ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

 

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว)

 

                พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เดิมคือ ขุนบางกลางหาว (ชื่อ “ร่อง” ในสิหิงคนิทานว่า รณรงโค แปลว่า พระร่วง

นักรบ) เจ้าเมืองบางยาง (เมืองนครไทย) ได้ร่วมกับขุนผาเมอง (เจ้าเมืองราด) ทำการยึดอำนาจขอม และครองราชย์

ในปี พงศ.1762

                เรื่องศักราชการยึดอำนาจจากขอมและการขึ้นครองราชย์นั้น สรุปไม่ได้ มีบางแห่ง (ศจ.ดร.ประเสริฐ

ณ นคร) สรุปว่า ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1762-1781 (19 ปี) บางแห่งว่าครองราชย์ราว พงศ.1792 บางแห่งว่า

พระองค์ทรงตั้งอาณาจักรสยามที่เมืองสุโขทัย ทำการขับไล่ขอมเมื่อ พ.ศ.1762 บางแห่งระบุว่า ปีครองราชย์ประมาณ 1800 ทำให้เกิดปัญหาเวลาการครองราชย์ของขุนบานเมืองต่อไป

 

                พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีมเหสีพระนามว่า “นางเสือง” เป็นพระธิดาของพ่อขุนศรีนาวนำถม) ทรงมีพระโอรสธิดารวม 5 องค์ เป็นโอรส 3 องค์ ธิดา 2 องค์ โอรสองค์ใหญ่ ไม่ปรากฏพระนามด้วยสิ้นพระชนม์เสียตั้งแต่ยังเยาว์วัย องค์ที่สองคือ บานเมือง หรือ ปาลราช องค์ทีสาม เดิมไม่มีพระนาม แต่พอไปชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (เมืองตาก) มีความชอบจึงประทานชื่อ (หรือชื่อตามยศศักดิ์) ว่า พระรามคำแหง ในหนังสืออื่น เรียก      รามราช  ส่วนธิดาอีก 2 คน ไม่ปรากฏนาม   

พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

 

                การขึ้นครองเมืองสุโขทัย ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว) นั้น แม้สามารถขับไล่ขอมสบาดโจลญลำพงออกไปจากเขตเมืองใต้ ก็ยังทำให้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ รู้สึกกังวลต่อฐานอำนาจเดิมที่พ่อขุนศรีนำถุมมี อยู่แต่เดิม  (ไม่ค่อยจะมั่นคง) แม้ขุนผาเมืองจะไม่ครองเมืองสุโขทัยแทนพระบิดา หรือเห็นว่านางเสือง เป็นมเหสี

 

ของขุนบางกลางหาวอยู่แล้วก็ตาม พ่อขุนผาเมืองก็ยังระแวงว่ากำลังจากอาณาจักรขอมนั้น จะยกเข้ามาทำสงครามชิงเมืองคืน ขุนผาเมืองจึงกลับไปครองเมืองราด เพื่อให้มเหสีคือ นางสิขรมหาเทวี ซึ่งเป็นพระธิดากษัตริย์ขอมนั้น เป็นผู้เชื่อมไมตรีกับพระบิดา คือ พระเจ้าเจ้าสุริยวรมันที่ 7 ดังนั้นขุนผาเมืองจึงให้ขุนบางกลางหาวนั้นรับเอาพระนาม

 

“ศรีบดินทรอินทราทิตย์” (กมรเตงอัญศรีอินทราบดินทราทิตย์) และพระขรรค์ชัยศรีจากขุนผาเมืองมาใช้เป็นการป้องกันเมือง และสร้างความเป็นไมตรีต่ออาณาจักรขอมไว้ก่อน

 

                พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ขั้นครองราชย์ที่เมืองสุโขทัยได้ไม่นาน ประมาณ พ.ศ.1800-1802 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ก็แสดงท่าทีจะชิงเมืองโดยยกทัพเข้าจะตีเมืองตาก กำลังของขุนสามชน เมืองฉอด ที่ยกทัพมาครั้งนี้ เข้าใจว่าน่าจะมีกำลังของขอมสบาดโขลญลำพงที่พ่ายหนีไปส่วนหนึ่งนั้นสมทบเข้ามาด้วย

 

                ครั้งนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เห็นว่าหากปล่อยให้ขุนสามชนตีได้เมืองตากแล้ว ก็จะเป็นอันตรายกับเมืองสุโขทัย ดังนั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงยกทัพออกจาเมืองสุโขทัยพร้อมกับโอรสคนเล็ก (นามว่า พระรามราช) ซึ่งมีอายุ 19 พรรษา และได้ติดตามบิดาออกสงครามด้วย

