ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  อโศกมหาราชใช้ขยายอำนาจการปกครองใ

อโศกมหาราชใช้ขยายอำนาจการปกครองในอินเดีย(2)

 

การติดต่อกับพ่อค้าและพราหมณ์ที่มาจากอินเดียนั้น มีเมืองโบราณที่สำคัญอยู่หลายแห่งที่เป็นเมืองท่าและมีความสัมพันธ์กับความเชื่อทางศาสนานั้น  เช่น

 

                เมืองท่าโบราณที่ออกแก้ว  ในเวียดนามตอนใต้  นั้นมีร่องรอยว่าได้มีการติดต่อค้าขายกับอินเดียมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่   ๕-๙  พบว่ามีโบราณวัตถุสมัยอินโด-โรมันอยู่ที่แห่งนี้เมืองนี้แม้ว่าพุทธศาสนาจะมีการประกาศศาสนาหรือทำการเผยแพร่แล้วก็ตาม  ผู้คนหรือชุมชนที่นี่กลับนิยมที่จะนับถือศาสนาพราหมณ์ ไวษณพนิกายมากกว่า

 

                เมืองสะเทิม (THATON)  หรือเมืองสุธรรมวดี  เมืองหลวงและเมืองท่าของมอญตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำอิระวดีตอนล่างของเมียนมาร์นั้น  แม้มีหลักฐานในศาสนาวงศ์และพงศาวดารเมืองสะเทิมว่าพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งสมณทูตเข้ามาเผยแผ่พุทธศาสนาในดินแดนของสุวรรณภูมิ  (ซึ่งเมืองสะเทิมเป็นศูนย์กลาง) นั้น ไม่พบว่ามีโบราณหรือวัตถุหรือศิลปกรรมอันเนื่องในพุทธศาสนาที่มีอายุร่วมสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่ส่งสมณทูตเข้ามาเลย

 

                เมืองไบก์ถโน (ไบก์ถโน แปลว่า เมืองพระวิษณุ)  ของชาวปยู  ในเมียนมาร์ตอนกลางนั้นแม้จะพบหลักฐานว่าพุทธศาสนาจากลุ่มแม่น้ำกฤษณา  ซึ่งเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาในอินเดียนั้นได้มีอิทธิพลเผยแพร่เข้าในพุทธศตวรรษที่  ๘-๑๐  นั้น  ไม่ปรากฏว่าพุทธศาสนาพราหมณ์ไวษณพนิกายนั้นมีอิทธิพลมากกว่า และในพุทธศตวรรษที่  ๑๑ นั้นเมืองไบก์ถโนน่าจะเป็นศูนย์กลางศาสนาพราหมณ์

 

                เมืองอู่อ่างทอง   ตั้งอยู่ภาคกลางของไทยนั้นได้รับอิทธิพลพุทธศาสนามาจากศูนย์กลางคือบริเวณลุ่มแม่น้ำกฤษณา-โคทาวรี  ซึ่งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย ซึ่งมีพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก จนเมืองอู่ทองได้กลายเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนารุ่นแรกของอาณาจักรทวาราวดีด้วยเหตุที่พุทธศาสนาจากลุ่มแม่น้ำกฤษณา-โคทาวรีนั้นได้มีการผสมผสานความเชื่อของนิกายต่างๆ มีการแยกนิกายเถรวาท และนิกายมหาสังฆิกะ (นิกายมหายาน) จึงทำให้การสร้างศิลปกรรมเพื่อพุทธศาสนามีคติการสร้างพุทธสถาน เป็นสถูปเจดีย์ และวิหาร แตกต่างกันซึ่งพบว่าโบราณสถานที่เมืองอมราวดีและเมืองนาคารซุนโกณฑะนั้น บางนิกายนิยมสร้างเจดีย์ขนาดใหญ่ (มหาเจดีย์) บางนิกายสร้างแต่สถูปเจดีย์ บางนิกายเริ่มสร้างพระพุทธรูปแบบอินเดียทางเหนือเรียกแบบอมราวดี และมีการสร้างสัญลักษณ์แทนเรื่องราวในพุทธประวัติ เช่น  ธรรมจักร  รอยพระบาท  พร้อมกับสร้างพระพุทธรูปจนมีนิกายพุทธอื่นๆ ที่เคยต่อต้านการสร้างพระพุทธรูปนั้นต่างยอมรับคตินี้ในที่สุด

 

