ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  การประดิษฐ์ลายสือไท

 

การประดิษฐ์ลายสือไท

 

                ในพุทธศตวรรษที่ 3-4 นั้น อักษรพราห์มี สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เป็นตัวอักษรที่ถูกนำมาใช้เผยแพร่และเป็นต้นกำเนิดของอักษรสันสกฤต (อักษรคฤนถ์) ในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ที่ใช้กันเมื่อ พุทธศตวรรษที่ 9-13 จนมีการนำอักษรสันสกฤต สมัยราชวงศ์ปัลละ มาใช้ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อมาอักษรสันสกฤตนี้ได้เป็นต้นกำเนิดของอักษรขอม อักษรของไทย ที่คนไทยใช้คัดลอกคัมภีร์ พุทธศาสนาและตำราวิทยาการที่มาจากอินเดียโบราณ

 

                ต่อมา พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงคิดค้นประดิษฐ์ลายสือไท หรืออักษรไทยขึ้น จากอักษรโบราณ ดังกล่าว แล้วโปรดให้ทำการจารึกไว้ในแท่งศิลาหินชนวนสี่เหลี่ยมสูง 111 เซนติเมตร ในปี พงศ.1835 มีข้อความปรากฏในตอนหนึ่งว่า

 

                ใส่ลายสือไทนี้ ลายสือไทนี้ จึงมีเมื่อพ่อขุนผู้นั้นใสไว้” แปลเป็นความได้ว่า “แต่ก่อนี้อักษรภาษาไทยยังไม่มี เมื่อ พ.ศ.1826 พ่อขุนรามคำแหงได้มีความสนใจ ประดิษฐ์อักษรภาไทย อักษรภาษาไทยจึงเกิดขึ้น ประดิษฐ์อักษรภาษาไทย อักษรภาษาไทยจึงเกิดขึ้น แล้วพ่อขุนรามคำแหง ทรงให้จัดทำอักษรไทย) ใส่ไว้ในศิลาจารึกนี้”

(ปัจจุบันศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 นี้ เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพฯ)

 

                นอกจากนี้ ศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงนั้น ยังมีข้อความที่กล่าวถึง คนไทกลุ่มอื่นที่มีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัย คือ “ชาวอู ชาวของ” ซึ่งหมายถึง ชนชาติที่อยู่ลุ่มแม่น้ำอู แม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังกล่าวถึง บ่อน้ำในตระพังโพย” กลางกรุงสุโขทัย ว่า มี “สีใสกินดีเหมือน้ำโขงเมื่อแล้ง” แสดงว่าชาวสุโขทัยสมัยนั้นได้มีความสัมพันธ์กับชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำอู  แม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังกล่าวถึง บ่อน้ำในตระพังโพย กล่าวกรุงสุโขทัย ว่า  “สีใสกินดีเหมือนน้ำโขงเมื่อแล้ว”  แสดงว่าชาวสุโขทัยสมัยนั้นได้มีความสัมพันธ์กับชุมชนลุ่มแม่น้ำอูและแม่น้ำโขงอย่างใกล้ชนิด

 

                ในสมัยขุนผู้นี้มีมอญชื่อว่า “มะกะโท” ได้เดินทางเข้ามาทำราชการอยู่ในเมืองสุโขทัย โดยเป็นตะพุ่นหญ้าให้ช้าง ต่อมาได้พาพระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงออกไปตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองรามัญ ด้วยการสนับสนุนของพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยโดยพระราชทานพระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว และมีความว่าใน พ.ศ.1825 นั้น มะกะโทสามารถเอาชนะอลิมาง ตีได้เมืองเมาะตะมะ ซึ่งอยู่ในอำนาจของเมืองสุโขทัย ทำให้เชื่อว่าพ่อขุนรามคำแหงนั้นเป็นกษัตริย์ ครองเมืองสุโขทัยมาก่อน พ.ศ.1824 แล้ว คือ ประมาณ พ.ศ.1822 ในศิลาจารึกนั้นยังกล่าวอีกว่า เมืองหงสาวดีนั้นเป็น เมืองขึ้นสุโขทัยมาตั้งแต่ครั้งพ่อขุนรามคำแหงแล้ว

 

                สมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้น ได้ทำการขยายอาณาจักรสุโขทัยอย่างกว้างขวาง ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า

 

·         ทิศเหนือ ได้เมืองแพร่ เมืองน่านตลอดจนเมืองชวา (คือเมืองหลวงพระบาง) ไว้ในพระราชอาณาจักร

·         ทิศตะวันออก ได้เมือง สระหลวง (โอฆบุรี-เมืองพิษณุโลก ฝั่งตะวันตก) เมืองสองแคว          (เมืองพิษณุโลกฝั่งตะวันออก) เมืองลม (เมืองหล่มเก่า) เมืองบาจาย ในลุ่มน้ำป่าสัก) เมืองสระคา

(น่าจะเป็นเมืองบาจาย ในกลุ่มน้ำป่าสัก) เมืองสระคา (น่าจะเป็นเมืองหนองหาน – สกลนคร) รวมไปถึงฝั่งแม่น้ำโขง ถึงเมืองเวียงจันทร์ เมืองเวียงคำ (อยู่ใต้เมืองเวียงจันทร์ ยังไม่รู้ว่าที่ใด)

·         ทิศใต้ ได้เมือง คณที (เข้าใจว่าเมืองพิจิตร) เมืองพระบาง (เมืองนครสวรรค์) เมืองแพรก        (เมืองสุรรคบุรี) เมืองสุพรรณภูมิ (เมืองอู่ทอง) เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองนครศรีธรรมราช จนถึงทะเลหน้านอกเป็นอาณาเขต

·         ทิศตะวันตก ได้เมืองฉอด และเมือง.... (ศิลาจารึกกลบแต่คาดว่าเป็นเมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองตองอู) เมืองหงสาวดีจนถึงเมืองสุมทรห้า คือ อ่าวเบงกอล เป็นอาณาเขต

 

เมืองขึ้นของเมืองสุโขทัยนั้น มีประเทศราชอยู่หลายเมือง ที่รู้แน่ชัดมีอยู่ 7 เมือง คือ เมืองชวา(หลวงพระบาง) เมืองน่าน เมืองอู่ทอง เมืองนครศรีธรรมราช เมืองเมาะตะมะ เมืองหงสาวดี เมืองตองอู เมืองเหล่านี้

 ล้วนมีเจ้าครองเมืองและเกี่ยวดองกับราชวงศ์สุโขทัย นับว่าสมัยของขุนรามคำแหงนั้นเป็นสมัยที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก

 

                พ่อขุนรามคำแหงนั้น ทรงขยายอาณาเขตเข้าไปครอบครองเมืองต่าง ๆ โดยรอบและสร้างความสัมพันธ์กับเมืองขนาดใหญ่ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองเชียงใหม่ เป็นต้น และพระองค์ยังได้รวบรวมกำลังผู้คนและจัดตั้งเมืองบริวารให้อยู่ดูแลรอบอาณาเขต ดังจารึกว่า

 

                ขุนรามคำแหงไปตีหนังวังช้าง และไปที่บ้านที่เมือง ได้ช้าง ได้ลวง ได้ปั่ว ได้นาง ได้เงือน ได้ทอง ก็ทรงนำมาถวายแด่พระบิดา ทำให้มีชนชาติไท-ลาว เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองสุโขทัย เป็นอันมาก

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม การประดิษฐ์ลายสือไท

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์