ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  สังคมและวัฒนธรรมของชาวเมืองสุโขท

 

สังคมและวัฒนธรรมของชาวเมืองสุโขทัย

 

                                                                                    ภูมิสถานเมืองสุโขทัย(1)

 

                        จดหมายเหตุจีนของจิวต้ากวนนั้น ได้เล่าให้รู้ถึง เรื่องราวของเมืองสุโขทัยว่าราษฎร์ นิยมปลูกบ้านเรือนอยู่ตามริมน้ำ และปลูกเป็นเรือนที่มีใต้ถุนสูง เนื่องจากแผ่นดินของเมืองนี้เป็นที่ลุ่ม ฤดูฝนตกจึงมักมีน้ำหลากท่วม

ดังนั้นการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านเรือนได้ง่ายจึงนิยมทำใต้ถุนสูง นอกจากนี้การมีใต้ถุนยังป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายด้วย ส่วนหลังคานั้นมุงด้วยแฝกหรือกระเบื้องตามฐานะ พื้นบ้านนั้นจะปูเสื่อ

 

                แต่ถ้าเป็นพระราชวังของพระเจ้าแผ่นดินแล้ว จะมีการก่อกำแพงอิฐถือปูนเป็นแนวล้อมรอบ อาคารพระที่นั่งกษัตริย์นั้นก่ออิฐถือปูน มีภาพเขียนลงรักปิดทอง หลังคามุงกระเบื้อง

 

                สำหรับเขตพระราชวังของเมืองสุโขทัยนั้น ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวว่า ภายในพระราชนิเวศน์นั้น มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีป้อมปราการ ประตูชั้นใน และประตูชั้นนอก แวดล้อมด้วยอาคาร พระคลัง จวน ทิม ตึก ห้องเครื่องต่าง ๆ

 

                พระที่นั่งในพระราชวัง เมืองสุโขทัยนั้นประกอบด้วย พระที่นั่งอินทราภิเษก ซึ่งมีมณฑป ปรัตอาคมอยู่ด้านขวา และมณฑปอัศวรอาคมด้านซ้าย ด้านหน้าพระที่นั่งนี้เป็นมุขปรางค์ ปราสาท ด้านขวามีมณเฑียรปฏิมามณฑป และด้านซ้ายมีมณเฑียรเทพปิตะมณฑป ด้านหลังเป็นมุขปรางปราสาท มีมุขกระสันติดกับพระที่นั่งอดิเรกภิรมย์ พระที่นั่งอุดมราชศักดิ์ และด้านขวาของพระที่นั่งมีหอพระนารายณ์ ด้านซ้ายมีหอพระเทวกรรม ต่อจากหอพระเป็นเจ้านั้น มีพระปรัศว์ขวาชื่อ รัตนารีมณเฑียร พระปรัศว์ซ้าย ชื่อ ศรีอัปสรมณเฑียร ล้อมรอบด้วยทิม จวน

 

                ส่วนตรงปากสระแก้วนั้น มีพระที่นั่งพิศาลเสวราส ซึ่งมีศาลาธารพระกำนับอยู่บริเวณนี้ 4 ศาลาสำหรับให้นางกำนัลฝ่ายในนั่งร้อยดอกไม้สำหรับบูชาพระและเทวรูป ในหอพระดังกล่าว ถัดจากนั้นเป็นพระที่นั่งไชยชุมพล พระที่นั่งชลพิมาน เป็นต้น พระที่นั่งเหล่านี้ตกแต่งลวดลายต่าง ๆ เป็นรูปวาด และประดับปูนปั้นลงรักปิดทอง ติดตั้งเครื่องระย้าประดับดวงประทีป ชวาลา (โคมไฟ)

 

 

วัฒนธรรมการเมืองการปกครอง

 

                เมืองในสมัยสุโขทัยนั้น มีรูปแบบการปกครองในลักษณะนครรัฐ คือแต่ละเมืองนั้นมีการปกครองกันเอง ไม่ขึ้นต่อกัน ด้วยเหตุที่เมืองสุโขทัยนั้นไม่ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองแต่เพียงแห่งเดียว เมืองอื่นก็เป็นศูนย์กลางมีอำนาจและปกครองเป็นอิสระในเขตแดนของตน

 

                ดินแดนสุวรรณภูมินั้น จึงมีอาณาจักรล้านนาไทย เมืองพะเยา เมืองอยุธยา เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองนครราชสีมา ต่างเป็นเมืองใหญ่ ที่ต่างจัดการปกครองกันเองตามลักษณะภูมิประเทศและประเพณีวัฒนธรรมของตน ซึ่งอาจจะมีเมืองขึ้นและทำการขยายอาณาเขตให้แผ่กว้างตามอำนาจของตน

 

                        เมืองเหล่านั้น จึงเป็นนครรัฐที่มีผู้ครองเมือง ทำให้แต่ละเมืองหรือนครรัฐมีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันคือ

 

