ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  สังคมและวัฒนธรรมของอาณาจักรขอม

สังคมและวัฒนธรรมของอาณาจักรขอม

 

                ดินแดนภาคตะวันออก (อีสาน) นั้น แม้จะมีการสร้างบ้านแบ่งเมืองกันมาหลายยุค หลายสมัย แต่พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมนั้นถือว่า อาณาจักรขอมมีบทบาทต่อสังคมและวัฒนธรรมเมืองต่าง ๆ ของภาคตะวันออกมาก่อน ในสมัยหนึ่งนั้นชนชาติขอม ได้มีอำนาจดูแลอาณาจักรกว้างไกลมาถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทางภาคกลางตอนล่าง

 

                พื้นที่ของอาณาจักรขอมนั้น เมื่อราว 6,000 ปีมาแล้ว ได้มีมนุษย์อาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคหินเก่าไปจนถึง ยุคสำริดเมื่อราว 3,000 ปีมาแล้ว เช่นเดียวกับแหล่งโบราณคดีอื่น ๆ สำหรับแหล่งโบรณคดีก่อนประวัติศาสตร์ของกัมพูชานั้นพบที่ แหล่งโบราณคดีถ้ำละอางสเบียนในพระตะบอง แหล่งโบราณคดีที่สำโรงเสนลองพราว (อันโลงผเดา) อยู่ตอนใต้ของทะเลสาบในกำปงชนัง

 

                สำหรับในสมัยประวัติศาสตร์ของอาณาจักรขอมนั้น มี 2 ช่วงคือ อาณาจักรขอมยุคก่อนเมืองพระนครและอาณาจักรขอมยุคเมืองพระนคร

 

อาณาจักรขอมก่อนสร้างเมืองพระนครหรืออาณาจักรฟูนัน

 

                สมัยนี้ ได้เกิดชุมชนยุคแรกของชนชาติขอม ซึ่งเดินทางจากดินแดนตอนใต้ของจีนเข้ามาตามลำแม่น้ำโขง มาตั้งถิ่นฐานในบริเวณกัมพูชาปัจจุบัน มีตำนานเล่าถึงที่มาของราชวงศ์กัมพุ ว่าสืบต่อมาจากพระฤาษีกัมพุ กับนางอัปสรเมรา นางผู้ที่พระศิวะประทานลงมาให้เป็นภรรยาและมีบุตรดูแล บ้านเมืองต่อมาชุมชนยุคแรกที่เกิดขึ้นนั้นปรากฏชื่ออยู่ในจดหมายเหตุจีนว่า “ฟูนัน”

 

                ดังนั้น ฟูนั้น จึงเป็นชื่อของชุมชนหรืออาณาจักรเก่าแก่ของขอมโบราณ ถ้าสร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6 จริง นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวที่เล่าถึง กษัตริย์ของชุมชนแห่งนี้อีกว่า พระราชาองค์แรกของฟูนันนั้น เป็นชาวอินเดีย มีนามว่า ฮวนเถียน ได้แล่นเรือเดินทางถึงฟูนัน ถูกนางหลิวเย่ ซึ่งเป็นนางพญาของชาวฟูนัน นำพวกเข้าปล้นเรือสินค้านั้น ฮวนเถียนได้ทำการต่อสู้และยิงธนูไปที่เรือของนางหลิวเย่ ทำให้นางตกใจกลัว ในที่สุดนางยอมแพ้และอ่อนน้อมยอมตนเป็นภรรยาของฮวนเถียน

 

                ฮวนเถียน ได้ปกครองชุมชนของนางหลิวเย่ และนำวัฒนธรรมของอินเดีย ตลอดจนประเพณีพิธีการต่าง ๆ มาใช้และเผยแพร่ให้ชาวฟูนัน ทำให้ฟูนันมีความเจริญรุ่งเรืองตามแบบสังคมและวัฒนธรรมของอินเดีย

 

                ในนิทานพื้นเมือง เล่าอีกความว่า มีพราหมณ์ ที่มีธนูวิเศษ ได้เดินทางจากอินเดีย มาถึงชายฝั่งทะเลของกัมพูชา มีธิดาของพญานาคพายเรือมาต้อนรับ แต่พราหมณ์นั้นยิงธนูมาที่เรือของนาง ทำให้นางตกใจกลัวและยอมแต่งงานด้วย  พญานาคได้มาช่วยดื่มน้ำทะเลจนแห้ง แล้วสร้างเมืองให้ลูกเขยกับลูกสาว เมืองที่สร้างนี้ตั้งชื่อว่า กัมโพช

 

                สรุปว่า ฮวนเถียนหรือ พราหมณ์นั้นมาจากอินเดีย แล้วได้แต่งงานกับนางพญา หรือธิดาพญานาค ซึ่งเป็นคนพื้นเมือง และมีการสร้างชุมชนชื่อ ฟูนัน หรือกัมโพช

 

                ฟูนัน หรือ กัมโพช นี้ถือว่าเป็นชุมชนหรืออาณาจักรโบราณสมัยประวัติศาสตร์ ที่เก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองภายใต้วัฒนธรรมของอินเดีย ถ้าตั้งขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 6 จริง

