ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  การปกครองในอาณาจักรนั้นได้มีการน

การปกครองในอาณาจักรนั้นได้มีการนำรูปแบบของอินเดียมาใช้ ( ในเมืองมะละกา )  ดังจะเห็นได้จากการจัดตั้งเสนาบดีที่สำคัญ  ๔  ตำแหน่ง  เรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งมีชื่อเรียกดังนี้

 

                เบ็นดาหารา ( BENDAHARA )  ทำหน้าที่เป็นอัครเสนาบดี ที่ทำหน้าที่การคลังของแผ่นดิน ควบคุมขุนนางและข้าราชการทั้งปวง ตลอดจนนโยบายต่างประเทศ การค้าขายเป็นตระกุลที่เก็บประโยชน์จากภาษีอากรหรือส่วย ค่าปรับไหม และของขวัญต่างๆ จึงเป็นตำแหน่งระดับสูงฝ่ายบริหารบ้านเมือง

 

                เตเม็งกอง  ( TEMENGGONG )  เป็นเสนาบดีกรมเมือง ทำหน้าที่การปกครอง ตรวจตรารักษาความสงบ (ตำรวจ)  จับกุมผู้ร้ายและรักษาคุก ดูแลไพร่บ้านที่อยู่อาศัยในพื้นที่ของตนและควบคุมการชั่ง ตวง วัด

 

                เบ็นดาหารี  ( BENDAEARI )  ทำหน้าที่เป็นราชเลขาธิการและขุนคลังของพระราชาทำหน้าที่เป็น ลักษมาณา  ( LAKSAMANA )  คือแม่ทัพเรือ ผู้พิทักษ์ชายฝั่ง

 

                ซาห์บันดาร์ ( AHAHBANDAR )  ทำหน้าที่ควบคุมการค้า ท่าเรือ ดูแลคนเข้าเมืองและเก็บภาษี เดิมเป็นตำแหน่งข้าราชการของชาวเปอร์เซีย

 

                ตำแหน่งจตุสดมภ์นี้ได้ถูกนำไปใช้ในที่อื่น เช่น จตุสดมภ์ของไทยที่มีการแต่งตั้งเวียงวัง คลัง และนา ขึ้นในการจัดการปกครองบ้านเมือง ภายหลังได้มีการแต่งตั้งสมุหนายก และสมุหกลาโหม  เป็นอัครเสนาบดีผู้ใหญ่ดูแลแผ่นดินฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ต่างพระเนตรพระกรรณด้วย

 

                ดังนั้นวิทยาการความรู้จากอารยธรรมอินเดียโบราณ จีน และกลุ่มประเทศเมดิเตอร์เรเนียน จึงได้มีการเผยแพร่ไปตามเส้นทางบกเข้ายังดินแดนต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

                โดยเฉพาะดินแดนสุวรรณภูมิตอนใต้ซึ่งเป็นแผ่นดินที่มีชายฝั่งทะเลยาวไปจนถึงคาบสมุทรมลายูนั้น  เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และอาณาจักรศรีวิชัย  จึงรับเอาอารยธรรมอินเดียโบราณเข้าไปก่อนดินแดนที่อยู่ทางตอนเหนือของสุวรรณภูมิ

 

                เนื่องจากแผ่นดินตอนใต้ของไทยมีทิวเขาเป็นแกนกลางเช่นทิวเขา  นครศรีธรรมราชและทิวเขาภูเก็ต จึงทำให้ฝั่งทะเลตะวันตกและตะวันออกมีภูมิประเทศแตกต่างกัน

 

                ฝั่งทะเลตะวันตก   แผ่นดินมีการยุบตัวด้วยถูกน้ำทะเลเซาะ ด้วยมีคลื่นลมแรง และมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา จึงมีที่ราบเหลืออยู่น้อย ดังนั้นการตั้งชุมชนตามชายฝั่งทะเล จึงเป็นชุมชนขนาดเล็ก ได้แก่ พังงา  กระบี่    ตรัง  และสตูล  ซึ่งล้วนแต่มีแหล่งโบราณคดีที่เกิดจากการเดินทางของพ่อค้าอินเดียโบราณ  เช่น

