ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  การตั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี

 

 

การตั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี

 

                เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 17 นั้น (พ.ศ.1601 – 1699) บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปิง และแม่น้ำสาขา ที่อยู่ตอนบน (ภาคเหนือ) ของสุวรรณภูมินั้น ได้มีการสร้างเมืองสุโขทัย เมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย)

 

ขึ้นเป็นเมืองขนาดใหญ่ เมืองเหล่านี้มีการปกครองและจัดระบบของสังคม (จัดเมือง) ขึ้นเพื่อแสดงความเป็นศูนย์กลางของอำนาจ โดยเฉพาะการเป็นเมืองที่มีกษัตริย์ปกครอง กล่าวคือ เมืองเชลียงและเมืองสุโขทัยนั้น มีพ่อขุนหรือกษัตริย์ที่มีความรู้ ความสามารถในด้านเศรษฐกิจ (การค้าสร้างรายได้) และการปกครอง (ดูแลราษฎร) ตลอดจนรู้จักการผสมผสานสร้างสรรค์รูปแบบศิลปวัฒนธรรมที่มาจากภายนอก ให้มีลักษณะทางวัฒนธรรมของตนเอง และสร้างความเชื่อถือและศรัทธายกย่องว่า เป็นผู้สร้างบ้าน แบ่งเมือง ให้มีความมั่นคงและงดงาม จนยอมอ่อนน้อมยอมตนอยู่ในการปกครองและพร้อมใจทำตามผู้นำ

 

                ศิลปวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลจากภายนอกนั้น คือ การรับเอาวัฒนธรรมจากอินเดีย พุกาม ลังกา ขอม ที่เข้ามาสร้างสัมพันธไมตรี ประกาศศาสนาความเชื่อของตน และศิลปวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นภายในจากอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้แก่ อาณาจักรทวาวราวดี  (เมืองนครชัยศรี นครปฐม (เมืองลพบุรี – เมืองอโยธายา) อาณาจักรสุวรรณภูมิ (เมืองสุพรรณบุรี) อาณาจักรตามพลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) และอาณาจักรล้านนา (เมืองเชียงใหม่ ) เป็นต้น

 

                ด้วยเหตุนี้ กษัตริย์ผู้ครองเมืองสุโขทัย เมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย) จึงได้สร้างศูนย์กลางเพื่อแสดงอำนาจ ทางการเมืองและสร้างรูปแบบวัฒนธรรมของตนขึ้นจากคติ ความเชื่อจากขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อศาสนานั้น ทำให้เกิดวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันและอยู่ร่วมกันได้ในที่สุด

 

                ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์กษัตริย์ของขุนศรีนาวนำถุม ที่มีต่อ ขุนผาเมืองพระโอรส ซึ่งเป็นเจ้าเมืองราด และขุนบางกลางหาว บุตรเขย ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบางยาง จึงมีความเกี่ยวพันกันเป็นเครือญาติและสร้างระบบการเมืองที่เรียกว่า ระบบเมืองคู่ หรือ นครสองอันขึ้นกล่าวคือ การครองเมืองศรีสัชนาลัยคู่กับเมืองสุโขทัย

 

                ขุนศรีนาวนำถุม กษัตริย์ผู้ครองเมืองเชลียงนั้น มีอาณาเขตสัมพันธ์กับเมืองตาก เมืองลำพูน เมืองพะเยา

ถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง มีพระโอรส คือ ขุนผาเวียง ครองเมืองราด ซึ่งเป็นเมืองที่มีทำเลคุมเส้นทางติดต่อแม่น้ำน่าน แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำโขง ภายหลังขุนศรีนาวนำถุม ได้ขยายอำนาจไปครองเมืองสุโขทัยด้วย และเมื่อสวรคต ขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งอยู่ที่เมืองสุโขทัยเข้ายดเมืองสุโขทัย

 

                ดังนั้น ประมาณ ค.ศ.1783 จึงมีเหตุการณ์เรื่องขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ผู้เป็นพระโอรสของขุนศรีนาวนำถุม กษัตริย์ครองเมืองเชลียง เข้าร่วมกับขุนบางกลางหาว (ซึ่งให้เรียนในชื่อ ขุนบางกลางหาว มานาน) เจ้าเมืองบางยาง ทำการรวบรวมกำลังชนชาติไทย เข้าขับไล่ขอมชื่อ สบาดโขลญลำพง ขุนนางขอมออกจากกรุงสุโขทัยได้สำเร็จ แล้วจึงสถาปนา กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของอาณาจักรของชาวสยามขึ้น

 

                เนื่องจากขุนผาเมืองนั้นมีฐานะเป็นราชบุตรเขตของกษัตริย์ ขอม คือได้รับพระราชทานนางสิขรมหาเทวี

เป็นมเหสีเมื่อราว พ.ศ.1762 ดังนั้น พ่อขุนผาเมืองจึงได้นำนาม “ขุนศรีอินทรบดินทราทิตย์”  และพระขรรค์ชัยศรี มอบให้พ่อขุนบางกลางหาวและสถาปนาเป็นกษัตริย์ในนาม “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” เพื่อให้กษัตริย์ขอมได้เข้าใจว่า ขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ขึ้นครองเมืองนี้ เพื่อลดความเป็นศัตรูจากอาณาจักรขอมอีกด้านหนึ่ง ภายหลังนั้นขุนผาเมืองได้กลับไปครองเมืองราดตามเดิม สุดท้ายนั้นขุนผาเมืองได้ทิ้งเมืองราด ออกเดินทางหายไป เข้าใจว่าขุนผู้นี้น่าจะออกบวช หรือหนีนางสิขรมหาเทวี มเหสีผู้เป็นพระธิดากษัตริย์ขอม โดยนางนั้นได้เผาเมืองออกติดตามมหาขุนผาเมืองและสูญหายไปเช่นกัน

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม การตั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์