ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ขุนศรีนาวนำถุม พ่อขุนในเมืองเชลี

 

ขุนศรีนาวนำถุม พ่อขุนในเมืองเชลียง(2)

 

ประการสำคัญน่าจะเป็นด้วยเหตุที่ ขุนบางกลาวหาว เจ้าเมืองบางยางนั้น เป็นผู้นำที่มีท่าทีเข้มแข็งและไม่ยอมเป็นไมตรีกับอาณาจักรขอมได้ง่ายเหมือนอย่างขุนผาเมือง (ที่ยอมเป็นบุตรเขยของกษัตริย์ขอม) หรืออาจจะผู้นำชนชาติไทยที่คอยทำการต่อต้านอำนาจของขอมมาตลอด จึงทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ไม่ค่อยจะไว้วางใจเมืองแถบนี้นัก ถึงแม้จะยกพระธิดาเป็นพระมเหสีของขุนผาเมืองแล้วก็ตาม จึงต้องส่ง ขอมสบาดโขลญลำพง มาทำทีดูแลเทวสถานอยู่ที่เมืองสุโขทัย โดยทำเผยแพร่ศาสนาพราหมณ์ พร้อมกับไพร่พลที่ดูแลศาสนา (คือข้าที่ผู้กัลปนาไว้แก่ศาสนา)

 

                เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ส่ง ขอมสบาด โขลญลำพง (ขอมสบาด เป็นคำเดียวกับ ขอมสมาด หมายถึง

ขอมที่อยู่ในป่าในดง มีตำแหน่งเป็น โขลญลำพง ผู้ดูแลเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นพราหมณ์)

เข้ามาอยู่ดูแลเทวสถานสถานสำหรับเผยแพร่ศาสนา ความเชื่อและวัฒนธรรมที่เมืองสุโขทัย ขณะนั้นเมืองสุโขทัย รวมเป็นนครสองอันกับเมืองเชลียง ครั้นเมื่อเห็นว่าเมืองสุโขทัยนั้นขาดการดูแลที่เข้มแข็ง คือปล่อยให้ราษฎรอยู่กันตามสบายเป็นปกติ ไม่มีศูนย์อำนาจเข้าไปดูแลอย่างเมืองเชลียง (หรือเมือศรีสัชนาลัย )

 

                ดังนั้น เมื่อขุนศรีนาวนำถุม สิ้นพระชนม์ลง ขอมสบาดโขลญลำพง จึงถือโอกาสเข้ายึดเอาเมืองสุโขทัยไว้ก่อนขุนผาเมือง จะเข้าไปมีอำนาจสืบต่อจากพระบิดา แต่บางคราวว่า ขอมสบาดโขลญลำพง ผู้นี้น่าจะเป็นกบฏเข้าทำการยึดเมืองสุโขทัย เสียเองหลังจากที่ขุนศรีนาวนำถุมสิ้นพระชนม์แล้ว

 

                หาเป็นเช่นนี้ ขอมสบาดโขลญลำพง จึงถือว่าเป็นคนของอาณาจักรขอมที่ส่งมาทำหน้าที่เป็นคนดูแลเทวสถานแล้ว จึงน่าจะมีภารกิจหน้าที่สำคัญ คือ ถูกใช้ให้คอยฟังข่าวความเคลื่อนไหวหรือคอยดูแลพระธิดา ที่มาเป็นพระมเหสีขุนผาเมือง อยู่ทางนี้หรือทำหน้าที่ตัวแทนการค้าของกษัตริย์ขอมในการเชื่อมสัมพันธไมตรี หรือดูแลประโยชน์ของพ่อค้าชาวขอมในเมืองสุโขทัย ดังนั้น ขอมสบาดโขลญลำพง จึงสามารถระดมคนเป็นกำลังได้ในทันที จนสามารถเข้ายึดเอาเมืองนี้ไว้ได้

 

                เมื่อนครสองอัน (หมายถึง เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยคู่กัน) ของขุนศรีนาวนำถม นั้น ได้ถูกขอมสบาดโขลย์ลำพง คนของอาณาจักรขอมยึดเมืองสุโขทัยเสียเช่นนี้แล้ว เท่ากับ แย่งสิทธิการครองเมืองสุโขทัยที่จะต้องตกแก่ขุนผาเมือง โดยชอบธรรมขึ้น เรื่องนี้ขุนผาเมืองยังคาดการณ์ให้เข้าใจต่อไปข้างหน้าว่า ในไม่ช้านัก ขอมสบาดโขลญลำพง ผู้นี้ก็คงยกทับเข้าตีเอาบ้านเมือง (เมืองศรีสัชนาลัย) ของคนไทยที่ตั้งในบริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน แม่น้ำยม