 

                ศูนย์กลางของอาณาจักรฟูนัน ในครั้งแรกนั้นอาจจะอยู่แถบเมืองบาพนม จังหวัดไพรเวง เพราะ ชื่อฟูนัน บุยนัม พนมนั้นดูจะสอดคล้องกันกับชื่อ บาพนมที่หมายถึง ภูเขา ต่อมาได้มีการย้ายมาอยู่ที่นครบุรี

(ANGKOR BOREI) จังหวัดตาแก้ว และมีการขยายอำนาจออกไปถึงลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ รวมไปถึงชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยด้วย

 

                สำหรับเรื่องราวของอาณาจักรฟูนันนั้นไม่ปรากฏหลักฐานอื่นนอกจากจารีกภาษาสันสกฤต พบที่จังหวัดตาแก้ว เป็นจารึกของพระนางกุลประภาวดี มเหสีของพระเจ้าชัยวรมัน จารึกของเจ้าชายคุณวรมัน พระโอรส และพบที่แคว้นบาตี เป็นจารึกที่กล่าวถึงพระเจ้ารุทธวรมัน พระราชาองค์สุดท้ายของอาณาจักรฟูนัน จารึกทั้งหมดนี้มีอายุราวพุทธศตวรษที่ 11 ปลายสมัยฟูนัน

 

                ดังนั้น ฟูนัน เมื่อแรกตั้งจึงรับเอาศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนา จากอินเดียมาใช้ ซึ่งพบว่า ที่เขาพนมตานัน มีประติมากรรมศิลปะขอมก่อนเมืองพระนครที่เก่าที่สุดคือ อายุราว พุทธศตวรรษที่ 11 หรือตน พุทธศตวรรษที่ 12 และการพบเหรียญกษาปณ์เครื่องประดับที่ทำจากทองคำ เงิน หินชนิดต่าง ๆ และแก้ว ตราประทับจารึกอักษรสันสกฤต ที่เมืองออกแล้ว ซึ่งตั้งอยู่ปลายแหลมโคชิน ไชน่า ในเวียดนามนั้น เป็นหลักฐานที่แสดงว่า เมืองออกแก้วนั้นเป็นเมืองท่าสำคัญ ของอาณาจักรฟูนัน ที่ใช้เป็นเส้นทางสำหรับติดต่อค้าขายกัยพ่อค้าต่างชาติ ที่แล่นเรือและเดินทางต่อไปยังจีน

 

                สำหรับเรื่องอาณาจักรฟูนันนั้น จากหลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวจึงน่าจะเกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 10 มากกว่า คือ ในพุทธศตวรรษที่ 10 นั้น มีพราหมณ์จากอินเดีย (พราหมณ์โกญธัญญะ) สมสู่กับนางนาค (นางนาคโสมา เป็นนาคมี 9 เศียร) เป็นพระธิดาของพญานาค จึงทำให้ชนชาติขอมนับถือนาค ต่อมานั้นมีกษัตริย์ ราชวงศ์นี้ครองอาณาจักรฟูนันต่อมาจนถึง พ.ศ.1100 โดย (พ.ศ.1057 – 1100) มีพระเจ้าโกณฑัญญะชัยวรมัน

(พ.ศ.1057) เป็นปฐมกษัตริย์ และพระเจ้ารุทรวรมัน (เกิดจากพระสนม) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย

 

                ชาวฟูนัน  เป็นคนผิวดำ ผมหยิก ตัวเปล่าไม่ใส่เสื้อ นุ่งผ้ายกเป็นโสร่ง เดินเท้าเปล่า สวมตุ้มหูที่ทำด้วยดีบุก สวมกำไลและแหวนทองคำ ชาวฟูนันมีความรู้ด้านโลหกรรม จึงหล่อเครื่องประดับ เช่น แหวน กำไลทองคำ และตุ้มหูดีบุก

 

                ชาวเมืองนี้สร้างบ้านเรือมุงหลังคาด้วยใบไผ่ (แฝก) ใช้ช้างเป็นพาหนะ และมีเรือยาว 80-90 ฟุตเป็นพาหนะใช้ภาชนะทำด้วยเงิน

 

                อาณาจักรฟูนันมีความเจริญสูงสุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 9-10 ต่อมาปลายพุทธศตวรรษ ได้เกิดความวุ่นวายในอาณาจักรฟูนัน ขณะนั้นเจนละซึ่งอยู่ในอำนาจของอาณาจักรฟูนันนั้น มีอำนาจขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 11

 

                ดังนั้น ในราว พ.ศ.1093 (ค.ศ.550) พวกเจนละซึ่งอยู่ทางเหนือของฟูนันนั้น โดยการนำของพระเจ้าภววรมันที่ 1 ครองเมืองภวปุระอยู่ ได้เข้าโจมตีเมือง วยาธปุระเมืองหลวง ชิงอำนาจจากพรเจ้ารุทวรมัน  กษัตริย์ฟูนันได้สำเร็จ แล้วขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์แรกของอาณาจักรเจนละ

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สังคมและวัฒนธรรมของอาณาจักรขอม

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์