 

                จังหวัดพังงา    พบว่ามีพื้นที่น่าจะเคยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในสมัยโบราณทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งมีการพบเทวรูปพระวิษณุหรือ พระนารายณ์   (ศาสนาพราหมณ์ ) ที่อำเภอตะกั่วป่าและชิ้นส่วนของเรือสำเภาโบราณ  เป็นหลักฐานถึงการมีเรือสินค้าเข้ามาบริเวณนี้พร้อมกับศาสนาพราหมณ์  ประกอบกับมีเส้นทางข้ามแผ่นดินมายังฝั่งทะเลตะวันออกได้  จึงมีการสันนิฐานว่า  บริเวณตะกั่วป่า นั้น น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นเมืองท่าที่รู้จักกันในจดหมายเหตุจีนว่า  “ ตักโกละ “  ซึ่งภายหลังนั้นพบว่าน่าจะเป็นพื้นที่เมืองตรัง ตามเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว

 

                การพบโบราณวัตถุแบบอินโด-โรมัน  คือลูกปัดแก้วมีตา ลูกปัดแก้วมีตา ลูกปัดแก้วมีแถบสี  ซึ่งเป็นชิ้นงานของอินเดีย-โรมันที่เหมืองทอง  บ้านทุ่งตึก ตำบลเกาะคอเขา

 

             อำเภอคุระบุรี  นั้น  ก็เป็นร่องรอยที่พ่อค้าอินเดียใช้เส้นทางนี้เดินทางเข่ามาเพื่อออกไปยังฝั่งทะเลอีกด้านหนึ่ง

                จังหวัดกระบี่  พบว่าเป็นแหล่งสำคัญ ที่มีหลักฐานว่าสินค้าอินเดีย  สินค้าโรมัน และสินค้าแบบอินโด-โรมัน  นั้นได้เดินทางมาค้าขายกันประมาณพุทธศตวรรษที่ ๕-๙  แหล่งโบราณคดีบริเวณควนลูกปัดแห่งนี้ เป็นเนินดินใกล้ที่ราบเชิงเขา มีคลองท่อมไหลผ่านนั้นเป็นแหล่งผลิตลูกปัดสำคัญ  มีเส้นทางเข้ามาในคลองท่อมได้ ทำให้เป็นจุดที่มีการค้าขายแลกเปลี่ยนกัน ระหว่างผู้ผลิตลูกปัดกับพ่อค้าอินเดีย พ่อค้าโรมัน ที่เดินทางเข้ามา พบว่ามีลูกปัดแบบโรมัน  แบบอินเดียและแบบทำเลียนโรมันโดยอินเดียอยู่จำนวนมากและมีหลากหลายชนิด นอกจากนี้ยังพบเศษแก้วที่เหลือจากการผลิตลูกปัด และพบลูกปัดแก้วจำนวนมาก ที่เป็นหลักฐานว่าเป็นแหล่งผลิตลูกปัดแห่งหนึ่ง ฝั่งทะเลตะวันออก  เป็นพื้นที่ราบที่มีการลดระดับต่ำลงเป็นชายหาด และมีแผ่นดินงอกเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีสันเขาที่เป็นต้นน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีระยะทางสั้น นอกจากนี้ยังมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงมกราคม  จึงมีฝนตกมากจนทำให้มีลำธารหรือแม่น้ำเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ เมื่อไหลลงไปสู่แม่น้ำสายใหญ่แล้ทำให้เกิดสันทรายขึ้นในแม่น้ำจึงเกิดพื้นที่ราบบนสันทรายที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูก  และตั้งชุมชน  ดังนั้น  ชุมชนที่เกิดขึ้นจึงอยู่บริเวณใกล้เชิงเขา  ห่างจากทะเลประมาณ  ๓๐๐  เมตร  และมีที่ราบอยู่ชายฝั่งทะเลให้ตั้งบ้านเมืองได้แหล่งโบราณคดีที่พบในฝั่งทะเลด้านนี้  ได้แก่

 