 

นั้นมาไว้ในอาจเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นต้นเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ขุนผาเมือง ผู้มีพระธิดาของกษัตริย์ขอมเป็นมเหสี น่าจะอึดอัดในการทำการใด ๆ จึงตัดสินใจที่จะคบคิดกับขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ผู้นำชนชาติไทยที่เข้มแข็งเข้าทำการกู้เมืองสุโขทัยคืน หรือร่วมกันป้องกันเมืองราดของตนเองในฐานะเป็นชุมชนของชนชาวไทยด้วยกัน

 

โดยอาศัยความเป็นพระญาติกันดังกล่าว

 

                ดังนั้น แผนการที่จะเข้าปราบปรามกบฏ ขอมสบาดโขลญลำพง ในเมืองสุโขทัยเพื่อชิงอำนาจกลับคืนมาจึงเกิดขึ้น และขุนทั้งสองได้เข้าทำการร่วมกันชิงอำนาจ โดยรวบรวมกำลังไพร่พลคนไทยที่มีอยู่เป็นกำลังสู้รบขึ้น

 

                แต่ด้วยเหตุที่ขุนผาเมือง มีมเหสีเป็นพระธิดาของกษัตริย์ ขอมดังกล่าว แม้จะทำการชิงอำนาจได้ ก็น่าจะเกรงข้อครหาว่าขุนผาเมืองนั้นชิงอำนาจนั้นกลับไปให้กษัตริย์ขอมหรือพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มากกว่า จึงทำให้คนไทยไม่ยอมที่จะร่วมมือด้วยหรือยอมรับให้เป็นผู้นำของตน ดังนั้นขุนผาเมืองไม่ยอมที่จะเป็นผู้นำการชิงอำนาจเสียเอง กลับยอมให้ขุนบางกลางหาว เป็นหัวหน้าชนชาติไทย

 

                อีกประการหนึ่ง ขุนบางกลางหาวนั้น น่าจะมีกำลังเข้มแข็งและมีท่าทีที่ทำการต่อต้าน อำนาจของอาณาจักรขอมมาก่อนแล้ว ซึ่งย่อมมีกำลังของคนไทยมาพร้อมใจกันสู้รบเพื่อก่อตั้งรัฐอิสระขึ้นเช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆ

 

จึงทำให้ขุนบางกลางหาว ต้องรับเป็นผู้นำการชิงอำนาจในครั้งนี้

 

                ดังนั้น ใน พงศ.1781 (จุลศักราช 600 หรือ มหาศักราช 1160) ขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง กับขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด จึงพร้อมด้วยผู้กล้าหาญของชนชาติไทย จึงได้ร่วมกันวางแผนและทำการชิงอำนาจจากขอม

 

                การชิงอำนาจในครั้งนั้น เริ่มต้นจากขุนบางกลางหาว ได้ยกทัพจากเมืองบางยางมาตั้งกองทัพมาตั้งที่เมืองบางขลัง (เมืองบางขลัง ตั้งอยู่ไม่ห่างจากเมืองศรีสัชนาลัย บางว่า ทั้งสองรวมกำลังที่เมืองบางขลัง เข้าชิงเมืองสุโขทัย) พร้อมกับให้ทำการอพยพครอบครัว ชาวเมืองบางขลังนั้นไปอยู่เสียที่เมืองราดและเมืองสากอได (ยังหาเมืองนี้ไม่พบ)

 

                การอพยพผู้คนจากเมืองบางขลังนั้น น่าจะเป็นการเกณฑ์ผู้คนไว้เป็นกำลังให้มากขึ้น จากนั้นขุนผาเมืองได้ยกทัพไปรวมพลกับขุนบางกลางหาว ซึ่งตั้งทัพอยู่ที่เมืองเชลียง เหมือนทำทีว่ารวมกำลังไว้ด้วยกัน แล้วขุนผาเมืองก็ให้ถอยทัพกลับไปตั้งรออยู่ที่เมืองราด เพื่อรอโอกาสเข้าตีเมืองสุโขทัย

 

