ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  การสร้างปราสาทหินในวัฒนธรรมขอม

 

                                                                                                                การสร้างปราสาทหินในวัฒนธรรมขอม

 

                การสร้างเทวบรรพต (สร้างปราสาทบนภูเขา) และเทวสถาน (สร้างปราสาทบนที่ราบ) นั้นถือเป็นราชประเพณีสำคัญที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1333-1389) ทรงโปรดมีพระบรมราชโองการให้มีการพระราชพิธีเทวราชาหรือราชาภิเษกของกษัตริย์ ให้มีการพระราชพิธีเทวราชา หรือราชาภิเษกของกษัตริย์ในการเป็น กมรเตง

ชคต ราช (เทวะผู้เป็นราชา) และสถาปนาเทพคุ้มครองราชย์บัลลังก์และราชอาณาจักรขึ้นพร้อมกับประดิษฐานรูปเคารพในเทวบรรพตหรือเทวสถาน

 

                ด้วยเหตุนี้ การสร้างเทวบรรพตและเทวสถาน จึงมีการวางผังปราสาทกำหนดรูปแบบสถาปัตยกรรม เพื่อแสดงอำนาจและพระบุญญาบารมีของเทวราชา ที่กษัตริย์สถาปนาขึ้นดังนั้น การสร้างรูปเคารพ (พระศิวะ –         ศิวลึงค์) เพื่อประดิษฐานให้พราหมณ์ ประกอบพระราชพิธีตามคติ ศาสนาพราหมณ์ไศวนิกาย หรือไวษณพนิกาย จึงนิยมถือปฏิบัติกันในกษัตริย์ของอาณาจักรขอม

 

                การสร้างปราสาทขอมในระยะแรกนั้น ก่อเป็นปราสาทหลังหนึ่ง ตั้งอยู่โดดเด่นองค์เดียว ต่อมาในภายหลังนั้นนิยมสร้างเป็นปราสาท 3 หลัง และปราสาท 5 หลัง โดยตั้งอยู่บนฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ซึ่งฐานนี้ยกพื้นให้สูงขึ้นมีบันไดขึ้นด้านหน้า โดยมีกลุ่มปราสาท 3-5 หลังนี้เป็นหลักตั้งอยู่ตรงกลาง โดยมีปราสาท (องค์ปรางค์) ประธานอยู่ตรงกลางและยกชั้นให้สูงกว่าปราสาทบริวารองค์อื่น ๆ

 

                บริเวณเทวสถานี้มีการสร้างกำแพงอิฐหรือหิน หรืออาคาร (ระเบียงคด) ล้อมรอบทั้งสี่ด้าน โดยมีปราสาท (องค์ปรางค์) ที่เป็นประธานนั้นอยู่ตรงกลาง ด้านหน้าจะมีปราสาทบริวารและอาคารเฉพาะสำหรับเป็น บรรณาลัย (หอเก็บตำรา – ห้องสมุด) หรือ ปราสาทประดิษฐาน รูปเคารพอื่น ด้านนอกอาจจะมีสระน้ำ (บาราย)โดยมีทางเข้าด้านหน้า (มักใช้ทิศตะวันออก) สู่องค์ปราสาทชั้นในนั้น สร้างเป็นกรอบซุ้มประตูเข้าออกเรียกว่า โคปุระ

 

                ตัวปราสาทนั้น เรียกว่า เรือนธาตุ สร้างเป็นห้องสี่เหลี่ยมแคบ ๆ (ห้องครรภคฤหะ) โดยวางก้อนหินเป็นผนังล้อมรอบ  เว้นช่องประตูทางเข้าไว้ด้านหน้าด้านเดียว และอีกสามด้านนั้น ทำเป็นประตูหลอกที่ปิดไม่มีช่องเข้าแต่มีกรอบเป็นประตู หรือจะเว้นช่องเข้าช่องเข้าทั้งสี่ด้านก็ได้ ปราสาท (องค์ปรางค์) ประธานนี้เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างโดยผสมผสานเทคนิคการสร้างที่ใช้การก่ออิฐ วางก้อนหินศิลาทราย และหินศิลาแลง(แบบเทวสถานที่เมืองมาวลีปุรัมในอินเดียใต้) ตามรูปแบบที่กำหนด โดยนำการสร้างอาคารของชาวพื้นเมืองคือใช้ท่อนไม้เข้ามาเสริมในส่วนที่เป็นคานเหนือทับหลังด้านในเป็นคานเพดานองค์ปรางค์ หรือคานระเบียงคด