                จังหวัดชุมพร    พบโบราณวัตถุแบบอินโด-โรมัน  เช่น  ลูกปัดแก้วมีตา  และโบราณวัตถุแบบอินเดีย  เช่น  ลูกปัดหินคาร์เนเลียน  ลูกปัดหินอาเขต  ทั้งแบบเรียบและแบบฝั่งสี  ด้ามทัพพีทำด้วยสำริดรูปนกยุงที่  เขาสามแก้ว  ตำบลนาชะอัง  ในเขตอำเภอเมือง  เป็นหลักฐานที่แสดงว่าบริเวณนี้พ่อค้าอินเดียได้เดินทางเลียบชายฝั่งตะวันออกมาติดต่อค้าขายกับชุมชนแถบนี้

 

                จังหวัดสุราษฏร์ธานี   เป็นพื้นที่ตั้งของเมืองสำคัญสมัยอาณาจักรศรีวิชัย  จึงพบโบราณวัตถุจากอินเดีย   และร่องรอยความเจริญของศาสนาพราหมณ์ในพื้นที่แห่งนี้กล่าวคือพบเทวรูปพระวิษณุ  อายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่ ๑๒ และศาสนา ๘ แห่ง ที่เขาศรีวิชัย อำเภอพุนพินแสดงว่าศาสนาพราหมณ์นั้นได้เข้ามาตั้งที่บริเวณนี้ด้วย

                เช่นเดียวกันพบว่ามีที่ตั้งของชุมชนโบราณ  ที่อำเภอไชยา  มีพระบรมธาตุไชยาซึ่งมีส่วนยอดของเจดีย์ประกอบองค์พระบรมธาตุเป็นรูปพระพรหมสี่หน้าทำด้วยหินทรายและพระพุทธรูปหินทราย ในการสำรวจทางโบราณคดีพบเทวรูปพระวิษณุและมุขลึงค์ที่เก่าแก่ที่สุดเดิมนั้นพบเทวรูปพระอวโลกิเตศวรชำรุดองค์หนึ่งที่แห่งนี้จึงมีการสันนิษฐานว่า  ศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่ไชยา

 

                ภายหลังได้มีการสำรวจสันทรายพบว่าในชั้นดินลึกประมาณ  ๑๐๐  เซนติเมตรนั้นพบว่าบริเวณแห่งนี้มีวัฒนธรรมเดียวและมีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ ๑๖  และเมื่อขุดตรวจที่วัดหลง ได้พบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงค์หมิง  ที่มีอายุในพุทธศตวรรษที่  ๒๐-๒๒  บริเวณไชยานี้พบว่ามีโบราณวัตถุที่สร้างเนื่องจากนับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ที่วัดเวียง อำเภอไชยานั้น  พบจารึก๓ษาสันสกฤตตัวอักษรปัลลวะ  จารึก เมื่อ พ.ศ.๑๓๑๘ มีคำว่าศรีศรีวิชเยทรราชา และข้อความนั้นกล่าวถึงการสร้างปราสาทอิฐ  ๓  หลัง  เพื่อบูชาพระพิสัตว์ปัทมปาณี พระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์วัชรปาณี และเรื่องกษัตริย์วงค์ไศเลนทร

 

                โดยเฉพาะที่แหล่งโบราณคดีที่แหลมโพธิ์ ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยานั้นพบโบราณวัตถุที่เป็นสินค้า  มาจากพ่อค้าอินเดีย  พ่อค้าจีน พ่อค้าจีน  พ่อค้าอาหรับ  และยังพบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงค์ อายุราวพุทธศตวรรษที่  ๑๒-๑๕ บริเวณแห่งนี้เป็นชุมชนใหญ่ที่มีท่าเรือติดต่อค้าขาย และมีคลองพุมเรียง เป็นเส้นทางคมนาคม เช่นเดียวกับบริเวณที่พบโบราณวัตถุ ประเภทหินลูกปัดหินคาร์เนเลียนและลูกปัดหินอาเกต  ที่วัดอัมพาวาส  อำเภอท่าชนะ  เป็นร่องรอยว่ามีการค้าขายมาถึงบริเวณนี้เช่นเดียวกัน