                ขอมสบาดโขลญลำพงนั้น เมื่อรู้ข่าวความเคลื่อนไหวที่ขุนบางกลางหาวและขุนผาเมือง ได้ยกทัพมาตั้งรวมกันอยู่ที่เมืองเชลียง เพื่อชิงอำนาจจากตนเช่นนั้น จึงให้จัดทัพออกจากเมืองสุโขทัยไปเมืองเชลียงทันที ครั้นเมื่อรู้ว่าขุนผาเมืองนั้นยกทัพกลับไปเมืองราดแล้ว ก็เข้าใจว่าขุนผาเมืองไปเมืองเชลียงทันที ครั้นเมื่อรู้ว่าขุนผาเมืองนั้นยกทัพกลับไปเมืองราดแล้ว ก็เข้าใจว่าขุนผาเมืองนั้นคงจะถอนตัวเสียแล้ว (เข้าใจว่ายังเกรงอำนาจอยู่ เพราะเป็นราชบุตรเขย ของกษัตริย์ขอม) จึงเห็นว่าได้ทีคิดจะทุ่มกำลังเข้าทำลายทัพขุนบางกลางหาว ที่เมืองเชลียง ให้ย่อยยับและมองเห็นหนทางเอาชัยชนะข้าศึกได้ง่าย จึงให้เกณฑ์กำลังออกจากเมืองสุโขทัย ไปให้มาก โดยจัดกำลังอยู่ป้องกันเมืองสุโขทัยไว้จำนวนน้อย

 

                การที่ขุนผาเมือง ตั้งทัพไปคอยทีอยู่ที่เมืองราดนั้น ก็เพื่อจะลวงให้ขอมสบาดโขลญลำพง นั้นนำกำลังออกจากเมืองสุโขทัยไปให้มาก เมื่อรู้ข่าวขอมสบาดโขลญลำพงนั้นยกทัพออกจากเมืองสุโขทัย ไปจนเหลือกำลังอยู่ไม่มากนัก ก็เร่งยกทัพจากเมืองราดตรงเข้ายึดเมืองสุโขทัยทันที กำลังทั้งสองฝ่ายได้ทำการสู้รบกันเล็กน้อย ในที่สุดขุนผาเมืองก็สามารถเข้ายึดเอาเมืองสุโขทัยไว้ได้โดยง่าย แล้วขุนผาเมืองก็ให้กำลังออกตามหลังไปตีขนาบทัพขอมสบาดโขลญลำพงที่ยกไปเมืองเชลียงทันที

 

                ขอมสบาดโขลญลำพง นั้น เมื่อรู้ข่าวว่าขุนผาเมืองนำกำลังเข้าตีเอาเมืองสุโขทัยได้ และยึดเป็นที่มั่นคงเสียแล้ว ครั้นจะถอยทัพกลับไปตีเอาเมืองสุโขทัยคืนก็ไม่สามารถแก้ไขได้ทัน ด้วยขุนบางกลางหาวนั้นนำทัพออกมาจากเมืองเชลียงเข้าตีทางด้านหน้า และยังมีกองทัพของ ขุนผาเมืองนำทัพเข้าตีต้อนอยู่ด้านหลังอีก จึงทำให้ทัพของขอมสบาดโขลญลำพง ตกอยู่ในวงล้อมของกำลังชนชาติไทย

 

                ในที่สุด กองทัพขอมจึงพ่ายแพ้หนีออกไป ขอมสบาดโขลญลำพงนั้น ไม่มีหลักฐานว่าสิ้นชีวิตหรือหลบหนีไปแห่งใด แต่เชื่อว่า ขอมสบาดโขลญลำพง และกำลังส่วนหนึ่ง นั้นน่าจะหลบหนีออกไปทางช่องเขาขาดตรงไปยังเมืองเถิน ภายหลังเมื่อรวบรวมกำลังได้แล้ว จึงยกทัพไปสู้กับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด (คือเมืองแม่สอด)

และคงมีชัยชนะขุนสามชน ภายหลังเมื่อได้โอกาสก็ให้ขุนสามชนยกกำลังมาตีเอาเมืองตาก และเมืองสุโขทัยต่อไป

 