 

                การสู้รบนั้น ได้มีการทำยุทธหัตถีกัน ระหว่างขุนศรีอินทราทิตย์กับขุนสามชน และ (พระรามราช) โอรสองค์นี้ได้เข้าชนช้าง ช่วยพระบิดาจนมีชัยชนะขุนสามชน ด้วย ความกล้าหาญของโอรสองค์นี้ จึงได้รับการเฉลิมพระนามว่า รามกำแหง หรือรามคำแหง

                ระยะแรกนั้น เมืองสุโขทัยได้ทำการขยายอาณาเขตด้วยการทำสงครามกับเมืองต่าง ๆ ที่ไม่ยอมเป็นไมตรี

 

เนื่องจากเมืองสุโขทัยนั้นเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่ไม่ใช่เชื้อสายราชวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุม ผู้ครองเมืองเดิม ขณะนั้นบรรดาเมืองต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมที่จะนับถือราชวงศ์ศรีนามนำถุมอยู่ จึงทำให้เมืองนั้นไม่ยอมอ่อนน้อมยอมขึ้นด้วย จนพ่อขุนต้องออกทำการปราบปรามเมืองต่าง ๆ ในที่สุด เมืองเหล่านั้นก็ยอมอ่อนน้อม

 

                ในที่สุดเมืองสุโขทัยก็สามารถขยายเขตของอาณาจักรได้กว้างขวาง ทำให้เมืองสุโขทัยสามารถวางรากบานอาณาจักรมั่นคงและสามารถรวบรวมชนชาติไทยเป็นหนึ่งเดียวกันได้ โดยเฉพาะเชื้อพระวงศ์ของขุนศรีนาวนำถุมนั้นได้อยู่รับราชการกับพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ด้วยคือ พระยาคำแหง พระราม เป็นพระอนุชาและขุนผาเมือง ซึ่งมีพระโอรสคือ ขุนศรีสัทธาภายหลังได้ออกบวชในพุทธศาสนาลังกาวงศ์ และได้เป็นสังฆราชเมืองสุโขทัย

 

                พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ สวรรคตปีใดนั้นไม่มีหลักฐาน บางแห่งว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สวรรค ราว

พ.ศ.1822 ขุนบานเมือง หรือพญาปาลราช โอรสองค์ที่สองได้ครองเมืองสุโขทัยต่อมา

 

พ่อขุนบานเมือง (ขุนปาลราช)ล            

 

                พ่อขุนบานเมือง หรือขุนปาลราช โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว) บางแห่งระบุชื่อว่า ขุนบางกลางเมือง ขึ้นครองราชย์ปีใดไม่ปรากฏ สันนิษฐานว่า  ขุนบานเมือง ครองเมืองสุโขทัยสืบต่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ที่สวรรคประมาณ พงศ.1822 แล้วครองเพียง 1 ปี จึงสวรรคต หากสันนาฐานว่า ขุนบานเมืองครองราชญ์ประมาณ พ.ศ.1781 ต่อจาก พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครองราชย์ คือ พงศ.1762 – 1781 (19 ปี) ก็หมายว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์นั้น สวรรคตประมาณ พงศ.1781 ด้วย และทำให้ช่วงเวลาของรัชกาลนี้ มีระยะเวลานานถึง 41 ปี เป็นเวลานานพอที่จะทำการสร้างวัดหรือโบราณสถาน หรือมีเหตุการณ์สำคัญบ้างแต่รัชกาลนี้ไม่มีเหตุการณ์อะไรมากนั้น จึงเชื่อว่าขุนผู้นี้น่าจะครองเมืองสุโขทัยในระยะเวลาสั้น

 

                ด้วยเหตุนี้ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จึงน่าจะครองเมืองสุโขทัยเป็นเวลานานประมาณ 19 – 22 ปี คือ

พ.ศ.1762 – 1781 ซึ่งน่าจะครองเมืองสุโขทัยวางรากฐานอาณาจักรและขยายอาณาเขตให้กว้างไกล เป็นระยะเวลาที่ยังมีการปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ  บางแห่งอยู่บ้าง ดังนั้น หลังจาก พ.ศ. 1781 จนถึงปี ครองราชย์ของพ่อขุนบานเมือง คือ พ.ศ.1822 เป็นรวม 41 ปีนั้น อาณาจักรของเมืองสุโขทัยไม่ปรากฏว่า เป็นช่วงเวลาว่างกษัตริย์ หรือเป็นช่วงเวลาที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครองราชย์ ตั้งแต่ พ.ศ.1800 – 1822 (22 ปี) มากกว่า เพราะดูจะสมกับระยะเวลาครองราชย์ และขุนบานเมืองนั้นครองราชย์ได้ 1 ปี ใน พงศ.1822

