่หรือยังไม่มีใครไปสร้างเมืองขึ้น

 

ครั้งนั้น พระองค์ได้พบพระฤาษีตนหนึ่ง ได้เข้ามาทูลของพระองค์ว่า เมื่อก่อนนี้มีเมืองเมืองหนึ่งตั้งอยู่ชื่อว่าอยุธยา แต่พระฤาษ๊นั้นไม่สามารถจะทูลให้ทราบว่า เมืองได้เสื่อมโทรมไปอย่างไร ได้แต่เสริมว่า ยังไม่มีใครสร้างเมืองบนเกาะแห่งนั้นได้อีก ด้วยเหตุที่มีสถานที่ชื่อว่า วัดตะแลงแกง (WHOO TALENKENGH) ซึ่งปัจจุบันนั้นอยู่ตรงใจกลางเมือง ซึ่งมีบ่อน้ำเป็นที่อาศัยของพญานาค (มังกร) ดุร้ายตัวหนึ่ง ที่ชาวสยามเรียกว่า นาคราช (NACK RHAIJ) เมื่อใดก็ตามที่พญานาคนี้ถูกรบกวนก็จะพ่นน้ำลายพิษเหม็น ท้าวอู่ทอง จึงตรัสถามพระฤาษีว่าจะฆ่าพญานาคนั้นแล้วถมสระเสียจะได้หรือไม่ พระฤาษีได้แจ้งว่า ไม่มีวิธีที่จะแก้ไขได้ นอกจากต้องไปหาพระฤาษีที่เหมือนตนโยนไปให้พญานาค

 

ดังนั้น ท้าวอู่ทองจึงมีพระราชโองการให้สืบหาพระฤาษีที่มีลักษณะเหมือนพระฤาษีตนนี้ทั่วประเทศ พระฤาษีได้กล่าวต่อไปว่า เมื่อพระองค์ฆ่าพญานาคและถมสระแล้ว หากท้าวอู่ทองต้องการที่จะตั้งบ้านเมืองอยู่ในบริเวณนั้นให้มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แล้ว จะต้องปฏิบัติตามนี้ 3 ประการ กล่าวคือให้พระองค์ยิงลูกธนูออกไปและต้องให้กลับมาเข้ากระบอกธนู ให้ชโลมร่างกาย ทุกวันด้วยมูลโค และเป่าเขาสัตว์ทุกวันเฉกเช่นพราหมณ์ปฏิบัติในเวลาลงโบสถ์หรือไปยังสถานที่สักการะ

 

ท้าวอู่ทอง ตรัสว่า พระองค์นั้นสามารถปฏิบัติตามข้อดังกล่าวได้ พระองค์จึงได้เสด็จลงเรือเล็ก (เปราหุ)

มุ่งสู่ไปยังกึ่งกลางแม่น้ำ แล้วยิงธนูไปยังต้นน้ำและในขณะที่ลูกธนูไหลตามน้ำมานั้น พระองค์ได้ใช้กระบอกใส่ลูกธนูนั้นดักลูกธนูไว้ได้ แทนที่พระองค์จะใช้มูลโคมาชโลมพระวรกาย พระองค์กลับใช้ข้าวผสมกับน้ำมันผง (ซีเรียม)เล็กน้อย แล้วตรัสว่า ข้าวขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่ใส่ปุ๋ยมูลโค ทั้งนี้พระองค์ทรงหมายความว่า มูลโคนั้นเป็นส่วนหนึ่งของข้าว ส่วนการเป่าเขาสัตว์นั้นพระองค์ได้มีพระราชโองการให้มวนพลู (SIRIJ พระศรี) และเสวยเป็นหมากพูล (PIJNANGH)เพื่อให้มีลักษณะเหมือนการเป่าเขาสัตว์

 

จากนั้น พระฤาษีได้ทูลทำนายว่า พระองค์นั้นทรงสามารถทำลูกธนูให้หวนกลับมาหาพระองค์ได้หมายความว่า ประชาชนของพระองค์นั้นจะมีความสามัคคี ซึ่งกันและกัน สงครามภายในอาณาจักรจะไม่ปรากฏ

 

ประการที่สองนั้น เนื่องจากพระองค์นั้นได้ใช้วิเทโสบายในการใช้มูลโค ดังนั้น พระองค์และประชาชนของพระองค์จะได้รับความเดือดร้อน เนื่องจากเกิดใช้ทรพิษบ้างเล็กน้อย

 

ประการที่สาม ซึ่งเป็นข้อสุดท้ายนั้น เนื่องจากพระองค์ใช้ใบพลูมวนให้เหมือนเขาสัตว์ เทพยดา จะรักพระองค์มากมาย และจะนำโชคชัยมาสู่พระองค์ด้วย

 

ในระหว่างนั้นผู้ส่งข่าวที่ส่งออกไปสืบหาพระฤาษีนั้น ได้กลับมาทูลว่าไม่สามารถที่จะหาพระฤาษีที่มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ได้ ท้าวอู่ทองจึงเก็บความไว้เป็นความลับ และได้เสด็จพร้อมกับพระฤาษีออกไปที่ปากสระ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพญานาคนั้น โดยที่ไม่ตรัสอะไรให้พระฤาษีรู้ตัว พระองค์ทรงจับพระฤาษีเหวี่ยงลงไปในสระและถมสระนั้นเสีย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาพญานาคก็ไม่ปรากฏตัวขึ้นมาอีก และแผ่นดินก็หลุดพ้นจากโรคระบาด

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม ตำนานพระเจ้าอู่ทอง(4)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์