                ดังนั้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่  ๘-๑๒  เมืองอมรวดีและเมืองนาคารซุนโกณฑะ จึงกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญของการสร้างพระพุทธรูป และมีพระสงฆ์จากภูมิภาคต่างๆ ของอินเดียและลังกา  มาพำนักจนเป็นศูนย์กลางของพระสงฆ์ ครั้นเมือ่พุทธศาสนาจากบริเวณศูนย์กลาง  ลุ่มแม่น้ำกฤษณา-โคทาวรี  ได้เผยแพร่มายังแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้นจึงทำให้พุทธศาสนานิกายเถรวาทจากลังกา  นิกายมหิศากยะที่แยกจากนิกายเถรวาท นิกายต่างๆ เช่น นิกายไจตยกะ  นิกายพหุศรูติยะ นิการอประมหาวินะ-เสลิยะ  ซึ่งแยกจากนิกายมหาสังฆิกะ(ต่อมาเป็นนิกายมหายาน)  เป็นต้นเผยแพร่ในชุมชนโบราณสมัยทวาราวดี ทำให้เกิดการสร้างสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้าขึ้นจำนวนมาก  ได้แก่ธรรมจักรขนาดใหญ่อยู่บนยอดเสาพบที่เมืองอู่ทองพระพุทธรูปบูชาขนาดใหญ่ คือพระศิลาขาว  เจดีย์ขนาดใหญ่ที่จุลประโทณพระประโทณเจดีย์  และมหาสถูปเก่าที่พระปฐมเจดีย์ (ปัจจุบันอยู่ในครอบองค์ปฐมเจดีย์ปัจจุบัน)  เจดีย์วัดพระเมรุ เจดีย์ทวาราวดีเก่าที่เจดีย์อนุสรณ์ดอนเจดีย์สร้างครอบไว้ (สุพรรณบุรี)  เป็นต้น

 

                นอกจากนั้นยังพบว่าในสมัยทวาราวดีนั้น ได้รับเอาอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกของอินเดีย สมัยราชวงศ์คุปตะ (พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๑ )  และหลังราชวงศ์คุปตะคือสมัยราชวงศ์กษัตริย์ปะและราชวงค์ไมตรกะ (พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕)  เข้ามาด้วย  ความเชื่อนั้นคือ อินเดียนิยมสร้างพระธาตุเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและอุทเทสิกเจดีย์หรือสถูปจำลอง  ที่นักจาริกแสวงบุญผู้เดินทางไปนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพุทธศาสนานั้นนิยมสร้างด้วยหินดินเผา  หรือโลหะ   ไว้ในสถานที่ต่างๆ เพื่ออุทิศไว้ในพุทธศาสนา  ส่วนผู้ที่ไม่สามารถสร้างสถูปเจดีย์ก็จะนิยมทำเป็นแผ่นดินเผาจารึก คาถา เย ธมาที่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา

 

                ดังนั้นชุมชนสำคัญในอาณาจักรทวาราวดีโดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างจึงมีการสร้างธรรมจักรตั้งบนเสาหรือฐานรองรับ  สร้างพระพุทธรูป  และนิยมจารึก คาถา  เย  ธมมา  ไว้บนฐานพระพุทธรูป บนพระพิมพ์ดินเผา บนบาตรดินเผาบนสถูปจำลอง บนแท่งหิน บนแผ่นอิฐ และผนังถ้ำ ซึ่งพบมากอยู่ในบริเวณเมืองโบราณ เขตนครปฐม สุพรรณบุรี ลพบุรี เป็นต้น และยังพบว่ามีจารึกข้อความอื่นปรากฏในชุมชนโบราณอื่นๆ อีกหลายแห่ง เช่น จารึกอักษรปัลลวะที่เมืองบึงคอกช้างในอุทัยธานี จารึกว่าวาระปรัชญาวาระ (สมัยที่ปรัชญาเป็นเลิศ)  บุญญสิคลา (บุญย่อมส่งเสริมนักพรต)  ปสิณาวุ (จงไปทางนี้)  เป็นต้น

 

                สำหรับการจารึกอักษร เย ธมมา นั้นถือว่าเป็นข้อความนิยมที่คัดมาจากพระไตรปิฎกภาษาบาลี  ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก เรื่อง ปฎิจจสมุทบาทกับพระธรรมบทและมหาวรรคในวินัยปิฎก  ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาเรื่องนี้หลวงจีนอี้จิงได้กล่าวไว้ว่า ชาวพุทธอินเดียมีความเชื่อในหลักธรรมคำสอนในปฏิจจสมุทบาทและคาถา เย ธมมา เป็นหัวใจพระพุทธศาสนาดังนั้นเมื่อมีการสร้างพระพุทธรูป  ชาวพุทธก็จะนิยมบรรจุพระอิฐธาตุของพระพุทธเจ้าหรือหลักธรรมคำสอนในปฏิจจสมุปบาทหรือคาถา เย ธมมา ไว้ภายในพระพุทธรูปหรือสถูปนั้น