 

                จังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็นที่ตั้งของเมืองตามพรลิงค์ ( จีนเรียก ดันมาหลิง )  สถานที่ตั้งของศาสนาพราหมณ์รุ่นแรก  ซึ่งพบร่องรอยเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ไศวนิกายที่เขาคา อำเภอสิชล  มีอายุอยู่ในพุทธศตวรรษที่  ๑๔-๑๖  โบราณนอกจากนี้ยังพบร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณที่บริเวณสันทรายหลายแห่ง  เช่น เมืองพระเวียง ชุมชน โบราณท่าศาลาสิชน  ชุมชนโบราณท่าเรือ ( มีคลองท่าเรือกว้าง  ๓๐-๕๐  เมตรไหลผ่าน) ซึ่งเรือสินค้าขนาดใหญ่สามารถเข้าไปถึงภายหลังเมืองตามพรลิงค์ได้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรตามพรลิงค์และปกครองเมืองต่างในคาบสมุทรมลายูมีพระบรมธาตุสำคัญของเมืองสร้างเมือพุทธศาสนามาตั้งที่บริเวณนี้

 

                จังหวัดเมืองสงขลา  พบว่ามีร่องรอยชุมชนโบราณที่บริเวณสทิงพระ  เมื่อขุดตรวจในตัวเมืองโบราณพบภาชนะดินเผา  (เตาปะโอ)  เครื่องถ้วยสมัยศรีวิชัยสีขาวนวนเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ ชุงตอนปลายต่อมาสมัยราชวงศ์หยวน ที่เข้ามาในช่วงพุทธศตวรรษที่  ๑๗-๑๘

 

                จังหวัดปัตตานี  เป็นสถานที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่ที่มีความเก่าแก่ คือ เมืองโบราณยะรัง  บันทึกของจีนได้กล่าวถึง  ลังยาเสียว  ( อาหรับเรียก ลังกาสุกะ) มีความสำคัญอยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๓  ในการสำรวจขุดตรวจ  พบร่องรอยวัฒนธรรมของอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งพบพระพิมพ์ดินดิบ  และสถูปจำลองดินเผา พบมีอยู่จำนวนมาก

                สำหรับหลักฐานจากจารึกที่พบทางภาคใต้นั้น  ส่วนมากเป็นจารึกภาษาบาลี  ส่วนภาษาทมิฬภาษาเขมร ภาษามอญ นั้นพบอยู่บ้าง และพบจารึกหลักที่ ๒๓ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัย

สังคมและวัฒนธรรมของอาณาจักรศรีวิชัย

 

                ในพุทธศตวรรษที่ที่  ๑๓-๑๕ นั้นพุทธศาสนานิกายมหายานได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในเมืองไชยา ดังนั้นการสร้างพระบรมธาตุเมืองไชยาจึงรับอิทธิพลรูปแบบสถาปัตยกรรมของอาณาจักรศรีวิชัย  ซึ่งมีรูปแบบทรงมณฑปหรือทรงปราสาทลักษณะเดียวกับ จันทิที่สร้างในชวาภาคกลาง หรือปราสาทจามที่ฮัวไล และปราสาทขอมสมัยกุเลนที่สร้างราวพุทธศตวรรษที่  ๑๔

 

                พระบรมธาตุไชยานั้นมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีฐานมุขยื่น ๔  ด้าน วางแบบเป็นรูปกากบาทเจดีย์ประธานเป็นเรือนธาตุนั้น  ตั้งอยู่บนลานประทักษิณส่วนหน้ามุขยื่นออกมาทั้ง  ๔ ด้านส่วนยอดนั้นลดหลั่นเป็นชั้น  ๓  ระดับ  โดยมีเจดีย์ จำลองประดิษฐานแต่ละชั้นๆ ละ ๘ องค์ บนลานประทักษิณนั้นสร้างเจดีย์บริวารอยู่ตรงมุมรูปแบบคล้ายสถาปัตยกรรมแบบรถะของอินเดียใต้ที่สร้างในพุทธศตวรรษที่  ๑๒-๑๓ และที่วัดแก้วก็มีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระบรมธาตุไชยา แต่พัฒนารูปแบบขึ้นคล้ายสถาปัตยกรรมของพวกจาม  ที่สร้างในพุทธศตวรรษที่  ๑๔