เป็นต้น

 

                ส่วนที่สำคัญของปราสาท คือ ส่วนยอดที่ต้องมีเทคนิคในการวางศิลาให้เป็นชั้นและซ้อนขึ้น โดยลดหลั่นไปจนประสานเป็นโดมหลังคา ตามชั้นลดและมุมปราสาทวางกลีบขนุนที่สลักรูปภาพ ส่วนบนของโคมนั้นประดับด้วยหินที่สลักเป็นดอกบัวตูมหรือกลศ (หม้อ) วางเทินกันเป็นยอด และห้าบันทางเข้าปราสาทแต่ละชั้นมักเป็นภาพจำลองเรื่องราวของรูปเคารพ ที่ประดิษฐานในปราสาทองค์นี้ เช่น พระวิษณุ พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ พระนารายร์อวตาร พระศิวะนาฏราช และเรื่องราวจากรามายณะ เป็นต้น ภายในองค์ปราสาทนั้นมักประดิษฐานด้วยรูปเคารพตามศาสนาคือ ไศวนิกาย สร้างพระศิวะ ศิวลึงค์ ไวษณพนิกาย สร้างพระวิษณุ

พระนารายณ์ พุทธศาสนา สร้างพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธรูป เป็นต้น

 

                สำหรับรูปเคารพในศาสนาพราหมณ์นั้น มีการสร้างรูปของพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์-ฮินดู ที่สำคัญ คือ พระศิวะหรือพระอิศวร (โดยสร้างศิวะลึงค์ เป็นสัญลักษณ์) พระวิษณุหรือพระนารายณ์

พระกฤษณะ พระอุมา (สร้างฐานโยนีเป็นสัญลักษณ์) พระลักษมี อรรธนารีศวร พระพรหม (บางทีสร้างเป็นลูกฟัก) นางพรหมมี

 

                ส่วนพระผู้เป็นเจ้าองค์อื่น ๆ มี พระพิฆเนศวรหรือพระคเณศ เทพยดาประจำทิศ พระอินทร์ พระยม ท้าวกุเวร พระวรุณ พระพาย พระอัคณี พระอีสาน พระนฤฤติ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระเกตุ พระราหู และยังมีฤาษีนักบวชในศาสนพราหมณ์-ฮินดู นางอัปสร และบริวารของเทวดาทั้งหลาย

 

                โครงสร้างปราสาทหิน มักใช้ศิลาทราย สร้างเป็นกรอบประตู เสาประดับกรอบประตู และทับหลัง การก่ออิฐหรือหินศาลาทรายนั้น หากซ้อนกันเป็นเนื้อเดียวจะใช้น้ำยา (ทำจากธรรมชาติ) เชื่อมให้เป็นก้อนเดียวกัน สำหรับแกะสลักรูปหรือลาย ส่วนเป็นโครงสร้างที่ต้องเสริมความมั่นคงจะใช้แท่งเหล็ก ตัว I หรือ Z วางบนร่องบาก เป็นแกนยึดก้อนหิน โดยมีตะกั่วหลอมทับ นอกนั้นเป็นการวางตามน้ำหนักของหินแต่ละก้อนที่ต้องตัดแต่งให้เข้าแบบของสถาปัตยกรรมที่เป็นอาคารปราสาทที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการใช้ศิลาแลงที่มีแร่เหล็ก ควอตร์ ไก้ และเม็ดหินแข็งผสมอยู่ ต้องรู้จักนำออกจากหลุ่มใต้ดินเพื่อตัดฟันให้ได้ส่วนประกอบก็ต้องทำด้วยความชำนาญ

 

                ส่วนประกอบปราสาทหิน จึงมีชิ้นงานที่สำคัญ ฐานราก ทับหลังประดับหน้าบันเสา กรอบประตูเสาประกบฝาผนัง เสาช่องหน้าต่าง ชั้นเชิงบาตร กลับขนุน ส่วนยอดปราสาท ตลอดจนรูปเคารพนั้นจึงเป็นงานประติมากรรมที่ต้องมีฝีมือและใช้วิธีการประกอบที่ต้องศึกษาวิธีการว่านำขึ้นไปประกอบโดยวิธีใด