 

                คาถา  เย  ธมมา  จึงมีความสำคัญเทียบเท่าพระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้า ชาวทวาราวดีจึงนิยมที่จะสร้างเคารพบูชาในพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน  ดังนั้นคติการสร้างเจดีย์บรรจุพระอัฐิธาตุพระพุทธเจ้าจึงเป็นสิ่งแสดงความสำคัญของกษัตริย์หรือผู้นำอาณาจักร

               


 

                การสร้างงานศิลปกรรม    ด้วยเหตุที่สมัยทวาราวดีได้นำรูปแบบการสร้างสถูปหรือเจดีย์มาจากพุทธศาสนา (นิกายเถรสวาท)  สมัยราชวงศ์คุปตะและหลังราชวงศ์คุปตะกล่าวคือ

 

                ในพุทธศตวรรษที่  ๑๐-๑๓  นั้นในอินเดียภาคตะวันตกนั้นอาณาจักรวัลลภี  มีพุทธศาสนานิกายสามมิตียะเจริญรุ่งเรืองมากจึงมีการสร้างมหาสถูปบรรจุพระธาตุของพระพุทธเจ้าที่เมืองเดฟนิโมริ  ในแคว้นคุชราต  อยู่ภาคตะวันออกของอินเดียนั้นสร้างโดยกษัตริย์ราชวงศ์กษัตริย์ปะ  (ชาวศกะ)  ที่สืบต่อราชวงค์ไมตรกะแห่ง  อาณาจักรวัลภีซึ่งเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนานิกายสามมิตียะ  ที่แยกมาจากนิกายเถรวาท  ดังนั้นมหาสถูปแห่งนี้จึงเป็นต้นแบบของสถูปทรงกลมตั้งนบฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสชั้นเดียวที่สร้างขึ้นในสมัยทวาราวดี พบว่ามีโบราณสถานแบบนี้ในชุมชนโบราณหลายแห่ง  โบราณสถานที่บ้านโคกไม้เด่น อำเภอพยุหะคีรี  จ. นครสวรรค์  เป็นต้น

 

                ส่วนการสร้างเจดีย์ทรงกลมบนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสชั้นโดยลดหลั่นกันหรือสร้างชั้นเดียวแล้วมีบันไดทางขึ้นด้านหนึ่ง (ด้านตะวันออก)  ไปยังฐานชั้นบนนั้น บริเวณฐานนั้นมีช่องหรือซุ้มสำหรับประดับด้วยแผ่นดินเผาภาพนูนดำพระพุทธรูปประทับนั่งปางสมาธิ พบว่ามีการสร้างสถูปเจดีย์แบบนี้ที่แหล่งโบราณคดีบ้านคูบัว  นราชบุรี  ซึ่งเป็นอิทธิพลรูปแบบสถูปในพุทธศตวรรษที่  ๙-๑๓  สมัยราชวงค์คุปตะหรือหลังคุปตะ  แบบเดียวกับมหาสถูปที่เมืองเดฟนิโมริ

 

                ภาพจำหลักที่ประดับในซุ้มหรือ๙องบนสถูปเจดีย์ชั้นบนนั้น ต่อมาได้มีการสร้างเป็นภาชนะดินเผาหรือภาพปูนปั้นบ้าง  เล่าเรื่องตามพุทธตำนาน ประกอบภาพเทวดา ภาพอมนุษย์  และสัตว์ต่างๆ ในจินตนาการ (สัตว์หิมพานต์) ประดับลวดลายใบไม้หรือลายจำหลัก แบบเดียวกับแผ่นภาพที่พุทธสถานปหรรปุระที่เมืองไมนามติ  ในแคว้นเบงกอล (บังคลาเทศ) หรือปากีสถานตะวันออก) ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมในพุทธศตวรรษที่  ๑๔ และผังเจดีย์ที่วัดพระเมรุ จ.นครปฐมนั้นรูปแบบใกล้เคียงกับพุทธสถานปหรรปุระ

 

                สำหรับสมัยทวาราวดีนั้น พบแผ่นภาพปั้นดินเผา ที่โบราณสถานหลายแห่ง เช่น จุลประโทณ จ.นครปฐม  บ้านคูบัว  จ.ราชบุรี บ้านโคกไม้เดนที่  อ.พยุหะ จ.นครสวรรค์ บ้านเก่า อ.ลานสัก  จ.อุทัยธานี  เป็นต้น

 