                การปกครองแบบพ่อปกครองลูก ซึ่งเป็นการปกครองชุมชนสมัยเริ่มแรกแบบโบราณที่ให้ความนับถือผู้นำของตนโดยเชื่อถือกษัตริย์หรือพระเจ้าแผ่นดิน เป็นพ่อของประชาชนทั้งปวง โดยนำเอาลักษณะการปกครองสมาชิกในตระกูล กล่าวคือ ให้ความเชื่อถือว่าพ่อเป็นผู้ปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือน ที่รวมกันเป็นหมู่บ้าน พ่อผู้ปกครองหมู่บ้านนี้ จึงนับถือเป็นพ่อบ้านและครอบครัวที่ถูกปกครองนั้นเป็นลูกบ้านเมื่อมีหลายหมู่บ้าน ก็รวมกันเป็นเมือง โดยเมืองนั้นมีผู้ครองเมืองหรือนครรัฐซึ่งมีฐานะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า พ่อขุน

 

                เมืองในระยะแรกนี้มีอาณาเขต ไม่มากนัก ประชาชนก็ตั้งครัวเรือนกันจำนวนน้อย สามารถไปมาหาสู่กันได้สะดวก พ่อขุนนั้นทำหน้าที่ดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิดได้ ไม่ถือพระองค์ ไม่ถืออำนาจ ถือยศศักดิ์แต่อย่างไร จึงทำให้เหมือนพ่อที่คอยฟังความคิดเห็นของเจ้านายและขุนนาง คอยแก้ไขปัญหาและขจัดความเดือดร้อน ตลอดจนให้ความเป็นธรรม รวมถึงการอบรมสั่งสอน ข้าราชการบริพาร ประชาชน พ่อขุนผู้ครองเมืองจึงมีความเมตตากรุณาแก่ไพร่ฟ้าประชาชน

 

                พ่อขุนผู้เป็นประมุขของเมืองหรือนครรัฐผู้นี้มีอำนาจสูงสุด แต่ก็มีความใกล้ชิดสัมพันธ์กับประชาชน มีความรักใคร่ ความเมตตา ความเอื้ออาทรเช่นเดียวกับพ่อที่มีต่อลูก คอยทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ซึ่งต่างเชื่อฟังและปฏิบัติตามพ่อขุนของตนสอนสั่ง ในศิลาจารึกหลักที่ 1 นั้นว่ามิใช่วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย ขึ้นนั่งเหนือขดารหิน ให้ฝูงท่วน ถือบ้านถือเมืองกัน ทำให้พ่อขุนนั้นสามารถควบคุมราษฎรในเมืองหลวง และเมืองใกล้เคียงได้ดีกว่าเมืองที่อยู่ห่างไกล แม้ในยามมีทุกข์ร้อนก็สามารถตัดสินความได้โดยง่าย โดยมีกระดิ่งแขวนให้ประชาราษฎร ร้องทุกข์ที่กลางเมือง ดังความว่า

 

                “ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั่น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้าน กลางเมือง มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ มักจักกล่าวถึงเจ้าขุนบ่ไร้ ไปสั่นกระดิ่งอันท่วมแขวนให้พ่อขุนรามคำแหง เมื่อได้ยินเสียงเรียกเมื่อถามสวนความแก่มันด้วยชื่อ”  หมายถึงราษฎรทุกข์ร้อนเรื่องใดก็สั่นกระดิ่งให้พ่อขุนชำระความด้วยความซื่อตรง

 

                “ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้ จึงแล่งความแก่ข้าด้วยซื่อบ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน”  หมายถึง ผู้ใดทำผิดไม่ว่าเป็นลูกเจ้าลูกนาย ก็มีการสอบสวนอย่างซื่อตรง ไม่เข้าข้างผู้ทำผิด

 

 

      สำหรับ เมืองที่อยู่ห่างไกลออกไปจากเมืองศรีสัชนาลัยเมืองสุโขทัย นั้น พ่อขุนทรงนำพุทธศาสนามาสร้างรูปแบบการปกครองแบบธรรมราชา โดยพระยาลิไททรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิกถาขึ้นเพื่อให้ความหมายของผู้ปกครองที่ดี กล่าวคือ ผู้ปกครองที่ประชาชนพอใจนั้น ต้องมีคุณธรรมสูงสำหรับเป็นหลักธรรมปกครองเมือง และใช้ธรรมะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ทั้งปวง โดยเจริญรอยตามแนวทางพระพุทธเจ้า พระเจ้าอโศกมหาราช อันเป็นค่านิยมของการเป็นพระราชาผู้เป็นเอก (จักรพรรดิ) โดยสร้างความเชื่อว่าพระราชาที่ดีย่อมปกครองอาณาประชาราษฎรให้ร่มเย็นเป็นสุขนั้น ต้องมีทศพิธราชธรรม เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ผู้ปกครองใช้อำนาจไปในทางที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ใต้ปกครอง อันเป็นธรรมสำคัญในการครองแผ่นดิน

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม ภูมิสถานเมืองสุโขทัย(1)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์