 

                ต่อมาพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙  สถาปัตยกรรมได้มีการผสมผสานแบบศรีวิชัยกับแบบลังกาเข้าด้วยกัน ซึ่งมีการสร้างเจดีย์ทรงกลมประดิษฐานบนฐานกากบาท ที่เจดีย์ใหญ่ที่วัดสทิงพระ จังหวัดสงขลา และสร้างเป็นแบบเจดีย์ทรงกลมประดิษฐานบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่วัดพะโค๊ะ  อำเภอสหิงพระ

 

                สำหรับประติมากรรมที่ถือว่าเป็นรูปแบบของอาณาจักรศรีวิชัย ที่เด่นชัดขึ้น  คือพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ศยามตารา  และพระโพธิสัตว์ชัมภล เป็นปติมากรรมรูปลอยตัวที่สร้างในคติพุทธศาสนามหายาน นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระพิมพ์ดินดิบที่พบเป็นจำนวนมากตามชุมชนต่างๆ โบราณต่างๆ ตั้งแต่สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช  สงขลา  ปัตตานี ยะลา ถึงนราธิวาส พระพิมพ์ดินดิบนี้สร้างตามคตินิยมพุทธศาสนานิกายมหายานตันตระที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ที่อินเดียภาคตะวันออเฉียงเหนือในพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕ โดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ปาละ ทรงอุปถัมภ์และมีศูนย์กลางอยู่กลางอยู่ที่เมืองนาลันทา เมืองปหรรปุระ และเมืองไมนามตี

 

                ต่อมาได้มีการติดต่อเผยแพร่หายานตันตระและมีอิทธิพลเข้าไปยังชวาภาคกลางในพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔  โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไสเลนทร์ของอาณาจักรมัชฌาปาหิต (ชวา) ทรงอุปถัมภ์

 

                พระเจ้าเทวะปาละ  เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๓  ของราชวงศ์ปาละมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่แคว้นเบงกอล พระองค์ทรงอุปถัมภ์พุทธศาสนามหายานตันตระสกุววัชรยานอยู่นั้น ได้จารึกแผ่นทองแดงไว้เมื่อ  พ.ศ.๑๔๐๓  ได้กล่าวถึง พระเจ้าพาลปุตรกษัตริย์ไศเลนทร์ของสุมาตราได้มาสร้างวัดไว้ที่นาลันทาสำหรับพวกจาริกแสวงบุญไปจากคาบสมุทรมลายู และพระเจ้าเทวะปาละนั้นทรงอุทิศรายได้จากหมู่บ้าน ๕ หมู่บ้านสำหรับดูแลวัดดังกล่าว

                นอกจากนี้ในคาบสมุทรภาคใต้นั้นพบว่าศาสนาพราหมณ์ไศวนิกายที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในอินเดียภาคใต้ โดยการอุปถัมภ์ของกษัตริย์ราชวงศ์โจฬะ  เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๗  นั้น ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่จนเจริญรุ่งเรือง  เนื่องจากพบเทวรูปพรัศิวะมหาเทพ และพระอคัสตยะ ที่อำเภอสทิงพระ  จังหวัดสงขลา

 

                ต่อมาได้มีการเผยแพร่และมีอิทธิพลต่อศาสนาพราหมณ์ไศวนิกายที่เกาะชวาในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๔ ครั้งนั้นกษัตริย์ราชวงศ์มะตะราม  ทรงให้การอุปถัมภ์ทั้งศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนานิกายหินยานด้วย

 