                เมื่อขุนนางกลางหาว และขุนผาเมือง ได้ร่วมกันทำการขับไล่กองทัพขอมสบาดโขลญลำพงแล้ว ก็เข้าไปจัดการเมืองสุโขทัยที่ได้กลับคืนมาจากอำนาจขอม ขุนผาเมืองผู้นำกำลังเข้าตีเอาเมืองสุโขทัยได้นั้น แม้ว่าจะมีสิทธิ์ในการจัดการบ้านเมืองในฐานะรัชทายาทของขุนศรีนาวนำถุม ผู้ครองนครสองอัน คือเมืองสุโขทัยศรีสัชนาลัยเดิม แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองและสถานภาพการเป็นผู้นำที่กำลังคนไทยไม่ยอมรับ

 

                ทำให้ขุนผาเมืองนั้น ได้ทำการสถาปนาให้ขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์โดยให้ใช้นาม “ศรีอินทราทิตย์”

 

(ศรีอินทราบดินทรทิตย์) แทนพร้อมกับมอบพระขรรค์ชัยศรีเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า ขุนผาเมืองนั้นประสงค์จะให้อำนาจแก่ขุนบางกลางหาว ในฐานะผู้นำของคนไทย การมอบพระนามและพระขรรค์ชัยศรีนั้น ก็เพื่อให้พระเข้าวรมันที่ 7 เข้าใจว่าขุนผาเมืองราชบุตรเขยของพระองค์ มีอำนาจครองบ้านเมืองแถบนี้แล้ว เพื่อป้องกันอาณาจักรขอมจะได้ไม่ส่งกองทัพเข้าปราบปรามและยังแสดงให้เห็นว่า เมืองสุโขทัยนั้นยังมีใจเป็นไมตรีกับอาณาจักรขอมอยู่

 

                หลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏเรื่องราวของขุนผาเมือง ต่อมา มีความกล่าวว่า ขุนผู้นี้ได้ปลีกตัวออกบวชจาริกธรรมหายไปทางตอนเหนือ ส่วนนางสิขรมหาเทวีได้เผาบ้านเรือนออกติดตามและหายไปเช่นเดียวกัน เหตุการณ์เช่นนี้ทำให้เข้าใจได้ว่า ขุนผาเมืองนั้นหลังจากที่ร่วมชิงอำนาจจากขอมได้แล้ว แม้จะกลับมาครองเมืองราดตามเดิมโดยไม่หวังทีจะมีอำนาจในเมืองเชลียงหรือเมืองศรีสัชนาลัย ที่ยังมีพระญาติในราชวงศ์ของตนอยู่นั้น ก็น่าจะมุ่งหวังในการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรขอมโดยอาศัยมเหสี คือ นางสิขรมหาเทวี คอยรั้งอำนาจจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 7 เพราะถ้าหากอาณาจักรขอมยกำลังมาชิงอำนาจคืนก็จะทำได้โดยง่าย อีกทั้งการรวมชุมชนคนไทยให้เป็นปึกแผ่นเป็นอิสระนั้นก็จะต้องรอคอยโอกาสอีกต่อไป เป็นการสนับสนุนให้ขุนบางกลางหาว มีโอกาสทำการขยายอาณาเขตไปยังเมืองต่าง ๆ โดยเร็วในไม่ช้าความคงแตก และมีความขัดแย้งกับนางสิขรมหาเทวีอย่างรุนแรงจนขุนผาเมืองตัดสินใจออกบวชและหนีหายไป

 

                ดังนั้น ชนชาติไทยโดยการนำของขุนบางกลางหาว จึงได้ทำการขยายอาณาจักรของเมืองสุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวาง ไปยังบริเวณลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และสามารถแผ่อำนาจเข้าไปยังเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ตามแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย

 

                ผู้ครองเมืองสุโขทัย นั้นมีฐานะเป็นกษัตริย์ ในราชวงศ์พระร่วง คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งมีพระนามยกย่องว่าเป็น “พระร่วง” ที่หมายถึง ผู้นำความรุ่งเรืองหรือรุ่งโรจน์ ดังนั้น ผู้ที่ดำรงเป็นกษัตริย์ ปกครองบ้านเมืองในสมัยสุโขทัยสมัยแรก จึงเรียกชั้นยศเป็น “พ่อขุน” หรือ “ขุน” หรือ “พญา” (พระยา) ส่วนเจ้านายชั้นสูงนั้นมีตำแหน่งเรียกเพียง “พระ” เท่านั้น

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม ขุนศรีนาวนำถุม พ่อขุนในเมืองเชลียง(2)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์