 

พ่อขุนรามคำแหง

                พ่อขุนรามคำแหง โอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นพระอนุชาของขุนบานเมือง ได้ครองเมืองสุโขทัยสืบต่อจากพ่อขุนบานเมือง ขณะที่มีชนมายุได้ 38 พรรษา ประมาณก่อน พ.ศ.1820 บางแห่งว่าครองราชย์ พ.ศ.1822 – 1842

 

                พ่อขุนผู้นี้ทรงนำบุบำรุงอาณาประชาราษฎร และปกครองไพร่ฟ้าประชาชนแบบ่พอปกครองลูก และโปรดให้แขวนกระดิ่งอันหนึ่งไว้ที่ประตูพระราชวัง เมื่อประชาชนเดือนร้อนก็สามารถมาสั่นกระดิ่งร้องทุกข์ต่อพ่อขุนรามคำแหงให้ออกมาตัดสินปัญหาได้

 

                ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงให้สร้าง พระแท่นมนังคศิลาบาตรด้วยขดารหินชนวนที่นำมาจากภูเขา ใกล้เมืองสุโขทัย โดยตั้งไว้กลางดงตาล เพื่อให้พระสงฆ์ นั่งเทศนาสั่งสอนธรรมแก่ไพร่ฟ้าประชาชนในวันพระ ปัจจุบันพระแท่นมนังคศิลาบาตรนี้ อยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดพระสรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ

                พงศ.1825 พ่อขุนรามคำแหงนั้น ได้ขยายอาณาเขตของอาณาจักรไปยังดินแดนใกล้เคียง โดยมีความสัมพันธ์กับเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองกาว เมืองลาว ชุมชนคนไทยบริเวณแม่น้ำอูและแม่น้ำโขง

 

                ในประวัติศาสตร์ กัมพูชาบันทึกว่า กองทัพสยามนั้นเข้ารุกรานกัมพูชา และจดหมายเหตุญวนก็บันทึกว่า

กองทัพสยามไปรุกรานจามปา สรุปแล้ว ในรัชกาลนี้อาณาจักรของชาวสยาม มีอาณาเขตกว้างขวางไปยังดินแดนกัมพูชาและอาณาจักรจามปา ด้วย

 

                แต่พ่อขุนรามคำแหงนั้น จะไม่ขยายอาณาเขตไปทางดินแดนเหนือ เนื่องจากขุนผู้นี้ทรงมีพระสหายสนิทซึ่งเป็นผู้นำของชาวสยามเช่นกัน กล่าวคือ พ่อขุนเม็งราย (พระยายาเม็งราย) ผู้ครองเมืองเชียงราย และพ่อขุนงำเมือง

 

(พระยางำเมือง) ผู้ครองเมืองพะเยา (เมืองภูกามยาว) ขุนผู้นี้เป็นโอรสของขุนมิ่งเมือง เมืองประสูติ พ.ศ.1781 สืบเชื้อสายจากเจ้าขอมผาเรือง เมื่ออายุได้ 14 พรรษา ได้ศึกษาอยู่กับสำนักสุกทันตฤษีที่เมืองละโว้ ร่วมอาจารย์กับพ่อขุนรามคำแหง กลับครองเมืองจนถึง พ.ศ.1801 ซึ่งทั้งสามพ่อขุนนี้ได้มีสัมพันธ์ไมตรีต่อกันเป็นอย่างดี

 

                        อาณาจักรของเมืองสุโขทัยนั้น ยังมีความสัมพันธ์กับเมืองต่าง ๆ ทางตอนใต้ด้วยคือ อาณาจักรสุวรรณภูมิ(เมืองสุพรรณบุรี) อาณาจักรตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) ส่วนด้านตะวันตกนั้นมีความสัมพันธ์กับเมืองฉอดและเมืองหงสาวดี

 

                พ.ศ.1825 พ่อขุนรามคำแหงได้มีสัมพันธ์ไมตรีกับชาติจีน ในจดหมายเหตุจีนบันทึกไว้ว่า  กุบไลข่าน หรือพระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ ได้ส่งคณะทูตเดินทางมาแคว้นสุโขทัย แต่คณะทูตจีนเดินทางมาไม่ถึง เพราะในระหว่างการเดินทางนั้นคณะทูตจีนได้ถูกพวกจามจับกุมประหารชีวิตเสียก่อน

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (ขุนบางกลางหาว)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์