 

                โดยเฉพาะงานประติมากรรม ซึ่งมีทั้งภาพสลักนูนต่ำ ส่วนประกอบองค์ปรางค์ และภาพที่สลักเพื่อแสดงสัญลักษณ์ของจักรวาลที่มีเขาพระสุเมรุ สถานที่ประทับของพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ ดังนั้นจะมีการสลัดลวดลายประกอบและบุคคลที่เกี่ยวข้องในศาสนา และภาพเรื่องราวที่แสดงกฤษดาภินิหารของรูปเคารพ พระผู้เป็นเจ้าองค์นั้น นอกจากนี้ยังมีการจำหลักรูปเคารพลอยตัวและหล่อเป็นองค์รูปเคารพหรือสัญลักษณ์แทนพระผู้เป็นเจ้าองค์นั้น ซึ่งถือว่าเป็นงานประติมากรรมชั้นยอดของวัฒนธรรมขอม

 

                ปราสาทส่วนใหญ่นั้นนิยมหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ส่วนที่หันหน้าไปทศอื่นนั้น ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ เช่น ปราสาทนครวัด หันหนาไปทางทิศตะวันตก ปราสาทเขาพระวิหาร หันหน้าไปทางทิศเหนือและปราสาทหินพิมาย หันหนาไปทางทิศใต้

 

                การสร้างปราสาทหิน จึงเป็นภูมิปัญญาและการสถาปัตยกรรมโบราณที่เจริญสูงสุด เป็นเครื่องแสดงพระบุญญาบารมีแห่งกษัตริย์ พลังของศรัทธา และการนับถือศาสนาพราหมณ์ สำหรับสร้างอำนาจให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองของอาณาประชาราษฎร์ และขยายอิทธิพลไปสู่บริเวณอื่นไดกว้างไกล

 

                ดังนั้น ปราสาทหินที่ขอมสร้างขึ้น จึงมีรูปแบบและขนาดไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการสร้าง โดยศึกษาได้จากภาพ ประติมากรรม ประกอบการสร้างปราสาท ซึ่งมีการสลักภาพประติมากรรมเล่าเรื่องไว้ที่ปราสาทหินมากมาย เช่น

 

                ภาพเกี่ยวกับพระศิวะ มีศิวะนาฏราช (พระศิวะฟ้อนรำ) ภาพศิวะกับพระอุมาประทับเหนือโคนนทิ

 

                ภาพเกี่ยวกับพระนารายณ์  มีนารายณ์บรรทมสินธุ์ นารายณ์กวนเกษียรสมุทร นารายณ์อวตาร-กูรมาตาร (เป็นเต่า) นารายณ์ย่างสามขุม

 

                ภาพเกี่ยวกับกฤษณะ มีกฤษธณโควรรธนะ กฤษณะปราบนาคกาลิยะ กฤษณะอวตาร-วามนาตาร(เป็นพราหมณ์เตี้ย)

 

                ภาพเกี่ยวกับรามาวตาร (รามายณะ) มี ทศกัณฐ์ลักนางสีดา พระลักษณ์ถูกศรนาคบาศศึกกุมภกรรณ

               

                นอกจากนี้ มีประติมากรรมภาพสลักเป็นรูปเคารพในพุทธศาสนานั้นมีภาพ พระโพธิสัตว์ อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรย นางปรัชญาปารมิตา นางดารา พระวัชรสัตว์ พระวัชรธร เหวัชร เป็นต้น ส่วนประติมากรรมที่เป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ส่วนมาก เป็นเครื่องสำริด เช่น เครื่องประกอบราชรถ สังข์ พาน เชิงเทียน หม้อน้ำ (กลศ) ด้ามกระดิ่ง ยอดตรีศูล ขัน ฐานคันฉ่อง เครื่องประดับทำจากทองคำ และสำริด     เป็นต้น และยังมีเครื่องปั้น ภาชนะดินเผา ที่เป็นกระบุกหรือไหขอม ตลอดจนภาชนะที่มีภาพคน ภาพสัตว์ เช่น ช้าง ปลา กระต่าย นกฮก ม้า เป็นต้น ซึ่งเป็นหลักฐานที่ให้ศึกษาถึงสังคมและวัฒนธรรมขอม ได้เป็นอย่างดี

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม การสร้างปราสาทหินในวัฒนธรรมขอม

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์