ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  วัฒนธรรมทางสังคมและวิถีชีวิต

 

วัฒนธรรมทางสังคมและวิถีชีวิต

 

                สังคมของเมืองสุโขทัย นั้นเป็นสังคมที่มีเสรีภาพ ที่ดำรงชีวิตด้วยความกตัญญู และมีความผูกพันกันเป็นอย่างดี ดังปรากฏในจารึกว่า “ด้วยเสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น  เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน” เสรีภาพในเล่นดนตรี เล่นกีฬา และรื่นเริง

 

                “คนในเมืองสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัย ฝูงท่วมมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา” เสรีภาพในการทำบุญสุนทาน นับถือศาสนา

 

                “ใครสร้างป่าหมาก ป่าพูลทั่วเมืองทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน เบื้องตะวันออก มิใช่มีนา มีถิ่น มีฐาน”  เป็นเสรีภาพในที่ดินปลูกพืชผลไม้ ได้แก่ ผู้ปลูก

 

                “ใครจักใคร่ค้าช้าง  ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทอง ค้า” เป็นเสรีภาพ ด้านกรทำมาหากิน

                “ลูกเจ้าลูกขุน ผู้ใดแล้  ล้มตายหายกว่า เหย้าเรือน พ่อเชื้อเสื้อคำมัน ช้างขอ ลูกเมีย เยี่ยข้าว ไพร่ข้าไทย ป่าหมาก ป่าพลู พ่อเชื้อมันไว้แก่ลูกมันสิ้น “ และ “ได้ข้ามาเอาเหย้าน้าวเอาเรือนเขา พ่อตายให้ไว้แก่ลูก พี่ตายให้ไว้แก่น้อง” เป็นสิทธิในด้านทรัพย์สิน มรดกของพ่อแม่ตกแกลูก พี่ให้แก่น้อง

 

                “คนใดขี่ช้างมาหา หาเมืองมาสู่ ช่วยเหลือเฟื้อกู้ มันบ่มีช้างบ่มีม้า บ่มีปั่วบ่มีนาง บ่มีเงิน มีทอง ให้แก่มันช่วยมันตวงเป็นบ้านเป็นเมือง ได้ข้าเลือกข้าเสือหัวพุ่งหัวรบก็ดี บ่ฆ่าบดี” เป็นการแสดงความเป็นไมตรีมีจิตใจช่วยเหลือเกื้อกูล ให้ช้างม้า เงินทอง ได้เมืองใดมา เชลยข้าศึกก็ไม่ฆ่าไม่ทำร้าย

 

                “เมื่อชั่วพ่อกู กูบำเรอแก่พ่อกู กูบำเรอแก่แม่กู ก็ได้เนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้ม หมากหวานอันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้กูเอามาแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู “

เป็นคตินิยมในความกตัญญูรู้คุณบิดามารดา ที่สร้างความผูกพันในครอบครัว ความเอาใจใส่เลี้ยงดูต่อกัน อันเป็นหลักในการดำรงชีวิตของชาวเมืองสุโขทัย

 

                ในสังคมเมืองสุโขทัย นั้นปรากฏว่ามีการซื้อคนและยกคนให้กับศาสนา มีจารึก (จารึกหลัก ที่ 2 วัดศรีชุม) กล่าวว่า “เทตลาดซื้อสัตว์ทั้งหลายโปรดอันเป็นต้นว่า คน อีกแพะ และหมู หมา เป็ด ไก ทั้งห่าน นกหก ปลา เนื้อฝูงสัตว์ทั้งหลาย”

               

                จารึก (จารึกหลักที่ 15 วัดพระเสด็จ) ว่า “ต่อเมื่อนายพันเทพรักษากัลปนาอีแก้ว และหลั่งน้ำทักษิโนทก ต่อหน้าพระสงฆ์ทั้งหลาย หมายประธาน หมายถึงคหบดีนั้นได้กัลปนา อีแก้วให้แก่วัด เช่นเดียวกับจารึกว่า “จึงนายไกรเชียรและอำแดงศรีหัวทอง ให้ทำพินัยกรรม นี้ไว้ แม่เทพและพ่อห๋นลูก ให้เป็นข้าอุโบสถโดยกัลป์ปานา” อันเป็นลักษณะกัลปนาคนเช่นเดียวกับที่ขอมสบาดโขลญลำพง มีข้ากัลป์ปานาในศาสนา ไว้เป็นกำลังเข้าชิงเมืองสุโขทัย

 

                ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ นั้นได้กล่าวถึง สังคมของกลุ่มประชาชนชาวสุโขทัยว่า ได้มีการแบ่งฐานะออกเป็น 2 ตระกูล (พวก) ได้แก่ ทหารพลเรือน ดังนั้น บุคคลในตระกูลก็จะแต่งงานกันตามตระกูลของตน

หาแต่งงานต่างกระกูลกัน เด็กที่เกิดมานั้นให้นับไปอยู่ในตระกูลฝ่ายพ่อ

 

                ตระกูลทหารนั้นจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารช้าง และทหารม้า ส่วนตระกูลพลเรือนนั้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ พราหมณ์ เศรษฐี พ่อค้า และชาวนา

 

                ผู้ชายที่มีทรัพย์ นั้นมักมีภรรยาได้หลายคน ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติยศที่เรียกว่า บริวารยศ ตรงกันข้ามหากผู้หญิงมีสามีหลายคน ก็จะเป็นที่รังเกียจของคนทั่วไปเรียกว่า คนอนาจาร จึงมักจะมีแต่คนจ้างไปเป็นคนรับใช้ทำงานหนัก เช่น เลี้ยงช้าง ม้า วัว ควาย และซักเสื้อผ้า

 

                        ชาวสุโขทัยนั้น มีความเชื่อถือในการมีเกียรติยศของตระกูล จึงนิยมที่จะให้ธิดาของตน เข้าไปอยู่ในวังโดยฝากตัวเป็นสนมของพระเจ้าแผ่นดิน ในการเข้าเฝ้าถวายตัวธิดาเข้าไปในวังนั้น จะมีหัวหน้าชะแม่พระกำนัลสองคน มีบรรดาศักดิ์คือ ท้าวจันทรนาคภักดี กับท้าวราชศักดิ์โสภา คนหนึ่งถือพานข้าวตอกอีกคนหนึ่งถือพานดอกมะลิ มารดาของธิดาที่ถวายตัวนั้น ให้ถือพานข้าวสาร ส่วนธิดาผู้ถวายตัวนั้น ให้ถือพานเมล็ดพันธุ์ผัก และมีชาวชะแม่อีกคนหนึ่งถือพานดอกหญ้าแพรก สิ่งของทั้งห้าสิ่งนี้ถือเป็นสิ่งมงคลที่ให้ความหมายของ ความอุดมสมบูรณ์ การเติบโตดุจเมล็ดพันธุ์พืช การมีสติปัญญางอกงาม และความเจริญรุ่งเรือง อันเป็นรูปแบบการนำถวายตัวสืบต่อมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์

 

                การเรียกพระเจ้าแผ่นดิน หรือกษัตริย์ ผู้ครองเมืองเมืองสุโขทัยนั้น นอกจากเอ่ยพระนาม ซึ่งเดิมนั้นเรียกขุนหรือ พ่อขุน เช่น ขุนจิต ขุนจอด ขุนศรีนาวนาวถุม ขุนยางกลางหาว พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามคำแหง แล้ว ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นใช้เรียกว่า พระยา หรือพญา เช่น พระยาบานเมือง พระยารามราช พระยาเลอไทย พญาลิไทย เป็นต้น (น่าจะได้อิทธิพลจากขอม) ครั้นเมื่อได้ติดต่อกับอาณาจักรของกรุงศรีอยุธยาที่อยู่ทางใต้ก็นำเอาคำว่า “พระเจ้า”มาใช้ คือ พระเจ้าลิไทย พระเจ้าไสลือไทย สำหรับประชาชนทั่วไปนิยมนั้น เรียกพระเจ้าแผ่นดินของตนว่า พ่อเจ้าอยู่หัว และพระราชินีนั้นเรียกว่า แม่เจ้าอยู่หัว

 

                ส่วนคำนำหน้าที่เรียกผู้ชายนั้น ใช้คำว่า นาย หรือ เรียกตามตำแหน่ง เช่น นายพันเทพรักษา ธรรมบุตรผ้าขาวเทพ หากหมายถึง ผู้ชายนั้นมีคำแทนที่ใช้เรียกกันคือ บ่าว (หมายถึง ผู้ชาย) ส่วนคำนำหน้าที่ใช้เรียกผู้หญิงนั้น ถ้าเป็นหญิงที่แต่งงานแล้ว ใช้คำว่า อำแดง แทน นาง ส่วนหญิงที่ยังไม่แต่งงาน เรียก อี ดังปรากฏในจารึกว่า

“อีบุนรักลูกธรรมบุตรผ้าขาวเทพและอำแดงยอด”

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม วัฒนธรรมทางสังคมและวิถีชีวิต

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์