                พระพุทธรูปที่เป็นประติมากรรมในพุทธศาสนาตามความเชื่อของนิกายมหายานนั้นได้มีการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาทตามแบบยุโรปหรือแบบพุทธคยา พบที่พระพุทธรูปนี้ที่โบราณสถานวัดพระเมรุ  เป็นพระพุทธศิลาขาวประจำซุ้มสี่ทิศ ต่อได้บูรณะอันเชิญไปประดิษฐานที่บริเวณพระปฐมเจดีย์ และในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระพุทธรูปนั่งที่ผนังถ้ำเขาคูบัว  จ.ราชบุรี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบที่นิยมสร้างกันในพุทธศาสนานิกายมหายาน   ที่มีการสร้างพระพุทธรูปนี้อยู่ในอินเดียตอนเหนือที่เมืองสารนาถ และถ้ำอชันตา ถ้ำเอ็นลูร่าในอินเดียภาคตะวันตก

               


 

                นอกจากนี้ในชุมชนโบราณสมันทวาราวดีแถบทุกแห่งนิยมสร้างพระพิมพ์ดินดิบหรือพระพิมพ์ดินเผา มีขนาดต่างกันจากขนาดใหญ่เท่าฝ่ามือจนขนาดย่อมลงลา เป็นประติมากรรมรูปพระพุทธเจ้าปางปาฏิหาริย์และเทศนาพระสัทธรรมปุณฑริกุตร บนเขาคิชกูฏตามคติความเชื่อของพุทธศาสนามหานิกาย พบมากที่เมืองนครปฐมโบราณ เมืองอู่ทอง เมืองคูบัว บางองค์มีอักษร เย  ธมมา  กำกับด้วย พระพิมพ์นี้เป็นรูปแบบที่ชุมชนโบราณสมัยทวาราวดีรับมาจากอินเดียในพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๓  สมัยหลังราชวงศ์  คุปตะ พบที่ถ้ำการ์ลี และถ้ำกันเหริ สำหรับในไทยนั้น พบพระพิมพ์ดินเผานี้พบอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ในอ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี

 

                สรุปแล้วชุมชนโบราณสมัยวาราวดีนั้นมีการสร้างศิลปกรรมเลียนแบบอย่างอินเดียแต่จะรับเอาคติความเชื่อมาจากพุทธศาสนานิกายเถรวาทหรืออนิกายมหายานแล้ว ยังมีการพัฒนาความคืดสร้างรูปแบบของตนเองเพื่อสื่อความหมายให้กับชุมชนสมัยทวาราวดี เช่นงานประติมากรรมรูปพระพุทธเจ้าประทับยืนเหนือพนัสบดีโดยมีพระหัตถ์ทั้งสองทำปางวิตรกะหรือปางแสดงธรรมมีทั้งแบบประทับยืนองค์เดียวและมีประทับนืยหลายองค์นั้น เป็นอิทธิพลพุทธศาสนานิกายมหายานตันตระที่รุ่งเรืองอยู่ในอินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๕  สมัยราชวงศ์ปาละ

 

                ความเชื่อในหลักธรรมคำสั่งสอนนั้นพบว่าสมัยทวาราวดีนิยมหลักธรรมของนิกายเถรวาทตามเดิม พบว่าจารึกหลักทำคำสั่งสอนส่วนใหญ่นั้นเป็นภาษาบาลีที่คัดจากพระไตรปิฏิกของนิกายเถรวาท เหมือนกับผู้คนในสมัยทวาราวดีนั้นไม่นิยมหลักธรรมของนิกายมหายานมากนัก

 

                ดังนั้นดินแดนสุวรรณภูมิจึงมีอาณาจักรที่เกิดใหม่และเสื่อมลง ซึ่งเป็นไปตามเหตุการณ์ของยุคสมัย ที่มีการแผ่อำนาจเข้ายึดครองและเผยแพร่วัฒนธรรมเข้าจูงใจผู้คนให้เอาอย่างจนกลายเป็นพลเมือง (คือร่วมวัฒนธรรม) เดียวกัน เพื่อเป็นสื่อกลางให้ผู้คนหรือมนุษยชาตินั้นยอมรับและอยู่ร่วมสังคมกันได้  กลุ่มคนจึงต่างพากันอพยพหาแหล่งทำกินและย้ายถิ่นไปสู่รากฐานแห่งใหม่ที่เห็นว่าดีกว่า ในที่สุดก็กลายเป็นพลเมืองหรือชุมชนของอาณาจักรที่มีความมั่นคงต่อไป

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม อโศกมหาราชใช้ขยายอำนาจการปกครองในอินเดีย(2)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์