                ในพุทธศตวรรษที่  ๑๖ พระเจ้าราเชนทร์โจฬะ  พ.ศ.๑๕๗๓  และพระเจ้าราชราชะหรือราชเกศรีวรมัน พ.ศ.๑๕๘๗-๑๕๘๙ แห่งราชวงศ์โจฬะนั้นได้มีจารึกบันทึกว่า พระเจ้าจุฬามณีวรมัน กษัตริย์ราชงวศ์ไศเลนทร์ได้อุปถัมภ์วัดพุทธศาสนาที่เมืองนาคปตัมหรือนาคปัฏฏินัมซึ่งเมืองนี้เป็นศูนย์กลางพุทธศาสนานิกายหินยาน ที่ราชวงศ์โจฬะอุปถัมภ์อยู่ และพระเจ้ากุลโลตุงคะโจฬะ พ.ศ.๑๖๒๗ ได้กล่าวว่า พระองค์นั้นได้อุทิศรายได้จากหมู่บ้านหนึ่งให้เป็นค่าดูแลรักษาวัดดังกล่าว วัดนี้จารึกเรียกว่า “ ไศเลนทรจุฑามณีวรมันวิหาร”

 

                สรุปแล้วคาบสมุทรอินโดจีนตอนใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรไปจนถึงจังหวัดนราธิวาสนั้น ได้พบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนสมัยอาณาจักรศรีวิชัย ประมาณก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ชุมชนได้มีมนุษย์มาอาศัยอยู่ก่อนแล้ว

 

                ต่อมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๘-๙ เป็นต้นมานั้น  บริเวณดังกล่าวได้มีการตั้งนิคมการค้า

( แหล่งค้าขาย-ชุมชนค้าขาย-ตลาด ) ของชาวอินเดียขึ้น ชุมชนการค้านั้นต่อมามีความเจริญมากขึ้นจนสามารถสร้างเมือง และมีบทบาทสำคัญในการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าต่างชาติจนมีสินค้าจากโลกตะวันตกและโลกตะวันออก โดยติดต่อร่วมสมัยกับสมัยอินโด-โรมันของอินเดีย ( คืออินเดียทำเลียนแบบสินค้าโรมัน) ในพุทธศตวรรษที่ ๕-๙ จนบางแห่งสามารถสร้างแหล่งอุสาหกรรมการผลิตลูกปัด เช่น แหล่งโบราณคดีสามแก้วที่ชุมพร แหล่งโบราณคดีควนลูกปัดที่คลองท่อม แหล่งโบราณคดีบ้านทุ่งตึกที่พังงา เป็นต้น

 

                ชุมชนโบราณระดับเมืองตามชายฝั่งทะเลนั้นปรากฏว่ามีมากกว่า ๑๐ แห่ง (จากบันทึกของจีน) ต่างเมืองมีกษัตริย์ปกครองดูแลตนเองและตืดต่อทางการทูตกับจีน นอกจากนี้ยังมีการติดต่อค้าขายกับอินเดีย จนมีความคุ้นเคยกับอารยธรรมอินเดียเป็นอย่างดี และยอมรับศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนาจากอินเดียทุกภาคซึ่งนำมาเผยแพร่จนมีการสร้างศาสนาสถานขึ้นมากมาย มีรูปแบบสกุลต่างชาติ เช่น

 

                สกุลช่างอมราวดี  จากอินเดียภาคใต้ (ลุ่มแม่น้ำกฤษณา-โคทาวารี) พุทธศตวรรษที่ ๖-๙

                สกุลช่างคุปตะ    จากอินเดียภาคเหนือและภาคตะวันออก  พุทธสตวรรษที่ ๙-๑๑

                สกุลช่างหลังคุปตะ  พุทธศตวรรษที่   ๑๑-๑๔

 

                ดังนั้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘   แหลมอินโดจีนตอนใต้ของไทยจึงเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุจึงมีข้อสมมติฐานว่าบริเวณพระบรมธาตุไชยา-แหลมโพธิ์  จังหวัดสุราษฏร์ธานีนั้นเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยตอนบนหรือเมืองท่าสำคัญ  และเมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยตอนล่างหรือเป็นวงกลม

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม การปกครองในอาณาจักรนั้นได้มีการนำรูปแบบของอินเดีย

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์